...."> ....">
ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

24 ตุลาคม......... วันสหประชาชาติ


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 6,401 ครั้ง
24 ตุลาคม......... วันสหประชาชาติ

Advertisement


*Thumbnail
p16291940736.jpg

 
 

24 ตุลาคม......... วันสหประชาชาติ
24 ต.ค. 2552 : สุภาภรณ์ นิลยกานนท์(เพชรสุภา)

เพื่อระลึกถึงวันที่องค์การสหประชาชาติ ( UNITED NATIONS ) ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 การก่อตั้งองค์การสหประชาชาติขึ้นเพื่อนำสันติภาพมาสู่โลก อีกทั้งให้ความช่วยเหลือในด้านต่าง ๆ ให้กับประเทศสมาชิก ปัจจุบันองค์การสหประชาชาติมีสมาชิกทั้งหมด 184 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย ประเทศไทยเป็นสมาชิกเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2489 เป็นสมาชิกลำดับที่ 55

องค์การสหประชาชาติ หรือ United Nations - UN ก่อตั้งขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ( พ.ศ. 2482 - 2488 ) โดยความร่วมมือของนายกรัฐมนตรีแห่งอังกฤษ คือ นายวินสตัน เชอร์ชิล ( Winston Churchill ) และประธานาธิบดีแห่งสหรัฐอเมริกา คือ นายแฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ ( Franklin D. Roosevelt ) เนื่องมาจากเหตุผล 3 ประการ ได้แก่
ระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศคู่กรณีด้วยสันติวิธี
เป็นแกนกลางในการนำสันติภาพอันถาวรมาสู่โลก
เป็นศูนย์กลางความร่วมมือช่วยเหลือ ระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม
องค์การสหประชาชาติมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงนิวยอร์ก ( New York ) ประเทศสหรัฐอเมริกา ( The United State of America ) การประชุมเพื่อจัดตั้งองค์การสหประชาชาติมีทั้งหมด 5 ครั้ง ได้แก่
เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2484 บนเรือออกุสตา ( Augusta ) ในมหาสมุทรแอตแลนติก
เมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2486 ณ กรุงมอสโก
เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม - 7 ตุลาคม พ.ศ. 2487 ณ คฤหาสน์ลัมเบอร์ตันโอคส์ ( Lumberton Laks ) กรุงวอชิงตัน
เมื่อวันที่ 4 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2488 ณ เมืองยัลตา ( Yalta ) แหลมไครเมีย สหภาพโซเวียต
เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2488 ณ นครซานฟรานซิลโก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งครั้งนี้มีการลงนามเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 ให้ก่อตั้งองค์การสหประชาชาติ

องค์การสหประชาชาติ ได้จัดแบ่งการบริการออกเป็นองค์กรต่าง ๆ 6 องค์กร ดังนี้
สมัชชา ( General Assembly )
คือ สมาชิกขององค์การสหประชาชาติทุกประเทศต้องเป็นสมาชิกสมัชชาด้วย สมัชชาจะจัดให้มีการประชุมสมัยสามัญในวันอังคารที่ 3 ของเดือนกันยายน และอาจมีประชุมสมัยพิเศษขึ้นตามโอกาสที่เหมาะสม ในการประชุมแต่ละครั้งประเทศสมาชิกมีสิทธิส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมได้ แต่ต้องไม่เกิน 5 คน แต่ละประเทศมีสิทธิ์ออกเสียงได้ประเทศละ 1 เสียง สมัชชาจะประกอบไปด้วยประธานสมัชชา 1 คน รองประธานจำนวน 17 คน โดยจะคัดเลือกจากทวีปยุโรป 3 คน อเมริกาใต้ 3 คน เอเชียและแอฟริกา 7 คน และประเทศที่เป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงจำนวน 5 คน (ถ้าประธานมาจากพื้นที่ใด รองประธานจากเขตนี้นต้องลดลงจำนวน 1 คน)

คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council)
หน้าที่ของคณะมนตรีความมั่นคง คือ การระงับกรณีพิพาทระหว่างประเทศ ซึ่งสามารถใช้กำลังทหารในการระงับข้อพิพาทกรณีนั้นได้ รักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ สอบสวนกรณีพิพาทหรือสาเหตุอันอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งระหว่างกันได้ และหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้องกับความมั่นคงทางด้านสันติภาพของโลก คณะมนตรีความมั่นคง ประกอบด้วยสมาชิก 15 ประเทศ มีสมาชิกถาวร 5 ประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ รัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน และสมาชิกเลือกตั้งอีก 10 ประเทศ และอยู่ในตำแหน่งครั้งละ 2 ปี
คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม ( Economic and Social Council )
มีหน้าที่ประสานงานให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม ระหว่างสมาชิกประเทศ มีสมาชิกจำนวน 54 ประเทศ อยู่ในตำแหน่งครั้ง ละ 3 ปี
คณะมนตรีภาวะทรัสตี ( Trusteeship Council )
มีหน้าที่ให้คำปรึกษาและดูแลการบริหารงานดินแดนที่อยู่ในภาวะทรัสตี สมาชิกและคณะมนตรีภาวะทรัสตีนี้ได้แก่ ประเทศที่ทำหน้าที่ปกครองดินแดนในภาวะทรัสตี สมาชิกประจำคณะมนตรีความมั่นคงและสมาชิกอื่น ๆ ที่เลือกตั้งโดยสมัชชา คณะมนตรีภาวะทรัสตีได้ดำเนินนโยบายที่จะให้ประเทศที่อยู่ในภาวะทรัสตีสามารถประกาศตนเป็นเอกราชได้และสามารถทำสำเร็จมาแล้วหลายประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่อยู่ในทวีปแอฟริกา
ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (Intermational Court of Justice )
มีหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีพิพาททางกฎหมายระหว่างประเทศ และให้คำปรึกษาแก่หน่วยงานอื่น ๆ ในองค์การสหประชาชาติ เช่น ศาลโลก คณะมนตรีความมั่นคง สำนักงานของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศตั้งอยู่ที่ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 คน อยู่ในตำแหน่งคราวละ 9 ปี โดยการคัดเลือกจากที่ประชุมสมัชชาใหญ่ ร่วมกับคณะมนตรีความมั่นคง

