วันปิยะมหาราช
วันปิยะมหาราช ตรงกับวันที่ ๒๓ ตุลาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันเสด็จสวรรคตของพระองค์ เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๓ รวมพระชนมายุได้ ๕๘ พรรษา
กิจกรรมในวันปิยะมหาราช
1. ทำบุญตักบาตรเพื่ออุทิศเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
2. วางพวงมาลาสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์
3. จัดนิทรรศการเผยแพร่พระประวัติ และพระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นที่แพร่หลายมากขึ้น
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า
การสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์
พระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า ประดิษฐาน ณ หน้าพระลานพระราชวังดุสิตแขวงจิตรดา เขตดุสิต ระหว่างพระราชวังสวนอัมพรกับบสนามเสือป่า ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่งอนันตสมาคม หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ พระองค์ใหญ่กว่าขนาดจริงเล็กน้อย เป็นพระบรมรูปขณะเสด็จประทับอยู่บนม้าพระที่นั่งซึ่งยืนอยู่บนแผ่นโลหะสัมฤทธิ์ (สำริด)ประดิษฐานบนแท่นหินอ่อนสูง6เมตร กว้าง2เมตร ยาว5เมตร ห่างจากฐานของแท่นออกมา
|
มีรั้วเตี้ยๆลักษณะเป็นสายโซ่ขึงระหว่างเสาล้อมรอบกว้าง9เมตร ยาว11เมตรที่แท่นด้านหน้ามีคำจารึกบนแผ่นโลหะติดประดับสรรญเสริญว่า
คำจารึกฐานองค์พระบรมรูปทรงม้า
ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนากาลล่วงแล้ว 2451พรรษา
จำเดิมแต่พระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ได้ประดิษฐาน แลดำรง
กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยา
เป็นปีที่ 127 โดยนิยม
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพ มหามงกุฎ บุรุศยรัตนราชวริวงษ์วรุตมพงษ์บริพัตรวรขัตติยราชนิกโรดมจาตุรันต บรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศบรมธรรมมิกมหาราชธิราชบรมนารถบพิตร
พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จดำรงราชสมบัติมาถ้วนถึง 40ปีเต็มบริบูรณ์ เป็นรัชสมัยที่ยืนนานยิ่งกว่าสมเด็จพระมหาราชาธิราชแห่งสยามประเทศในอดีตกาล
พระองค์กอปรด้วยพระราชกฤษฎาถินิหาร เป็นอัจฉริยภูบาลบรมบพิตร เสด็จสถิตย์ในสัจธรรมอันมั่นคงมิหวั่นไหว ทรงอธิษฐานพระราชหฤทัยในทางที่จะทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้สถิตย์สถาพรแลให้เกิดความสามัคคีสโมสร เจริญสุขสำราญทั่วไปในเอนกนิกรประชาชาติเป็นเบื้องหน้า แห่งพระราชจรรยาทรงพระสุขุมปรีชา สามารถสอดส่องวินิจฉัยในคุณโทษแห่งประเพณีเมือง ทรงปลดเปลื้องโทษ นำประโยชน์มาบัญญัติโดยปฏิบัติพระองค์ทรงนำหน้าชักจูง ประชาชนให้ดำเนินตามในทางที่งามดี มีประดยชน์เป็นแก่นสารพระทรงทำให้ความสุขสำราญแห่งประชาราษฎร์สำเร็จได้ ด้วยอาศัยดำเนินอยุ่เนืองนิจในวิริยพระขันติคุณอันแรงกล้า ทรงอาจหารในพระราชจรรยา มิได้ย่อท้อต่อความลำบากยากเข็ญ มิได้เห็นที่ขัดข้องอันเป็นข้อควรขยาดแม้ประโยชน์ แลความสุขในส่วนพระองค์ก็อาจจะสละแลกความสำราญพระราชทานไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินได้โดยทรงพระกรุณาปราณี พระองค์คือบุรพการีของราษฎร เพราะเหตุเหล่านี้แผ่นดินของพระองค์ จึงยงยิ่งด้วยความสถาพรรุ่งเรืองงาม มหาชนสยามถึงความสุขเกษมล่วงล้ำอดีตสมัยที่ได้ผ่านมา
พระองค์จึงเป็นปิยมหาราชที่รักของมหาชนทั่วไป ครั้นบรรลุอภิลักขิตสมัย รัชมงคล อภิเษกสัมพัจฉรกาล พระราชวงศานุวงศ์เสนามาตย์ราชบริพาร พร้อมด้วยสมณพราหมณ์อาณาประชาชนชาวสยามประเทศ ทุกชาติชั้นบรรดาศักดิ์ทั่วรัฐสีมาอาณาเขตมาคำนึงถึงพระเดชพระคุณอันได้พรรณนามาแล้วนั้นจึงพากันสร้างพระบรมรูปนี้ประดิษฐานไว้ สนองพระเดชพระคุณเพื่อประกาศพระเกียรติยศ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวปิยมหาราชให้ปรากฏสืบชั่วกัลปวสาน
เมื่อสุริยคติกาล พฤศจิกายนมาศ เอกาทศดิถีพุฒวาร จันทรคติกาล กฤติกมาสกาฬปักษ์ติตติยดิถี
ในปีวอกสัมฤทธิศก จุลศักราช 1270
