ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมความรู้ทั่วไป  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก
ดิจิตอลอีสาน...ใบลานอิเลคทรอนิกส์
ความรู้ทั่วไป 21 ต.ค. 2552 เปิดอ่าน : 11,562 ครั้ง
☰แชร์เลย >  
เพิ่มเพื่อน
Advertisement

❝ คนรุ่นใหม่สืบสานภูมิปัญญาอีสาน มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ก่อตั้งโครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน แปรรูปใส่แพ็กเกจทันสมัยในรูปแบบใบลานอิเลคทรอนิคส์ ❞
ดิจิตอลอีสาน...ใบลานอิเลคทรอนิกส์
Advertisement

“คั่นอยากกินข้าวให้ปลูกใส่พะลานหิน คั่นอยากเป็นปราชญ์มีศีลให้แก้ซิ่นในวัด”

แม้คำผญาอีสานนี้จะแปลตามตัวได้ว่า "ถ้าอยากกินข้าวให้ปลูกใส่ลานหิน ถ้าอยากเป็นปราชญ์ที่มีศีลให้แก้ผ้าซิ่นในวัด" แต่หากถอดความหมายซึ่งเป็นปริศนาธรรมจากคำผญานี้ จะได้ความหมายว่า ถ้าอยากได้บุญและเมื่อตายไปในภพหน้าจะมีข้าวกินต้องนำข้าวไปใส่บาตรพระ ถ้าอยากเป็นนักปราชญ์ที่มีศีลในชาตินี้ให้แก้ผ้าซิ่นที่ใช้ห่อคัมภีร์ใบลานในวัดเพื่อศึกษาคัมภีร์ใบลาน

คำผญานี้ได้สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ของผู้คนในยุคก่อน ที่ใช้ผ้าซิ่นในการห่อคัมภีร์ใบลานไว้ แต่วันนี้ ชะตากรรมของใบลานจำนวนมากกำลังสูญหายไป พร้อมๆ กับภูมิปัญญาล้ำค่ามากมาย ที่อาจจะดับสูญตามไป
ตามรอยใบลาน

การค้นหาใบลานตามวัดต่างๆ ในเขตภาคอีสานเกิดขึ้นมาได้ระยะหนึ่งแล้ว ด้วยหวังจะรวบรวมและสานต่อองค์ความรู้ที่คัมภีร์ใบลานได้จารึกไว้

โครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานฯ จัดตั้งขึ้นเมื่อปี 2546 เป็นโครงการที่รองศาสตราจารย์ ดร.ภาวิช ทองโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาสารคามในขณะนั้น ให้จัดตั้งขึ้น ด้วยเล็งเห็นว่าควรมีการดำเนินการด้านการสำรวจ อนุรักษ์และเอกสารใบลานอย่างจริงจัง เพราะเอกสารใบลานเป็นเอกสารชั้นต้นที่มีความสำคัญต่อวงวิชาการเป็นอย่างมาก เนื่องจากในอดีต การบันทึกสรรพวิชาการ คติความเชื่อ ขนบธรรมเนียม ประเพณี วีถีชีวิตและการสร้างสรรค์ของผู้คนในท้องถิ่น จะบันทึกไว้ในใบลานโดยใช้ตัวอักษรโบราณที่ใช้ในชุมชนนั้นเขียนบันทึกไว้ ซึ่งบรรดาข้อมูลที่อยู่ในเอกสารใบลานเหล่านี้สะท้อนให้เห็นถึงภูมิปัญญา วิถีชีวิตชุมชน ความศรัทธาความเชื่อของชุมชนท้องถิ่นซึ่งมีคุณค่าต่อการศึกษาอย่างยิ่ง

