ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

Best Practices ระบบเรียนรู้


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,140 ครั้ง
Advertisement

Best Practices ระบบเรียนรู้

Advertisement

❝ BestPractices ระบบเรียนรู้(ห้องเรียนคุณภาพ) ❞
Best Practices
ระบบเรียนรู้ โรงเรียนชุมชนวังสะพุง   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลยเขต 2                                                
6 ประตูทองสู่ห้องเรียนคุณภาพ”
1. ความเป็นมาและบริบทของโรงเรียน
                    โรงเรียนชุมชนวังสะพุง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2    เป็นโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่   มีพื้นที่ 32 ไร่ 12 ตารางวา    ตั้งอยู่กลางชุมชนกึ่งเมือง     เปิดสอน   2   ระดับ   คือ   ระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษา   มีชุมชนในเขตพื้นที่บริการ 5 หมู่บ้าน มีนักเรียนทั้งสิ้น จำนวน 1,019   คน เป็นนักเรียนในเขตบริการไม่ถึงร้อยละ 30 ที่เหลือเป็นนักเรียนจากนอกเขตบริการซึ่งมีมากกว่าร้อยละ 60   มีครู 50 คน นักการจำนวน 1 คน  โดยมี  นายจิรวัฒน์ สุวรรณสนธิ์ เป็นผู้บริหารคนปัจจุบัน จัดการบริหารภายใต้วิสัยทัศน์ที่ใช้ในการพัฒนาสถานศึกษา คือ   จัดการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ  ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ”
      การที่โรงเรียนชุมชนวังสะพุง มีบริเวณโดยรอบเป็นเขตชุมชนเมือง นักเรียนจึงได้รับอิทธิพลทางความคิด ความเป็นอยู่และวัฒนธรรมที่ทำให้นักเรียนเสี่ยงต่อพฤติกรรมอันไม่พึงประสงค์ นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ปกครองส่วนหนึ่ง เมื่อว่างจากฤดูทำนาก็นิยมไปขายแรงงานและขายสลากกินแบ่งรัฐบาลในต่างจังหวัด เพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว จึงไม่มีเวลาดุแลบุตรหลาน ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆตามมามากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัจจัยที่สกัดกั้นการพัฒนาการเรียนรู้ ในทุกกลุ่มสาระวิชา อันจะส่งผลโดยตรงต่อการจัดการศึกษาในภาพรวม     จากปัญหาดังกล่าว ได้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน   ที่กำลังมุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียน พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสู่มาตรฐาน และสู่ความเป็นผู้นำ 
        หลังจากที่  โรงเรียนชุมชนวังสะพุง ได้เข้าร่วมในโครงการพัฒนาเชิงระบบเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้และคุณภาพในโรงเรียน    (ระบบ TOPSTAR )  ของมูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาการเรียนรู้ (มสวร. )   เมื่อ พ.ศ. 2546   แม้ภายหลังจะได้เปลี่ยนชื่อเป็น  โครงการ พัฒนาโรงเรียนเข้มแข็งด้วยการจัดการความรู้ ”   แต่ในด้านการจัดการเชิงระบบ   นั่นคือนวัตกรรมสำคัญที่โรงเรียนชุมชนวังสะพุง ได้ยึดเป็นแนวในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง   โดยเฉพาะ ระบบการเรียนรู้ ได้ดำเนินการเพื่อให้โรงเรียนเข้มแข็ง ( Haelthy School )  ซึ่งเน้นดำเนินการภายใต้วัฏจักรวงจร   PDCA  เพื่อพัฒนาระบบให้ยั่งยืน   ทำให้โรงเรียนสามารถ   พัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ พัฒนาผู้เรียนเป็นคนดี เป็นคนเก่ง ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุข ตลอดทั้งพัฒนาภาพแวดล้อม   อาคารสถานที่ ให้เพียงพอ สะอาด สวยงาม   ภายใต้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง          และค้นพบสู่วิธีปฏิบัติ
ที่เป็นเลิศ   ( Best Practices )    ในที่สุด
                     โรงเรียนชุมชนวังสะพุงตระหนักและเห็นความสำคัญของการพัฒนา โดยเฉพาะ การพัฒนาด้านคุณภาพผู้เรียน  ดังนั้น   โรงเรียนจึงได้นำเอาแนวคิดของการพัฒนาเชิงระบบมาใช้และมีความคาดหวังให้โรงเรียนมีระบบที่มีคุณภาพ   มีความเป็นเลิศ  ช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการเรียนรู้และลักษณะนิสัยของนักเรียนให้เป็นไปตามมาตรฐาน  โดยจัดการศึกษาภายในบริบทและกิจกรรมที่เป็นอยู่ เป็นไปตามความคาดหวังของโรงเรียน ครู   ผู้ปกครอง และชุมชน คือผู้เรียน  มีนิสัยใฝ่รู้ใฝ่เรียน  รักการอ่าน  การค้นคว้า  มีทักษะด้านข้อมูลข่าวสาร มีความคิดวิเคราะห์และสร้างสรรค์  เสริมสร้างทักษะการดำรงชีวิต มีทักษะการจัดการ  มีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม มีระดับความพึงพอใจจากผู้มีส่วนได้เสียร้อยละ 80 ขึ้นไป