ในการสร้างพระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้าขึ้นในครั้งนี้ มวลพสกนิกรชาวไทยและชาวต่างประเทศที่มาพึ่งบรมโพธิสสมภารอยู่ในขณะนั้น ร่วมกันสมทบทุนสร้างถวายเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระปิยะมหาราช ผู้ทรงสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคมและเพื่อถวายสักการะในวโรกาสที่พระองค์เสด็จเสวยราชสมบัติครบ 40 พรรษาบริบูรณ์ในพิธีรัชมังคลาภิเษกด้วย สำรับแบบรูปของพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ ได้จ้างช่างหล่อชาวฝรั่งเศส แห่งบริษัทซูซ เซอร์เฟรส ฟองเดอร์เป็นผู้หล่อ ณ กรุงปารีส เลียนแบบพระบรมรูปทรงม้าของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ประดิษฐานอยู่หน้าพระราชวังแวร์ซายส์ในประเทศฝรั่งเศส เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระปิยะมหาราช รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ในปีพ.ศ.2450 พระองค์ได้เสด็จประทับให้ช่างปั้นพระบรมรูป เมื่อวันที่ 22 สิงหคม ศกนั้น พระบรมรูปเสด็จเรียบร้อยและส่งเข้ามายังกรุงรัตนโกสินทร์ในทางเรือ เมื่อ พ.ศ.2451
ครั้นถึงวันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พุทธศักราช 2451 ตรงกับวันพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกครองราชสมบัติได้ 40 ปี (ส่วนรัชดาภิเษกคือครองราชสมบัติได้ 25 ปี)เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระบรมรูปทรงม้า ขึ้นประดิษฐานบนแท่นรองที่หน้าพระลานพระราชวังดุสิต ที่ประจักษ์อยู่ในปัจจุบันจี้ โดยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงอ่านคำถวายพระพรชัยมงคลเสร็จแล้วจึงน้อมเกล้าฯถวายพระบรมรูปทรงม้า กราบบังคมทูลอัญเชิญให้พระบาทสมเด็จพระปิยะมหาราช พระราชบิดาให้ทรงเปิดผ้าคลุมพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นปฐมฤกษ์เพื่อประกาศเกียรติคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้สถิตสถาพรปรากฏสืบไปชั่วกาลนาน
พระราชกรณียกิจที่สำคัญ
|
|
การศึกษา
ในสมัยก่อน การศึกษาของไทยอยู่ตามบ้าน วัด และวัง การศึกษา ในบ้าน มักจะเป็นการฝึกฝนวิชาชีพ ความรู้สำหรับตระกูล ผู้หญิงก็เรียนวิชาซึ่งเตรียมตัวจะเป็นแม่บ้านแม่เรือน ในวัด ซึ่งเป็นสถานศึกษาสำหรับชายก็ไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญในวิชาหนังสือมากนัก เน้นหนักในทางจริยธรรมและภาษาบาลีเพื่อการบวชเรียนต่อไป ส่วนการศึกษา ในวัง มีการสอนวิชาหนังสือสูงกว่า แต่ก็อยู่ในวงจำกัดเฉพาะพระราชวงศ์และข้าราชการในราชสำนัก ในรัชการพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้มีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนักเพราะทรงเห็นว่าเป็นระยะเวลาที่ประเทศตะวันตกกำลังล่าอาณานิคม จึงจำเป็นต้องเรียนรู้วิทยาการและเข้าใจความคิดอ่านของชาวตะวันตก และปรับปรุงประเทศไทย ให้ทัดเทียมอารยประเทศ ภาษาอังกฤษจะเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้เข้าจึงจุดประสงค์นั้นได้
เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติสืบสันตติวงศ์ต่อมา ก็ทรงมีความเห็นเช่นเดียวกับพระบรมชนกนาถ ในการที่จะรับสถานการณ์การคุกคามของจักรวรรดินิยมด้วยการปรับปรุงระบบบริหารราชการ เพื่อพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าเทียมทันอารยประเทศ ซึ่งต้องการผู้ที่รู้วิทยาการสมัยใหม่ มารับราชการ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องให้มีการศึกษาทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ พระองค์จึงทรงทดลองตั้งโรงเรียนสอนภาษาไทยและภาษาอังกฤษขึ้นในพระบรมมหาราชวังเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ ชื่อว่า โรงเรียนราชกุมาร เป็นสถานศึกษาสำหรับพระราชวงศ์และได้ตั้งโรงเรียนวังนันทอุทยาน หรือสวนอนันต์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๑ และโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๒๔ ประกาศเชิญชวนบุตรหลานข้าราชการเข้าศึกษาเล่าเรียนการที่ให้มีการสอนทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤา ด้วยทรงมุ่งหมายให้ภาษาอังกฤษเป็นกุญแจไขความรู้ในเรื่องวิทยาการตะวันตก ให้ภาษาไทยเป็นสื่อนำความรู้ไปใช้ให้เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองสมความมุ่งหมาย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าอยู่หัวทรงตั้งโรงเรียนครั้งนี้เป็นการทดลองประสบการณ์ที่จะผลิตผู้มีความรู้มารับราชการในระบบบริหารแบบใหม่ และผลิตบุคลกรที่จะขยายการศึกษาใหม่ออกมานอกพระบรมมหาราชวัง พระองค์ก็ได้ส่งพระราชโอรสไปศึกษาวิชา ชั้นสูงต่อ ณ ประเทศในยุโรปหลังจากการสำเร็จการศึกษาชั้นต้นที่โรงเรียนราชกุมาร เพื่อจะได้เสด็จกลับมาช่วยราชการในด้านต่าง ๆ พระราชโอรสแต่ละพระองค์ที่ทรงรับพระราชภาระในการบริหารราชการแผ่นดินสืบต่อมาได้มีผลงานอันเป็นประโยชน์ใหญ่หลวงแก่บ้านเมือง ประเทศไทยรุ่งเรืองเป็นประเทศด้วยจุดประสงค์เดียวกัน และได้ขยายวงมาถึงราษฎรสามัญด้วยวิธีการคัดเลือก พระองค์ได้ทรงเริ่มแผนการศึกษา "ทุนเล่าเรียนหลวง เป็นครั้งแรก"
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเล็งเห็นการณ์ไกลว่า บ้านเมืองจะเจริญทัดเทียมอารยประเทศได้นั้น จะมีเพียงแต่ผู้มีความรู้ชั้นสูงเท่านั้นหาได้ไม่ ราษฎรทั่วไปต้องได้มีความรู้ทางหนังสือ วิชาหนังสือเป็นสิ่งสำคัญที่จะพาผู้วิชาไปสู่ความเจริญส่วนตัว และยังเป็นต้นเค้าของความเจริญของราชการบ้านเมือง แม้แต่ทาสที่จะปลดปล่อยก็ยังทรงห่วงใยที่จะให้มีวิชาหนังสือติดตัวไป พระองค์ทรงเปลี่ยนระบบการศึกษาจากระบบเดิมมาสู่ระบบตะวันตกคือ ตั้งโรงเรียนหลวงเพื่อขยายวงการศึกษาขั้นมูลฐานไปสู่ทวยราษฎรสมดังพระราชปณิธานอันแน่วแน่ที่เคยมีพระราชดำรัสเมื่อทรงเปิดโรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ ปี พ.ศ. ๒๔๒๗ ตอนหนึ่งว่า "…เจ้านายราชตระกูลตั้งแต่ลูกฉันเป็นต้นลงไปตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำสุด จะให้ได้มีโอกาสเล่าเรียนได้เสมอกันไม่ว่าเจ้า ว่าขุนนาง
|
|
การไปรษณีย์ การโทรเลขและการโทรศัพท์
ประเทศไทยได้สมัครเข้าร่วมเป็นสมาชิกภาคีสหภาพสากลไปรษณีย์เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๘ เพื่อนำวิทยาการทางการสื่อสารเข้ามาใช้ปรับปรุงแก้ไขการสื่อสารทางไปรษณีย์ ที่มีการก่อตั้งมาก่อนหน้านี้มาได้ ๒ ปีแล้ว โดยที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทอดพระเนตรเห็นความสำคัญของการสื่อสารทางไปรษณีย์ โดยใช้จังหวัดนครปฐมเป็นที่เริ่มต้นการไปรษณีย์เป็นครั้งแรกของเมืองไทย จนการไปรษณีย์ได้ดำเนินมาจนทุกวันนี้
|
เมื่อการไปรษณีย์เปิดดำเนินการแล้ว สิ่งที่ตามมาก็คือ การโทรเลข การโทรเลขทำการทดลองใช้เมื่อปี พ.ศ.๒๔๑๒ โดยให้วิศวกรชาวอังกฤษ ๒ นาย ช่วยกันประกอบขึ้นมา แต่ว่าการทำงานของท่านทั้งสองไม่สามารถทำได้อย่างเต็มที่ เนื่องมาจากเมืองไทยในขณะนั้นยังมีป่าไม้อยู่เป็นจำนวนมาก การสื่อสารทางโทรเลขสมัยนั้นจึงยังไม่เป็นผลสำเร็จ ต่อจากนั้นทางกระทรวงกลาโหมจึงได้รับงานนี้มาทำเองซึ่งต้องใช้เวลานานถึง ๖ ปี โทรเลขสายแรกจึงสัมฤทธิ์ผลเปิดดำเนินการได้ โดยส่งสายระหว่างกรุงเทพฯกับสมุทรปราการ ด้วยระยะทาง ๔๕ กิโลเมตร พร้อมกันนี้ยังวางท่อสายเคเบิลไปถึงประภาคารที่ปากแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับบอกร่องน้ำเมื่อเรือเดินทางเข้าออก
ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๒๑ โปรดเกล้าฯ ให้ขยายงานโทรเลขข้นอีกสายหนึ่ง คือ สายกรุงเทพฯ-บา
ประอิน เมื่อสร้างเสร็จแล้วเปิดดำเนินการได้ ไม่นานก็ทรงโปรดให้สร้างต่อจนถึงพระนครศรีอยุธยา เมื่อความเจริญทางโทรเลขมีมากขึ้นตามลำดับ ทรงโปรดให้ขยายเส้นทางออกไปโดยไม่สิ้นสุดอีกหลายสาย และทรงโปรดเกล้าฯให้การไปรษณีย์และโทรเลขรวมเข้าด้วยกัน เรียกว่า กรมไปรษณีย์โทรเลข นับตั้งแต่บัดนั้นมา
