เขียนรายงานผลการปฏิบัติงาน ที่ผ่านมาย้อนหลัง 3 ปีงบประม่าณ ที่แสดงถึงสมรรถนะทางการบริหาร ในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1. การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management ; RBM)
การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (Results Based Management ; RBM) เป็นการบริหารโดยมุ่งเน้นถึงประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารงาน โดยหน่วยงานจะต้องกำหนดยุทธศาสตร์ วัตถุประสงค์ และเป้าหมายขององค์การ พร้อมทั้งต้องกำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการดำเนินงานที่ชัดเจน สามารถตรวจสอบได้ กล่าวได้ว่าการบริหารแบบมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์เป็นวิธีการบริหารที่น่าสนใจมากที่สุดวิธีการหนึ่งที่เราสมควรจะนำไปใช้ในการจัดการศึกษา เนื่องจากว่าการจัดการศึกษาของเราในปัจจุบันนี้มีปัญหานานับประการ โดยเฉพาะปัญหาที่สำคัญคือปัญหาคุณภาพผู้เรียน ผู้เรียนที่สำเร็จการศึกษาจำนวนมากที่มีคุณภาพและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตรและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 ในปีการศึกษา 2550 ข้าพเจ้าได้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ สามารถสรุปขั้นตอนที่สำคัญได้ 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. การมีส่วนร่วมการวางแผนกลยุทธ์ของโรงเรียน โดยมีส่วนร่วมกับผู้บริหารและคณะครูในโรงเรียนกำหนดทิศทางโดยรวมว่าจะทำอะไร ทำอย่างไร เป็นการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายนอกและภายในโรงเรียน (SWOT Analysis) และให้ได้มาซึ่งวิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ เป้าหมาย และกลยุทธ์การดำเนินงาน รวมทั้งพิจารณาถึงปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จของโรงเรียน และสร้างตัวชี้วัดผลการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ
2.การมีส่วนร่วมการกำหนดรายละเอียดของตัวชี้วัดผลดำเนินงาน โดยร่วมกันกำหนดความชัดเจนของตัวชี้วัดทั้งในเชิงปริมาณ (Quantity) คุณภาพ (Quanlity) เวลา (Time) และสถานที่หรือความครอบคลุม (Place) อันเป็นเป้าหมายที่ต้องการของแต่ละตัวชี้วัด
3. การมีส่วนร่วมการวัดและการตรวจสอบผลการดำเนินงาน โดยมีส่วนร่วมกับผู้บริหารและคณะครูในโรงเรียนดำเนินการตรวจสอบและรายงานผลการดำเนินงานของแต่ละตัวชี้วัดตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ เช่น รายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี เพื่อแสดงความก้าวหน้าและสัมฤทธิ์ผลของการดำเนินงานว่าเป็นไปตามเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่อย่างไร
4. การให้รางวัลตอบแทน มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาความดีความชอบของครูภายในโรงเรียนเมื่อได้พิจารณาผลการดำเนินงานแล้วผู้บริหารจะต้องมีการให้รางวัลตอบแทนตามระดับของผลงานที่ได้ตกลงกันไว้
2. การบริการที่ดี