หากย้อนกลับไปเมื่อ 20 ปีก่อน การอนุรักษ์ใบลานได้ทำในกลุ่มของพระภิกษุสงฆ์และศูนย์วัฒนธรรมท้องถิ่นอีสานบางแห่ง แต่เนื่องจากขาดการสนับสนุนจากภาครัฐและไม่มีผู้สืบทอด งานอนุรักษ์จึงค่อยๆ จางหายไป เช่นเดียวกับเมื่อครั้งมหาวิทยาลัยมหาสารคามยังมีฐานะเป็นวิทยาลัยครูมหาสารคาม ได้จัดตั้งศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเพื่อสำรวจและจัดทำบัญชีคัมภีร์ใบลานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือว่า ถูกเก็บรักษาในที่ใดบ้าง 

แม้จะไม่ประสบผลสำเร็จอย่างที่คาดหวัง แต่การทำงานของคณะทำงานไม่ได้สูญเปล่า เพราะเมื่อ ผศ.วีณา วีสเพ็ญ ประธานโครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานฯ ได้เริ่มงานอนุรักษ์โดยสานต่อการรื้อฟื้นและคัดสรรภูมิปัญญาที่จารึกในใบลาน...อีกครั้ง

“เราเริ่มต้นศึกษาค้นคว้าใบลานในวัดเป็นที่แรก เพราะในสมัยก่อนวัดเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เป็นที่เก็บรักษาตำราและคัมภีร์ใบลานที่จารึกคัมภีร์ทางศาสนาพุทธด้วยอักษรธรรม ซึ่งเป็นตัวอักษรโบราณ แต่ถ้าเป็นงานวรรณคดีด้านวรรณกรรมจะจารึกด้วยตัวอักษรไทยน้อย นอกจากนี้ยังมีนิทานพื้นบ้าน กฎหมายและตำรายา”

สำหรับการทำงานของโครงการดังกล่าว ผศ.วีณา บอกเล่าว่า การทำงานของคณะทำงานจะทำหน้าที่ตรวจสอบ รักษา และคัดแยกเพื่อเก็บข้อมูลทำเป็นรูปเล่มและมอบให้กับทางวัด 1 เล่ม และโครงการเก็บไว้ 1 เล่ม ซึ่งการทำงานของโครงการนี้จะต่างจากโครงการอื่นๆ ตรงที่จะไม่นำวัสดุสิ่งของที่ศึกษากลับมาเก็บไว้ แต่จะบันทึกภาพทั้งภาพนิ่งและภาพวิดีโอ ถ้าเป็นเอกสารใบลานที่สำคัญก็จะทำสำเนา ถอดแปลไว้

“ปัจจุบันชุมชนเข้าใจแล้วว่าการเคลื่อนย้ายวัตถุโบราณ เอกสารโบราณ ทำให้ข้อมูลทางประวัติศาสตร์เสียหายไป เราก็จะวิเคราะห์ทำนายประวัติศาสตร์ผิดไป ชุมชนเขารักของเขา”

ประธานโครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานฯ กล่าวถึงการทำงานอีกส่วนหนึ่งของโครงการว่า เมื่อสำรวจใบลานเรียบร้อยแล้ว อีกหน้าที่หนึ่งของโครงการคือ การถอดแปลคัมภีร์ใบลานเพื่อพิมพ์เผยแพร่ โดยการถอดแปลใบลานนั้นต้องตอบสนองความต้องการและความจำเป็นของชุมชน ซึ่งเป็นเรื่องของ "ตำรายา" ในเอกสาร 8 อันดับแรกตามนโยบายของโครงการที่จะถอดแปลและพิมพ์เผยแพร่เป็นตำรายาพื้นบ้าน

“ข้อมูลจากใบลานอาจมีตัวยาดีๆ ที่เป็นสมุนไพรพื้นบ้าน ซึ่งหมอยา บุคลากรด้านเภสัชศาสตร์ได้นำไปปรุง ทดลองแล้วนำไปใช้เป็นภูมิปัญญาของไทย ลดการซื้อยาจากต่างประเทศ สอดคล้องกับการตั้งหน่วยงานแพทย์แผนไทย แพทย์ทางเลือกของกระทรวงสาธารณสุข"