เมื่อมีความเจริญทางไปรษณีย์และโทรเลขมากขึ้น การโทรศัพท์ก็ได้เริ่มขึ้น โดยกระทรวงกลาโหมยังเป็นผู้ดำเนินการต่อไป โดยกระทรวงกลาโหมได้นำวิทยาการสมัยใหม่ ที่เรียกว่า โทรศัพท์ เข้ามาทดลองใช้ในปี พ.ศ.๒๔๒๔ โดยการติดตั้งทดลองใช้เป็นครั้งแรก ตั้งแต่กรุงเทพฯถึงเมืองสมุทรปราการใช้เวลาในการก่อสร้างนาน ๓ ปี ก็เป็นอันสำเร็จ ในปี พ.ศ.๒๔๒๙ พร้อมเปิดให้ประชาชนได้ใช้ทั่วกันจนกระทั่งทุกวันนี้การสื่อสารแห่งประเทศไทยก็ได้ก้าวหน้าด้วยวิทยาการที่เริ่มต้นขึ้นจากสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจริญมาจนทุกวันนี้
|
|
|
การโทรคมนาคม
ในรัชกาลที่ ๕ เกี่ยวกับการคมนาคม ได้มีการขุดคลองและสร้างถนนมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๔ ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลอง สร้างถนนสร้างสะพานเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกันกับการขยายตัวกับบ้านเมือง ถนนสะพานที่ส้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๕ เช่น ถนนราชดำเนิน ถนนเยาวราช ถนนจักรพงษ์ ถนนมหาชัย สะพานผ่านพิภพลีลา และสะพานเฉลิมต่างๆ ต่อมาได้มีการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาคือ สะพานพระราม ๖ สร้างในรัชกาลที่ ๖ - ๗ และสะพานพระพุทธยอดฟ้า ซึ่งสร้างในรัชกาลที่ ๗ กับสะพานที่สำคัญๆ อีกหลายสะพานที่สร้างในรัชกาลที่ ๙ ในด้านยวดยานพาหนะซึ่งเดิมใช้รถลาก ก็ให้โปรดเกล้าฯ ให้นำเอารถมาแบบยุโรบและรถยนต์ที่เรียนกันในสมัยนั้นว่า"ออโตโมบิล" มาวิ่งบนถนนพร้อมกับการเปิดถนนสายการเดิน "รถราง" ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทยด้วยเช่นเดียวกัน
สำหรับคลองที่โปรดเกล้าฯให้ขุดในรัชกาลนี้ได้แก่ คลองสวัสดิ์เปรม คลองนครเนื่องเขตร คลองประเวศน์และคลองเฉลิมกรุง คลองแยกอีก ๔ คลอง
การรถไฟของประเทศไทย
|
ได้อุบัติขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ ๒๔๓๓ โดยมีชาวต่างชาติคณะหนึ่งได้ร่วมคิดกันตั้งลงทุนบริษัทขึ้น ขอรับ อนุญาติจากรัฐบาล สร้างทางรถไฟตั้งแต่กรุงเทะมหานครไปยังจังหวัดสมุทปราการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า ฯ ได้เสด็จทรงแซะเป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ ๑๖ กรกฎาคม และเสด็จทรงเปิดเมื่อวันที่ ๑๑ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๖ สายรถไฟนี้เรียกว่า รถไฟสายปากน้ำ สถานีที่กรุงเทพฯ ตั้งอยู้ที่ตำบลหัวลำโพงนอก ถนนพระราม ๔ นับว่าเป็นครั้งแรกที่รถไฟเกิดขึ้นที่เมืองไทย
ส่วนการรถไฟของรัฐบาลก็ได้เริ่มมาแต่ปี พ.ศ. ๒๔๓๓ เช่นเดียวกัน คือเมื่อวันที่ ๓ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๓๓ ได้ทรงโปรด ฯ ให้ประกาศสร้างงรถไฟแต่กรุงเทพฯ ไปยังจังหวัดนครราชสีมา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้ทรงตระหนักพระราชหฤทัยว่า การรถไฟจะนำความเจริญรุ่งเรื่องมาสู่ประเทศชาติบ้านเมือง และประชาชนได้อย่างแน่แท้ เพราะจะทำให้การคมนาคม
เป็นการขยายประชุมชนให้ไพศาลยิ่งขึ้น และเศษญกิจการค้าขายของบ้านเมืองก็จะเจริญตามส่วน เมื่อได้ทรงจัดสร้างทางรถไฟระหว่างกรุงเทพฯ กับนครราชสีมาและมุ่งหมายมาย
จะสร้างทางรถไฟไปทางภาคเหนือแล้ว จึงโปรดฯให้จัดสร้างทางสายใต้ซึ่งจะผ่านไปยังมณฑลภาคใต้ขึ้นอีก ได้ประกาศซื้อที่ดินสร้างทาง รถไฟสายเพรชบุรีเมื่อวันที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๔๒ การสร้างแต่กรงเทพฯ
ถึงเพชรบุรีได้สำเร็จลงเมื่อพ.ศ. ๒๔๔๖ ในปีพ.ศ. ๒๔๔๘ ได้ทรงโปรดฯให้จัดส้างรถไฟขึ้นอีกสายหนึ่งจากกรุงเทพฯไปยังจังหวัด ไปยังจังหวัดฉะเชิงเทรา เรียกว่าสายตะวันออก การก่อสร้างได้สำเร็จ และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯได้เสด็จทรงเปิดเมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๔๕๐
การเลิกทาส
ความเป็นมาของประเพณีทาส
