ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

23 ตุลาคม วันปิยมหาราช


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,185 ครั้ง
Advertisement

23 ตุลาคม วันปิยมหาราช

Advertisement

23 ตุลาคม วันปิยมหาราช



เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม

ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต

          พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 คือ การประกาศเลิกทาส ทำให้ปวงชนชาวไทยได้เป็นไทมาจวบจนทุกวันนี้

          ในรัชสมัยของพระองค์ สยามประเทศได้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สร้างความวัฒนาให้กับชาติเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็น การไฟฟ้า การไปรษณีย์ โทรเลข โทรศัพท์ ฯลฯ ด้วยพระราชกรณียกิจที่ยังความผาสุกให้เกิดแก่ประชาชน ทวยราษฎร์ทั้งปวงจึงน้อมใจแสดงความจงรักภักดี ด้วยการถวายพระนามว่า "พระปิยมหาราช" หรือพระพุทธเจ้าหลวง และกำหนดให้ทุกวันที่ 23 ตุลาคม เป็น วันปิยมหาราช

 ความเป็นมาของ วันปิยมหาราช

รัชกาลที่ 5


          เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 ได้เกิดเหตุการณ์ที่สร้างความเศร้าโศกให้กับประเทศไทยครั้งใหญ่หลวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงประชวรเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งอัมพรสถานพระราชวังดุสิต เนื่องด้วยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นกษัตริย์ที่เป็นที่เคารพรักของทวยราษฎร์ ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณอเนกประการ ทั้งในการปกครองบ้านเมือง และพระราชทานความร่มเย็นเป็นสุขแก่ชนทุกหมู่เหล่า

          ต่อมาในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทางราชการได้ประกาศให้วันที่ 23 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันสวรรคตของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวันที่ระลึกสำคัญของชาติเรียกว่า "วันปิยมหาราช" และกำหนดให้เป็นวันหยุดราชการ

          เจ้าหน้าที่กระทรวงมหาดไทยซึ่งต่อมาเป็น "กรุงเทพมหานคร" ร่วมด้วยกระทรวงวัง ซึ่งต่อมาเป็น "สำนักพระราชวัง" ได้จัดตกแต่งพระบรมราชานุสาวรีย์ ตั้งราชวัติฉัตร 5 ชั้น ประดับโคมไฟ ทอดเครื่องราชสักการะที่หน้าพระบรมราชานุสาวรีย์ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน

          พระราชพิธีทรงบำเพ็ญพระราชกุศล วันปิยมหาราช ครั้งแรกเกิดขึ้นถัดจากปีที่ได้ถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลทักษิณานุปทานถวายแล้วเสด็จฯ ไปถวายพวงมาลา ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะที่พระบรมราชานุสาวรีย์

 พระราชประวัติ

รัชกาลที่ 5


          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระนามเดิมว่า สมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชสมภพเมื่อวันที่ 20 กันยายน พ.ศ.2396 เป็นพระราชโอรสองค์ที่ 4 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระนางเจ้าฟ้ารำเพยภมราภิรมย์ (สมเด็จพระเทพศิรินทรา พระบรมราชินี) เมื่อพระชนมายุได้ 9 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "กรมหมื่นพิฆเนศวรสุรลังกาศ" ต่อมาเมื่อพระชนมายุได้ 13 พรรษา ทรงได้รับสถาปนาขึ้นเป็น "กรมขุนพินิตประชานาถ" บรมราชาภิเษกครั้งแรกเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2411 ทรงพระนามว่า "พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว"

          เนื่องจากขณะนั้นมีพระชันษาเพียง 16 ปี ยังไม่ทรงบรรลุนิติภาวะ สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน และสถาปนากรมหมื่นบวรวิชัยชาญ พระโอรสองค์ใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญพระมหาอุปราช

          ระหว่างที่สมเด็จพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ เป็นผู้สำเร็จราชการอยู่นั้น สมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ก็ทรงใช้เวลาศึกษาเล่าเรียนศิลปวิทยาเป็นอันมาก เช่น โบราณราชประเพณี รัฐประศาสน์ โบราณคดี ภาษาบาลี ภาษาอังกฤษ วิชาปืนไฟ วิชามวยปล้ำ วิชากระบี่กระบอง และวิชาวิศวกรรม

          ในตอนนี้ยังได้เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา 2 ครั้ง เสด็จประพาสอินเดีย 1 ครั้ง การเสด็จประพาสนี้มิใช่เพื่อสำราญพระราชหฤทัย แต่เพื่อทอดพระเนตรแบบแผนการปกครองที่ชาวยุโรปนำมาใช้ปกครองเมืองขึ้นของตน เพื่อจะได้นำมาแก้ไขการปกครองของไทยให้เหมาะสมแก่สมัยยิ่งขึ้น ตลอดจนการแต่งตัว การตัดผม การเข้าเฝ้าในพระราชฐานก็ใช้ยืน และนั่งตามโอกาสสมควร ไม่จำเป็นต้องหมอบคลานเหมือนแต่ก่อน

          เมื่อพระชนมายุบรรลุพระราชนิติภาวะ ได้ทรงผนวชเป็นเวลา 2 สัปดาห์ แล้วจึงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกเป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2416 และนับจากนั้นมาก็ทรงพระราชอำนาจเด็ดขาดในการบริหารราชการแผ่นดิน

          ตลอดระยะเวลาที่ทรงครองสิริราชสมบัติ ทรงปกครองทำนุบำรุงพระราชอาณาจักรให้มั่งคั่งสมบูรณ์ ดัวยรัฐสมบัติ พิทักษ์พสกนิกรให้อยู่เย็นเป็นสุข บำบัดภัยอันตรายทั้งภายในภายนอกประเทศ ทรงบำเพ็ญพระราชกรณียกิจต่างๆ อันก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ ให้รอดพ้นจากวิกฤตการณ์ และสามารถธำรงเอกราชไว้ตราบจนทุกวันนี้