                     เนื่องจาก ปัจจุบัน    ได้มีกระแสการพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ชัดเจนขึ้น    พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ   พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม   พ.ศ. 2545 ได้มุ่งเน้นคุณภาพให้เกิดขึ้นกับนักเรียนรวมทั้งการบริหารงานวิชาการ ของสถานศึกษา และในมาตรา  4  วรรค   6   ได้กำหนดความหมายของมาตรฐานการ ศึกษาไว้ว่า “ หมายถึงข้อกำหนดเกี่ยวกับลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์ ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถาน ศึกษาทุกแห่ง   รวมทั้งเป็นหลักในการเทียบเคียงเพื่อ ส่งเสริม   กำกับดูแล  การตรวจสอบและการประเมินผล รวมทั้งการประกันคุณภาพการศึกษา ” คำว่า “ คุณภาพการศึกษา เป็นคำที่มีความหมายกว้างขึ้นอยู่กับมุมมองของนักการศึกษาว่าจะมองในมิติใด     แต่ส่วนใหญ่มักจะมองใน 3 มิติ    คือ มองด้านคุณภาพของทรัพยากร    คุณภาพของบุคลากรที่ใช้จัดการศึกษา   คุณภาพของกระบวนการ    รวมทั้งคุณภาพของผลผลิต ให้สอดคล้องกับความคาดหวังของชุมชนที่ต้องการเห็นความเปลี่ยนแปลงของผู้เรียนในทางที่ดีขึ้น ดังนั้น คุณภาพและมาตรฐานการศึกษาที่โรงเรียน ชุมชนวังสะพุงยึดเป็นมาตรฐานในการจัดการ ศึกษา   จึงหมายถึง มาตรฐาน การศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน  18   มาตรฐาน    สำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา   (สมศ.) อีก  
14 มาตรฐาน ซึ่งโรงเรียนชุมชนวังสะพุงได้ใช้เป็นแนวในการพัฒนาและจัดการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง  
2. การพัฒนาคุณภาพเพื่อก้าวสู่ความเป็นเลิศ
หลังจากที่โรงเรียนชุมชนวังสะพุง    ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง   นับตั้งแต่ผู้บริหารคน
ปัจจุบันคือ   นายจิรวัฒน์   สุวรรณสนธิ์    ได้ย้ายมาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนในปี   พ.ศ.   2546 ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกที่ยกระดับคุณภาพให้แก่โรงเรียน   เนื่องจากผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้มีวิสัยทัศน์   และมีเจตนามุ่งมั่นในการพัฒนาสถานศึกษา    พัฒนาบุคลากรให้เป็นครูมืออาชีพ    พัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี   คนเก่ง ตลอดทั้งพัฒนาสภาพแวดล้อม   อาคารสถานที่และภูมิทัศน์ให้ดีขึ้น  ด้วยแนวทางของการพัฒนาคุณภาพเชิงระบบ คือ โครงการพัฒนาโรงเรียนเข้มแข็งด้วยการจัดการความรู้ ร่วมกับการเรียนรู้ตามหลักการของโรงเรียนวิถีพุทธ    
                      โครงการพัฒนาโรงเรียนเข้มแข็งด้วยการจัดการความรู้   มุ่งให้โรงเรียนได้พัฒนาคุณภาพรอบด้านมีการวางแผน   การกำหนดเนื้องาน   การดำเนินการ การติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลอย่างเป็นระบบ เพื่อให้โรงเรียนมีระบบดีและมีคุณภาพ      มีความเป็น   ( Healthy   School)    ตามเจตนารมณ์ของโครงการ โดยจะต้องจัดระบบให้ตรงกลุ่มงานในโรงเรียนตามขนาดหรือบริบทของโรงเรียนทั้ง   10 ระบบ      คือ ระบบหลัก   3   ระบบ   ได้แก่   ระบบเรียนรู้   ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน    และระบบกิจกรรมนักเรียน    รวมระบบสนับสนุนอีก   7 ระบบ    ได้แก่   ระบบนำองค์กร    ระบบยุทธศาสตร์      ระบบบริหารจัดการ    ระบบชุมชนสัมพันธ์    ระบบพัฒนาบุคลากร    ระบบคุณธรรมจริยธรรมวิชาชีพ     และระบบสารสนเทศ      ซึ่งในการปรับยุทธศาสตร์การพัฒนาครั้งนี้    นอกจากเน้นดำเนินการตามวงจร     PDCA    พร้อมกันทั้ง  10   ระบบ    เพื่อปรับปรุงและพัฒนาระบบให้ยั่งยืนและก้าวสู่ปฏิบัติการที่มีความเป็นเลิศแล้ว   ยังได้มุ่งบริหารงานทั้ง 4   ฝ่ายงาน   ได้แก่ งานบริหารวิชาการ งานบริหารบุคคล  งานบริหารงบประมาณ และงานบริหารทั่วไป     ซึ่งจำเป็นต้องมีการประสานให้เกิดความกลมกลืนเพื่อเพิ่มพูนศักยภาพในการพัฒนาผู้เรียนให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น  ภายใต้การนำ การสั่งการ การกำกับ  ติดตาม  ตรวจสอบ โดยผู้บริหารโรงเรียน รองผู้อำนวยการ    หัวหน้างาน ซึ่งเป็นทีมนำ   ทั้งนี้ การดำเนินงานทุกขั้นตอน   ต้องได้รับความร่วมมือจากทีมทำ   คือครู นักเรียน ผู้ปกครอง ชุมชน ผู้อุปถัมภ์และองค์กรต่างๆ  ที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี     
                   การได้ร่วมกันวางแผนจัดทีมคุณภาพ เพื่อพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยใช้การบริหารจัดการเชิงระบบ   ทำให้ทีมคุณภาพมีความมุ่งมั่นในการประสานสัมพันธ์กับครูในโรงเรียน มีทิศทางในการพัฒนาผู้เรียนที่ชัดเจน ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ไปในทิศทางเดียวกัน  เพื่อสนองตามความคาดหวังของโรงเรียน และชุมชนดังกล่าวแล้ว อย่างไรก็ตาม   การพัฒนาระบบคุณภาพเพื่อให้โรงเรียนเข้มแข็ง  ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  โดยเฉพาะการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถ    และมีศักยภาพทางวิชาการ   ครูมีความ สามารถในการจัดการความรู้   โดยใช้เทคโนโลยี และบูรณาการ   8   กลุ่มสาระ   ในทุกระดับชั้น เน้นให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งภายใน   ภายนอกห้องเรียน และจาก
ภูมิปัญญาท้องถิ่น  ระบบการเรียนรู้ จึงเป็นระบบที่มุ่งจัดการความรู้ โดยเน้นผู้เรียนได้ร่วมกิจกรรมอย่างทั่วถึง ได้แสดงออกอย่างอิสระ รู้จักใช้และพัฒนากระบวนการคิดการแก้ปัญหา   การวางแผน ทำให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์ที่มีคุณค่า ได้เรียนรู้ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์และสังคม มุ่งส่งเสริมความสามารถ ความถนัด สร้างเจตคติ ค่านิยมที่พึงประสงค์ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการดำรงชีวิต เน้นการสร้างจิตสำนึกรักถิ่นเกิด รักธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สังคมและประเทศชาติ แก่นักเรียนตั้งแต่ยังเยาว์วัย
                                              