เรื่องของทาสมิใช่มีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ทาสมีอยู่ในเกือบทุกประเทศประเพณีทาสมีมาแต่สมัยดึกดำยรรพ์นับพันปีมาแล้ว คำว่าทาสเป็นภาษาบาลีและสันสกฤตภาษาไทยเรียกว่าข้า เจ้าของทาสเรียกว่าเจ้าข้า ประเพณีทาสเกิดจากการที่คนสมัยก่อนทำศึกสงครามต่อกัน ฝ่ายที่มีชัยย่อมถืออำนาจกดขี่เชลยให้เป็นข้ารับใช้การงานไปจนตลอดชีวิต ทาสจำพวกนี้เรียกว่าทาสเชลย แต่ต่อมามีทาสประเภทอื่นๆ เพิ่มขึ้นอีกคือ ทาสที่เจ้าของซื้อมาจากเจ้าของเดิม บุตรที่เกิดขึ้นแก่บิดามารดาผู้เป็นทาสแห่งเจ้าเดียวกัน ทาสเจ้าของใหม่ได้รับจากเจ้าของเดิมเป็นของขวัญ ผู้ที่ถูกปรับแล้วมีผู้อื่นเสียค่าปรับแทนก็เลยต้องเป็นทาสของเขา ผู้ซึ่งได้รับอุปการะในสมัยข้าวแพงและเด็กๆ ลูกผู้ที่เล่นการพนันในบ่อนแล้วไม่มีเงิน จะใช้เมื่อเสียมากๆ ทรงเลิกทาส
ระบบทาสถือเป็นสถาบันที่มีกฎหมายคุ้มครองมาตั้งแต่ครั้งอยุธยาระบบนีดได้แทรกซึมเข้าไปในวิถีชีวิตของทุกคนในสังคมในสมัยรัตนโกสินทร์ สภาพความเป็นทาสได้บรรเทาความแยกแค้นลำเค็ญจนส่งผลให้มีปริมาณทาสเพิ่มมากขึ้น กฎหมายทาสแต่โบราณได้จำแนกทาสออกเป็น ๗ ประการ ตามลักษณะของการตกเป็นทาส ประเภทที่ ๗ คือทาสเชลย ในแง่ของการไถ่ทอนทาสนั้น ทาสสที่ไม่ใช้ทาสเชลยจะมีแบบที่สามารถไถ่ถอนตัวเองได้และไถถถถ่ถอนไม่ได้ พวกนี้จะเป็นทาสสินไถ่ ดังนั้นระบบทาสซึ่งมีมาช้านานในสังคมไทยได้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับประโยชน์ส่วนตัวของทั้งข้าราชการแลพลเมืองทั่วประเทศ การยกเลิกทาสจึงเท่ากับการสร้างความขัดแย้งกับบรรดาเจ้าของทาสหรือนายทาส ด้วยพระปรีชาญานและสายพระเนตรอันกว้างไกลของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงดำเนินการเรื่องนี้ด้วยความสุขุมคัมภีรภาพเพื่อหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าการใช้กำลังและความรุนแรงพระองค์ทรงเลือกใช้วิธีการที่ละมุนละม่อมโดยทรงปลดปล่อยทาสอย่างมีขั้นตอนค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งกินเวลาหลายสิบปี
โดยขั้นแรกพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงประกาศใช้พระราชบัญยัติพิกัดอายุเกษียณอายุลูกทาสไทยในพระพุทธศักราย ๒๔๑๗ โดยลดอัตราการไถ่ถอนลูกทาสที่เกิดใชช่วงรัชสมัยของพระองค์ให้พ้นการเป็นทาสไม่เกิน ๒๐ ปี ซึ่งหลังจากนั้นแล้วบรรดาลูกทาสดังกล่าวจะได้รับการปลดปล่อยให้เป็นอิสระดังนั้นจึงเป็นการลดจำนวนทาสลงอย่างมากโดยไม่มีผลกระทบต่อนายทาส จนเกินไป ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติตามมาอีก ๒ ฉบับ ในพระพุทธศักราช ๒๔๔๓ และ ๒๔๔๗ การยกเลิกทาสได้กระทำเสร็จตามสมบูรณ์โดยการออกกฎหมายอีกฉบับหนึ่งในพระพุทธศักราช ๒๔๔๘ ในที่สุดได้มีประกาศใช้ประมวลกฎหมายลักษณะอาญาฉบับใหม่ในพระพุทธศักราช ๒๔๕๑ ซึ่งกำหนดบทลงโทษ ๗ ปี สำหรับการซื้อขายคนเป็นทาส
การปกครอง
การปกครองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ได้ยึดระเบียบแบบแผนต่างๆมาจากกรุงศรีอยุธยา แม้จะมีการเปลี่ยนแปลงบ้างก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์เสด็จประพาสเพื่อนบ้าน เช่น สิงคโปร์ อินเดียและชวา เป็นต้น ทรงเห็นว่าการปกครองในประเทศเพื่อนบ้านมีระเบียบแบบแผนเป็นที่น่านิยม ควรจะนำมาปรับปรุงใช้ในการปกครองประเทศไทยบ้าง อันจะส่งผลให้บ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นต่อไปในอนาคตและเพื่อให้เกิดความเหมาะสม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ แยกหน่วยราชการออกเป็นกรมกองต่างๆ มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะโดยไม่ละเมิดหน้าที่กัน
ในปี พ.ศ.๒๔๓๑พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนแปลงแบบแผนการปกครองจากเดิมที่ยึดการบริหารจากเจ้านายชั้นผู้ใหญ่ เมื่อบ้านเมืองมีความเจริญก้าวหน้าขึ้น การปกครองจึงมีความจำเป็นที่ต้องเปลี่ยนแปลงไป เพื่อให้เหมาะสมกับกาลสมัย โดยมอบหมายงานให้ละเอียดมากขึ้นด้วยการเพิ่มกรมต่างๆ ให้มากถึง ๑๒ กรม
๑.กรมมหาดไทย มีหน้าที่ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองฝ่ายเหนือและเมืองลาวซึ่งเป็นประเทศราช
๒.กรมพระกลาโหม มีหน้าที่ดูแลบังคับบัญชาหัวเมืองปักษ์ใต้ ฝ่ายตะวันออกและตะวันตกและเมืองมลายู
การที่ให้กรมทั้งสองบังคับหัวเมืองคนละด้านนั้น เพื่อเป็นการง่ายต่อการควบคุมดูแลพื้นที่นั้นๆให้ได้ผลเต็มที่