          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคตเมื่อวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 รวมพระชนมายุได้ 58 พรรษา ครองราชสมบัติมานานถึง 42 ปี

 พระราชกรณียกิจ

พระราชกรณียกิจที่สำคัญในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อาทิเช่น

 1.การเลิกทาส

เลิกทาส


          เป็นพระราชกรณียกิจอันสำคัญยิ่ง ที่ทำให้พระองค์ทรงได้รับพระสมัญญาว่า "สมเด็จพระปิยมหาราช"
ด้วยพระองค์ทรงเห็นว่า มีทาสในแผ่นดินเป็นจำนวนมาก และลูกทาสในเรือนเบี้ยจะสืบต่อการเป็นทาสไปจนรุ่นลูกรุ่นหลานอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ถ้าไม่มีเงินมาไถ่ตัวเองแล้ว ต้องเป็นทาสไปตลอดชีวิต พระองค์จึงทรงมีพระทัยแน่วแน่ว่า จะต้องเลิกทาสให้สำเร็จ แม้จะเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะทาสมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ อีกทั้งเจ้านายที่เป็นใหญ่ในสมัยนั้นมักมีข้ารับใช้ เมื่อไม่มีทาส บุคคลเหล่านี้อาจจะไม่พอใจและก่อให้เกิดความวุ่นวายขึ้นเหมือนกับที่เกิดขึ้นในต่างประเทศมาแล้ว

          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ จึงตราพระราชบัญญัติขึ้น เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ.2417 ให้มีผลย้อนหลังไปถึงปีที่พระองค์เสด็จขึ้นเสวยราชสมบัติ มีบัญญัติว่า ลูกทาสซึ่งเกิดเมื่อปีมะโรง พ.ศ.2411 ให้มีสิทธิได้ลดค่าตัวทุกปี และพอครบอายุ 21 ปีก็ให้ขาดจากความเป็นทาสทั้งชายและหญิง จากนั้นใน พ.ศ.2448 จึงได้ออกพระราชบัญญัติเลิกทาสที่แท้จริงขึ้น เรียกว่า "พระราชบัญญัติทาส ร.ศ.124" (พ.ศ.2448) เลิกลูกทาสในเรือนเบี้ยอย่างเด็ดขาด เด็กที่เกิดจากทาส ไม่ต้องเป็นทาสอีกต่อไป และการซื้อขายทาสเป็นโทษทางอาญา ส่วนผู้ที่เป็นทาสอยู่แล้ว ให้นายเงินลดค่าตัวให้เดือนละ 4 บาท จนกว่าจะหมด

          ด้วยพระปรีชาสามารถของพระองค์ท่าน ในเวลาเพียง 30 ปีเศษ ทาสในเมืองไทยก็หมดไปโดยไม่เกิดการนองเลือดเหมือนกับประเทศอื่นๆ

 2.การปฏิรูประบบราชการ

          ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราระเบียบการปกครองขึ้นใหม่ แยกหน่วยราชการออกเป็นกรมกองต่างๆ มีหน้าที่รับผิดชอบเฉพาะไม่ก้าวก่ายกัน จากเดิมมี 6 กระทรวง คือ กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงลาโหม, กระทรวงนครบาล, กระทรวงวัง, กระทรวงการคลัง และกระทรวงเกษตราธิการ ได้เพิ่มอีก 4 กระทรวง รวมเป็น 10 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงธรรมการ มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับกิจการของพระสงฆ์ และการศึกษา, กระทรวงยุติธรรม มีหน้าที่ดูแลเกี่ยวกับคดีความที่ต้องตัดสินต่างๆ , กระทรวงโยธาธิการ มีหน้าที่ดูแลตรวจตราการก่อสร้าง การทำถนน ขุดลอกคูคลอง งานที่เกี่ยวกับการก่อสร้าง และกระทรวงการต่างประเทศ มีหน้าที่ดูแลงานที่เกี่ยวข้องกับการต่างประเทศ

 3.การสาธารณูปโภค

           การประปา ทรงให้กักเก็บน้ำจากแม่น้ำเชียงรากน้อย จังหวัดปทุมธานี และขุดคลองเพื่อส่งน้ำเข้ามายังสามเสน พร้อมทั้งฝังท่อเอกติดตั้งอุปกรณ์สำหรับการทำน้ำประปาขึ้นในเดือน กรกฎาคม พ.ศ.2452

           การคมนาคม วันที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2434 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินไปขุดดินก่อพระฤกษ์ เพื่อประเดิมการสร้างทางรถไฟไปนครราชสีมา แต่ทรงเปิดทางรถไฟกรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยาก่อน จึงนับว่าเส้นทางรถไฟสายนี้เป็นทางรถไฟแห่งแรกของไทย

คลอง


          นอกจากนี้ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพาน และถนนอีกมากมาย คือ ถนนเยาวราช ถนนราชดำเนินกลาง ถนนราชดำเนินนอก ถนนดินสอ ถนนบูรพา ถนนอุณากรรณ เป็นต้น และโปรดให้ขุดคลองต่างๆ เพื่อใช้เป็นแนวทางคมนาคม และส่งเสริมการเพาะปลูก

           การสาธารณสุขเนื่องจากการรักษาแบบยากลางบ้านไม่สามารถช่วยคนได้อย่างทันท่วงที จึงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 200 ชั่ง โปรดเกล้าฯ ให้สร้างโรงพยาบาลวังหลัง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงพยาบาลศิริราช" เปิดทำการรักษาประชาชนเป็นครั้งแรกเมื่อ 26 เมษายน พ.ศ.2431

           การไฟฟ้า พระองค์ทรงมอบหมายให้กรมหมื่นไวยวรนาถ เป็นแม่งานในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า และสามารถจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2433

           การไปรษณีย์ โปรดให้เริ่มจัดขึ้นในปี พ.ศ.2424 รวมอยู่ในกรมโทรเลข ซึ่งได้จัดขึ้นตั้งแต่ พ.ศ.2412 โดยโทรเลขสายแรกคือ ระหว่างจังหวัดพระนคร (กรุงเทพมหานคร) กับจังหวัดสมุทรปราการ