ในแง่ประโยชน์ของการเผยแพร่ตำรายา ผศ.วีณาเห็นว่า ปัจจุบันทั่วโลกกำลังยื้อแย่งเรื่องภูมิปัญญา และนำเอาองค์ความรู้ไปจดสิทธิบัตร ดังนั้นการถอดแปลตำรายาโบราณนอกจากจะเป็นผลดีต่อหมอยาพื้นบ้านที่จะได้เรียนรู้เพิ่มเติมแล้ว ยังทำให้นักวิชาการนำไปศึกษาพัฒนาและกระทรวงสาธารณสุขก็นำผลงานที่โครงการอนุรักษ์ใบลานได้ศึกษา ไปเข้าสู่กระบวนการให้คณะกรรมการศึกษาและอนุมัติเพื่อปกป้องให้เป็นเอกสารของชาติ ก่อนที่จะมีใครมาแอบเด็ดยอด

ตามหาภูมิปัญญา

สำหรับบรรยากาศการลงพื้นที่เพื่อเก็บรวบรวมใบลาน จำเป็นต้องใช้ความระมัดระวังและความรอบคอบเพื่อให้ใบลานอยู่ในสภาพใกล้เคียงกับของเดิมมากที่สุด

ณรงค์ศักดิ์ ราวะรินทร์ พนักงานการศึกษา โครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานฯ ยกตัวอย่างการทำงานของทีมงานที่วัดโพธาราม อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ดว่า เป้าหมายอันดับแรกคือการตรวจสอบว่ามีการคงอยู่ของคัมภีร์ใบลานมากน้อยแค่ไหน จากนั้นก็จะเข้าไปศึกษาสำรวจเพื่อคัดแยกใบลานที่ชำรุดและที่อ่านได้ โดยการจำแนกตามขนาดจะได้ 2 ขนาดคือ ใบลานสั้นเรียกว่า "หนังสือก้อม" และใบลานยาวเรียกว่า "หนังสือผูก" จากนั้นก็นำมาทำความสะอาด จำแนกหมวดหมู่และรักษาสภาพใบลาน

“ในการตรวจเช็ค ก็ตรวจดูชื่อเรื่อง และจัดหมวดหมู่ว่าอยู่ในหมวดใด เช่น พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม และหมวดหมู่อื่นเช่น หมวดเบ็ดเตล็ด”

ณรงค์ศักดิ์เล่าต่อไปว่า ผู้คนในสมัยก่อนเชื่อว่าคัมภีร์ใบลานเป็นของสูง เนื่องจากเป็นแหล่งให้ความรู้ความเจริญแก่ผู้เล่าเรียน ดังนั้นเรื่องราวที่บันทึกลงในใบลานจึงมีความสำคัญในเชิงสังคม ความเชื่อ ความศรัทธาและวัฒนธรรมประเพณี ซึ่งเจ้าหน้าที่จะเก็บรวบรวมเพื่อวางฐานข้อมูลคัมภีร์ใบลานของภาคอีสาน และเพื่อศึกษาเอาองค์ความรู้ที่ถูกต้องไปใช้ประโยชน์ต่อสังคม เจ้าหน้าที่จึงทำงานด้วยความละเอียดอ่อน ระมัดระวังเพื่อไม่ให้เนื้อหาจากใบลานตกหล่นเลยแม้แต่น้อย

สำหรับใบลานในภาคอีสานได้ถูกจารด้วยตัวอักษร 3 แบบคือ ธรรมอีสาน ขอม และไทยน้อย ซึ่งแต่ละแบบมีรายละเอียดแตกต่างกันไป และจำเป็นต้องมีการเรียนภาษาโดยตรง จึงจะอ่านออก