๓.กรมท่า มีหน้าที่ดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ เนื่องด้วยขณะนั้นในประเทศไทยมีการติดต่อด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ทางด้านการค้าขาย หรือการเจริญสัมพันธไมตรีทางฑูต
๔.กรมวัง มีหน้าที่ดูแลรักษาการต่างๆ ในพระบรมมหาราชวัง
๕.กรมเมือง มีหน้าที่ดูแลรักษากฎหมายอาญา ที่เกี่ยวกับผู้กระทำผิด กรมนี้มีโปลิศหรือตำรวจทำหน้าที่ในการดูแลรักษาความสงบและจับกุมผู้กระทำผิดมาลงโทษ
๖.กรมนา มีหน้าที่คล้ายคลึงกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในปัจจุบัน คือ มีหน้าที่ในการดูแลควบคุมการเพาะปลูก ค้าขาย ป่าไม้ เพราะเมืองไทยเป็นเมืองเกษตรกรรม
ทั้ง ๖ กรมนี้ เป็นกรมที่มีอยู่แต่เดิม แต่ทรงเปลี่ยนแปลงข้อปลีกย่อยในการบริหารงานให้ชัดเจนขึ้นของแต่ละกรม
๗.กรมพระคลัง มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับการเก็บภาษีรายได้จากประชาชน และนำมาบริหารใช้ในงานด้านต่างๆ
๘.กรมยุติธรรม มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับคดีความที่ต้องตัดสินคดีต่างๆ ที่เป็นทั้งคดีอาญา คดีแพ่ง และควบคุมดูแลศาลอาญา ศาลแพ่งและศาลอุทธรณ์ ทั่วทั้งแผ่นดิน
๙.กรมยุทธนาธิการ มีหน้าที่ตรวจตรารักษาการในกรมทหารบก ทหารเรือและควบคุมดูแลส่วนที่เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับทหาร
๑๐.กรมธรรมการ มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับกิจการของพระสงฆ์ คือ หน้าที่ในการสั่งสอนอบรมพระสงฆ์ สอนหนังสอให้กับประชาชนทั่วไป
๑๑.กรมโยธาธิการ มีหน้าที่ดูแลตรวจตราการก่อสร้าง การทำถนน ขุดลอกคูคลองและงานช่างที่เกี่ยวข้องกับการก่อสร้างทั้งการไปรษณีย์และโทรเลข เป็นต้น แม้แต่การสร้างทางรถไฟ
๑๒.กรมมุรธธิการ มีหน้าที่ดูแลรักษาพระราชสัญจกร รักษาพระราชกำหนดกฎหมาย และหนังสือที่เกี่ยวข้องกับงานราชการทั้งหมด
|
การศาลและกฎหมาย
ทรงปรับปรุงการศาลและกฎหมายแบบอย่างต่างประเทศทางตะวันตกตามข้อที่ทรงเห็นควรรีบปรับปรุง เพื่อความเที่ยงธรรมแก่ราษฎร และความเจริญของบ้านเมืองให้เป็นที่เชื่อถือของชาต่างประเทศ ในด้านกฎหมายและการพิพากษาคดีของศาลไทย ในระยะตั้งแต่รัชกาลที่ ๓ ของกรุงเทพฯ มาแล้ว ฝรั่งทางยุโรปได้มามีเมืองขึ้นทางตะวันออกหลายแห่งดังกล่าวมาแล้วเขาไม่เชื่อกฎหมายของเราชาวตะวันออก จึงไม่ยอมให้คนของเขาขึ้นศาลไทยเมื่อเกิดคดีพิพาทใด ๆ เขาให้กงสุลคือ ฝรั่งผู้แทนของเขาในเมืองไทยเป็นผู้พิพากษาคดีเองโดยใช้กฎหมายบ้านเมืองของเขา แม้คนไทยมีเรื่องกับคนของเขา เขาก็ให้มาขึ้นศาลกงสุล ปรากฏว่ามีชาวจีน ชาวญวน ชาวแขกและชาติอื่น ๆ เป็นต้น ต่างพากันไปขอขึ้นทะเบียนเป็นคนในบังคับฝรั่งเพื่อไม่ต้องขึ้นศาลไทยเวลามีคดีกับใคร
หน้าที่กระทรวงยุติธรรมคือ ปรับปรุงการศาล ตั้งศาลในกรุงและศาลหัวเมืองซึ่งตั้งอยู่ในมณฑลต่าง ๆ มีผู้พิพากษาพิจารณาคดี และมีศาลฎีกา คือ ศาลสูงสุดในกรุงเทพฯ หากราษฎรคนใดคิดว่าศาลชั้นต้นตัดสินไม่เที่ยงธรรมพอ ก็ร้องต่อศาลฎีกาต่อไปได้พระเจ้าแผ่นดินทรงเป็นผู้ตัดสินขั้นศาลฎีกา เราเคยมีธรรมเนียมตีกลองร้องฎีกาคือใครมีทุกข์ร้อนสาหัสเรื่องคดีพิพาท ก็ถือฎีกามาถวายในหลวงโดยตีกลองที่ตั้งอยู่ในกำแพงวัง พระมหากษัตริย์ก็ให้คนออกมารับฎีกา มีคณะลูกขุน ณ ศาลหลวงในวังหลวงพิจารณาคดีถวายให้ทรงตัดสิน ครั้งสุโขทัยก็มีมาแล้วแต่เรียกว่า "สั่นกระดิ่ง " ที่ประตูวังร้องทุกข์ต่อพ่อขุนรามคำแหง
โปรดให้เลิกการลงโทษทรมานผู้ร้ายให้เจ็บปวด โทษจารีตนครบาล คือ การตอกเล็บ บีบขมับ หรือเอาผู้ร้ายใส่ตะกร้ายักษ์ให้ข้างเตะกลิ้งไปกลิ้งมาหรือการให้คุมผู้ร้ายเดินประจานทั่วเมือง เพราะทรงเห็นว่าทารุณมาก เป็นการแสดงความป่าเถื่อนต่อมนุษย์ด้วยกัน
|
การสาธารณสุข