 4.การเสด็จประพาส


เสด็จประพาส


          การเสด็จประพาสเป็นพระราชกรณียกิจที่สำคัญอันหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยหลังจากเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสแล้ว ก็ได้เสด็จประพาสยุโรป 2 ครั้ง ในปี พ.ศ.2440 ครั้งหนึ่ง และในปี พ.ศ. 2450 อีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้เพื่อเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศต่างๆ ในยุโรป ตลอดจนประเทศฝรั่งเศสด้วย อีกทั้งยังได้ทรงเลือกสรรเอาแบบแผนขนบธรรมเนียมอันดีในดินแดนเหล่านั้นมาปรับปรุงในประเทศให้เจริญขึ้น

          ในการเสด็จประพาสครั้งแรกนี้ ได้ทรงมีพระราชหัตถเลขาตลอดระยะทางถึงสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรีพระบรมราชินีนาถ (ซึ่งต่อมาได้รับสถาปนาเป็น สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชเทวี) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน พระราชหัตถเลขานี้ต่อมาได้รวมเป็นหนังสือเล่มชื่อ "พระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน" ให้ความรู้อย่างมากมายเกี่ยวแก่สถานที่ต่างๆ ที่เสด็จไป

          ส่วนภายในประเทศ ก็ทรงถือว่าการเสด็จประพาสในที่ต่างๆ เป็นการตรวจตราสารทุกข์สุขดิบของราษฎรได้เป็นอย่างดี พระองค์จึงได้ทรงปลอมแปลงพระองค์ไปกับเจ้านายและข้าราชการ โดยเสด็จฯ ทางเรือมาดแจวไปตามแม่น้ำลำคลองต่างๆ เพื่อแวะเยี่ยมเยียนตามบ้านราษฎร ซึ่งเรียกกันว่า "ประพาสต้น" ซึ่งได้เสด็จ 2 ครั้ง คือในปี พ.ศ.2447 และในปี พ.ศ.2449 อีกครั้งหนึ่ง

 

 
 5.การศึกษา

          พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเห็นความสำคัญของการศึกษา จึงโปรดให้สร้างโรงเรียนหลวงขึ้นในพระบรมมหาราชวัง คือ "โรงเรียนนายทหารมหาดเล็ก" ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ" ต่อมาโปรดให้ตั้งโรงเรียนหลวงสำหรับราษฎรขึ้นเป็นแห่งแรก คือ "โรงเรียนวัดมหรรณพาราม" และในที่สุดได้โปรดให้จัดตั้งกระทรวงธรรมการขึ้น เมื่อปี พ.ศ.2435 (ปัจจุบันคือกระทรวงศึกษาธิการ) เพื่อดูแลเรื่องการศึกษาและการศาสนา

รัชกาลที่ 5



 6.การปกป้องประเทศจากการสงครามและเสียดินแดน

          เนื่องจากลัทธิจักรวรรดินิยมได้แผ่อิทธิพลเข้ามาตั้งแต่ปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงใช้ปรีชาสามารถอย่างสุดพระกำลังที่จะรักษาประเทศชาติให้รอดพ้นจากวิกฤติการณ์ ถึงแม้ว่าจะต้องสูญเสียดินแดนบางส่วนไปก็ตาม โดยดินแดนที่ต้องเสียให้กับต่างชาติ ได้แก่ 

           พ.ศ.2431 เสียดินแดนในแคว้นสิบสองจุไทย 
           พ.ศ.2436 เสียดินแดนฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ให้ฝรั่งเศส และฝรั่งเศสยึดเมืองจันทบุรีไว้ 
           พ.ศ.2447 เสียดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับเมืองจันทบุรี แต่ฝรั่งเศสได้ยึดตราดไว้แทน 
           พ.ศ.2449 เสียดินแดนที่เมืองพระตะบอง เสียมราฐ และศรีโสภณ ให้ฝรั่งเศส เพื่อแลกกับตราด และเกาะทั้งหลาย แต่การเสียดินแดนครั้งสุดท้ายนี้ไทยก็ได้ประโยชน์อยู่บ้าง คือฝรั่งเศสยอมยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต ยอมให้ศาลไทยมีสิทธิที่จะชำระคดีใดๆ ที่เกิดขึ้นแก่ชาวฝรั่งเศส ไม่ต้องไปขึ้นศาลกงสุลเหมือนแต่ก่อน

          ส่วนทางด้านอังกฤษ ประเทศไทยได้เปิดการเจรจากับรัฐบาลอังกฤษ รวมถึงเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตด้วย ใน พ.ศ.2454 อังกฤษจึงยอมตกลงให้ชาวอังกฤษ หรือคนในบังคับอังกฤษมาขึ้นศาลไทย และยอมให้ไทยกู้เงินจากอังกฤษ เพื่อนำมาใช้สร้างทางรถไฟสายใต้จากกรุงเทพฯ ถึงสิงคโปร์ เพื่อตอบแทนประโยชน์ที่อังกฤษเอื้อเฟื้อ ทางฝ่ายไทยยอมยกรัฐกลันตัน ตรังกานูและไทยบุรี ให้แก่สหรัฐมลายูของอังกฤษ

 ลำดับเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้น

           พ.ศ.2411 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติ

           พ.ศ.2412 ทรงโปรดเกล้าให้สร้างวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามซึ่งเป็นวัดประจำรัชกาลของพระองค์

           พ.ศ.2413 เสด็จประพาสสิงคโปร์และชวา, โปรดฯ ให้ยกเลิกการไว้ผมทรงมหาดไทย

           พ.ศ.2415 ทรงปรับปรุงการทหารครั้งใหญ่, โปรดให้ใช้เสื้อราชปะแตน, โปรดให้สร้างโรงเรียนหลวงสอนภาษาอังกฤษแห่งแรกขึ้นในพระบรมหาราชวัง