“ใบลานเริ่มหมดความสำคัญเมื่อจอมพลป. พิบูลสงครามเข้ามามีอำนาจ และสถาปนาให้ลัทธิชาตินิยมเติบโตขึ้น โดยส่วนหนึ่งพยายามนำใบลานไปเผา ทำให้ใบลานเก่าๆ ที่ถูกจารด้วยองค์ความรู้และคำสอนๆ ต่างๆ สูญหาย อีกทั้งการเรียนที่วัดค่อยๆ หมดความสำคัญลง ถือเป็นการเปลี่ยนผ่านของยุคสมัย”

แต่เพื่อเป็นการสืบสานความรู้จากใบลาน และภาษาที่จารบนใบลาน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ได้บรรจุภาษาโบราณภาษาอีสานไว้ในหลักสูตรของคณะอย่างน้อย 3 วิชาเอก เพื่อสร้างนิสิตรุ่นใหม่ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านอักษรโบราณไว้รับช่วงต่อ แล้วยังได้เดินหน้างานอนุรักษ์เชิงรุกโดยการจัดอบรมความรู้เกี่ยวกับอักษรโบราณที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์ใบลานอีสานแก่ครู นิสิต นักศึกษา และนักเรียน ตลอดจนพาลงพื้นที่จริงเพื่อดูใบลานของวัดที่ยังไม่มีการสำรวจจัดหมวดหมู่ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมตระหนักถึงความสำคัญของตนเองที่จะลุกขึ้นมาอนุรักษ์คัมภีร์ใบลาน

ผศ.วีณา เสริมว่า นอกจากนี้ยังมีโครงการถวายการสอนแด่พระสงฆ์ โดยหวังว่าท่านจะเป็นหลักของสังคมในการถ่ายทอดความรู้และอนุรักษ์ใบลานเช่นในอดีต 

“ในอนาคตโครงการนี้จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางสารสนเทศเอกสารโบราณอีสาน เป็นศูนย์ข้อมูลที่เป็นที่แรกของการเริ่มต้นสืบค้นข้อมูลของภาคอีสาน”

ใบลานยุคจิติตอล

แม้โครงการตามรอยใบลานจะเดินหน้าต่อไปไม่หยุดยั้ง แต่อีกด้านหนึ่ง มีความพยายามจะปรับเปลี่ยนใบลานจากใบไม้ ให้มีความทันสมัยขึ้น ในรูปแบบของใบลานอิเลคทรอนิคส์

ด้วยปณิธานของโครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานที่ว่า "อนุรักษ์ของเดิม เพิ่มของใหม่ เชิดชูไว้ซึ่งภูมิปัญญาอีสาน" ได้ผลักดันให้การทำงานของโครงการดำเนินไปจนถึงขั้นการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับคัมภีร์ใบลาน  ทั้งการวิจัยพื้นฐานและการวิจัยประยุกต์โดยเน้นการวิจัยแบบสหวิทยาการเพื่อนำองค์ความรู้จากใบลานไปใช้ประโยชน์

ล่าสุดการโครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานได้เดินหน้าโครงการโดยร่วมกับคณะวิทยาการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม เพื่อบูรณาการความรู้และการทำงานที่นำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการบันทึกข้อมูลคัมภีร์ใบลาน เพื่อสร้างฐานข้อมูลในการสืบค้นข้อมูลความรู้จากใบลาน

ผศ.วีณา อธิบายถึงการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อเผยแพร่องค์ความรู้จากใบลาน ว่าเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ สังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กับการกลุ่มอนุรักษ์ภูมิปัญญาพื้นบ้าน เพื่อพัฒนาโครงการวิจัย โดยใช้ศักยภาพของการทำงานและภูมิรู้จากอ.ชุมศักดิ์ สีบุญเรือง รองคณบดีฝ่ายวิชาการและประกันคุณภาพ คณะวิทยาการสารสนเทศ ม.มหาสารคาม เและคณะทำงานในด้านเทคโนยีการสร้างฐานข้อมูลเพื่ออนุรักษ์ตัวอักษรที่จารึกข้อมูล ภูมิปัญญาของคนสมัยโบราณไม่ให้สูญหายไปตามการผุพังของใบลาน และนำไปสู่การเผยแพร่ต่อสังคมและนักวิชาการ โดยง่ายต่อการสืบค้นข้อมูลในฐานข้อมูลซึ่งเผยแพร่ในเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้อย่างมีคุณภาพ