หมายถึง การบริการด้วยความเต็มใจ ถูกต้องรวดเร็ว เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการและผู้รับบริการพึงพอใจ ข้าพเจ้าได้ปฏิบัติงานด้วยความเต็มใจในด้านบริการทั้งผู้บังคับบัญชา เพื่อร่วมงาน และประชาชนที่มาติดต่อประสานงานกับโรงเรียน รับเป็นธุระแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นแก่ผู้รับบริการอย่างรวดเร็วเต็มใจ ไม่บ่ายเบี่ยง ไม่แก้ตัวหรือปัดภาระ
3. การพัฒนาตนเอง (SELF DEVELOPMENT)
ในโลกยุคโลกาภิวัตน์ ที่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นใน เรื่องของ เทคโนโลยี การสื่อสาร สภาพเศรษฐกิจ และ ข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ที่มีการส่งถ่ายถึงกันและกันเร็วขึ้น และจากการเปลี่ยนแปลง ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วนี้เองจึงเป็นเสมือน พลังผลักดัน ให้คนแต่ละคน ต่างต้องตระหนักถึง ความสำคัญของการเปลี่ยนแปลง อันทำให้เกิดการ พัฒนาตนเอง อย่างต่อเนื่องอยู่เสมอเพื่อให้ตนมีความพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างไม่หยุดยั้ง ข้าพเจ้าได้พัฒนาตนเองเสมอด้วยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม ผลที่เกิดจากพัฒนาพัฒนาทำให้ได้รับวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
4. การทำงานเป็นทีม
การทำงานเป็นทีมหมายถึงการร่วมกันทำงานของสมาชิกที่มากกว่า 1คนโดยที่สมาชิกทุกคนนั้นจะต้องมีเป้าหมายเดียวกันว่าจะทำอะไรแล้วทุกคนต้องยอมรับร่วมกันมีการวางแผนการทำงานร่วมกัน ผู้บริหารและคณะครูในโรงเรียนของข้าพเจ้า มีลักษณะการทำงานที่สำคัญ ดังนี้คือ
1. การมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของบุคคล หมายถึงการที่เพื่อนครูในโงเรียนมีความเกี่ยวข้องกันในกิจการของกลุ่ม / ทีมตระหนักในความสำคัญของกันและกัน แสดงออกซึ่งการยอมรับ การให้เกียรติกัน
2.มีจุดมุ่งหมายและเป้าหมายร่วมกัน หมายถึงการที่เพื่อนครูในโรงเรียนจะมีส่วนกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมร่วมกันของทีม / กลุ่ม
3. การมีโครงสร้างของทีม /กลุ่ม คณะครูในโรงเรียนเป็นครูในพื้นที่ ดังนั้นทีมหรือกลุ่ม จึงเป็นกลุ่มแบบทางการ (Formal Group) หรือกลุ่มแบบไม่เป็นทางการ (Informal Group)ซึ่งในการปฏิบัติงานเพื่อนครูทุกคนขยอมรับและปฏิบัติงานด้วยกันเป็นอย่างดี
4. คณะครูมีบทบาทและมีความรู้สึกร่วมกัน ในการทำงาน
5. การคิดวิเคราะห์และการสังเคราะห์
การคิดวิเคราะห์และการสังเคราะห์ เป็นการทำความเข้าใจสถานการณ์ประเด็นปัญหา แนวคิด ทฤษฎี โดยแตกประเด็นออกเป็นส่วนย่อย ๆ หรือวิเคราะห์สถานการณ์ทีละขั้นตอนรวมถึงจัดหมวดหมู่ปัญหา/สถานการณ์อย่างเป็นระบบ เปรียบเทียบแง่มุมต่าง ๆ และระบุได้ว่าอะไรเกิดก่อนหลัง ตลอดจนระบุเหตุผลที่มาที่ไปของกรณีต่างๆ ได้ ข้าพเจ้าได้นำหลักการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์มาใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้รับมอบหมายจากผู้บริหาร และนอกจากนี้ได้นำไปใช้ฝึกทักษะให้กับนักเรียนภายในโรงเรียนด้วย
6. การสื่อสารและการจูงใจ
