มารู้จักคำว่า ศึกษา หรือสิกขา ตามแนวพุทธศาสนากัน
คำว่า ศิกษา รากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต
คำว่า สิกขา รากศัพท์มาจากภาษาบาลีหรือมคธ
โดยทั่วไปแล้วคนไทยนำคำว่า ศิกษา มาใช้แต่ก็มีความหมายเดียวกันกับคำว่า สิกขา ในภาษาบาลีนั่นเอง ในที่นี้จะให้ความหมายของคำว่า สิกขา ที่มาจากภาษาบาลี แต่ให้เข้าใจว่ามีความหมายเดียวกันกับคำว่าศึกษานั่นเอง
1. สิกฺขา มาจากคำว่า สยํ + อิกฺข
สยํ แปลว่า เอง
อิกฺข แปลว่า เห็น
นำไปประกอบวิภัตติได้รูปเป็น สิกฺขา จึงมีความหมายว่า เห็นเอง
2. สิกฺขา มาจากคำว่า สห + อิกฺข
สห แปลว่า ร่วม ร่วมกัน
อิกฺข แปลว่า เห็น
นำไปประกอบวิภัตติได้รูปเป็น สิกฺขา จึงมีความหมายว่า เห็นร่วม หรือเห็นร่วมกัน
3. สิกฺขา มาจากคำว่า สยํ + อิกฺข
สมฺมา แปลว่า ดี ชอบ
อิกฺข แปลว่า เห็น
นำไปประกอบวิภัตติได้รูปเป็น สิกฺขา จึงมีความหมายว่า เห็นดี เห็นชอบ
รวมความว่า คำว่า ศึกษา สิกขา ก็จะหมายถึง การศึกษาเล่าเรียนหรือการเรียนรู้ ประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ อันเกิดจากการเห็นเอง เห็นร่วมกัน ส่งผลให้เกิดความรู้ที่เป็นความรู้ที่ดีที่ชอบประกอบด้วยประโยชน์
ดังนั้น พุทธศานา จึงมีหลักการของการศึกษาไว้ 3 ประการ เรียกว่า ไตรสิกขา แปลว่า สิกขา 3 ประกอบด้วย
1. สีลสิกขา ศึกษาเรื่องศีล ความปกติทางกายทวารของตัวเรา
2. สมาธิสิกขา ศึกษาเรื่องสมาธิ ความตั้งมั่นทางจิตใจของตัวเรา
3. ปัญญาสิกขา ศึกษาเรื่องปัญญา ความรู้ ความสามารถที่เกิดจากการเรียนรู้สั่งสมประสบการณ์ด้วยตัวเอง
หากบุคคลหนึ่งบุคคลใดกระทำ หรือสั่งสมสิกขาทั้ง 3 ประการให้มากเจริญขึ้น ๆ อยู่บ่อยๆๆ บุคคลคนนั้นก็จะเป็นบุคคลที่สมบูรณ์แบบ และพร้อมที่จะบำเพ็ญประโยชน์ต่อตนเอง คนรอบข้างและสังคมได้เป็นอย่างดี สมดังสุภาษิตที่ว่า
ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต ปัญญาเป็นแสงสว่างให้แก่โลก
ปญฺญา นรานํ รตฺตนํ ปัญปญาเป็นแก้วดวงประเสริฐของนรชน
สรุปว่า ปัญญา ความรู้ต่าง ๆ ของคนเรามิได้เกิดขึ้นมาง่าย ๆ จำเป็นต้องศึกษาสั่งสมมาเป็นอย่างดีตั้งแต่การเรียนรู้สั่งสมมาด้วยการเห็นเอง นำมาปรึกษาขยายความร่วมกันทำความรู้ความเห็นร่วมกัน จนได้ความรู้ความเห็นที่เป็นความรู้ที่ดีที่ชอบประกอบด้วยประโยชน์ตรงตามความหมายของคำว่า ศึกษา หรือสิกขา ที่ให้ไว้ ณ เบื้องต้น.