Flow Chart
                                     ระบบการเรียนรู้ โรงเรียนชุมชนวังสะพุง

จัดทำหลักสูตรและ                                           วิเคราะห์หลักสูตร
 
 
 
  
วิเคราะห์ผู้เรียน
ออกแบบการเรียนรู้
ใช่
จัดกลุ่มผู้เรียน
ไม่
ต้องให้ความช่วยเหลือหรือไม่
 

 
 


 


 

จัดการเรียนรู้
ใช่
 นิเทศภายในแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ประเมินผลการเรียนแต่ละหน่วย
ควรปรับปรุงหรือไม่
ดำเนินการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
ไม่
แก้ไขปรับปรุง
วิจัยปฏิบัติการ
สรุป/รายงานผล
 

 
 


 
 
 
 
 


จาก Flow Chart   ระบบการเรียนรู้ทุกขั้นตอน   ได้ดำเนินการ ดังนี้
ความหมายและขอบข่ายของ  Flow Chart
1. จัดทำหลักสูตรและวิเคราะห์หลักสูตร
                   โรงเรียนได้มีการประชุมชี้แจงให้ความรู้แก่ครูเรื่องการวิเคราะห์หลักสูตร   โดยศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรแต่ละกลุ่มสาระการเรียนรู้ โดยเฉพาะตามวิธีการของหลักสูตรใหม่ที่เป็นโรงเรียนต้นแบบการใช้ พ.ศ.2552   กำหนดโครงสร้าง  มาตรฐานการเรียนรู้   ตัวชี้วัด   สาระการเรียนรู้รายชั้น /ปี   วิเคราะห์คำอธิบายรายวิชา  กำหนดหน่วยการเรียนรู้   และกำหนดเวลาการจัดการเรียนรู้แต่ละสาระการเรียนรู้ ทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อเตรียมจัดทำแผนการเรียนรู้ต่อไป นอกจากนั้นครูประจำชั้นได้จัดทำเครื่องมือในการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล   แยกกลุ่มตามศักยภาพการเรียนรู้
2. วิเคราะห์ผู้เรียน
   ศึกษาข้อมูลจากผลการเรียนรู้ในแต่ละภาคเรียน แต่ละปีการศึกษาที่ผ่านมา   ครูประจำชั้นได้จัดทำเครื่องมือในการวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล     ทดสอบพื้นฐานความรู้เดิม      ทดสอบทักษะที่จำเป็น ทดสอบความถนัดความสนใจในกิจกรรมที่บูรณาการกับวิธีการเรียนรู้  บันทึกข้อมูลการวิเคราะห์ผู้เรียนบันทึกคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และการอ่านคิดวิเคราะห์   แยกกลุ่มตามศักยภาพการเรียนรู้ เพื่อให้ง่ายต่อการ เตรียมให้ความช่วยเหลือ    และพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง     หากพบว่าผลการวิเคราะห์ผู้เรียนอยู่ในระดับที่จะต้องให้การช่วยเหลือ โรงเรียนสามารถดำเนินการได้ เช่น การสอน
ซ่อมเสริม หรือเพื่อนช่วยเพื่อน
3. ออกแบบหน่วยการเรียนรู้และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้
                   ออกแบบหน่วยและแผนการจัดการเรียนรู้ที่อิงมาตรฐาน   โดยยึดหลักการจัดการเรียนรู้ หลายรูปแบบ จากการจัดการเรียนรู้บูรณาการ 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ กับ 1 กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยคำนึง ถึงความสอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลาง พ.ศ. 2551 และเน้นความเป็นท้องถิ่น    เน้นการใช้   ICT ในการแสวงหาความรู้   รู้จักนำองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้     การศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน  ด้วยการกำหนดพฤติกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับตัวชี้วัด ของแต่ละหน่วย    ออกแบบกิจกรรมและสื่อให้มีความเหมาะสมกับกลุ่มผู้เรียนและให้มีความสัมพันธ์กับความรู้พื้นฐานหรือต่อยอดความรู้เดิมของผู้เรียน 
4.  การจัดการเรียนรู้
   จัดการเรียนรู้โดยให้ผู้เรียนมีการเรียนรู้ โดยเลือกรูปแบบที่หลากหลาย  เลือกใช้รูปแบบที่เหมาะสมกับผู้เรียนและสภาพแวดล้อม   การจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการใน  8  กลุ่มสาระนั้น    เน้นการใช้  ICT ในการเรียนรู้   เรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น การศึกษาหาความรู้ด้วยตนเองจากแหล่งเรียนรู้ ทั้งในและนอกห้องเรียน  จากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  ด้วยการคำนึงถึงความเหมาะสม ตามสภาพจริงของแต่ละกลุ่มผู้เรียน และธรรมชาติของแต่ละรายวิชา เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและมีส่วนร่วมโดย เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้เลือกกิจกรรมตามความพอใจ   มีการวัดและประเมินผลหลายรูปแบบตามสภาพจริง และบันทึกผลอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาในโอกาสต่อไป
5. นิเทศภายในและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
   จัดนิเทศภายในด้วยการจัดประชุมครูกลุ่มย่อยของระดับชั้นและของกลุ่มวิชาการเดือนละ 1 ครั้ง หลังเลิกเรียนทุกวันศุกร์ ครูทุกคนร่วมกันกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาแบบกัลยาณมิตร แบบเพื่อนช่วยเพื่อน เช่น การวิจัยในชั้นเรียน  และด้วยการสำรวจคะแนนสะสมก่อนสอบปลายภาคเรียน เพื่อให้ผู้เรียนได้ปรับปรุงแก้ไขตนเอง ให้ผ่านตามเกณฑ์การประเมินผลของหลักสูตร และพัฒนาบันทึกผลการนิเทศและรายงานผลต่อผู้เกี่ยวข้อง
6. ประมวลผลแต่ละหน่วยการเรียนรู้
   การประมวลผลการเรียนรู้ในแต่ละหน่วย    เป็นการจัดระบบข้อมูลต่าง ๆ ของผู้เรียนทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม นำข้อมูลมามาประมวลผลและประเมินผล   โดยทำได้ขณะที่ผู้เรียนปฏิบัติกิจกรรมในการเรียนรู้   จากภาระและชิ้นงานของผู้เรียน จากการเรียนรู้ตามสภาพจริง  ด้วยการใช้เครื่องมือวัดผลประเมินผลตามสภาพจริง เช่น แบบประเมินผลคุณธรรมจริยธรรมด้านต่างๆ    และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน   นำผลการประเมินมาวินิจฉัยกับเกณฑ์การผ่านและตัดสินผลการเรียน ประเมินคุณภาพผู้เรียนแต่ละชั้น   ด้วยการใช้แบบทดสอบประเมินคุณภาพผู้เรียน (NT)   เป็นต้น
ในกรณีผู้เรียนไม่ผ่านตามเกณฑ์    ควรใช้วิจัยปฏิบัติการ เพื่อแก้ไขปรับปรุงให้ผู้เรียนผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ในกรณีผู้เรียนผ่านตามเกณฑ์  ได้มีการพัฒนาผู้เรียนรู้โดยดำเนินการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพมากขึ้นต่อไป
 