การสื่อสารและการจูงใจหมายถึง กระบวนการส่งสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุปรสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกิริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ โดยปกติการปฏิบัติหน้าที่ของข้าพเจ้าต้องมีการติดต่อสัมพันธ์กับเพื่อนครู ผู้บริหารสถานศึกษาและนักเรียน และชุมชนอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นในด้านการสื่อสารและการจูงใจข้าพเจ้าได้พัฒนาตนเองเพื่อเป็นผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร ดังนี้ คือ มีทักษะในการสื่อสาร เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็ว และมีความจำดี มีความซื่อตรง มีความกล้าที่จะทำในสิ่งที่ถูกต้อง มีความคิดสุขุม รอบคอบ มีความสามารถแยกแยะและจัดระเบียบข่าวสาร มีศิลปะและเทคนิคในการจูงใจคน
7. การพัฒนาบุคลากร
การพัฒนาบุคลากร หมายถึงการเพิ่มประสิทธิภาพด้านทักษะ ความชำนาญในการทำงานตลอดจนปรับเปลี่ยนทัศนคติของบุคลากรทุกระดับให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันการเพิ่มประสิทธิภาพบุคลากรสามารถทำได้ด้วยวิธีการฝึกอบรม ปฐมนิเทศส่งไปดูงานต่างประเทศ ร่วมสัมมนาทั้งในและนอกสถานที่ ฯลฯ เพื่อบุคลากรนั้นๆจะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มที่ และมุ่งไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กร ในรอบปีการศึกษาที่ผ่านมา ข้าพเจ้าและคณะครูในโรงเรียนได้พัฒนาตนเองด้วยการเข้ารับการอบรมสัมมนา ศึกษาดูงานมหกรรมวิชาการ การศึกษาเรียนด้วยตนเอง มีผลทำให้ได้รับแต่งตั้งมีวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
8. การมีวิสัยทัศน์
วิสัยทัศน์ หมายถึง การมองภาพอนาคตของผู้นำและสมาชิกในองค์กร และกำหนดจุดหมายปลายทางที่เชื่อมโยงกับภารกิจ ค่านิยม และความเชื่อเข้าด้วยกัน แล้วมุ่งสู่จุดหมายปลายทางที่ต้องการจุดหมายปลายทางที่ต้องการ จุดหมายปลายทางดังกล่าวต้องชัดเจน ท้าทาย มีพลังและมีความเป็นไปได้
ข้าพเจ้าได้ร่วมกับผู้บริหารและคณะครูในโรงเรียนกำหนดทิศทางการจัดการศึกษาของโรงเรียน โดยมีจุดหมายปลายทางที่ชัดเจน ทำให้ครูในโรงเรียนทุกคนรู้ว่าแต่ละคนมีความสำคัญต่อการมุ่งไปสู่จุดหมายปลายทาง และรู้ว่าจะทำอะไร (What) ทำไมต้องทำ (Why) ทำอย่างไร (How) และทำเมื่อใด (When) นอกจากนี้ยังช่วยกระตุ้นให้เพื่อนครูทุกคนมีความรู้สึก น่าสนใจ มีความผูกพัน มุ่งมั่นปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ ท้าท้าย เกิดความหมายในชีวิตการทำงาน มีการทำงานและมีชีวิตอยู่อย่างมีเป้าหมายด้วยความภูมิใจ และทุ่มเทเพื่อคุณภาพของผลงานที่ปฏิบัติ
2. เขียนรายงานถึงความรู้ความสามารถในการบริหารสถานศึกษา
1. การบริหารและการจัดการ