มารู้จักคำว่า ศึกษา หรือสิกขา ตามแนวพุทธศาสนากัน
คำว่า ศิกษา รากศัพท์มาจากภาษาสันสกฤต
คำว่า สิกขา รากศัพท์มาจากภาษาบาลีหรือมคธ
โดยทั่วไปแล้วคนไทยนำคำว่า ศิกษา มาใช้แต่ก็มีความหมายเดียวกันกับคำว่า สิกขา ในภาษาบาลีนั่นเอง ในที่นี้จะให้ความหมายของคำว่า สิกขา ที่มาจากภาษาบาลี แต่ให้เข้าใจว่ามีความหมายเดียวกันกับคำว่าศึกษานั่นเอง
1. สิกฺขา มาจากคำว่า สยํ + อิกฺข
สยํ แปลว่า เอง
อิกข แปลว่า เห็น
นำไปประกอบวิภัตติได้รูปเป็น สิกฺขา จึงมีความหมายว่า เห็นเอง
2. สิกฺขา มาจากคำว่า สห + อิกฺข
สห แปลว่า ร่วม ร่วมกัน
อิกข แปลว่า เห็น
นำไปประกอบวิภัตติได้รูปเป็น สิกฺขา จึงมีความหมายว่า เห็นร่วม หรือเห็นร่วมกัน
3. สิกฺขา มาจากคำว่า สยํ + อิกฺข
สมฺมา แปลว่า ดี ชอบ
อิกข แปลว่า เห็น
นำไปประกอบวิภัตติได้รูปเป็น สิกฺขา จึงมีความหมายว่า เห็นดี เห็นชอบ
รวมความว่า คำว่า ศึกษา สิกขา ก็จะหมายถึง การศึกษาเล่าเรียนหรือการเรียนรู้ ประสบการณ์ในด้านต่าง ๆ อันเกิดจากการเห็นเอง เห็นร่วมกัน ส่งผลให้เกิดความรู้ที่เป็นความรู้ที่ดีที่ชอบประกอบด้วยประโยชน์
ดังนั้น พุทธศานา จึงมีหลักการของการศึกษาไว้ 3 ประการ เรียกว่า ไตรสิกขา แปลว่า สิกขา 3 ประกอบด้วย
1. สีลสิกขา ศึกษาเรื่องศีล ความปกติทางกายทวารของตัวเรา
2. สมาธิสิกขา ศึกษาเรื่องสมาธิ ความตั้งมั่นทางจิตใจของตัวเรา
3. ปัญญาสิกขา ศึกษาเรื่องปัญญา ความรู้ ความสามารถที่เกิดจากการเรียนรู้สั่งสมประสบการณ์ด้วยตัวเอง
หากบุคคลหนึ่งบุคคลใดกระทำ หรือสั่งสมสิกขาทั้ง 3 ประการให้มากเจริญขึ้น ๆ อยู่บ่อยๆๆ บุคคลคนนั้นก็จะเป็นบุคคลที่สมบูรณ์แบบ และพร้อมที่จะบำเพ็ญประโยชน์ต่อตนเอง คนรอบข้างและสังคมได้เป็นอย่างดี สมดังสุภาษิตที่ว่า
ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต ปัญญาเป็นแสงสว่างให้แก่โลก
ปญฺญา นรานํ รตฺตนํ ปัญปญาเป็นแก้วดวงประเสริฐของนรชน
สรุปว่า ปัญญา ความรู้ต่าง ๆ ของคนเรามิได้เกิดขึ้นมาง่าย ๆ จำเป็นต้องศึกษาสั่งสมมาเป็นอย่างดีตั้งแต่การเรียนรู้สั่งสมมาด้วยการเห็นเอง นำมาปรึกษาขยายความร่วมกันทำความรู้ความเห็นร่วมกัน จนได้ความรู้ความเห็นที่เป็นความรู้ที่ดีที่ชอบประกอบด้วยประโยชน์ตรงตามความหมายของคำว่า ศึกษา หรือสิกขา ที่ให้ไว้ ณ เบื้องต้น.