 
7. วิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง
   บุคลากรครูที่รับผิดชอบในกลุ่มสาระการเรียนรู้ และครูที่ปรึกษาในระดับชั้นต่าง ๆ ศึกษาผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่รับผิดชอบ จากผลการประเมินใน   ปพ.5, ปพ.6  ทั้งที่เป็นรายบุคคล   รายกลุ่มและสรุปทั้งชั้น   ในแต่ละภาคเรียน/ปี   กำหนดประเด็นปัญหาที่จะแก้ไขและพัฒนาผู้เรียน    วางแผนการสร้างนวัตกรรมและเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ดำเนินการวิจัยพัฒนาในประเด็นที่เป็นปัญหานั้น หรือกลุ่มสนใจทำวิจัยร่วมกัน  ก็ดำเนินการแบบกลุ่ม อาจเป็นการวิจัยชั้นเรียน แบบง่าย แบบกึ่งทดลอง หรือวิจัยเต็มรูปแบบ     นำผลการวิจัยพัฒนามาปรับปรุงแก้ไขระบบเรียนรู้ทั้งระบบ ตามวิธีการ มาตรฐานและข้อกำหนดของระบบการเรียนรู้ 
8. บันทึกสรุปรายงานผลระบบการเรียนรู้
   จัดทำบันทึกสรุปผล กระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนตามแบบ ปพ.5 ,ปพ.6  ตรวจสอบความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัด   กับมาตรฐานของระบบการเรียนรู้    บันทึกข้อมูลและจัดทำสารสนเทศจากผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่รับผิดชอบ    สรุปผลการวิจัยและพัฒนา ตามแบบบันทึกสารสนเทศ     ของการเรียนรู้   จัดประชุมประเมินทบทวนระบบการเรียนรู้ทุก ๆ ภาคเรียน   ดังแสดงในตารางที่ 1 และตารางที่ 2
ตารางที่ 1   สรุปผลการประเมินทบทวนระบบ 10 ระบบ ด้านความพึงพอใจของนักเรียน ครู 
                   ผู้ปกครอง ชุมชน ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ระหว่าง 2 ช่วงปีการศึกษา 2550-2551
จากตารางที่ 1 พบว่าร้อยละของครู นักเรียน ชุมชนที่มีความพึงพอใจในปี พ.ศ. 2550 คิดเป็นร้อยละ 79.35   ปีการศึกษา 2551   คิดเป็นร้อยละ 91.27 ซึ่งมีความต่างระหว่าง 2   ปีการศึกษาที่ 3. 82
 
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 รวม 3 ช่วงเวลา
จากตารางที่ 2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในปีการศึกษา   2549 คิดเป็น
ร้อยละ 77.37    ปีการศึกษา 2550   คิดเป็นร้อยละ 77.50   และปีการศึกษา 2551 คิดเป็นร้อยละ 78.26 
ซึ่งในปีการศึกษา    2551    สูงกว่าความสำเร็จในปีการศึกษา   2549 2550 สร้างความพอใจแก่ชุมชนผู้ปกครอง นักเรียน ครู สาธารณชน และผู้เกี่ยวข้อง 
               การพัฒนาให้โรงเรียนมีความเข้มแข็งในการจัดการความรู้นั้น ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องโดยได้กำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา   ตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ  สอดคล้องกับความคาดหวังของชุมชนและโรงเรียน เน้นให้นักเรียนและชุมชนมีส่วนร่วม ควบคู่กับการพัฒนาเชิงระบบ นำวงจร   PDCA มาใช้อย่างจริงจัง   ซึ่งเป็นแนวปฏิบัติสำคัญที่โรงเรียนใช้ในการบริหารจัดการและพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้ได้มาตรฐาน และ การที่โรงเรียนประสบกับความสำเร็จในการประเมินโรงเรียนพระราชทาน  ในปี 2550  ผ่านการรับรองเป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝัน : โรงเรียนดีใกล้บ้าน ในปี 2551  ได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนผู้นำการเปลี่ยนแปลงเพื่อรองรับการกระจายอำนาจ    รวมทั้งเป็นโรงเรียนต้นแบบนำร่องการใช้หลักสูตร 2551   ได้สร้างขวัญกำลังใจและความภาคภูมิใจแก่ครู นักเรียน และผู้เกี่ยวข้อง เป็นอย่างมาก   เป็นแรงกระตุ้นให้ทีมทำงานมีความเข้มแข็ง ในการพัฒนาตนเองให้มีคุณภาพ เพื่อจัดการความรู้ในโรงเรียนต้นแบบที่มีและเป็น “ห้องเรียนคุณภาพ ”   
               ในปีการศึกษา  2550-2551   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน   (สพฐ.) ได้พยายามนำแนวคิดเรื่อง “ห้องเรียนคุณภาพ”  (The Complete Classroom/Quality Classroom) ซึ่งเป็นแนวคิดที่มุ่งเน้นให้สถานศึกษา บริหารจัดการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณภาพในระดับปฏิบัติ คือ “ระดับห้องเรียน” โดยเชื่อว่า หากการจัดการเรียนรู้มีคุณภาพตามเกณฑ์ห้องเรียนคุณภาพ แล้ว สถานศึกษาแห่งนั้นก็น่าจะกลายเป็นสถานศึกษาที่มีคุณภาพและมีความเป็นเลิศ (Excellence School)   โดยอาศัย  จุดเน้นสำคัญของแนวคิด “ห้องเรียนคุณภาพ” ดังปรากฏใน ขั้นตอนการดำเนินงาน“ 6 ขั้นประตูทองสู่ห้องเรียนคุณภาพ ”   ซึ่งประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้
1. ประตูที่ 1  จัดการเรียนรู้ที่อิงมาตรฐาน
2.             ประตูที่ 2 ห้องเรียนมีการเปลี่ยนแปลง
3.             ประตูที่ 3 เสริมแรงด้วยวินัยเชิงบวก
4.             ประตูที่ 4 เรียนรู้สะดวกด้วย ไอซีที
5.             ประตูที่ 5 ครูปรับวิธีการสอน
6.             ประตูที่ 6 สะท้อนสู่ผลงานการวิจัย
                 โดยทั้ง 6 ขั้นตอน เปรียบเสมือนประตูทองของการพัฒนาคุณภาพ ซึ่งเป็นวิธีที่ดูธรรมดาแต่ไม่ธรรมดา    โรงเรียนชุมชนวังสะพุงเข้าใจว่าเป็นวิธีปฏิบัติที่เป็นนวัตกรรมอันเกิดจาก    ครู    นักเรียน   และชุมชนได้ค้นพบและปฏิบัติร่วมกัน
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ขั้นตอนการดำเนิน การพัฒนาระบบเรียนรู้
                                            6 ประตูทอง สู่ห้องเรียนคุณภาพ ”

ออกแบบการเรียนรู้
ที่อิงมาตรฐาน
       ห้องเรียนมีการเปลี่ยนแปลง
เสริมแรงด้วย
วินัยเชิงบวก
ประชุมครู / ชี้แจงนโยบาย  / กำหนดบทบาทหน้าที่
- วางแผน / จัดทำ วิเคราะห์หลักสูตร/ วิเคราะห์ผู้เรียน
- ออกแบบการเรียนรู้ / จัดทำแผนการเรียนรู้/ สร้างและ
   จัดหาสื่อให้หลากหลายและมีคุณภาพ
 -  กำกับติดตามประเมินผล/ปรับแก้ไขโดยใช้ PDCA
- ยกระดับคุณภาพผู้เรียน ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม ชัดเจน เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน โดย
เปลี่ยนแปลงห้องเรียนในด้านกายภาพ สะอาด มีระเบียบจัดให้มี ICT ทุกห้อง มีอุปกรณ์สมบูรณ์ เอื้อต่อการเรียนรู้ มีและใช้แหล่งเรียนรู้อย่างประหยัดและคุ้มค่า
- ครูสื่อสารกับผู้เรียนด้วยท่าทีที่เป็นมิตร
-   ครูสร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนรักและศรัทธา เกิดความ ประทับใจในกิจกรรมและสาระการเรียนรู้ที่รับผิดชอบ
- ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมและคุณลักษณะที่พึง
    ประสงค์ ด้วยวิธีการที่หลากหลายและสร้างสรรค์
 