           พ.ศ.2416 ทรงออกผนวชตามโบราณราชประเพณี, โปรดให้เลิกประเพณีหมอบคลานในเวลาเข้าเฝ้า

           พ.ศ.2417 โปรดให้สร้างสภาที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน, ตั้งโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง (ปัจจุบันคือ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย) และให้ใช้อัฐกระดาษแทนเหรียญทองแดง

           พ.ศ.2424 เริ่มทดลองใช้โทรศัพท์ครั้งแรก เป็นสายระหว่างกรุงเทพฯ–สมุทรปราการ, สมโภชพระนครครบ 100 ปี มีการฉลอง 7 คืน 7 วัน

           พ.ศ.2426 โปรดให้ตั้งกรมไปรษณีย์ เริ่มบริการไปรษณีย์ในพระนคร, ตั้งกรมโทรเลข และเกิดสงครามปราบฮ่อครั้งที่ 2

           พ.ศ.2427 โปรดฯ ให้ตั้งโรงเรียนราษฎร์ทั่วไปตามวัด โรงเรียนแห่งแรกคือ โรงเรียนวัดมหรรณพาราม

           พ.ศ.2429 โปรดฯ ให้เลิกตำแหน่งมหาอุปราช ทรงประกาศตั้งตำแหน่งมกุฏราชกุมารขึ้นแทน

           พ.ศ.2431 เสียดินแดนแคว้นสิบสองจุไทให้แก่ฝรั่งเศส, เริ่มการทดลองปกครองส่วนกลางใหม่, เปิดโรงพยาบาลศิริราช, โปรดฯให้เลิกรัตนโกสินทร์ศก โดยใช้พุทธศักราชแทน

           พ.ศ.2434 ตั้งกระทรวงยุติธรรม, ตั้งกรมรถไฟ เริ่มก่อสร้างทางรถไฟสายกรุงเทพ-นครราชสีมา

           พ.ศ.2436 ทรงเปิดเดินรถไฟสายเอกชน ระหว่างกรุงเทพฯ-ปากน้ำ, กำเนิดสภาอุนาโลมแดง (สภากาชาดไทย)

           พ.ศ.2440 ทรงเสด็จประพาสยุโรปเป็นครั้งแรก

           พ.ศ.2445 เสียดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศส

           พ.ศ.2448 ตราพระราชบัญญัติยกเลิกการมีทาสโดยสิ้นเชิง

           พ.ศ.2451 เปิดพระบรมรูปทรงม้า

           พ.ศ.2453 เสด็จสวรรคต

 พระบรมราชานุสาวรีย์ พระบรมรูปทรงม้า

พระบรมรูปทรงม้า


          ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมวงศานุวงศ์ข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ปวงชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าผู้สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ได้ร่วมใจกันรวบรวมเงินจัดสร้างอนุสาวรีย์ถวายเพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งพระเกียรติคุณของพระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช ผู้ทรงสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม และเนื่องในมหามงคลสมัยที่ทรงครองราชย์นานถึง 40 ปี

          พระบรมรูปทรงม้านี้ หล่อด้วยโลหะชนิดทองบรอนซ์ พระองค์ใหญ่กว่าขนาดจริงเล็กน้อย ประดิษฐานบนแท่นหินอ่อนอันเป็นแท่นรองสูงประมาณ 6 เมตร กว้าง 2 เมตรครึ่ง ยาว 5 เมตร ห่างจากฐานของแท่นออกมามีรั้วเตี้ยๆ ลักษณะเป็นสายโซ่ขึงระหว่างเสาล้อมรอบกว้าง 9 เมตร ยาว 11 เมตร ที่แท่นด้านหน้ามีคำจารึกบนแผ่นโลหะติดประดับสรรญเสริญว่า "คำจารึกฐานองค์พระบรมรูปทรงม้า ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนากาลล่วงแล้ว 2451พรรษา จำเดิมแต่พระมหาจักรีบรมราชวงศ์ ได้ประดิษฐาน แลดำรงกรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์ มหินทราอยุธยาเป็นปีที่ 127 โดยนิยม"

          สำหรับแบบรูปของพระบรมราชานุสาวรีย์ฯ ได้จ้างช่างหล่อชาวฝรั่งเศส แห่งบริษัทซูซ เซอร์เฟรส ฟองเดอร์เป็นผู้หล่อ ณ กรุงปารีส เลียนแบบพระบรมรูปทรงม้าของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่ประดิษฐานอยู่หน้าพระราชวังแวร์ซายส์ ในประเทศฝรั่งเศส เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช รัชกาลที่ 5 เสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 2 ในปี พ.ศ.2450 พระองค์ได้เสด็จประทับให้ช่างปั้นพระบรมรูป เมื่อวันที่ 22 สิงหคม ศกนั้น พระบรมรูปเสร็จเรียบร้อย และส่งเข้ามายังกรุงรัตนโกสินทร์ในทางเรือ

          เมื่อ พ.ศ.2451 โปรดให้ประดิษฐานไว้ ณ พระลานหน้าพระราชวังดุสิต ระหว่างพระราชวังสวนอัมพรกับบสนามเสือป่า ทางทิศตะวันออกของพระที่นั่งอนันตสมาคม ทรงประกอบพระราชพิธีเปิดพระบรมรูปนี้ในวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2451 ตรงกับวันพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษกครองราชสมบัติได้ 40 ปี

          เจ้าพนักงานได้อัญเชิญพระบรมรูปทรงม้า ขึ้นประดิษฐานบนแท่นรองที่หน้าพระลานพระราชวังดุสิต ที่ประจักษ์อยู่ในปัจจุบันนี้ โดยพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสุนทรมหาวชิราวุธ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงอ่านคำถวายพระพรชัยมงคล เสร็จแล้วจึงน้อมเกล้าฯ ถวายพระบรมรูปทรงม้า กราบบังคมทูลอัญเชิญให้พระบาทสมเด็จพระปิยมหาราช พระราชบิดาให้ทรงเปิดผ้าคลุมพระบรมราชานุสาวรีย์เป็นปฐมฤกษ์ เพื่อประกาศเกียรติคุณในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ให้สถิตสถาพรปรากฏสืบไปชั่วกาลนาน