อาจารย์ชุมศักดิ์ สีบุญเรือง ขยายรายละเอียดให้ฟังว่า เป็นการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานในรูปแบบใบลานอิเล็กทรอนิกส์หรือฐานข้อมูลคัมภีร์ใบลาน ซึ่งโครงการวิจัยนี้ได้รับทุนวิจัยจากโปรแกรมซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อสารสนเทศและอุปกรณ์การเคลื่อนที่ ( IMA) สังกัด สวทช. โดยมีที่มาจากโครงการระดับประเทศที่ชื่อ Digitized Thailand เริ่มต้นโดย ดร.วิรัช ศรเลิศล้ำวาณิช ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติและเป็นผู้อำนวยการ IMA ซึ่งเป็นการวิจัยและพัฒนาการด้านวิทยาการสารสนเทศเพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย 

“เนื่องจากโครงการ Digitized Thailand อาจทำทั้งประเทศทีเดียวไม่ไหว จึงได้แบ่งออกเป็นโครงการย่อยคือ Digitized Isan เป็นชุดโครงการใหญ่และจะมีโครงการอื่นๆ เกิดตามมาภายใต้ชื่อ Digitized Isan โดยมีแนวคิดในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาอีสาน โดยใช้ระบบเทคโนโลยีเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการสืบค้นและการเก็บอนุรักษ์ ยกตัวอย่าง ใบลานที่ถูกเก็บไว้ตามวัดอาจผุพังเสื่อมสลายไป ทำให้ตำรายา ข้อมูลสำคัญในอดีต รากเหง้าทางประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาที่ได้จารึกสูญหายไป จึงต้องนำเทคโนโลยีมาจัดเก็บข้อมูลเหล่านี้ไว้ในรูปแบบฐานข้อมูล"

อ.ชุมศักดิ์ ได้กล่าวต่อไปว่า แนวคิดในการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาอีสานดังกล่าว สอดคล้องกับโครงการอนุรักษ์คัมภีร์ใบลานที่มีการปริวรรตหรือถอดแปลข้อมูลในคัมภีร์ใบลานเพื่ออนุรักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญา ไปสู่คนรุ่นหลัง แต่การถอดแปลยังทำได้น้อย เพราะบุคลากรไม่เพียงพอ ในขณะที่ใบลานก็ผุพังไปทีละน้อย ดังนั้นการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดเก็บโดยใช้คอมพิวเตอร์ ถ่ายภาพ สแกนแปลงเป็นข้อมูลดิจิตอล กระบวนการเหล่านี้เรียกว่า Digitized จะทำให้การเก็บรักษาข้อมูลใบลานรวดเร็วขึ้น และเมื่อมีการเก็บใบลานในรูปแบบดิจิตอลก็ทำให้ผู้ที่สนใจศึกษาได้เข้ามาแปล เป็นการสืบทอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาต่อไป

วันข้างหน้า หากเราอยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับตำรายาโบราณ อาจจะเปิดดูที่ใบลานอิเลคทรอนิคส์ ที่ถูกดาวน์โหลดเป็นเอ็มพี 3 เรียบร้อยแล้ว

ข้อมูลข่าวโดย  กรุงเทพธุรกิจ


TAGS ที่เกี่ยวข้อง >> ดิจิตอลอีสาน...ใบลานอิเลคทรอนิกส์ << คลิกอ่านเพิ่มเติม

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เก็บหนังสือเก่าไม่ให้ขึ้นรา

เก็บหนังสือเก่าไม่ให้ขึ้นรา
เปิดอ่าน 10,148 ครั้ง
การหยุดหายใจในขณะหลับ (Sleep apnoea)