กล่องข้อความ: นักเรียนกล่องข้อความ: นักเรียนกล่องข้อความ: นักเรียน 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

          เรียนรู้สะดวกด้วย ไอซีที
ครูปรับการเรียน
เปลี่ยนวิธีการสอน
สะท้อนสู่
ผลงานการวิจัย
- ผู้เรียนมีทักษะในการใช้สื่อ ICT เพื่อแสวงหาความรู้
- ผู้เรียนมากกว่า 20 % สามารถใช้โปรแกรมพื้นฐานได้
- ผู้เรียนมากกว่า 20 % ได้ใช้สื่อ ICT เพื่อการสาธิต
 หรือฝึกปฏิบัติตามความต้องการและความจำเป็น
- ผู้เรียนมีผลงานจากการศึกษาค้นคว้าของตนเองที่เป็น
 รูปธรรม
    
- ครูยอมปรับเปลี่ยนวิธีสอนจากผู้สอนมาเป็นผู้จัดการความรู้ /ยกระดับผู้เรียนแลพัฒนาตนเองสู่ครูมืออาชีพ
- กำหนดหน่วยและวางแผนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ
- เรียนรู้และใช้สื่อ ICT จัดการความรู้อย่างต่อเนื่อง
- จัดกิจกรรมโดยใช้เทคนิคการสอนที่หลากหลาย
- วัดและประเมินผลตามสภาพจริงด้วยเครื่องมือที่มี
    ประสิทธิภาพ
 
- ครูนำผลการเรียนรู้มาพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นระบบและ
   ต่อเนื่องด้วยการทำวิจัย
- ครูมีการทำวิจัยในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้แก่ผู้เรียน และพัฒนารูปแบบวิธีสอนของตนเอง
- ครูมีการสร้างสื่อนวัตกรรมที่มีคุณภาพสู่การทำวิจัย
    และมีผลงานการวิจัยอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 เรื่อง
 
 
 
กล่องข้อความ: นักเรียนกล่องข้อความ: นักเรียนกล่องข้อความ: นักเรียน 

 


 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 


 
3. วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ   (Best practices)    ดำเนินการตามลำดับ    ดังนี้

