วันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ
21 ตุลาคม ของทุกปี
การสังคมสงเคราะห์คือการช่วยเหลือเกื้อกูลกันให้ทุกคนอยู่ใน สังคมไทยได้อย่างมีความสุขและให้ทุกคนมีความสามารถ รวมถึงพัฒนาสังคมให้มีความเจริญก้าวหน้าด้วย
การสังคมสงเคราะห์
การสังคมสงเคราะห์มีในประเทศไทยเป็นเวลานานมาแล้ว สมัยก่อนนี้ "วัด" เป็นศูนย์กลางของการสังคมสงเคราะห์ ปัจจุบันนี้มีทั้งภาครัฐบาล และภาคเอกชน ทางฝ่ายรัฐนั้นมีหน่วยงานที่ร่วมรับผิดชอบเกี่ยวกับความผาสุกของประชาชนชาว ไทย คือ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงสาธารณสุข โดยมีกรมประชาสงเคราะห์ แห่งกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ดำเนินงานและรับผิดชอบโดยตรง
ส่วนภาคเอกชนนั้นกระทำการสังคมสงเคราะห์โดยการจัดตั้งเป็น สมาคมและมูลนิธิเพื่อการกุศล ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นองค์การที่ตั้งขึ้นโดยประชาชน เป็นของประชาชนและทำงานเพื่อประชาชนโดยแท้ ในปัจจุบันนี้มีจำนวน ประมาณ 10,000 องค์การ ที่ช่วยรัฐและหน่วยงานของรัฐให้บริการสังคม- สงเคราะห์ ซึ่งให้สวัสดิการทางสังคมแก่ประชาชนเพื่อให้สังคมพัฒนาไปสู่ความเจริญก้าว หน้าตามเป้าหมายที่ต้องการได้
พระราชดำริ
สมาคมและมูลนิธิหลายองค์การได้จัดตั้งขึ้นตามพระราชดำริ หรือได้รับพระมหากรุณาธิคุณให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมและมูลนิธิเหล่านี้ได้ทำงานที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชนและประเทศชาติ เป็นเอนกประการ ทั้งในการสงเคราะห์ผู้ประสบปัญหาความทุกข์ยากเดือดร้อน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคม รวมทั้งการพัฒนาสังคมด้านต่างๆ เช่น มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ และมูลนิธิอานันทมหิดล เป็นต้น
องค์การเพื่อการสังคมสงเคราะห์
มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ และสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ เป็นองค์การที่ทำงานเพื่อการสังคมสงเคราะห์โดยแท้ มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ฯ หมายถึงมูลนิธิที่พระมหากษัตริย์และประชาชนร่วมกันจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยผู้ ที่ประสบสาธารณภัยทั่วประเทศ มูลนิธินี้ถือกำเนิดขึ้นเนื่องมาจากการเกิดวาตภัยและอุทกภัยขึ้นในจังหวัด ภาคใต้เมื่อ พ.ศ. 2505 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงนำประชาชนให้ช่วยเหลือพี่น้องร่วมชาติ ผู้ ประสบเคราะห์กรรมเหล่านั้น ได้รับการบริจาคเฉพาะเงินสดถึง 11 ล้านบาท หลังจากที่พระราชทานช่วยเหลือผู้ประสบภัยเหล่านั้นแล้ว ยังเหลือเงินอยู่อีกถึง 3 ล้านบาท จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้จัดตั้งเป็น มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ขึ้น
สภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทยฯ นั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานเงินจำนวนหนึ่งล้านบาทเป็นทุนริ เริ่มการสร้างตึกทำงานของสภาสังคมสงเคราะห์ฯ และได้พระราชทานนามตึกนี้ว่า "ตึกมหิดล" เพื่อเทิดทูนพระเกียรติคุณในด้านสังคมสงเคราะห์ของสมเด็จพระบรมราชชนก โครงการที่สำคัญที่สุดของสภาสังคมสงเคราะห์ฯ คืออุดมการณ์ที่รัฐรับเป็นอุดมการณ์ของชาติ คือ "โครงการแผ่นดินธรรม แผ่นดินทอง" ซึ่งมีที่มาจากพระบรมราชปณิธานในพระปฐมบรมราชโองการที่ว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" โดยพระราชดำรัสที่ว่า "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม" เป็นที่มาแห่ง "แผ่นดินธรรม" ส่วนพระราชดำรัสที่ว่า "เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม" เป็นที่มาแห่ง "แผ่นดินทอง"
วันสังคมสงเคราะห์
ใน พ.ศ. 2528 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบตามข้อเสนอของคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนางาน สังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ให้กำหนดวันที่ 21 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของสมเด็จย่า เป็นวันสังคมสงเคราะห์แห่งชาติ ด้วยเหตุผลที่ว่าพระองค์ทรงอุทิศพระวรกายและเวลา เพื่อประโยชน์ให้บังเกิดแก่ประชาชนตลอดมา โดยมิได้ทรงเห็นแก่ความเหนื่อยยาก สมควรเป็นปูชนียบุคคลที่นักสังคมสงเคราะห์ควรถือเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติ งานของตนต่อไป ดังนั้นในวันที่ 21 ตุลาคมของทุกปี ภาครัฐบาลและภาคเอกชนจึงได้ร่วมกันจัดงานแสดงกิจกรรมต่างๆ เกี่ยวกับการสังคมสงเคราะห์ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อพสกนิกรทุกหมู่เหล่าโดยไม่ เลือกเชื้อชาติศาสนา
การประกันสังคม
มีการสังคมสงเคราะห์อีกประเภทหนึ่งคือการประกันสังคม หรือการสร้างความมั่นคงในสังคมร่วมกัน แม้ประเทศไทยจะมีกฎหมายประกันสังคมแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2497 แต่ไม่สามารถบังคับใช้ได้เพราะมีปัญหาเรื่องนโยบาย อย่างไรก็ตามได้มีประกาศใช้กฎหมายแรงงาน เมื่อ พ.ศ. 2515 โดยกำหนดให้มีการจัดตั้งสำนักงานกองทุนเงินทดแทนในกรมแรงงาน ให้ทำหน้าที่เรียกเก็บเงินสมทบจากนายจ้างและสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไป เพื่อนำมาจ่ายเป็นค่าทดแทนแก่ลูกจ้างซึ่งประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจาก การทำงานให้นายจ้าง ทำให้ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของลูกจ้างในระหว่างที่เจ็บป่วยต้องหยุดงาน และในกรณีทุพพลภาพก็สามารถมีรายได้ไปใช้ สอยเลี้ยงดูครอบครัว