Advertisement
พระราชวังปีเตอร์ฮอฟ ที่ไทยจะเข้าไปบูรณะ
Posted by รุสสกี้ , 20:24:49 น.
เมื่อวันอังคาร คณะรัฐมนตรีไทยอนุมัติงบบูรณะปฏิสังขรณ์พระราชวังปีเตอร์ฮอฟในรัสเซีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในโครงการฟื้นฟูสัญลักษณ์ไทยในรัสเซียเพื่อร่วมฉลองความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศที่จะครบรอบ 110 ปีในปีนี้ งานนี้ไทยจะใช้เงินประมาณ 210 ล้านบาทสำหรับการบูรณะปีกด้านซ้ายของพระราชวัง ที่เคยเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวช่วงที่เสด็จเยือนรัสเซียเมื่อปี 1897 งานด้านการบูรณะ จะเป็นการร่วมมือกันระหว่างกระทรวงต่างประเทศของไทยกับกระทรวงวัฒนธรรมรัสเซีย ในส่วนของรัสเซียก็จะช่วยเหลือโครงการนี้เป็นเงินราว 140 ล้านบาท ขณะที่นายยูริ กาวาลชุค กงสุลกิตติมศักดิ์ของไทยประจำนครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ก็จะร่วมสมทบด้วย 35 ล้านบาท
วังใหญ่
มรดกโลก
พระราชวังปีเตอร์ฮอฟ หรือที่คนรัสเซียเรียกว่า เปเตรกอฟ มีรากศัพท์มาจากภาษาเยอรมัน และแปลได้ว่า "สวนของปีเตอร์" พระราชวังตั้งอยู่ที่เมือง ปีเตอร์ฮอฟ ตัวพระราชวังห่างจากเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก 29 กิโลเมตร ทั้งพระราชวัง รวมทั้งเขตใจกลางเมืองปีเตอร์ฮอฟ ได้รับการประกาศให้เป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก
หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ด้วยความเจ็บแค้นที่มีต่อเยอรมนีที่ทุบทำลาย และขโมยทรัพย์สมบัติในพระราชวังไป ทางการได้เปลี่ยนชื่อพระราชวังเป็นแบบรัสเซีย คือ เปตร้าดวอเรียซ ซึ่งแปลว่าวังของปีเตอร์ แต่หลังยุคสหภาพโซเวียต ที่นี่ก็หันกลับมาใช้ชื่อเดิม ปัจจุบันงานบูรณะก็ยังคงดำเนินอยู่
แวร์ซายรัสเซีย - นครหลวงแห่งน้ำพุ
พระราชวังที่ได้รับสมญานามว่าแวร์ซายรัสเซีย จากรูปแบบการก่อสร้างและ นครหลวงแห่งน้ำพุ จากการที่มีน้ำพุมากมายถึงกว่า 150 แห่ง ตั้งอยู่ริมฝั่งอ่าวฟินแลนด์ และถูกจัดสร้างตามพระราชดำริและตามแบบที่ของพระเจ้าปีเตอร์ มหาราช ทรงกำหนดเองด้วย
ความโดดเด่นของพระราชวัง ที่ใช้เป็นที่ประทับในช่วงฤดูร้อนของพระเจ้าซาร์ เริ่มมาตั้งแต่ที่ตั้ง ที่เป็นเนินสูง 16 เมตร ห่างจากเขตฝั่งทะเลแค่ไม่ถึง 100 เมตร สวนตอนล่าง หรือ นิชนึย สาด เป็นส่วนสำคัญที่สุด และสวยงามที่สุดของพระราชวัง สวนมีพื้นที่ 1.02 ตารางกิโลเมตร ที่นี่เป็นที่ตั้งของน้ำพุมากมาย รวมถึงน้ำพุที่ดีและสวยที่สุด รวมถึงพระตำหนัก และสวนอีกมากมาย
ที่ยอดเนิน เป็นที่ตั้งของ บอลชอย ดวอเรียซ หรือ วังใหญ่ ส่วนด้านหลังวังใหญ่ เป็นที่ตั้งของสวนตอนบน หรือเวีร์กนึย สาด ที่ก็เหมือนกับสวนตอนล่าง คือมีน้ำพุกระจัดกระจายอยู่ตามบ่อน้ำขนาดใหญ่ 7 แห่ง แต่น้ำพุที่นี่ไม่น่าประทับใจเท่าสวนตอนล่างและรูปแบบการจัดวางของสิ่งปลูกสร้างในเขตสวนนี้ก็ไม่เป็นระบบแบบแผนเท่า
ที่หน้าวังใหญ่ เป็นน้ำตกเทียมใหญ่ ที่เรียกกันว่า บอลชอย คาสขาด โดยวังใหญ่และน้ำตกส่วนนี้ถือว่าเป็นจุดเด่นที่สุดของพระราชวัง ถัดจากส่วนนี้ลงมาเป็นคลองที่แบ่งสวนตอนล่างออกเป็น 2 ส่วน