      6 ประตูทองสู่ห้องเรียนคุณภาพ คือ วิธีทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีความสุข ท่ามกลางกิจกรรม สื่อ ICT  ที่หลากหลาย และทำให้ผู้เรียน   เป็นคนดี คนเก่ง โดยมีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ ดังนี้
      ประตูที่ 1  จัดการเรียนรู้ที่อิงมาตรฐาน   
                           ดำเนินการโดย   ผู้บริหารจัดประชุมครูเพื่อชี้แจงนโยบายให้ครูทราบ ให้ครูเข้าใจวิธีการ จัดการเรียนรู้ที่อิงมาตรฐาน เพราะจะต้องเริ่มจาก การสร้างและวิเคราะห์หลักสูตร    วิเคราะห์ผู้เรียน    ศึกษาแนวทาง จัดทำหน่วยการเรียนรู้ที่อิงมาตรฐาน  และตัวชี้วัด       ทำแผนการเรียนรู้ สร้างและจัดหาสื่อที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น   โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้สื่อ ICT   แม้ในตอนแรกครูจะยังรู้สึกสับสนและท้อแท้ท้อถอย    เพราะการจัดการเรียนรู้ตามวิธีการดังกล่าวข้างต้นนั้น   เป็นวิธีการใหม่ที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน เข้าใจยาก โดยเฉพาะคุณครูเก่าแก่ที่ใกล้เกษียณอายุราชการ   ท่านเหล่านั้นมีความพยายามสูงมากในการเรียนรู้ใหม่ หลายท่านไม่มีประสบการณ์ด้าน ICT มาก่อนเลยบางท่านยังพูดเปรยๆ ว่า “ มันท้าทายความสามารถดี ” และบางท่านก็พูดอย่างภูมิใจว่า “ ป้าทำได้แล้วสนุกดี    รับรองไม่แก่เกินเรียนหรอกจ้า ”     ขณะเดียวกันผู้บริหารก็คอยย้ำเสมอว่า    โรงเรียนเราเป็นโรงเรียนต้นแบบ ทำอะไรเราต้องทำดีที่สุดที่สำคัญให้ผลสัมฤทธิ์สูงขึ้น      และเป็นเลิศให้ได้   หลังจากนั้นเมื่อดำเนินการตามขั้นตอนทุกอย่าง ครูก็จะได้ หลักสูตรโรงเรียน   ได้จัดทำหน่วย  จัดทำแผนการเรียนรู้ และได้สื่อที่หลากหลายตามที่หน่วยกำหนด   นำไปจัดการเรียนรู้ กับนักเรียนกลุ่มสาระต่าง ๆ ที่รับผิดชอบ    จัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริง มีการเก็บข้อมูลปัญหาการเรียนรู้ไว้เพื่อจัดทำวิจัย     ผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้อง     มีการ กำกับติดตาม   ประเมินผล และได้ปรับปรุงแก้ไขการทำงานของครูอย่างเป็นระบบ โดยใช้ วงจร PDCA
     ประตูที่ 2 ห้องเรียนมีการเปลี่ยนแปลง
                        ดำเนินการโดยยกระดับคุณภาพผู้เรียน ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรม ชัดเจน เพื่อเพิ่มผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  โดยเปลี่ยนแปลงห้องเรียนในด้านกายภาพ เน้นให้ทุกห้อง มีความสะอาด มีระเบียบ   สวยงาม   มีจำนวนเพียงพอ   มีสภาพพร้อมใช้เอื้อต่อการเรียนรู้  มีห้องปฏิบัติการพิเศษครบทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และมี สื่อ   อุปกรณ์ ICT ที่มีคุณภาพครบทุกห้อง มีสภาพสมบูรณ์ พร้อมใช้    เช่น ห้องปฏิบัติการกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยจะต้องมี   คอมพิวเตอร์อย่างน้อย 1  เครื่อง พร้อมพริ้นเตอร์  มีจอภาพ โปรเจคเตอร์   มีเครื่องขยายเสียง   พร้อมลำโพงมีเครื่องรับโทรทัศน์ขนาด   24   นิ้ว  เปิดโอกาสและส่งเสริมให้นักเรียนได้ใช้จริง    นอกจากนั้น โรงเรียนยังมีบริเวณโดยรอบและอาคารสถานที่สวยงาม เอื้อต่อการเรียนรู้   มีห้องสมุดที่มีชีวิต   มีหนังสือเพียงพอต่อจำนวนผู้เรียน  มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย ปลอดภัย   เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียน   ครูและผู้เรียนใช้สื่อ ICT   และสื่อต่าง ๆ   ให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้อย่างประหยัดและคุ้มค่า  โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
      ประตูที่ 3 เสริมแรงด้วยวินัยเชิงบวก
                        โดยครูต้องสื่อสารกับผู้เรียนด้วยท่าทีที่เป็นมิตร สร้างแรงจูงใจให้ผู้เรียนรักและศรัทธา ให้ผู้เรียนเกิดความประทับใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของครู เช่น ครูสาธิตการร้องเพลง สาธิตการอ่านทำนองเสนาะ และการขับเสภาด้วยตัวครูเอง ทำให้เด็กๆ รู้ว่าครูทำได้เป็นแบบอย่างได้ นักเรียนจะพยายามเลียนแบบและทึ่งในตัวครู   ครูต้องมีความรับผิดชอบ  ตรงเวลา  เข้าสอนตรงเวลา มีการให้รางวัลบ้าง เช่นนักเรียนคนใดทำคะแนนได้สูงครูก็มีรางวัลให้ โดยเฉพาะการเข้าค่ายติวเข้ม ครูต้องเสียสละมากที่สุด   ครูต้องมีความเมตตากรุณา  สร้างความตระหนักและปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ 8 ประการ รวมทั้งสมรรถนะหลัก ทั้ง 5 ข้อ แก่ผู้เรียน ด้วยวิธีการที่หลากหลายและสร้างสรรค์     โดยมีครูเป็นแบบอย่างที่ดี   เพื่อให้ผู้เรียนเป็นคนดี มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ เป็นคนเก่งด้านวิชาการ รักการอ่าน การเขียน    ดังจะเห็นได้จากนักเรียนมีผลงานเขียนหนังสือเล่มเล็กจำนวนมาก   จัดไว้ที่ศูนย์ภาษาไทย    เน้นให้มีความคิดวิเคราะห์ โดยมีนักเรียนหลายคนที่สามารถเอาชนะการประกวดโครงงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ในระดับเขตพื้นที่การศึกษาได้   นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะชีวิตป้องกันตนเองจากอบายมุขได้   มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี และสามารถจัดการความรู้เพื่อให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างมีความสุข
     ประตูที่ 4 เรียนรู้สะดวกด้วย ไอซีที
      โดยผู้เรียนมีทักษะมีความสามารถในการใช้สื่อ ICT เพื่อใช้แสวงหาความรู้ นักเรียนมากกว่า 20 %   สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานได้   และนักเรียนมากกว่า 20 % ได้ใช้สื่อ ICT เพื่อการสาธิตความรู้และ ฝึกปฏิบัติตามความต้องการและความจำเป็น ในสาระการเรียนรู้นั้น ๆ    ผู้เรียนมีผลงานจากการศึกษาค้นคว้าที่เป็นรูปธรรม มีการนำเสนอและเผยแพร่ผลงานต่อสาธารณะ   เช่น    สามารถสร้างโปรแกรม การเรียนรู้ได้เอง   ออกแบบการสร้างสิ่งประดิษฐ์รวมทั้งกระถางปูนปลาสเตอร์และเอาชนะการประกวดได้   เป็นต้น      นักเรียนร่วมกิจกรรมด้านการใช้สื่อ     ICT     ในการสืบค้น   มี e – mail address   เรียนรู้ผ่านระบบ e – learning   การนำเสนอและสาธิตกิจกรรมในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ โดยนักเรียนต่างก็มีความรู้ ความ สามารถ กล้าพูด กล้าแสดงออกอย่างมีคุณภาพ มีทักษะปฏิบัติ สามารถนำเสนอผลงานเกี่ยวกับ    ICT ได้   มีสภาวะการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี มีความเป็นประชาธิปไตย   รวมทั้งใช้ภาษาไทยในการอ่านการเขียนถูกต้อง และใช้ภาษาอังกฤษได้ถูกต้อง เป็นแบบอย่างได้ในกลุ่มโรงเรียนประถมศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเลย เขต 2
 
      ประตูที่ 5 ครูปรับวิธีการสอน
                        ครูยอมปรับเปลี่ยนวิธีสอน โดยลดบทบาทจากผู้สอนมาเป็นผู้จัดการความรู้   ยกระดับผู้เรียนโดยพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และพัฒนาตนเองสู่ครูมืออาชีพ  มีการศึกษาหลักสูตร มีการกำหนดหน่วยและวางแผนการเรียนรู้ไว้ล่วงหน้าอย่างเป็นระบบ  ครูต้องเรียนรู้และใช้สื่อ ICT ในการจัดการความรู้อย่างต่อเนื่อง จัดกิจกรรมการเรียนรู้แก่ผู้เรียนโดยใช้เทคนิคการสอนและสื่อที่หลากหลาย   จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนการเรียนรู้    มีการวัดและประเมินผลตามสภาพจริงด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย หลายรูปแบบและมีประสิทธิภาพ
       ประตูที่ 6 สะท้อนสู่ผลงานการวิจัย
                             ครูนำผลการเรียนรู้มาพัฒนาผู้เรียนอย่างเป็นระบบ  เรียนรู้และเข้าใจระเบียบวิธีวิจัยขั้นพื้นฐาน ครูได้ศึกษากระบวนการทำวิจัย   มีการทำวิจัยในชั้นเรียนและวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย มีการสร้างสื่อนวัตกรรมที่มีคุณภาพ   เพื่อกำหนดการทำวิจัยอย่างเป็นระบบ จริงจังและต่อเนื่อง   มีผลงานการวิจัยอย่างน้อยภาคเรียนละ 1 เรื่อง   มีการพัฒนาวิชาชีพโดยทำวิจัยเต็ม 100 %  จะเห็นได้ว่า ครูจำนวน 36 ท่านได้เลื่อนวิทยฐานะเป็นครูชำนาญการพิเศษ   ครูจำนวน   9 ท่านศึกษาจบระดับปริญญาโท และจำนวน 5 ท่าน กำลังศึกษาต่อ  ครูจึงมีมารยาทในการทำวิจัย รวมทั้งมีการพัฒนาและเผยแพร่ผลงานการวิจัยสู่สังคมในวงกว้างอย่างต่อเนื่อง 
4. ผลการดำเนินงาน              
    การที่โรงเรียนได้รับรางวัลจากการประกวด   แข่งขัน    ในโครงการต่าง ๆ   เป็นจำนวนมาก   นักเรียนได้รับการยกย่องว่าเป็นคนดี คนเก่ง   ครูมีคุณภาพ และการจัดการศึกษาของโรงเรียนได้รับรองจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและการประเมินคุณภาพการศึกษา   ( สมศ. )    จากการประเมินคุณภาพภายนอก ผ่านการประเมินโรงเรียนพระราชทาน โรงเรียนชุมชนวังสะพุงจึงเป็นที่ยอมรับในด้านคุณภาพการศึกษามาโดยตลอด มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณชน องค์การภายนอก และวงการศึกษา ทำให้ สามารถเป็นแบบอย่างได้ทั้งในด้านปริมาณและคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทำให้ประสบผลสำเร็จในการประเมินโรงเรียนในฝัน หรือโรงเรียนดีใกล้บ้าน ในปีการศึกษา 2551 ซึ่งถือเป็นรางวัลอันทรงคุณค่าและเป็นยอดปรารถนาของโรงเรียนทั่วประเทศ     สมดังเจตนารมณ์และความคาดหวังของโรงเรียน   ผู้ปกครอง  และชุมชน   ดังนี้
 