การหยุดหายใจในขณะหลับ (Sleep apnoea)
เปิดอ่าน 10,334 ครั้ง
เชื้อโควิดอยู่ในร่างกายได้กี่วัน หายป่วยแล้วยังแพร่เชื้อได้อีกหรือไม่

เชื้อโควิดอยู่ในร่างกายได้กี่วัน หายป่วยแล้วยังแพร่เชื้อได้อีกหรือไม่
เปิดอ่าน 6,421 ครั้ง
ปวดท้องตรงไหน เป็นอะไรกันแน่

ปวดท้องตรงไหน เป็นอะไรกันแน่
เปิดอ่าน 10,054 ครั้ง
อยากฉลาดฟังดนตรีคลาสสิก

อยากฉลาดฟังดนตรีคลาสสิก
เปิดอ่าน 15,802 ครั้ง
เหงื่อบอกโรค

เหงื่อบอกโรค
เปิดอ่าน 10,834 ครั้ง
ของพรีเมี่ยมคืออะไร ?

ของพรีเมี่ยมคืออะไร ?
เปิดอ่าน 39,289 ครั้ง
อาหารขยะ...ทานได้แต่ต้องฉลาดเลือก

อาหารขยะ...ทานได้แต่ต้องฉลาดเลือก
เปิดอ่าน 10,399 ครั้ง
เดิน...ลดโรค

เดิน...ลดโรค
เปิดอ่าน 10,117 ครั้ง
นักวิจัยเผย ผู้หญิงมากกว่าชาย เกือบเก้าแสนคน

นักวิจัยเผย ผู้หญิงมากกว่าชาย เกือบเก้าแสนคน
เปิดอ่าน 9,562 ครั้ง
3 กุมภาพันธ์ ... วันทหารผ่านศึก

3 กุมภาพันธ์ ... วันทหารผ่านศึก
เปิดอ่าน 8,709 ครั้ง
ทำความรู้จัก Education3.0 เทคโนโลยี เพื่อการศึกษายุคใหม่

ทำความรู้จัก Education3.0 เทคโนโลยี เพื่อการศึกษายุคใหม่
เปิดอ่าน 9,750 ครั้ง
รวมวิธีทำกระทงแบบใหม่ๆ เป็นมิตรกับธรรมชาติ

รวมวิธีทำกระทงแบบใหม่ๆ เป็นมิตรกับธรรมชาติ
เปิดอ่าน 30,457 ครั้ง
เคล็ดลับคั้นมะนาวให้ได้น้ำมาก

เคล็ดลับคั้นมะนาวให้ได้น้ำมาก
เปิดอ่าน 12,913 ครั้ง
สับปะรดมีเอ็นไซม์ช่วยย่อยจากธรรมชาติ

สับปะรดมีเอ็นไซม์ช่วยย่อยจากธรรมชาติ
เปิดอ่าน 12,017 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เคล็ด(ไม่)ลับ
เคล็ด(ไม่)ลับ'หัวกะทิ'
เปิดอ่าน 13,100 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
โอเมก้า 3 ใน ปลา ก็มีโทษ
โอเมก้า 3 ใน ปลา ก็มีโทษ
เปิดอ่าน 11,089 ☕ คลิกอ่านเลย

บุหรี่มวน (Cigarette) ผลกระทบต่อสุขภาพ
บุหรี่มวน (Cigarette) ผลกระทบต่อสุขภาพ
เปิดอ่าน 4,629 ☕ คลิกอ่านเลย

5 แนวโน้มในการจ้างและการจัดการคนทำงานยุค Millennials
5 แนวโน้มในการจ้างและการจัดการคนทำงานยุค Millennials
เปิดอ่าน 6,430 ☕ คลิกอ่านเลย