 กิจกรรมใน วันปิยมหาราช


วันปิยมหาราช


          ในวันที่ 23 ตุลาคม ของทุกปี หน่วยงานต่างๆ ทั้งราชการและภาคเอกชน นักเรียน-นิสิตนักศึกษา รวมทั้งประชาชนจะมาวางพวงมาลาดอกไม้สักการะ และถวายบังคมที่พระบรมรูปทรงม้า เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทำบุญตักบาตอุทิศเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ในหน่วยงาน และโรงเรียน มหาวิทยาลัย จะจัดนิทรรศการเผยแพร่พระราชประวัติ และพระราชกรณียกิจ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อันเป็นการประกาศเกียรติคุณให้ไพศาลสืบไป


  คลิกอ่านความคิด

 

รัชกาลที่ 5

 
 เที่ยวชมวัดตามเส้นทางเสด็จประพาสต้น อ่านหัวข้อถัดไป
อ่านหัวข้อก่อนหน้า
สร้างหัวข้อใหม่ตอบ
ผู้ตั้ง ข้อความ
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 767

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2007, 1:10 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

เที่ยวชมวัดตามเส้นทางเสด็จประพาสต้น

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี มีพระนามเดิมว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เสด็จพระราชสมภพ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พ.ศ.๒๓๙๖

พระองค์ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ ต่อจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ สมเด็จพระบรมชนกนาถ โดยทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกในวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๑๑ แต่ในขณะนั้นพระองค์มีพระชันษาราว ๑๕ พรรษา ยังมิได้ทรงบรรลุนิติภาวะ ดังนั้น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) จึงเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทน

ด้วยความที่ทรงมีพระราชศรัทธาในพระบวรพุทธศาสนา ดังนั้น เมื่อพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา จึงได้ทรงผนวชเป็นภิกษุ เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พ.ศ.๒๔๑๖ และลาผนวชวันที่ ๑๑ ตุลาคม ในปีเดียวกัน จากนั้นจึงโปรดให้จัดพิธีบรมราชาภิเษกขึ้นอีก ครั้งในวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๑๖ ทรงดำรงสิริราชสมบัติอยู่นานถึง ๔๒ ปี จึงเสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ ๒๓ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๕๓ สิริพระชนมายุ ๕๘ พรรษา

ดังเป็นที่ทราบกันดีอยู่แล้วว่าพระราชกรณียกิจตลอดรัชสมัยของพระองค์ที่ได้ทรงบำเพ็ญมานั้น ก่อให้เกิดคุณูปการอย่างใหญ่หลวงต่อประเทศชาติและประชาชน จึงทรงเป็นที่รักของประชาชนทุกหมู่เหล่า ซึ่งทูลถวายพระราชสมัญญานามว่า “สมเด็จพระปิยมหาราช” อันมีความหมายว่า พระเจ้าแผ่นดินผู้เป็นที่รักยิ่งนั่นเอง

• เสด็จประพาสต้น หนึ่งในพระราชกรณียกิจสำคัญ

หนึ่งในพระราชกรณียกิจสำคัญของพระองค์ที่ทำ ให้ทรงล่วงรู้ถึงทุกข์สุขของพสกนิกรด้วยพระองค์เอง จนทรงสามารถขจัดปัดเป่าบรรเทาทุกข์ให้ราษฎรได้อย่างรวดเร็ว นั่นก็คือการเสด็จประพาสต้น

ในหนังสือ “จดหมายเหตุเรื่องประพาสต้นในรัชกาลที่ ๕” ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงเล่าถึงการเสด็จประพาสต้นว่าหลายบ้านที่เสด็จไปเยี่ยม โดยที่เจ้าของบ้านก็ไม่รู้ว่าเป็นใคร ประทับเสวยร่วมวงกับเจ้าของบ้านอย่างกันเอง เจ้านายที่ตามเสด็จอย่างกรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ เคยถูกเมียเจ้าของบ้านเอ็ดเพราะทรงใช้จวักตักแกงขึ้นมาชิมโดยไม่ทรงทราบธรรมเนียมว่าเขาถือกัน สมเด็จเจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมาเสด็จพลาดตกท้องร่องสวนวัดบางสามฟกช้ำดำเขียว เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ถูกหมาเฝ้าสวนริมคลองสองพี่น้องกัดเอา

และระหว่างเสด็จประพาส เจ้านายและขุนนางตามเสด็จก็ช่วยกันทำครัวเองไปตามมีตามเกิด หากมื้อไหนไม่ได้แวะบ้านใคร สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพกับกรมพระสมมติอมรพันธุ์ทรงทำหน้าที่คนล้างถ้วยชาม เช่นเดียวกันกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว) และกรมหลวงนครราชสีมา ทุกพระองค์ทรงใช้ชีวิตกันอย่างสามัญชนทั่วไปเวลาเสด็จประพาสต้น

การเสด็จประพาสต้นในแต่ละครั้ง นอกจากจะเสด็จประทับตามบ้านเรือนของประชาชน ซึ่งเป็นที่ มาของการมีเพื่อนเป็นสามัญชนธรรมดาทั่วไปที่เรียกว่า “เพื่อนต้น” แล้ว อีกสถานที่หนึ่งที่พระองค์ให้ความสำคัญคือ “วัด” ซึ่งระหว่างทางได้เสด็จผ่านวัดมากมายหลายแห่ง

ดังนั้น ในการตามรอยเสด็จประพาสต้นครั้งนี้ จะขอนำเสนอเฉพาะเรื่องราวที่เกี่ยวกับวัดซึ่งมีชื่อปรากฏอยู่ใน “จดหมายเหตุเรื่องประพาสต้นในรัชกาลที่ ๕” เท่านั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติเนื่องในวาระครบรอบ ๑๐๑ ปี การเสด็จประพาสต้น ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Image
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕


• จุดเริ่มของการเสด็จประพาสต้น

พระพุทธเจ้าหลวงได้เริ่มการเสด็จประพาสต้นใน พ.ศ.๒๔๔๗ อันมีที่มาจากการที่ทรงตรากตรำกับพระราชภารกิจมากเกินไป จนเสวยไม่ค่อยได้ บรรทมไม่ค่อยหลับ แพทย์จึงทูลให้ทรงพักผ่อนเปลี่ยนบรรยากาศบ้าง ก็ทรงเห็นด้วย ดังนั้น ในคราวที่เสด็จ แปรพระราชฐานไปที่พระราชวังบางปะอิน จึงทรงมีพระประสงค์จะเสด็จไปยังเมืองราชบุรี ซึ่งการเสด็จครั้งนี้ประพาสไปตามลำน้ำ เป็นการเสด็จอย่างไม่เป็นทางการ และไม่มีหมายกำหนดการใดๆ ถือเป็นการเสด็จไปเพื่อทรงพักผ่อนอิริยาบถ

และนับเป็นการเสด็จเยือนราษฎรเป็นการส่วนพระองค์ โดยมิให้ใครรู้จักว่าพระองค์เป็นใคร เพื่อจะได้ทรงสนทนาปราศรัยกับราษฎรอย่างใกล้ชิด แต่คำว่าประพาสต้นนี้ ไม่มีผู้ใดสามารถชี้ชัดถึงที่มาหรือความหมายอันแท้จริงได้ แม้กระทั่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ก็ยังทรงเพียงแค่สันนิษฐานถึงที่มาว่า

“...ไปจนถึงวัดเพลงจึงซื้อเรือมาดประทุน ๔ แจวได้ลำ ๑ พระราชทานชื่อเรือว่า เรือต้น ได้ยินรับสั่งถามให้แปลกันว่า เรือต้น แปลว่าอะไร บางท่านแปลว่าเรือเครื่องต้น บางท่านแปลว่าเรือทรง อย่างในเห่เรือว่า ‘ทรงเรือต้นงามเฉิดฉาย’ ดังนี้ แต่บางท่านที่แปลเอาตื้นๆ ว่าหลวงนายศักดิ์เป็นคนคุมเครื่องมหาดเล็กตามเสด็จ หลวงนายศักดิ์ชื่ออ้น รับสั่งเรียกว่าตาอ้น ตาอ้น เสมอ คำว่า เรือต้นนี้ก็จะแปลว่าเรือตาอ้นนั้นเอง แปลชื่อเรือต้นเป็นหลายอย่าง ดังนี้ อย่างไรจะถูกฉันก็ไม่ทราบแน่ แต่วันนี้กว่าจะเสด็จกลับมาถึงเมืองราชบุรีเกือบยาม ๑ ด้วยต้องทวนน้ำเชี่ยวมาก เหนื่อยหอบมาตามกัน เริ่มเรียกการประพาสวันนี้ว่าประพาสต้น เลยเป็นมูลเหตุที่เรียกการประพาสไปรเวตในวันหลังๆ ว่าประพาสต้น ต่อมา”

วัดที่พระพุทธเจ้าหลวงทรงเสด็จประพาสต้นในปี พ.ศ.๒๔๔๗ มีอยู่ด้วยกันหลายวัด ได้แก่ วัดปรมัยยิกาวาส และวัดเขมาภิรตารามราชวรวิหาร จ.นนทบุรี (ซึ่งทั้งสองวัดนี้ได้เสด็จอีกครั้งในปี พ.ศ.๒๔๔๙), วัดหนองแขม กทม., วัดโชติทายการาม วัดเพลง วัดสัตนาถ จ.ราชบุรี, วัดประดู่ วัดพวงมาลัย วัดดาวดึงส์ และวัดอัมพวัน จ.สมุทรสงคราม, วัดโกรกกราก วัดบางปลา และวัดตีนท่า จ.สมุทรสาคร, วัดพระประโทน จ.นครปฐม, วัดบางบัวทอง วัดบางสาม วัดแค วัดมหาธาตุ วัดป่าเลไลยก์ และวัดบางยี่หน จ.สุพรรณบุรี

ส่วนในปี พ.ศ.๒๔๔๙ ซึ่งเป็นการเสด็จประพาสต้นครั้งที่สอง วัดที่ทรงเสด็จไป ได้แก่ วัดเทียนถวาย วัดท้ายเกาะใหญ่ และวัดเวียงจาม จ.ปทุมธานี, วัดท่าหลวง และวัดสมุหประดิษฐ์ จ.สระบุรี, วัดสีกุก จ.พระนครศรีอยุธยา, วัดป่าโมกข์ จ.อ่างทอง, วัดชลอนพรหมเทพาวาส และวัดสนามไชย จ.สิงห์บุรี, วัดวังพระธาตุ วัดพระแก้ว วัดพระนอน วัดพระยืน วัดกำแพงงาม วัดใหญ่ วัดมหาธาตุ และวัดเขาดิน จ.กำแพงเพชร, วัดโบสถ์ วัดพระปรางค์ และวัดบ้านเกาะ จ.อุทัยธานี, วัดโพธิ์ วัดช่องลมวารินศรัทธาราม วัดอรุณราชศรัทธาราม และวัดหัวเมือง จ.นครสวรรค์

Image
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ


(มีต่อ ๑)
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 767

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2007, 1:15 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image
พระเจดีย์มุเตา


เริ่มที่วัดปรมัยยิกาวาส

พระพุทธเจ้าหลวงทรงเริ่มต้นเสด็จออกจากพระราชวังบางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๔๗ ซึ่งสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงเล่าว่า

“เสด็จออกจากบางปะอิน เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ร.ศ.๑๒๓ ล่องมาตามลำแม่น้ำ เรือฉันมาล่วงหน้า ทราบว่าเสด็จประทับวัดปรมัยยิกาวาศครู่หนึ่ง...”