            4.1 ผลที่เกิดกับนักเรียน
     ด้านคุณภาพ 
       1. นักเรียนทุกช่วงชั้นในภาพรวมมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น อยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ
                     2. นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์มีสมรรถนะและมีค่านิยมตามที่โรงเรียนกำหนด คือ เห็นคุณค่าของตนเอง    มีวินัยในตนเอง   ปฏิบัติตนตามหลักธรรมขอพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ มีคุณธรรม     จริยธรรม ขยัน ประหยัด  พอเพียง และมีค่านิยมที่พึงประสงค์ 
3.  มีความคิดสร้างสรรค์ ใฝ่รู้     ใฝ่เรียน    รักการอ่าน   รักการเขียนและรักการค้นคว้า       
4.             มีความรู้อันเป็นสากล   รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง   และความเจริญก้าวหน้าทางวิชาการ
มีทักษะ และศักยภาพในการสื่อสาร
                    5.   สามารถใช้เทคโนโลยี สื่อ   ICT  ปรับวิธีการคิด  และวิธีการทำงานได้เหมาะสมกับสถานการณ์
       6. มีทักษะและกระบวนการ โดยเฉพาะทางคณิตศาสตร์   วิทยาศาสตร์     ทักษะการคิด 
การสร้างปัญญาและทักษะในการดำเนินชีวิต
                       7. รักการออกกำลังกาย ดูแลตนเองให้มีสุขภาพและบุคลิกที่ดี
                       8. มีประสิทธิภาพในการผลิตและการบริโภค มีค่านิยมเป็นผู้ผลิตมากกว่าผู้บริโภค
                       9. เข้าใจประวัติศาสตร์ของชาติไทย   ภูมิใจในความเป็นไทย    เป็นพลเมืองดี    ยึดมั่นในวิถีชีวิตและการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
                       10. มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ภาษาไทย   ศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี กีฬา ภูมิปัญญาไทย
                       11. รักประเทศชาติและท้องถิ่น มุ่งทำประโยชน์และสร้างสิ่งดีงามให้สังคม
       12.นักเรียนมีคุณลักษณะตามวัตถุประสงค์ของกิจกรรมและสนองจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดในแผนการจัดการเรียนรู้
                    13. นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการร่วมกิจกรรมการเรียนรู้  สามารถทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับการเรียนรู้กับผู้อื่น ได้อย่างสร้างสรรค์และมีความสุข    เกิดความภาคภูมิใจในผลงานหรือกิจกรรมของตนเอง
   ด้านปริมาณ 
       1. นักเรียนมากกว่าร้อยละ 80 มีความรู้ความสามารถในการใช้สื่อ  ICT และสืบค้นข้อมูลผ่านระบบ  e – learning      
       2. นักเรียนมีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามที่โรงเรียนกำหนด    มากกว่าร้อยละ   90
       3.นักเรียนมีผลการดำเนินงานทุกกิจกรรมเป็นที่น่าพอใจทั้งกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูกำหนดให้ทำ และนักเรียนร่วมกันดำเนินการกันเอง   มากกว่าร้อยละ 90
       4. นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิด วิเคราะห์  มีทักษะในการดำรงชีวิต รักการค้นคว้าและการอ่าน รักและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความเป็นไทย
4.2       ผลที่เกิดกับครูและสถานศึกษา
ด้านคุณภาพ
           1.ครูมีความภาคภูมิใจในผลสำเร็จของตนจากการจัดกิจกรรม เพื่อให้นักเรียนเป็นคนดีมีคุณธรรม เป็นคนเก่งมีความรู้ความสามารถและอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข        
           2. ครูภูมิใจที่นักเรียนส่วนใหญ่ มีความรู้ความสามารถในการใช้สื่อ  ICT และสืบค้นข้อมูลผ่านระบบ  e – learning      
          3. ครูภูมิใจที่นักเรียนมีผลการดำเนินกิจกรรมเป็นที่น่าพอใจ ได้รับการยกย่องในวงกว้าง
         4. ครูภูมิใจที่นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยกระบวนการคิด วิเคราะห์ มีทักษะในการดำรงชีวิต รักการค้นคว้าและการอ่าน รักและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นและความเป็นไทย
                       5. ครูภูมิใจที่มีบริเวณโรงเรียนสะอาด มีส้วมสะอาด มีกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพโดยนักเรียนมีส่วนร่วม   เป็นแบบอย่างที่ดี  เป็นที่ประจักษ์ต่อสังคมส่วนรวม
                    ด้านปริมาณ
                       1. โรงเรียนมี ห้องเรียนคุณภาพที่ใช้จัดการความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีจำนวนเพียงพอ เหมาะสม และมีสื่อ ICT ที่มีคุณภาพ ครบถ้วน
      1.     ครูเข้าใจและใช้สื่อ  ICT สามารถจัดกิจกรรม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และแนะนำแก่
ผู้อื่นได้มากกว่า ร้อยละ 80
          2.  ครูสามารถจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ให้เชื่อมโยงกับหลักพุทธศาสนาและหลักปรัชญาความพอเพียง  ได้คิดเป็นร้อยละ 100
                          3. ครูโรงเรียนชุมชนวังสะพุงทุกคน สามารถนำแนวการจัดกิจกรรมมาทำวิจัยในชั้นเรียน   หรือพัฒนาเป็นผลงานทางวิชาการเพื่อเลื่อนวิทยฐานะและเผยแพร่แก่ผู้อื่นได้
                         4.   มีโรงเรียนเครือข่ายในการร่วมพัฒนามากกว่า 10 โรงเรียน
 