ผู้บริหารสถานศึกษา หมายถึง ผู้บริหารที่มุ่งส่งเสริมพัฒนา บริหารจัดการและดำเนินการให้ผู้เรียนทุกคนได้เกิดการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ มุ่งมั่นในการที่จะจัดการการศึกษาที่สมบูรณ์แบบ โดยให้เกิดผลในทุกมิติกับผู้เรียน เพื่อให้เกิดความเข้มแข็งของชุมชนเป็นชุมชนที่สามารถพึ่งพาตนเองได้ นำไปสู่ความเป็นสถานศึกษาสมบูรณ์ คือ สถานศึกษาที่มีความร่มรื่น มีสภาพน่าดู น่าอยู่ และน่าเรียน โดยมีกระบวนการเรียนรู้ การบริหารจัดการที่เชื่อมโยงสอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงอย่างมีคุณภาพ ทำให้ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณภาพในลักษณะเก่ง ดี และมีความสุข ทำให้ครูมีคุณภาพในลักษณะ เก่ง ดี มีความสุข และทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ นำไปสู่โรงเรียนและชุมชนมีคุณภาพ มีคำกล่าวว่า “กว่าจะเป็นผู้บริหารนั้นยากยิ่ง แต่การจะเป็นนักบริหารมืออาชีพยากยิ่งกว่า” และ “ไม่มีองค์การแย่ แต่ผู้บริหารเยี่ยม และ ไม่มีผู้บริหารเยี่ยมแต่องค์การแย่”
ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นตัวแปรที่สำคัญในการปฏิรูปการเรียนรู้ในสถานศึกษา เพราะผู้บริหารสถานศึกษาคือผู้นำการเปลี่ยนแปลง ที่จะต้องเป็นตัวอย่างของการปฏิรูปปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้และการบริหารให้กับครู นักเรียน พ่อแม่ผู้ปกครองและชุมชน หลักในการบริหารงานซึ่งผู้บริหารควรนำไปใช้เพื่อประสบความสำเร็จของการทำงานคือ หลักการครองตน ครองคน และครองงาน ซึ่งผู้เขียนได้นำรายละเอียดมาอธิบายความเพื่อให้มองเห็นภาพได้ชัดเจนได้ดังนี้
1.ครองตน ท่านให้ปฏิบัติตามฆราวาสธรรม 4 (สัจจะ ทมะ ขันติ จาคะ)ซึ่งเป็นหลักการครองชีวิตของคฤหัสถ์
2. การครองคน คือ การรู้จักคนอื่น มองคนอื่นในแง่ดี ในการทำงานร่วมกับคน
3. การครองงาน คือ การรู้จักงานที่ตนเองกำลังทำ และทำงานอย่างมีความสุข รักและชอบในงานที่ตนเองกำลังทำอยู่
การการครองตน การครอง คนครองงาน จะเห็นได้ว่าเป็นศิลปะการทำงานให้มีความสุข บุคคลใดใช้หลักการตามที่กล่าวมาก็จะมีความสำเร็จในการทำงาน ฉะนั้น การการครองตนก็คือการรู้จักตนเอง การการครองคนคือการรู้จักผู้อื่น ส่วนการครองงานคือการมีสมาธิ
ความสำเร็จหรือความล้มเหลวขององค์การขึ้นอยู่กับศักยภาพของผู้บริหาร องค์การทุกองค์การ ไม่ว่าจะเป็นองค์การภาครัฐ หรือเอกชนจึงปรารถนาที่จะให้มี หรือได้มาซึ่งนักบริหารมืออาชีพมาบริหารองค์การ ซึ่งนักบริหารมืออาชีพคือ ผู้บริหารที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ในการบริหาร มีผลงานที่ประสบความสำเร็จจนเป็นหลักประกันถึงความเป็นผู้บริหารที่มีสมรรถนะสูง มีคุณภาพและมีมาตรฐานจนเป็นที่ยอมรับ" ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จในการบริหารอย่างมืออาชีพจำนวนมากพบว่าผู้บริหารเหล่านั้นจะมีคุณลักษณะหรือคุณสมบัติที่โดดเด่นในเรื่องต่อไปนี้
1. มีบุคลิกภาพที่ดี ( Personality )
2. มีความรู้ดี ( Knowledge ) ฃ
3. มีวิสัยทัศน์ ( Vision )ฃ
4. มีมนุษยสัมพันธ์ ( Human relationship )
5. มีภาวะผู้นำ ( Leadership )
6. เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ( chief change officer )”
7. มีคุณธรรมจริยธรรม (Moral & Ethics)
8. บริหารจัดการดี (Administration & Management)
9. มีความสามารถพิเศษรอบด้าน (Talent
10. เป็นผู้นำวิชาชีพ (Professional leader)
บัญญัติ 10 ประการที่กล่าวข้างต้นจะเป็นเข็มทิศสำหรับผู้บริหารที่จะพัฒนาตนเอง สู่การเป็นนักบริหารมืออาชีพต่อไป