Image
พระอุโบสถ


วัดนี้ตามประวัติกล่าวว่าเป็นวัดมอญมีอายุกว่า ๒๐๐ ปี เรียกตามภาษารามัญว่า “เภี่ยมุเกี๊ยยะเติ้ง” แปลว่าวัดหัวแหลม แต่ไทยเรียกวัดปากอ่าว สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่ถูกทิ้งร้างไปตอนเสียกรุงครั้งที่ ๒ จนกระทั่ง พ.ศ.๒๓๑๗ พระเจ้าตากสินมหาราชได้โปรดให้ชาวมอญมาอาศัยบริเวณเกาะเกร็ด ชาวมอญจึงได้ทำการบูรณะวัดนี้ขึ้นใหม่อีกครั้ง

Image
พระมหารามัญเจดีย์


และอีก ๑๐๐ ปีต่อมา คือในปี พ.ศ.๒๔๑๗ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จมาทอดกฐินที่วัดนี้ และทรงเห็นว่าวัดอยู่ในทำเลที่ดี แต่มีสภาพทรุดโทรม จึงโปรดให้บูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระเจ้าบรมมหาอัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตน์ราชประยูร ซึ่งได้ทรงอภิบาลพระองค์และพระราชมารดา และพระราชทานนามว่า “วัดปรมัยยิกาวาศ” ต่อมาจึงมีการเขียนใหม่ เป็น “วัดปรมัยยิกาวาส”

ศาสนสถานสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระอุโบสถ ที่ตกแต่งด้วยวัสดุจากอิตาลี ภายในตกแต่งด้วยลายปูนปั้น และมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพุทธประวัติ ที่หน้าบันพระอุโบสถประดับตราพระเกี้ยว ส่วนด้านหลังพระอุโบสถนั้นมีพระเจดีย์ทรงรามัญซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เคยเสด็จฯ มาทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระเจดีย์นี้ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๗ และได้พระราชทานนามว่า “พระมหารามัญเจดีย์”

Image
ศาลารับเสด็จ


นอกจากนี้ยังมีศาลารับเสด็จ พิพิธภัณฑ์ที่จัดแสดงศิลปวัตถุของมอญที่หาชมได้ยากอีกด้วย เช่น พระไตรปิฎกฉบับอักษรรามัญ ซึ่งเป็นฉบับเดียวในประเทศไทย และหอไทยนิทัศน์ จัดแสดงเครื่องปั้นดินเผา ซึ่งเป็นวิถีชีวิตของชาวมอญ

ปัจจุบัน วัดปรมัยยิกาวาส เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ ต.เกาะเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี

Image
เครื่องปั้นดินเผา


(มีต่อ ๒)
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 767

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2007, 1:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

Image

ล่องมาถึงวัดเขมาฯ

วันเดียวกันนี้เอง หลังจากที่เสด็จประทับที่วัดปรมัยยิกาวาสในช่วงสายแล้ว ช่วงบ่ายก็ทรงไปสวนกระท้อน ตกเย็นจึงเสด็จมาประทับแรมที่วัดเขมาภิรตาราม

Image

ดังบันทึกของสมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ความว่า

“...เวลาเย็นเสด็จมาประทับแรมที่หน้าวัดเขมา จอดเรือพระที่นั่งหน้าวัดอย่างเราไปเที่ยวกัน ใช้ศาลาน้ำหน้าวัดเป็นท้องพระโรง ไม่มีพลับพลาฝาเลื่อนอย่างใด เจ้าพนักงานเจ้าของท้องที่ก็ดูเหมือนจะไม่รู้ตัวว่า จะเสด็จมาประทับแรมที่นั้น การล้อมวงกงจำกัดกัน ตามแต่จะทำได้ ดูก็สนุกดี จนเวลาสองทุ่มเศษ กรมหลวงนเรศร์ เสนาบดีกระทรวงนครบาลจึงเสด็จไปถึง ได้ยินรับสั่งว่า อาศน์แข็งๆ กันไม่รู้ พอรู้ ก็รีบมา จะต้องนั่งอยู่ยังรุ่ง...”

วัดเขมาที่กล่าวถึงนี้ก็คือ วัดเขมาภิรตาราม ซึ่งเดิมเรียกกันว่า “วัดเขมา” ตามประวัติกล่าวว่าเป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยอยุธยาหรือก่อนอยุธยา ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครสร้างและสร้างเมื่อใด

Image

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดนี้ครั้งใหญ่ และได้พระราชทานนามว่า “วัดเขมาภิรตาราม”

Image

ภายในวัดมีโบราณสถานที่น่าสนใจ เช่น พระอุโบสถ เป็นอาคารทรงไทยก่ออิฐถือปูน มุงด้วยกระเบื้องเคลือบ พระมหาเจดีย์สูง ๓๐ เมตร บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระที่นั่งมูลมณเฑียร ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นตำหนักอยู่ในบริเวณพระบรมมหาราชวัง แต่รัชกาลที่ ๕ โปรดให้รื้อมาปลูกที่วัดนี้ ส่วนพระตำหนักแดงเป็นตำหนักเครื่องไม้ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ อยู่ในบริเวณพระบรมมหาราชวังเช่นเดียวกัน รัชกาลที่ ๔ โปรดให้ย้ายมาปลูกเป็นกุฏิเจ้าอาวาสวัดเขมาภิรตาราม

Image

ปัจจุบัน วัดเขมาภิรตาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาในเขต ต.สวนใหญ่ อ.เมือง จ.นนทบุรี

Image


(มีต่อ ๓)
 

_________________
-- การให้ธรรมเป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง --
ดูข้อมูลส่วนตัวส่งข้อความส่วนตัวชมเว็บส่วนตัว
เว็บมาสเตอร์
บัวบานเต็มที่
บัวบานเต็มที่


เข้าร่วม: 19 มี.ค. 2005
ตอบ: 767

ตอบตอบเมื่อ: 10 ก.ค.2007, 1:25 pm ตอบโดยอ้างข้อความขึ้นไปข้างบน

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 3113 วันที่ 23 ต.ค. 2552

หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopee

https://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6


23 ตุลาคม วันปิยมหาราช 23ตุลาคมวันปิยมหาราช

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ฝากหมอน...ก่อนนอน...