            4.3 ผลที่เกิดกับชุมชน
                    ด้านคุณภาพ
1.  ผู้ปกครอง ชุมชน องค์กร มีความพึงพอใจ และมีเจตคติที่ดีต่อแนวคิดการจัดห้องเรียนคุณภาพ   ที่ส่งผลต่อการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่โรงเรียนและครูจัดให้แก่นักเรียน 
                             2.   ผู้ปกครอง ชุมชน ร่วมบริจาค และมอบทุนสนับสนุนการศึกษาแก่นักเรียนด้วยความเต็มใจ
                                 4.  ผู้ปกครองชุมชนนอกเขตบริการ นำบุตรหลานมาฝากเข้าเรียนมากขึ้น                                                                                     
       ด้านปริมาณ
 1. ผู้ปกครองชุมชนเกินร้อยละ90 เห็นด้วยกับกิจกรรมและพฤติกรรมที่ดีขึ้นอย่างมากของนักเรียน
         2. ผู้ปกครอง  ชุมชน มากกว่า ร้อยละ 90 มีความพึงพอใจในแนวทางพัฒนาการศึกษาของโรงเรียน ดังจะเห็นได้จากยอดจำนวนนักเรียนที่ย้ายเข้ามีจำนวนเพิ่มขึ้น  
 5. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ              
                ความสำเร็จของการพัฒนาระบบคุณภาพการศึกษา  6 ประตูทองสู่ห้องเรียนคุณภาพ ”
เกิดขึ้นได้โดยการดำเนินการตาม Flow chart   ทั้ง 6 ขั้นตอน มีดังนี้
5.1 ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์และมีความเป็นผู้นำทางวิชาการ    สามารถสื่อสารและส่งเสริมการดำเนินงานให้เป็นไปตามทิศทางและเป้าหมายของสถานศึกษา ได้สร้างความตระหนัก ความเข้าใจและสร้างขวัญกำลังใจ ให้คณะครูและนักเรียนในการพัฒนาทุกระบบให้ดำเนินไปด้วย ความเรียบร้อย เกิดประสิทธิภาพ
                5.2 ผู้ปกครอง    ชุมชน คณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และองค์กรภายนอก มีความเข้าใจและให้การสนับสนุนการพัฒนากิจกรรมและการดำเนินงานของโรงเรียนอย่างจริงจังและต่อเนื่องโดยเฉพาะการสนับสนุนงบประมาณเพื่อการศึกษาในภาพรวม
                5.3 ครูได้รับการพัฒนาแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารเชิงระบบ    แนวคิดเชิงยุทธศาสตร์ในการวางแผนและการทำงานเป็นทีม   ซึ่งจะส่งผลในระยะยาวโดยเฉพาะการพัฒนาการศึกษาโดยรวม
                5.4 นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรม มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ นำหลักศาสนามาประยุกต์ใช้ได้อย่างพอเหมาะ โดยเฉพาะหลักอิทธิบาทสี่ คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา รู้จักความพอดี และพอเพียง
                5.5 ครู นักเรียน มีความแน่วแน่ในการปฏิบัติกิจกรรม เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่มาตรฐาน
 
6.   บทเรียนที่โรงเรียนได้รับ
               มีการบริหารจัดการเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพื่อรองรับการประเมินอย่างเป็นระบบ ใช้หลักการมีส่วนร่วม การทำงานเป็นทีม มีทีมนำ ทีมคุณภาพ และทีมทำ มีการกำกับติตามตรวจสอบผลการดำเนินกิจกรรมโดยใช้วงจร PDCA เชิงระบบ ครู ชุมชน และนักเรียน มีส่วนร่วมในการดำเนินงานและการประเมินผล
   6.2 โรงเรียนมีการวางแผนการพัฒนาคุณภาพของกิจกรรมเป็นขั้นตอน อย่างต่อเนื่องตามวิถีการและขั้นตอนของระบบยุทธศาสตร์และ ใช้เทคนิคตรวจสอบระบบการประเมินเพื่อให้เท่าทันและโปร่งใส
 
 
 
 
 
 
 
                                                                                                 
 

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 8689 วันที่ 22 ต.ค. 2552


Best Practices ระบบเรียนรู้BestPracticesระบบเรียนรู้

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

ท้าวแสนปม

ท้าวแสนปม


เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง
THAI FOOD

THAI FOOD


เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง
ขุนบรม (นิทานลาว)

ขุนบรม (นิทานลาว)


เปิดอ่าน 7,298 ครั้ง
วันเกิด .. เปิดเผยคู่รัก"

วันเกิด .. เปิดเผยคู่รัก"


เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง
กระจกส่องใจ

กระจกส่องใจ


เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง
บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง
ทายนิสัยจากวิธีถอดผ้า

ทายนิสัยจากวิธีถอดผ้า


เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

แม่พิมพ์ของชาติ...

แม่พิมพ์ของชาติ...

เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
10 ภาพวาดมีชีวิต.....เหมือนจริงๆ
10 ภาพวาดมีชีวิต.....เหมือนจริงๆ
เปิดอ่าน 7,152 ☕ คลิกอ่านเลย

30 ยังแจ๋ว...
30 ยังแจ๋ว...
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย

เพียงน้ำหยดหนึ่งในมหาสมุทร
เพียงน้ำหยดหนึ่งในมหาสมุทร
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย

เผยแพร่ผลงาน:การพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
เผยแพร่ผลงาน:การพัฒนาชุดกิจกรรมฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย

ข้าวแช่อาหารดับร้อนของคนโบราณ
ข้าวแช่อาหารดับร้อนของคนโบราณ
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย

31 พฤษภาคม 2552 วันงดสูบบุหรี่โลก
31 พฤษภาคม 2552 วันงดสูบบุหรี่โลก
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ฮือฮาอ้าง"กูเกิ้ลเอิร์ธ"จับภาพ "เนสซี่"ทะเลสาปล็อคเนสได้ ใช้โปรแกรมภาพถ่ายดาวเทียม 3มิติ
ฮือฮาอ้าง"กูเกิ้ลเอิร์ธ"จับภาพ "เนสซี่"ทะเลสาปล็อคเนสได้ ใช้โปรแกรมภาพถ่ายดาวเทียม 3มิติ
เปิดอ่าน 14,059 ครั้ง

10 วิธีรักษาเงินสด
10 วิธีรักษาเงินสด
เปิดอ่าน 10,311 ครั้ง

"ยุคนี้ใครๆ ก็อยากเป็นครู" โดย อ.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์
"ยุคนี้ใครๆ ก็อยากเป็นครู" โดย อ.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์
เปิดอ่าน 19,266 ครั้ง

กูเกิล เผยอันดับคำค้นสุดฮิตของไทย ประจำปี 2013
กูเกิล เผยอันดับคำค้นสุดฮิตของไทย ประจำปี 2013
เปิดอ่าน 13,468 ครั้ง

6 ข้อคิดดี ๆ จากนิทานอีสปที่คุณอาจจะลืมไปแล้ว
6 ข้อคิดดี ๆ จากนิทานอีสปที่คุณอาจจะลืมไปแล้ว
เปิดอ่าน 44,185 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