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์ที่จะสร้างโรงพยาบาล เพื่อเป็นสถานที่สำหรับรักษาประชาชน ด้วยวิชาการแพทย์แบบตะวันตก เนื่องจากการรักษาแบบยากลางบ้านนั้นล้าสมัยไม่สามารถช่วยคนได้อย่างทันอย่างท่วงที ทำให้มีผู้เสียชีวิตมากมายเมื่อเกิดโรคระบาด ทรงเห็นบริเวณริมคลองบางกอกน้อย เหมาะสำหรับการสร้างโรงพยาบาล ด้วยประชาชนสามารถเดินทางไปมาได้สะดวกไม่ว่าจะเป็นทางบกหรือทางน้ำ จึงโปรดเกล้าฯให้สร้างโรงพยาบาล ณ ที่แห่งนั้นและพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน ๒๐๐ชั่งเพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายครั้งแรกในการก่อสร้างโรงพยาบาล โรงพยาบาลแห่งนี้เปิดทำการรักษาประชาชนเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๖เมษายน พ.ศ.๒๔๓๑ และใช้ชื่อโรงพยาบาลว่า โรงพยาบาลวังหลัง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงพยาบาลศิริราช เพื่อเป็นที่ระลึกถึงสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ ผู้เป็นแม่งานสำคัญในการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งนี้ทั้งพระองค์ยังบริจาคเงินเพื่อใช้ในการก่อสร้างโรงพยาบาลแห่งนี้ถึง ๕๖,๐๐๐บาท แต่โรงพยาบาลยังสร้างไม่ทันเสร็จก็เสด็จทิวงคตเสียก่อน นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวยังทรงสร้างโรงพยาบาลขึ้นอีกหลายแห่ง เช่น โรงพยาบาลโรคจิต โรงพยาบาลวังรัก เป็นต้น นอกจากนี้พระองค์ยังได้จัดให้มีการปลูกฝีป้องกันโรคไข้ทรพิษให้กับประชาชนทั่วไปโดยไม่คิดค่ารักษาค่าพยาบาลแต่อย่างใด
การไฟฟ้า
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเล็งเห็นว่า ไฟฟ้าเป็นพลังงานที่สำคัญและมีประโยชน์อย่างมาก ด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกล เมื่อทรงมีโอกาสไปประพาสต่างประเทศได้ทรงทอดพระเนตรกิจการไฟฟ้า และทรงเห็นถึงประโยชน์มหาศาลที่จะเกิดการมีไฟฟ้า พระองค์ได้ทรงมอบหมายให้ กรมหมื่นไวยวรนาถ เป็นผู้ริเริ่มในการจ่ายกระแสไฟฟ้าขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๓๓ เป็นการเปิดใช้ไฟฟ้าครั้งแรก ต่อมาเพื่อให้กิจการไฟฟ้าก้าวหน้ายิ่งขึ้น ทรงโอนกิจการเหล่านี้ให้กับผู้ที่มีความชำนาญด้านนี้ ได้แก่ บริษัทอเมริกันชื่อ แบงค้อคอีเลคตริกซิตี้ ซินดิเคท เข้ามาดำเนินงานต่อไป ต่อมาในปี พ.ศ.๒๔๓๗ บริษัทเดนมาร์กได้เข้ามาตั้งโรงงานไฟฟ้าเพื่อใช้กับรางรถไฟอีกด้วย ต่อมาทั้ง ๒ บริษัทได้ร่วมกันจัดสร้างโรงไฟฟ้าขึ้นมาอีกด้วย นับเป็นการบุกเบิกการไฟฟ้าครั้งสำคัญของประวัติศาสตร์ไทย ในการเริ่มมีไฟฟ้าใช้เป็นครั้งแรก
การประปา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเห็นว่าการที่มีโรคระบาดที่ร้ายแรงต่างๆ เช่น อหิวาตกโรค ไข้ทรพิษ เป็นต้น สามารถแพร่ระบาดไปได้อย่างรวดเร็วนั้นมีสาเหตุที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ ประชาชนใช้น้ำจากแหล่งน้ำที่สามารถเป็นพาหะของโรคได้ ทรงมีดำริว่าเช่นนั้นควรมีน้ำสะอาดเพื่อใช้ในในการอุปโภคและบริโภค ทรงให้กักเก็บน้ำจากแม่น้ำเชียงรากน้อย จ.ปทุมธานี และขุดคลองเพื่อส่งน้ำเข้ามายังสามเสน พร้อมทั้งฝังท่อเอกติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการทำน้ำประปาขึ้นในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.๒๔๕๒ เพื่ออำนวยความสะดวกเรื่องน้ำให้แก่ประชาชน
การปกป้องประเทศ
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นเป็นยุคแห่งการล่าอาณานิคมของชาวตะวันตก ซึ่งลัทธิการล่าอาณานิคมนี้ได้แพร่กระจายเข้ามายังประเทศไทยด้วยเช่นกัน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ปรีชาสามารถอยู่อย่างสุดพระกำลังในการรักษาประเทศชาติให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ครั้งนี้ ถึงแม้ว่าจะต้องสูญเสียดินแแดนบางส่วนไปก็ตาม ดินแดนที่ต้องเสียให้กับต่างชาติ ได้แก่
พ.ศ.๒๔๓๑ เสียดินแดนในแคว้นสิบสองจุไทย เนื้อที่ประมาณ ๘๗,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร
พ.ศ.๒๔๓๖ เสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง และเกาะต่างๆในแม่น้ำโขง เนื้อที่ประมาณ ๑๔๓,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร
นอกจากนี้ประเทศไทยต้องเสียเงินถึง ๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท ให้กับประเทศฝรั่งเศส
