บทนำ
การส่งเสริมอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา เป็นนโยบาย
สำคัญยิ่งอีกประการหนึ่งของการจัดการศึกษามาทุกยุคทุกสมัย ถูกบรรจุไว้ในหลักสูตรทุกหลัก
สูตรให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และเสริมสร้างศิลปวัฒนธรรมไทยของประเทศ..
ผมรับผิดชอบสอนวิชาประวัติสังคมและวัฒนธรรมไทย เป็นวิชาเลือกที่เราเปิดสอนให้
กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย มุ่งเน้นให้ผู้เรียนได้ศึกษาศิลปวัฒนธรรมในเรื่อง รากฐาน
เอกลักษณ์ พัฒนาการและแนวโน้ม ให้ผู้เรียนมีความเข้าใจสังคมและวัฒนธรรม เห็นคุณค่าใน
มรดกทางวัฒนธรรม ภูมิใจในเอกลักษณ์ของชาติ และมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย
เพื่อให้บรรลุถึงเป้าหมายของหลักสูตรและคำอธิบายรายวิชา ผมเองมีความสนใจการสอน
แบบโครงงาน เพราะเป็นการสอนที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนปฏิบัติการเรียนด้วยตนเอง โดยยึดหลักการ
ว่า การเรียนรู้ที่ดีนั้นเกิดจากการกระทำของตัวผู้เรียนเอง และโครงงานที่ผมคิดว่ามีความเหมาะ
สมต่อการเรียนวิชาประวัติสังคมและวัฒนธรรมไทยน่าจะเป็น โครงงานเกี่ยวกับการเขียนสารคดี
เพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้รู้จักค้นคว้า เรียบเรียงเรืองราวออกมาเป็นข้อเขียน เกิดการ
เชื่อมโยงความรู้ใหม่อย่างเป็นระบบ
วัตถุประสงค์ในการดำเนินงาน
ผมตั้งวัตถุประสงค์ไว้สองข้อ คือ พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย และ
พัฒนาให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของวัฒนธรรมไทย
แนวคิดที่เกี่ยวข้อง
เพื่อให้บรรลุถึงจุดประสงค์ของหลักสูตรและคำอธิบายรายวิชา ทำให้ผมต้องหาวิธีการ
เรียนการสอนนำพาเด็กไปให้ถึงฝั่ง เมื่อเข้าไปตรวจสอบแนวคิดเกี่ยวกับการสอนเพื่อการอนุรักษ์
และสืบสานวัฒนธรรมไทย พบว่า มีผู้เขียนถึงและนำเสนอไว้มากมาย พอสรุปได้ว่า
1. โรงเรียนมีหน้าที่และบทบาทให้ความรู้ ความสำคัญของศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้ตระหนัก
ในคุณค่า เกิดเจตคติร่วมกันรับผิดชอบในฐานะเป็นสมบัติของทุกคนในสังคม
2. ปรับปรุงการเรียนการสอน กิจกรรมนักเรียนและโรงเรียนให้นักเรียนมีโอกาสร่วมปฏิบัติ
เชิงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม
3. จัดสถานการณ์ให้นักเรียนได้ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ ศิลปวัฒนธรรม เพื่อให้เกิดความภูมิใจ
ในมรดกทางความคิดการสร้างสรรค์ สามารถนำไปสืบทอดและพัฒนาได้
4. โรงเรียนควรมีบทบาทปลูกฝังความรัก ความหวงแหนในคุณค่าและเอกลักษณ์ของศิลปะ
วัฒนธรรมไทย
5. สร้างและประสานเครือข่ายทางศิลปวัฒนธรรมกับองค์กรภายนอกโรงเรียน
การดำเนินงาน
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเริ่มด้วย สนทนาซักถามผู้เรียนเกี่ยวกับพื้นฐานและประสบการณ์
การเรียนรู้ทางด้านวัฒนธรรม ความสนใจของนักเรียนที่มีต่อการศึกษาวัฒนธรรมในด้านต่าง ๆ การรวบ
รวมความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย วิธีการรวบรวมข้อมูล
กระตุ้นให้นักเรียนสนใจศึกษาสารคดีวัฒนธรรมจากรายการโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ หนังสือสารคดี
ต่าง ๆ
ครูบรรยายถึงแนวทางการเรียนสารคดีเกี่ยวกับวัฒนธรรมไทย แบ่งกลุ่มให้นักเรียนจัดทำหนังสือ
สารคดีวัฒนธรรม อย่างเป็นกระบวนการ เช่น จัดตั้งคณะทำงาน เลือกบรรณาธิการ กำหนดรูปแบบใน
การจัดทำหนังสือ เนื้อหาของหนังสือสารคดี โดยมีครูผู้สอนให้คำปรึกษากับนักเรียนอย่างใกล้ชิด มี
ระยะเวลาในการดำเนินงาน 1 เดือน
หลังจากนั้นนำหนังสือสารคดีมานำเสนอต่อชั้นเรียน ครูและนักเรียนร่วมกันประเมินผล สรุปองค์
ความรู้ที่เกิดจากการเรียนรู้
ผลการดำเนินงาน
การวิจัยครั้งนั้น ผมใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 42 ตัวอย่าง สอบถามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่าง
พบว่า สามารถก่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองของนักเรียน ด้วยกระบวนการทำงานร่วมกัน ส่งเสริมให้
ผู้เรียนได้มีความรู้ความเข้าใจวัฒนธรรมของชาติและท้องถิ่น เกิดการเรียนรู้แบบบูรณาการร่วมกับวิชา
อื่น เช่น ภาษาไทย ศิลปศึกษา นิเทศศาสตร์ เป็นต้น
สืบสานการพัฒนา
เมื่อเทคโนโลยีทางการศึกษาและการสื่อสารมีความเจริญก้าวหน้า วิทยาการเว็บบล็อก
เป็นที่รู้จักของบุคคลโดยทั่วไป ในห้วงเวลาดังกล่าวผมได้แนะนำให้นักเรียนรู้จักการเขียนบล็อก
นำความรู้จากแหล่งวิทยาการภายในชุมชน มาถ่ายทอดสู่สายตาด้วยระบบออนไลน์ จากข้อมูล
ที่ได้จากการศึกษา เป็นงานเขียนที่ไร้พรหมแดน...