สำนักงานเลขาธิการ (The Secretariat)
มีหน้าที่ควบคุมดูแลการบริหารและธุรการขององค์กรต่าง ๆ ในองค์การสหประชาชาติ ซึ่งมีบทบาท สำคัญในการแก้ไขปัญหาทางการเมือง และปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสันติภาพของโลก มีเลขาธิการเป็นผู้บริหารงาน อยู่ในตำแหน่งครั้งละ 5 ปี โดยการแต่งตั้งจากมีประชุมสมัชชาใหญ่


.

     นิทรรศการเผยแพร่ผลงาน และการทำงานต่าง ๆ ขององค์การสหประชาชาติ
     ประดับธงของสหประชาชาติในสถานที่ต่าง ๆ


TO18.jpg image by taweephong

ที่มา : http://www.tungsong.com/Impotant_day/UN/UN.asp

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 1756 วันที่ 24 ต.ค. 2552


24 ตุลาคม......... วันสหประชาชาติ24ตุลาคม.........วันสหประชาชาติ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

สารภาพบาป

สารภาพบาป


เปิดอ่าน 6,391 ครั้ง
วิมานลอย..   ".Gone With The Wind"

วิมานลอย.. ".Gone With The Wind"


เปิดอ่าน 6,399 ครั้ง
ดวงดี อย่าเหลิง

ดวงดี อย่าเหลิง


เปิดอ่าน 6,394 ครั้ง
เช่าที่หลวง..โดนลวงมาแล้ว

เช่าที่หลวง..โดนลวงมาแล้ว


เปิดอ่าน 6,390 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ข้าวโพดต้มสุก ต้านมะเร็ง

ข้าวโพดต้มสุก ต้านมะเร็ง

เปิดอ่าน 6,394 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ตะลึงโพล ...ผู้ชายส่วนใหญ่เลือกผู้หญิงสวยแต่โง่เป็นแฟน
ตะลึงโพล ...ผู้ชายส่วนใหญ่เลือกผู้หญิงสวยแต่โง่เป็นแฟน
เปิดอ่าน 6,409 ☕ คลิกอ่านเลย

อยากผิวหน้าสวยจากธรรมชาติ....เชิญทางนี้ค่ะ...
อยากผิวหน้าสวยจากธรรมชาติ....เชิญทางนี้ค่ะ...
เปิดอ่าน 6,390 ☕ คลิกอ่านเลย

เก่ง ดี มีสุข Home is Where the Heart is
เก่ง ดี มีสุข Home is Where the Heart is
เปิดอ่าน 6,419 ☕ คลิกอ่านเลย

รวย...สุข
รวย...สุข
เปิดอ่าน 6,395 ☕ คลิกอ่านเลย

รูปภาพ Water Art ศิลปะ จากหยดน้ำ
รูปภาพ Water Art ศิลปะ จากหยดน้ำ
เปิดอ่าน 6,396 ☕ คลิกอ่านเลย

 ทีวีอาจจะเพียงแต่ให้ความสุขได้ในระยะแต่อาจจะก่อให้เกิดความละเหี่ยในระยะยาว
ทีวีอาจจะเพียงแต่ให้ความสุขได้ในระยะแต่อาจจะก่อให้เกิดความละเหี่ยในระยะยาว
เปิดอ่าน 6,398 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ทำไมแบตเตอรี่มีอายุสั้นลง?
ทำไมแบตเตอรี่มีอายุสั้นลง?
เปิดอ่าน 13,983 ครั้ง

เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรม Interactive
เทคนิคการสอนวิทยาศาสตร์ด้วยกิจกรรม Interactive
เปิดอ่าน 58,271 ครั้ง

ทีฆายุโก - ฑีฆายุโก
ทีฆายุโก - ฑีฆายุโก
เปิดอ่าน 59,659 ครั้ง

โชว์ภาพ 3 มิติ แก๊ดเจ็ตใหม่ บัตรประชาชนอนาคต
โชว์ภาพ 3 มิติ แก๊ดเจ็ตใหม่ บัตรประชาชนอนาคต
เปิดอ่าน 10,596 ครั้ง

เตือนภัย : ฝนตก ยุงลายชุกชุม ระวังไข้เลือดออกคุกคามเด็กๆ
เตือนภัย : ฝนตก ยุงลายชุกชุม ระวังไข้เลือดออกคุกคามเด็กๆ
เปิดอ่าน 15,325 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