พ.ศ.๒๔๔๗ เสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขง บริเวณตรงข้ามกับเมืองหลวงพระบาง กับตรงข้ามปากเซ เนื้อที่ประมาณ ๑๒,๕๐๐ ตารางกิโลเมตร การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงยินยอมยกดินแดนทั้งฝั่งขวาและซ้ายของแม่น้ำโขงให้กับประเทศฝรั่งเศสไปนั้น ด้วยทางฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีเอาไว้ โดยที่ไม่มีเหตุผล เมื่อไทยยินยอมยกดินแดนทั้งสองให้ฝรั่งเศสแล้ว ทางฝรั่งเศสก็มิได้ยอมและไปยึดเมืองตากไว้อีก
พ.ศ.๒๔๔๙ เสียดินแดนที่เมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ เนื้อที่ประมาณ ๕๑,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร การที่ไทยต้องยินยอมเสียดินแดนส่วนนี้ไปเนื่องมาจากที่ฝรั่งเศสยึดเมืองตราดไว้ไทยจึงต้องยอมเสียดินแดนส่วนนั้นไปเพื่อแลกกับเมืองตราด แต่การเสียดิแดนส่วนนี้ไทยก็ได้รับผลประโยชน์กลับมาเช่นเดียวกัน คือ ฝรั่งเศสยอมยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต
เสด็จประพาสยุโรป
ในการเสด็จเยือนครั้งที่ ๑
พระราชประสงค์สำคัญในการเสด็จประพาสต่างประเทศทั้งในเอเชียและยุโรปคือ เพื่อทอดพระเนตรกิจการบ้านเมืองและวิธีการปกครองของประเทศเหล่านั้น เพื่อจำแบบอย่างที่เหมาะสมมาปรับปรุงประเทศให้เจริญก้าวหน้าทัดเทียมกับอารยประเทศ นับเป็นโอกาสอันดีที่พระองค์จะได้ทรงทำความรู้จักและเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีกับผู้นำประเทศต่างๆ ทำให้ไทยสามารถแก้ปัญหาทางการเมืองกับนานาประเทศและส่งผลนานาประเทศรู้จักประเทศไทยมากขึ้น
|
ในการเสด็จเยื่อนครั้งที่๒ เพื่อเป็นการย้ำถึงมิตรภาพระหว่างประเทศไทยและประเทศต่างๆในอารยประเทศแถบยุโรปให้เกิดความใกล้ชิดและความเข้าใจอันดีต่อกันเพื่อจะใด้มีความใว้วางใจกันมากยิ่งขี้น โดยเฉพาะการเชื่อมสัมพันธ์ไมตรีกับพระเจ้าไกเซอร์แห่งประเทศเยอรมัน และพระเจ้าซาร์ นิโคลาสที่ ๒ แห่งประเทศรัสเซียซึ่งเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศษในขณะนั้น ซึ่งทรงเห็นว่าเป็นวิธีถ่วงดุลอำนาจด้วยอาจช่วยเจรจาให้ฝรั่งเศษเลิกใช้กำลังบีบบังคับไทยอีกต่อไป ประเทศที่พระองค์เสด็จเยือนได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส เดนมาร์ก สวีเดน เบลเยี่ยมอิตาลี ออสเตรีย ฮังการี สเปน เนเธอร์เเลนด์ โมนาโค โปรตุเกส รัสเซีย สวิตเซอร์แลนด์ เยอรมัน อียิปต์
บทสรุป
|
รัชสมัยอันยาวนานในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ เป็นระยะที่แนวความคิดทางการเมือง การทหาร และวัฒนธรรมทางตะวันตกกำลังหลั่งไหลเข้ามาอย่างไม่ขาดระยะ จะเห็นได้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงประเพณีหลายอย่างเกิดขึ้น การที่พระองค์ได้ทรงเสด็จประพาสไปตามสถานที่ต่างๆไม่ว่าจะเป็นในพระราชอาณาจักร หรือต่างประเทศทั้งในแถบเอเซียและยุโรป ทรงได้นะสิ่งที่พบเห็นต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นวิทยาการสมัยใหม่ วัฒนธรรมประเพณี การปกครอง เหล่านี้ มาปรับปรุงแก้ไขสร้างความเจริญให้กับประเทศไทยอย่างยิ่ง พระองค์ทรงได้รับการยกย่องจากชาวต่างประเทศในพระปรีชาสามารถว่า ทรงเป็นนักปกครองและนักการฑูตที่ยิ่งใหญ่ ทรงตัดสินพระทัยด้วยสายพระเนตรที่ยาวไกลถึงแม้ว่าวัฒนธรรมตะวันตกกำลังคุกคามประเทศไทยอยู่ในขณะนั้นก็ตาม ทรงยอมรับถึงการเปลี่ยนแปลงของความเจริญในประเทศตะวันตก ด้วยการยอมรับแบบแผนที่เรียกกันว่า ศิวิไลซ์ พระองค์ทรงใช้วิจารณญาณในการประยุกต์วัฒนธรรมตะวันตกให้ผสมผสานเข้ากับสังคมไทยอย่างมีชั้นเชิง ทั้งนีร้พระองค์ทรงยึดถือประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ปวงชนชาวไทยจึงพร้อมใจกันถวายพระราชสมัญญานามว่า พระปิยะมหาราช
ขอน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่มีต่อปวงชนชาวไทย
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะฯ
ข้าพุทธเจ้า นายสุรงค์ โพชนิกร และสมาชิกครูบ้านนอก.คอมทุกคน
http://www.chaiwbi.com/0drem/web_children/2546/cpu04/19.html
www.trytodream.com/topic/7034.0
www.oknation.net/blog/print.php?id=140457
http://www.patakorn.com/modules.php?name=MP3Player&m_op=play&playsongid=68