ฝากหมอน...ก่อนนอน...


เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง
ดีกว่ากัน

ดีกว่ากัน


เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง
 วันสงกรานต์

วันสงกรานต์


เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง
พรหมไม่ได้ลิขิต

พรหมไม่ได้ลิขิต


เปิดอ่าน 7,172 ครั้ง
ผูกพัน...ผูกมัด...

ผูกพัน...ผูกมัด...


เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง
แบบว่า...ฝรั่งดอง..

แบบว่า...ฝรั่งดอง..


เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง
รายการ "เงินทองต้องรู้"

รายการ "เงินทองต้องรู้"


เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง
12 วิธี......การสร้างบุญบารมี

12 วิธี......การสร้างบุญบารมี


เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง

Image

กระบวนเรือมาติดเกยท่าที่วัดหนองแขม

รุ่งเช้าของวันที่ ๑๕ กรกฎาคม กระบวนเรือจึงออกจากวัดเขมาฯ ล่องมาตามลำน้ำเจ้าพระยาเข้าคลองบางกอกใหญ่และคลองภาษีเจริญ สมเด็จกรมพระยาดำรงฯ ทรงเล่าว่า

“...ฉันมากระบวนหน้าตามเคย ประจวบเวลาหัวน้ำลง เมื่อพ้นหนองแขมเจอเรือไฟที่ไปก่อน ติดขวางคลองอยู่ลำหนึ่ง ฉันจึงปล่อยเรือไฟที่จูงเรือให้คอยตามเรือไฟลำหน้า ส่วนตัวฉันเองให้คนแจวเรือล่องเลยไปจอดคอยเรือไฟที่น้ำลึกบ้านกระทุ่มแบน รอๆ อยู่เท่าใดๆ ก็ไม่เห็นเรือไฟตามออกมา น้ำก็แห้งงวดลงไปทุกที...จอดรอกระบวนเสด็จอยู่จนค่ำ กลางคืนน้ำขึ้น เรือไฟพวกล่วงหน้าหลุดออกมาได้ทีละลำ สองลำ ถามดูก็ไม่ได้ความว่ากระบวนเสด็จอยู่ที่ไหน จนยามกว่าจึงได้ความจากเรือลำหนึ่งว่าประทับแรมอยู่ที่หน้าวัดหนองแขม ฉันก็เลยจอดนอนคอยเสด็จ อยู่ที่กระทุ่

:: เรื่องปักหมุด ::

 ฮัลโหล.! ! !   ครับ  มือถือ คือสื่อฟ้าผ่า จริงหรือไม่...?  ไปพิสูจน์

ฮัลโหล.! ! ! ครับ มือถือ คือสื่อฟ้าผ่า จริงหรือไม่...? ไปพิสูจน์

เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ตามล่า หาแคลเซียมให้เต็มร้อย
ตามล่า หาแคลเซียมให้เต็มร้อย
เปิดอ่าน 7,156 ☕ คลิกอ่านเลย

ข่าวด่วน!!ไมเคิล แจ็กสันตายแล้ว-ฟาร์ราห์ ฟอว์เซ็ตก็ตายด้วยโรคมะเร็ง!!!!!!
ข่าวด่วน!!ไมเคิล แจ็กสันตายแล้ว-ฟาร์ราห์ ฟอว์เซ็ตก็ตายด้วยโรคมะเร็ง!!!!!!
เปิดอ่าน 7,155 ☕ คลิกอ่านเลย

เว็บบล๊อกนี้...มีสาระดีๆ..24 ชั่วโมง...".F16 บินทั่วฟ้าเมืองไทย"สิ่งประดิษฐ์ฝีมือคนไทย
เว็บบล๊อกนี้...มีสาระดีๆ..24 ชั่วโมง...".F16 บินทั่วฟ้าเมืองไทย"สิ่งประดิษฐ์ฝีมือคนไทย
เปิดอ่าน 7,218 ☕ คลิกอ่านเลย

คำสอนของพ่อ..... กับ "เหรียญ5บาท"
คำสอนของพ่อ..... กับ "เหรียญ5บาท"
เปิดอ่าน 7,164 ☕ คลิกอ่านเลย

บ้านวิหคหลงรัง!!
บ้านวิหคหลงรัง!!
เปิดอ่าน 7,162 ☕ คลิกอ่านเลย

ปฏิทินวันพระ วันหยุดราชการ และ ธนาคาร พ.ศ. 2552..(ย้อนหลัง)
ปฏิทินวันพระ วันหยุดราชการ และ ธนาคาร พ.ศ. 2552..(ย้อนหลัง)
เปิดอ่าน 7,169 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

รู้จัก The Big Five Domains เพื่อรู้จักวัยเรียนให้ดียิ่งขึ้น
รู้จัก The Big Five Domains เพื่อรู้จักวัยเรียนให้ดียิ่งขึ้น
เปิดอ่าน 6,446 ครั้ง

โรคสมองเสื่อมกับมะเร็งกลายเป็นคู่กัดกันเองต่างปราบกันและกัน
โรคสมองเสื่อมกับมะเร็งกลายเป็นคู่กัดกันเองต่างปราบกันและกัน
เปิดอ่าน 9,047 ครั้ง

มิวสิควิดีโอเพลง ดีใจได้เรียนฟรี ลุงตู่จัดให้ [Official MV]
มิวสิควิดีโอเพลง ดีใจได้เรียนฟรี ลุงตู่จัดให้ [Official MV]
เปิดอ่าน 8,862 ครั้ง

สตอร์มเสิร์จ (Storm surge) คืออะไร
สตอร์มเสิร์จ (Storm surge) คืออะไร
เปิดอ่าน 15,823 ครั้ง

วิธีดูแลรักษาโซฟาหนัง
วิธีดูแลรักษาโซฟาหนัง
เปิดอ่าน 18,039 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