Advertisement
ปัจจุบัน เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตและสารทนเทศ (ไอที) ได้เข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งด้านการค้า การศึกษา การติดต่อสื่อสาร
ประโยชน์ของอินเตอร์เน็ตนั้นมีมากมหาศาล แต่ขณะเดียวกันก็มีโทษอนันต์ถ้าใช้ผิดวิธี วันนี้ รวบรวมคำถาม-ไขข้องใจปัญหาข้อกฎหมายที่พบบ่อยว่า การใช้อินเตอร์เน็ตในทางที่ผิดรูปแบบไหน ทำให้ต้องเสี่ยงคุกเสี่ยงตะราง!
การใช้ "ชื่อ" และ "นามแฝง"
โลกอินเตอร์เน็ตเปิดช่องให้ผู้ใช้สามารถตั้งชื่อปลอม นามแฝง โกหกสถานะและอายุได้อย่างง่ายดาย
ในกรณีที่ใช้ "นามแฝง" ที่ตั้งขึ้นมาเองหรือไม่เกี่ยวข้องกับผู้ใดและไม่ได้เข้าไปเขียนข้อความให้ร้ายผู้อื่นคงไม่มีปัญหา
แต่ถ้านำชื่อของบุคคลอื่นมาใช้โดยเจ้าตัวไม่ได้รับรู้ จนทำให้เกิดความเสียหายจะต้องรับผิด อาจถูกฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายได้
การพนันออนไลน์
ตามกฎหมายแบ่งแยกการพนันออกเป็น 2 ประเภท โดยแยกออกเป็น บัญชี ก. และ บัญชี ข.
กลุ่มที่อยู่ในบัญชี ก. กฎหมายห้ามเล่นโดยเด็ดขาด อาทิ พวกหวย ก.ข. ไฮโล ไพ่ต่างๆ ส่วนประเภทสองที่อยู่ในบัญชี ข. เล่นได้แต่ต้องขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติก่อน
เว็บไซต์เกี่ยวกับการพนันออนไลน์มีนับไม่ถ้วน ส่วนใหญ่จะเป็นไพ่ต่างๆ และสล็อตแมชชีน ซึ่งถือเป็นการพนันตามบัญชี ก. ผู้ฝ่าฝืนก็มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 3 ปี อย่างไรก็ตาม การเล่นพนันออนไลน์ในขณะนี้ติดตามจับกุมยากและไม่คุ้มกับทรัพยากรของภาครัฐ จึงยังไม่ค่อยเห็นการดำเนินคดีอย่างจริงจัง
ความผิดของ เว็บมาสเตอร์
เว็บมาสเตอร์ คือคำเรียกขานผู้ดูแลเว็บไซต์ต่างๆ ในกรณีมีนักท่องเน็ตเข้ามาเขียนกระทู้ โพสต์ข้อความ หรือโพสต์รูปที่ทำให้บุคคลอื่นเสียหาย รวมทั้งโพสต์ภาพอนาจาร หรือเขียนเนื้อหาพาดพิงสถาบัน ตัวนักท่องเน็ตคนนั้นถือว่ากำลังทำความผิดทางอาญา
ส่วนเว็บมาสเตอร์ ถ้าสืบสวนพบว่า เห็นข้อมูลที่สร้างปัญหา แต่ปล่อยปละละเลยไม่สนใจลบข้อความทิ้งหรือแก้ไขข้อความก็อาจถูกฟ้องร้องฐานร่วมกระทำความผิดด้วย เช่น เรียกค่าเสียหายทางแพ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าในเว็บไซต์ดังกล่าวไม่มีมาตรการป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย โอกาสต้องรับโทษจะยิ่งสูงขึ้น
ลิงก์-ไฮเปอร์ลิงก์ ละเมิดลิขสิทธิ์
โลกอินเตอร์เน็ตเปิดโอกาสให้แต่ละเว็บไซต์เชื่อมโยงข้อมูลถึงกันได้อย่างสะดวกง่ายดาย ผ่านระบบที่เรียกว่า "ไฮเปอร์ลิงก์" หรือ "ลิงก์"
ปัญหาอาจเกิดขึ้นได้ ถ้าไปเอาข้อมูลจากเว็บไซต์อื่นๆ มาเผยแพร่ แม้จะทำลิงก์เชื่อมโยงที่มาเอาไว้ แต่ถ้าไม่ได้ขออนุญาตเจ้าของเว็บปลายทางโดยตรงก็อาจมีความผิดฐานละเมิดลิขสิทธิ์ หรือทำซ้ำงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้อื่น
ในสหรัฐอเมริกามีข้อถกเถียงกันในประเด็นนี้อย่างแพร่หลายถ้าจะเอาเว็บไซต์ของคนอื่นมาลิงก์เข้ากับเว็บไซต์ของเราจะต้องไปขออนุญาตหรือไม่ ในประเทศไทยปัญหานี้ยังไม่เคยเกิดขึ้น แต่อนาคตอาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้น ก่อนจะนำเว็บของคนอื่นมาลิงก์เข้ากับเว็บของเราควรขออนุญาตให้เรียบร้อยก่อน
