Advertisement
เงินไม่พอใช้....เงินหายไปไหนหมดเนี่ย...ทำไมเราไม่มีเงินเก็บเลย” เป็นคำถามที่วัยรุ่นมักจะถามตัวเองอยู่เป็นประจำ
ผู้ใหญ่มักจะต่อว่าวัยรุ่นเสมอว่าใช้เงินเก่ง ทั้ง ๆ ที่ยังต้องแบมือขอเงินจากพ่อแม่ ไม่สามารถทำงานหารายได้ด้วยตัวเอง และมันก็เป็นจริงอย่างที่ผู้ใหญ่เค้าว่าซะด้วย...
การใช้เงินเก่งของน้อง ๆ วัยรุ่นไม่ใช่ว่าจะโทษที่ตัวน้องมือเติบใช้เงินสุรุ่ยสุร่าย แต่อาจเป็นเพราะน้อง ๆ วัยรุ่นขาดการควบคุม ขาดการจัดสรรการใช้จ่ายที่ถูกต้องต่าง
สัปดาห์นี้เลยมีวิธีการบริหารการใช้เงิน 6 วิธีมาฝากกัน
วิธีแรก เปิดบัญชีธนาคารให้เหมาะสม วิธีนี้จัดให้สำหรับน้อง ๆ เด็กต่างจังหวัดที่เข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ หรือต้องไปเรียนในจังหวัดที่ไม่ใช่บ้านเกิดของตัวเอง
ทุกเดือนน้อง ๆ จะต้องขอเงินเดือนจากพ่อแม่ พ่อแม่ส่วนใหญ่จะใช้วิธีเข้าบัญชีให้เพราะสะดวกดี เลยแนะนำให้เปิดบัญชี ATMสาขาในกรุงเทพฯ หรือในจังหวัดที่เรียนอยู่ เพราะการกดเงินข้ามเขตจะต้องเสียค่าธรรมเนียม และควรกด ATM จากธนาคารเจ้าของบัญชี เห็นว่าตอนนี้กดข้ามธนาคารก็เสียค่าธรรมเนียมเหมือนกัน ยิ่งกดมากยิ่งเสียเงินเยอะ
วิธีที่สอง ทำบัญชีรายรับรายจ่าย อย่างที่บอกแล้วว่าน้อง ๆ มักจะถามตัวเองเสมอว่าเงินของเราหายไปไหนหว่า....
วิธีแก้ก็คือเราต้องทำบัญชีรายรับรายจ่าย ไม่ว่าจะจ่ายเงินค่าหนังสือ ค่าสบู่ ยาสีฟัน ซื้อของอะไรก็แล้วแต่ ควรจะเก็บบิลไว้และจดบันทึกประจำวันว่าใช้จ่ายอะไรไปบ้าง เราจะได้รู้ว่าใช้เงินเกินเงินเดือนที่คุณพ่อคุณแม่ให้มาหรือเปล่า อ้อ...แล้วอย่าลืมเอาสมุดบัญชีธนาคารไปอัพเดทบ่อย ๆ ด้วย เราจะได้รู้ความเคลื่อนไหวของยอดเงินแต่ละเดือน
วิธีที่สาม อยู่ห่างจากเพื่อนไฮโซเข้าไว้ วิธีนี้ไม่ได้หมายความว่าไม่ให้คบเพื่อนไฮโซหรือปฏิเสธสังคมแต่ประการใด แต่อยากให้เลือกกลุ่มเพื่อนที่จะไปกินข้าว ไปช้อปปิ้งซักหน่อย เพราะถ้าไปอยู่ในกลุ่มเพื่อนที่ใช้เงินมือเติบ ตกเย็นต้องไปสังสรรค์กินโน่นนี่นั่นทุกวี่วัน เงินเดือนแม่ให้มาเท่าไหร่ก็คงไม่พอ
วิธีที่สี่ เลือกโปรโมชั่นโทรฯมือถือให้เหมาะสม ว่ากันว่าค่าใช้จ่ายที่มากที่สุดของ วัยรุ่นก็คือค่าโทรศัพท์มือถือ วัยรุ่นหลายคนถือคติ “ไม่มีกินไม่ว่า ขอข้ามีเงินจ่ายค่าโทรฯ มือถือ” แต่ไม่รู้จักใช้ให้เหมาะสม
เลือกโปรโมชั่นให้พอดีกับการโทรฯในแต่ละเดือน และโทรฯเท่าที่จำเป็น ส่วนใครที่ชอบเมาท์ติดพันก็ลองใช้วิธีแลกเหรียญมากองไว้เยอะ ๆ และจ้องไปที่นาฬิกา ทุก 1 นาทีที่ผ่านไปกับโทรศัพท์ก็หยิบเงิน 3 บาทออกมากองไว้ตรงหน้า เลิกโทรฯเมื่อไหร่ก็ลองนับเงินที่เสียไปดู แบบนี้เราจะลดเวลาโทรฯมือถือลงโดยอัตโนมัติ
วิธีที่ห้า ใช้บัตรนักเรียนนักศึกษาให้มีค่าที่สุด ไม่ว่าจะเป็นค่าอาหาร ค่าผ่านประตูเวลาไปไหนมาไหน ถ้าเค้ามีโปรโมชั่นสำหรับนักเรียน เราต้องใช้บัตรประจำตัวให้เกิดประโยชน์ อย่ามองว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย เพราะถ้าหลาย ๆ ครั้งเข้าก็รวมเป็นเงินโขอยู่
วิธีสุดท้าย ออมเงินเป็นรายเดือน เราจะต้องกันเงินส่วนหนึ่งจะ 5, 10, 15, หรือ 20% จากเงินเดือนที่แม่ให้มาก็แล้วแต่ความสามารถของแต่ละคน เข้าบัญชีฝากประจำไว้เลย และสำคัญต้องทำทุกเดือน ครบปีเราจะภูมิอกภูมิใจกับยอดเงินที่เพิ่มขึ้น
6 วิธีเด็ด ๆ ช่วยเก็บเงิน จะเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งก็ได้ หรือจะผสมกันหลายวิธีก็ดี แต่ถ้าเหมาหมดทุกวิธีก็เยี่ยม คราวนี้แหละ.....เราจะมีเงินเก็บ เป็นเถ้าแก่น้อยคอซองขาสั้นทั้งที่ยังเรียนอยู่เลย
ขอบคุณข้อมูล จาก เดลินิวส์
วันที่ 21 ต.ค. 2552
หน้าหนาวแล้ว คุณครูสนใจไหม DoDo เก้าอี้แคมป์ปิ้ง รับน้ำหนักได้เยอะ พร้อมกระเป๋าจัดเก็บ โครงอลูมิเนียมรับน้ำหนักได้200KG ในราคา ฿189 - ฿509 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/9pNuttuIUm?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,194 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง เปิดอ่าน 7,176 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,169 ครั้ง เปิดอ่าน 7,158 ครั้ง เปิดอ่าน 7,431 ครั้ง เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,184 ครั้ง เปิดอ่าน 7,195 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,279 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,420 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,153 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,166 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 19,181 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,631 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,560 ครั้ง |
เปิดอ่าน 28,169 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,067 ครั้ง |
|
|