2. การบริหารแผนและงบประมาณ
การบริหารงบประมาณของสถานศึกษามุ่งเน้นความเป็นอิสระ ในการบริหารจัดการ มีความคล่องตัว โปร่งใส ตรวจสอบได้ ยึดหลักการบริหารมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์และบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน (performance Based Budgeting)
3. การบริหารงานบุคคล
คน เป็นทรัพยากรที่สำคัญ ผู้บริหารงานบุคคลจะต้องเป็นคนที่มีหู ตา กว้างขวางเข้าใจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมต่างๆ อย่างดี และพร้อมที่จะใช้ข้อมูลต่างๆ มาทำการตัดสินใจในการบริหารงานบุคคลสำหรับการบริหารงานบุคคลแนวใหม่ให้ความสนใจในเรื่องระบบเปิด และ ยอมรับบรรยากาศทางการเมืองด้วย โดยในระบบเปิดนี้ องค์กรจะมีปฏิสัมพันธ์อย่างกว้างขวางกับสภาพแวดล้อมต่างๆเพื่อให้อยู่รอดและอยู่อย่างดี ซึ่งจำเป็นจะต้องปรับตัวเสมอ บทบาทของผู้รับผิดชอบการบริหารงานบุคคลแนวใหม่ ต้องเป็นนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีโลกทัศน์ที่กว้างและไกล
การบริหารงานบุคคลที่มีประสิทธิภาพ มีดังนี้
1. การบริหารงานบุคคลควรจะบูรณาการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของการบริหารกิจการ
2. การบริหารงานบุคคลเป็นกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
3. เป้าหมายที่สำคัญของการบริหารงานบุคคล คือ การให้ความสำคัญเกี่ยวกับการจูงใจและคุณภาพชีวิตการทำงาน
4. การบริหารงานบุคคลควรคำนึงถึงค่านิยมที่สำคัญ คือ ประสิทธิภาพ ประสิทธิผลประหยัด ความเสมอภาคทางสังคม การคำนึงถึง ผลประโยชน์ของส่วนรวมความรับผิดชอบต่อสาธารณะ ประชาธิปไตย และจริยธรรม
5. การบริหารงานบุคคลควรสอดคล้องกับนโยบายขององค์กร
6. การบริหารงานบุคคลควรจะให้ความสำคัญของการฝึกอบรม และการพัฒนาสมรรถภาพของพนักงานให้มีความรู้ ทักษะ พฤติกรรม และค่านิยมที่เอื้อต่อการปฏิบัติงาน
4. การบริหารงานวิชาการ
เป็นที่ยอมรับกันว่าการดำเนินงานในสถานศึกษา งานวิชาการเป็นงานหลักของสถานศึกษา และหัวใจสำคัญที่จะส่งผลให้การพัฒนาคุณภาพนักเรียนบรรลุเป้าหมาย งานวิชาการจึงกลายเป็นงานที่เป็นศูนย์กลางของสถานศึกษาครอบคลุมสถานศึกษาทั้งระบบ ดังนั้นสถานศึกษาใดที่งานวิชาการก้าวหน้า หรือเป็นเลิศสถานศึกษานั้นมักมีชื่อเสียงเป็นที่นิยม เป็นที่ยอมรับ ส่วนสถานศึกษาใดงานวิชาการล้าหลัง หรือไม่เป็นเลิศ สถานศึกษานั้นจะไม่เป็นที่นิยม ขาดความศรัทธา และมักเสื่อมถอยไม่เป็นที่ยอมรับ สำหรับการบริหารงานวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้กล่าวว่า การบริหารงานวิชาการ หมายถึง การบริหารกิจกรรมทุกอย่างในสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนเพื่อก่อให้เกิดการเรียนรู้ และการศึกษาของนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยมีขอบข่ายการบริหารงานวิชาการดังนี้
1. หลักสูตรและการบริหารหลักสูตร
2. การวิจัยในชั้นเรียน
3. การสอนซ่อมเสริม
4. การจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร
5. การนิเทศภายในสถานศึกษา
6. การประกันคุณภาพการศึกษา
5. การบริหารทั่วไป