20 วิธีที่คุณควรลอง ถ้าอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอกของคุณไม่ทำงาน
20 วิธีที่คุณควรลอง ถ้าอุปกรณ์เชื่อมต่อภายนอกของคุณไม่ทำงาน
เปิดอ่าน 12,739 ☕ คลิกอ่านเลย

ทำไมคนเราถึงฝัน
ทำไมคนเราถึงฝัน
เปิดอ่าน 8,596 ☕ คลิกอ่านเลย

วิจัยพบการดื่ม "กาแฟ-ชา" อาจลดเสี่ยง "สโตรก-สมองเสื่อม"
วิจัยพบการดื่ม "กาแฟ-ชา" อาจลดเสี่ยง "สโตรก-สมองเสื่อม"
เปิดอ่าน 10,199 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

หาที่ฝึกงานยังไงให้โดนและมีโอกาสได้ทำงานต่อ
หาที่ฝึกงานยังไงให้โดนและมีโอกาสได้ทำงานต่อ
เปิดอ่าน 25,756 ครั้ง

ประกาศ สพฐ.หลักเกณฑ์ อัตรา และวิธีการนำเงินรายได้สถานศึกษาไปจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในสถานศึกษา
ประกาศ สพฐ.หลักเกณฑ์ อัตรา และวิธีการนำเงินรายได้สถานศึกษาไปจ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในสถานศึกษา
เปิดอ่าน 43,744 ครั้ง

เป็นเบาหวาน ทานวุ้นเส้น ดีจริงหรือ?
เป็นเบาหวาน ทานวุ้นเส้น ดีจริงหรือ?
เปิดอ่าน 13,149 ครั้ง

ลายมือคนสันโดษ
ลายมือคนสันโดษ
เปิดอ่าน 21,686 ครั้ง

พายุไต้ฝุ่น
พายุไต้ฝุ่น
เปิดอ่าน 30,525 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย


เว็บไซต์ที่น่าสนใจ

  • IELTS Test
  • SAT Test
  • สอบ IELTS
  • สอบ TOEIC
  • สอบ SAT
  • เว็บไซต์พันธมิตร

  • IELTS
  • TOEIC Online
  • chulatutor
  • เพลงเด็กอนุบาล
  •  
    หมวดหมู่เนื้อหา
    เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


    · Technology
    · บทความเทคโนโลยีการศึกษา
    · e-Learning
    · Graphics & Multimedia
    · OpenSource & Freeware
    · ซอฟต์แวร์แนะนำ
    · การถ่ายภาพ
    · Hot Issue
    · Research Library
    · Questions in ETC
    · แวดวงนักเทคโนฯ

    · ความรู้ทั่วไป
    · คณิตศาสตร์
    · วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    · ภาษาต่างประเทศ
    · ภาษาไทย
    · สุขศึกษาและพลศึกษา
    · สังคมศึกษา ศาสนาฯ
    · ศิลปศึกษาและดนตรี
    · การงานอาชีพ

    · ข่าวการศึกษา
    · ข่าวตามกระแสสังคม
    · งาน/บริการสังคม
    · คลิปวิดีโอยอดนิยม
    · เกมส์
    · เกมส์ฝึกสมอง

    · ทฤษฎีทางการศึกษา
    · บทความการศึกษา
    · การวิจัยทางการศึกษา
    · คุณครูควรรู้ไว้
    · เตรียมประเมินวิทยฐานะ
    · ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
    · เครื่องมือสำหรับครู

    ครูบ้านนอกดอทคอม

    เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

          kroobannok.com

    © 2000-2020 Kroobannok.com  
    All rights reserved.


    Design by : kroobannok.com


    ครูบ้านนอกดอทคอม
    การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

    วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
     

    ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

    เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

    Email : kornkham@hotmail.com
    Tel : 081-3431047

    สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
    คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