การดาวน์โหลดเพลง
เพลง ถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ใครจะไปทำซ้ำ ดัดแปลง หรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของไม่ได้
การอัพโหลดไฟล์เพลงขึ้นไปอยู่ในโลกอินเตอร์เน็ตถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์เช่นกัน ยิ่งถ้าทำเพื่อการค้าโดยเก็บเงินจากคนที่ดาวน์โหลดเพลงนับเป็นความผิดคดีอาญา
สำหรับคนที่ดาวน์โหลดมาฟังเฉยๆ ถือเป็นการทำซ้ำ แต่พอมีช่องทางทางกฎหมายที่จะอ้างได้ว่าไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ เพราะถือเป็นการทำซ้ำมาเพื่อใช้ประโยชน์เอง และการดาวน์โหลดมาฟังยังพอมีช่องทางต่อสู้คดีได้ว่าไม่ได้เป็นอุปสรรคกับการใช้ประโยชน์จากงานอันมีลิขสิทธิ์ของเจ้าของลิขสิทธิ์ เพราะไม่ได้เอาไปขาย
การซื้อโปรแกรมลิขสิทธิ์มาก๊อบปี้แจกผู้อื่น
เนื่องจากโปรแกรมลิขสิทธิ์ หรือโปรแกรมถูกกฎหมายมีราคาแพงมาก ทำให้ธุรกิจโปรแกรมเถื่อนละเมิดลิขสิทธิ์เฟื่องฟูยิ่งกว่าดอกเห็ด
อย่างไรก็ตาม แม้เราจะซื้อโปรแกรมลิขสิทธิ์มาใช้ แต่ถ้านำโปรแกรมนั้นไปแจกให้เพื่อนฝูงก๊อบปี้ หรือทำสำเนาไปใช้ต่อ ถือว่ามีความผิดฐาน "ทำซ้ำ" ซึ่งเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ แม้กฎหมายจะมีข้อยกเว้นให้การทำสำเนาโดยเจ้าของโปรแกรมมีลิขสิทธิ์ ทำได้โดยไม่ผิดกฎหมาย แต่ไม่ใช่การยกเว้นโดยไม่มีขอบเขต เพราะกฎหมายจำกัดจำนวนสำเนาว่าให้มีจำนวนตามสมควร เพื่อวัตถุประสงค์ในการบำรุงรักษาหรือป้องกันการสูญหาย
อีเมล์ขยะ (สแปมมิ่ง)
ใครที่ใช้ อีเมล์ ทุกวันร้อยทั้งร้อยคงรู้สึกเบื่อหน่ายกับ อีเมล์โฆษณาขยะ ทั้งหลายที่ส่งมาได้ทุกวัน วันละหลายๆ ฉบับ ทั้งน่าเบื่อ น่ารำคาญ และเสียเวลาอ่าน
เจ้าของสินค้าหรือผู้ส่งอีเมล์ขยะเหล่านี้ได้ข้อมูลที่อยู่อีเมล์ของเราผ่านวิธีการหลากหลายรูปแบบ เช่น ฝังโปรแกรม "คุกกี้" เอาไว้ตามเว็บไซต์ที่เราเข้าไปดู จากนั้นก็ส่งคุกกี้เข้ามาคอยสอดส่องเก็บข้อมูลการใช้คอมพิวเตอร์และอีเมล์ของเรา เพื่อส่งอีเมล์ขยะมาหา
ในสหรัฐ ปัญหาอีเมล์ขยะทำให้มีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไปร้องเรียนกับหน่วยงานของรัฐ เพื่อให้เร่งออกมาตรการควบคุม และเคยเกิดคดีดังขึ้นคดีหนึ่ง หลังจากบริษัท "เอโอแอล" ไอเอสพีหรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ของสหรัฐ ลงมือฟ้องร้องบริษัทไซเบอร์โปรโมชั่น ฐานส่งอีเมล์โฆษณาขยะไปยังอีเมล์ของลูกค้าเอโอแอล นอกจากนั้น ยังมีอีกคดีที่ไอเอสพีฟ้องผู้ส่งอีเมล์ขยะฐานะ "บุกรุก" คอมพิวเตอร์ลูกค้า
ส่วนในไทยอาจเข้าข่ายผิดมาตรา 10 ในกฎหมายคอมพิวเตอร์ 2550 ที่ระบุว่า ผู้ใดกระทำการโดยมิชอบ เพื่อให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานตามปกติได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ข้อมูลจากเว็บไซต์ www.lawyerthai.com
วันที่ 25 ต.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,181 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,154 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 8,837 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,287 ครั้ง |
เปิดอ่าน 18,793 ครั้ง |
เปิดอ่าน 61,532 ครั้ง |
เปิดอ่าน 64,200 ครั้ง |
|
|