น้ำตกเทียมใหญ่ ลอกแบบมาจากน้ำตกที่วัง ชาโต ดูมาร์ลี ของพระเจ้าหลุยซ์ ที่ 14 แห่งฝรั่งเศส และวังของพระองค์ ก็ถูกลอกแบบมาจัดสร้างเป็นพระตำหนักแห่งหนึ่งของพระราชวังแห่งนี้ด้วย ที่บ่อน้ำบริเวณนี้มีน้ำพุแซมซันตั้งอยู่ เพื่อเป็นสัญลักษณ์การที่รัสเซียรบชนะสวีเดน น้ำที่พุ่งจากน้ำพุนี้สูงถึง 20 เมตร ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในพระราชวัง แต่น้ำพุในปัจุบันไม่ใช่ของเดิมที่ติดตั้งมาตั้งแต่ยุค 1730 เพราะของเดิมถูกเยอรมันขโมยไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ระหว่างน้ำตกเทียมใหญ่ มีการเจาะเป็นถ้ำเข้าไปซึ่งมีความสูง 2 ชั้น ปัจจุบันใช้เป็นพิพิธภัณฑ์บอกเล่าเรื่องราวของประวัติศาสตร์น้ำพุ
น้ำพุแซมซัน
น้ำพุไร้ปั้ม
ความโดดเด่นอีกอย่างของพระราชวังแห่งนี้ก็คือน้ำพุทั้งหมดของที่นี่ ไม่มีการใช้ปั้มในการสูบฉีดน้ำ น้ำที่นี่มาจากตาน้ำธรรมชาติ และเก็บไว้ในบ่อเก็บที่สวนตอนบน จากนั้น ด้วยหลักการการยกระดับที่ช่วยเพิ่มแรงดันน้ำ ก็ทำให้น้ำสามารถพุ่งขึ้นไปได้ สำหรับน้ำพุแซมซัน ที่พุ่งได้ไกลถึง 20 เมตรนั้น ต้องใช้ระบบท่อพิเศษที่ยาวถึง 4 กิโลเมตรในการสร้างแรงดันน้ำ และด้วยอารมย์ขันของคนรัสเซียโบราณ น้ำพุบางแห่งสร้างขึ้นเพื่อเอาไว้แกล้งคนให้เปียก เช่นน้ำจะพุ่งออกมาเมื่อมีคนเดินผ่านเป็นต้น
สำหรับตัววังใหญ่นั้น ถ้ามองด้านหน้าและหลังอาจจะรู้สึกว่าใหญ่โต แต่ในความเป็นจริง วังหลักนั้นค่อนข้างแคบหากมองจากทางด้านข้าง และมีห้องแค่ประมาณ 30 ห้องเท่านั้น
ประวัติการก่อสร้าง
แต่เดิม บริเวณที่ตั้งของพระราชวังปีเตอร์ฮอฟ เป็นพื้นที่การเกษตร เมื่อพระเจ้าปีเตอร์ มหาราช ทรงมีดำริจะสร้างเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ที่ปลายด้านตะวันออกสุดของอ่าวฟินแลนด์ และจากบริเวณปีเตอร์ฮอฟ พระองค์ทรงมองเห็นภูมิประเทศโดยรอบ ซึ่งเรื่องนี้มีความสำคัญต่อการวางแผนจัดสร้างเมือง รวมทั้งการปรับปรุงเมือง ครอนสตั๊ดท์ ให้เป็นป้อมปราการที่แข็งแกร่ง
ภายใน
ในปี 1714 พระองค์ทรงสร้างพระราชวังที่ทำจากไม้ขึ้นที่นี่สำหรับใช้เป็นที่ประทับเมื่อเสด็จไปกลับยุโรปผ่านทางครอนสตั๊ดท์ และต่อมาก็ได้ขยายเป็นวังใหญ่โต ผู้คุมงานก่อสร้างพระราชวังในยุคพระเจ้าปีเตอร์ เริ่มต้นจาก โยฮันส์ ฟรี๊ดริก บราวน์สไตน์ สถาปนิกชาวเยอรมัน ต่อด้วย ฌอง แบ็บติสต์ อเล็กซองเดอร์ เลอบลอนด์ ชาวฝรั่งเศส พิธีเปิดพระราชวัง มีขึ้นเมื่อ 15 สิงหาคม 1723 แต่งานก่อสร้างในส่วนของพระเจ้าปีเตอร์เสร็จสิ้นในปี 1725 ขณะที่พระเจ้าซาร์องค์ต่อๆมาทุกพระองค์จะทรงขยับขยายพระราชวังออกไปด้วย
http://www.kroobannok.com/blog/view.php?article_id=16862
วันที่ 21 ต.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,474 ครั้ง เปิดอ่าน 7,329 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,346 ครั้ง เปิดอ่าน 7,392 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,185 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,149 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 19,780 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,722 ครั้ง |
เปิดอ่าน 75,091 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,602 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,935 ครั้ง |
|
|