Advertisement
❝ การพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปควบคู่กับสื่อเทคโนโลยีประสม สาระประวัติศาสตร์ วิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ( ส 31101 ) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1 ) สร้างและพัฒนาบทเรียนสำเร็จรูปควบคู่กับเทคโนโลยีสื่อประสม สาระ ประวัติศาสตร์ชาติไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพ 80 / 80 และมีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.5 ขึ้นไป 2 ) ศึกษาผลการเรียนรู้ สาระประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูป ในด้านความรู้ ทักษะกระบวนการกลุ่ม และเจตคติที่ดีในการเรียน 3 ) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนเรียนและหลังเรียน ด้วยบทเรียนสำเร็จรูปควบคู่กับสื่อเทคโนโลยีประสม สาระ ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ½ โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล อำเภอ เมือง จังหวัดอุดรธานี ปีการศึกษา 2550 จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ ในการพัฒนา คือ บทเรียน สำเร็จรูปควบคู่ไปกับสื่อเทคโนโลยีสื่อประสม สาระ ประวัติศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 24 ชุด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้กา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบประเมินทักษะกระบวนการกลุ่ม และแบบสังเกตพฤติกรรม ด้านเจตคติที่ดีในการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
บทเรียนสำเร็จรูปควบคู่กับสื่อเทคโนโลยีสื่อเทคโนโลยีประสมสาระ ประวัติศาสตร์
วิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ( ส 31101 ) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน เท่ากับ 82.77/84.24 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้คือ 80/80 มีค่าดัชนีประสิทธิผล 0.7487 แสดงให้เห็นว่าการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปควบคู่สื่อเทคโนโลยีประสมส่งผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 74.87
นักเรียนที่เรียนด้วย บทเรียนสำเร็จรูปควบคู่กับสื่อเทคโนโลยีประสมสาระ ประวัติศาสตร์
วิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ( ส 31101 ) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลการเรียนรู้ด้านความรู้
ซึ่งผลให้เห็นว่านักเรียนทุกคนที่เรียนด้วย บทเรียนสำเร็จรูปควบคู่กับสื่อเทคโนโลยีประสม สาระ
ประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลการเรียนรู้ด้านความรู้ ทักษะกระบวนการกลุ่ม และเจตคติที่ดีในการเรียน ในระดับคุณภาพดีและดีมาก
3. นักเรียนที่เรียนด้วย บทเรียนสำเร็จรูป ควบคู่กับสื่อเทคโนโลยีประสม สาระ ประวัติศาสตร์ วิชา สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ( ส 31101 ) กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
❞
สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์
หน่วยที่ 1 การแบ่งยุคสมัยและวิธีการทางประวัติศาสตร์
ชุดที่ 1 การนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย
จำนวน 2 ชั่วโมง
วิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส 31101
สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
จัดทำโดย
นายสมคิด กำเนิดภู
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี เขต 1
คำนำ
บทเรียนสำเร็จรูปเล่มนี้ ผู้เขียนใช้ในการประกอบการจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียนวิชาสังคมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โดยเป็นเนื้อหาเรื่อง การนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้เนื้อหาทั้งหมดได้ด้วยตนเอง เนื่องจากบทเรียนสำเร็จรูปนี้ผู้เขียนได้สรุปเนื้อหาที่สำคัญๆให้สามารถเรียนรู้และเข้าใจด้วยตนได้ อีกทั้งยังมีรูปแบบที่กระตุ้นความสนใจในการเรียนของผู้เรียน พร้อมทั้งยังตรงกับหลักสูตรในการปฏิรูปการศึกษาพุทธศักราช 2544 ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสมบูรณ์ทั้งด้านสติปัญญา ความรู้ คุณธรรมจริยธรรมและพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2544 ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุขในการเรียน ดังนั้นเมื่อผู้เรียนได้ศึกษาบทเรียนสำเร็จรูปนี้แล้ว ผู้เรียนจะมีความรู้และคุณธรรม เนื่องจากได้ปฏิบัติตามขั้นตอนอย่างเป็นระบบ ก่อให้เกิดการพัฒนาความรู้ของตนเองให้สูงขึ้น และเต็มไปด้วยศักยภาพ
ผู้เขียนหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทเรียนสำเร็จรูปเล่มนี้จะทำให้ผู้เรียนสนใจ รักและมีความสุขในการเรียนมากยิ่งขึ้น
นายสมคิด กำเนิดภู
สารบัญ
เรื่อง หน้า
คำแนะนำสำหรับครู 1
คำชี้แจงสำหรับนักเรียน 2
แบบทดสอบก่อนเรียน 3
การนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย
กรอบที่ 1 บทนำการนับและการเปรียบเทียบศักราชไทย 6
กรอบที่ 2 การนับศักราช 7
กรอบที่ 3 การนับศักราชและการเปรียบเทียบศักราช 9
กรอบที่ 4 การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์แบบสากล 13
กรอบที่ 5 การแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์แบบไทย 16
กรอบที่ 6 สรุป 20
แบบทดสอบหลังเรียน 21
เฉลยแบบทดสอบก่อนเรียน - หลังเรียน 23
เอกสารอ้างอิง 24
คำแนะนำสำหรับครู
เมื่อครูผู้สอนได้นำบทเรียนสำเร็จรูปไปใช้ควรปฏิบัติ ดังนี้
1. ทดสอบความรู้ก่อนเรียน เพื่อวัดพื้นฐานความรู้ของนักเรียนแต่ละคน
2. ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปควบคู่กับ
แผนการจัดการเรียนรู้
3. หลังจากสอนเนื้อหาแล้วให้นักเรียน ตอบคำถามเพื่อประเมินความรู้แต่ละเรื่อง
4. ให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมตามที่ระบุไว้ตามลำดับ ครูควรดูแลและให้คำแนะนำอย่าง
ใกล้ชิด
5. ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดทดสอบความรู้ในแต่ละกรอบ เพื่อทบทวนความรู้ความเข้าใจ
6. ให้นักเรียนทดสอบความรู้หลังเรียน หลังจากที่นักเรียน เรียนจบเล่ม
7. ใช้เป็นสื่อการสอนสำหรับครู
คำชี้แจงสำหรับนักเรียน
จุดประสงค์การเรียนรู้สำหรับบทเรียนสำเร็จรูปชุดนี้ คือ
1. นักเรียนสามารถเทียบศักราชในระบบต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้อง
2. นักเรียนอธิบายการแบ่งช่วงเวลาในประวัติศาสตร์สากลและประวัติศาสตร์ไทยได้
3. นักเรียนมีความสนใจ มีทักษะการเรียนรู้และการคิด เรื่อง การนับศักราชและการแบ่งยุค สมัยทางประวัติศาสตร์
ข้อปฏิบัติสำหรับนักเรียนในการศึกษาบทเรียนสำเร็จรูป
1. นักเรียนรับกระดาษคำตอบจากคุณครู
2. นักเรียนทดสอบก่อนเรียนเพื่อตรวจสอบความรู้เดิมของนักเรียน
3. นักเรียนเริ่มศึกษาเนื้อหาไปทีละกรอบตามกรอบที่ 1 – กรอบที่ 5 ซึ่งแต่ละกรอบจะมีทั้ง
เนื้อหา แบบฝึกหัดของกรอบนั้นๆ และเฉลยแบบฝึกหัดของกรอบที่ผ่านมา
4. เมื่อนักเรียนทดสอบให้ตั้งใจทำอย่างซื่อสัตย์ โดยสามารถตรวจสอบคำตอบของนักเรียน
ได้ในหน้าถัดไป
5. อย่าขีดเขียนข้อความใดๆ ลงในบทเรียนสำเร็จรูปเล่มนี้
6. เมื่อศึกษาเสร็จในชั่วโมงใดเก็บส่งคืนคุณครู
7. อย่าลืมว่าการศึกษาในบทเรียนสำเร็จรูปนี้มุ่งให้นักเรียนเรียนรู้ด้วยตนเองตาม
ความสามารถ ไม่ใช่การทดสอบ
คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องหรือเหมาะสมที่สุดเพียงคำตอบเดียว
แล้วทำเครื่องหมายกากบาท ลงในกระดาษคำตอบ
1. ศักราชระบบใดที่ไทยคิดขึ้น
ก. จุลศักราช (จ.ศ.)
ข. มหาศักราช (ม.ศ.)
ค. คริสต์ศักราช (ค.ศ.)
ง. รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.)
2. การนับเวลาทางประวัติศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร
ก. สามารถเรียงลำดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ได้
ข. สามารถบอกเรื่องราวเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตได้
ค. สามารถบอกลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมสมัยต่างๆได้
ง. สามารถบอกลักษณะของเครื่องมือเครื่องใช้สมัยต่างๆได้
3. รัตนโกสินทร์ศก (ร.ส.) เริ่มนับตั้งแต่รัชสมัยใด
ก. สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ข. สมเด็จพระพุทธเลิศเหล้านภาลัย
ค. สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ง. สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
4. การแบ่งช่วงเวลาตามแบบสากลแบ่งออกเป็นกี่ช่วง
ก. 2 ช่วง สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์
ข. 2 ช่วง สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยหลังประวัติศาสตร์
ค. 3 ช่วง สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์และสมัยหลังประวัติศาสตร์
ง. 3 ช่วง สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยกลางประวัติศาสตร์และสมัยหลังประวัติศาสตร์
5. มหาศักราช (ม.ศ.) เป็นศักราชเก่าแก่ที่ใช้ในสมัยใด
ก. สุโขทัย ถึง ธนบุรี
ข. สุโขทัย ถึงอยุธยา
ค. อยุธยา ถึง รัตนโกสินทร์
ง. ธนบุรี ถึง รัตนโกสินทร์
6. ข้อใดไม่ใช่การแบ่งช่วงเวลาตามแบบไทย
ก. แบ่งตามสมัย
ข. แบ่งตามอาณาจักร
ค. แบ่งตามราชฐานี
ง. แบ่งตามความรุ่งเรืองของเมืองหลวง
7. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงศักราชระบบต่างๆ ไม่ถูกต้อง
ก. ร.ศ. เริ่มใช้ในรัชกาลที่ 4
ข. จ.ศ. เลิกใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5
ค. พ.ศ. แบบไทยน้อยกว่าแบบลังกา 1 ปี
ง. ค.ศ. 1 เริ่มนับปีตั้งแต่วันพระราชสมภพของพระเยซู
8. การเทียบพุทธศักราชเป็นคริสต์ศักราชทำได้โดยวิธีใด
ก. พ.ศ. - 543
ข. ค.ศ. + พ.ศ.
ค. พ.ศ. + 543
9. ค.ศ. + 5439. ถ้านำ ฮ.ศ. ๑๔๓๘ มาเทียบเป็นพุทธศักราช จะตรงกับข้อใด
ก. พ.ศ. ๒๕๔๕
ข. พ.ศ. ๒๕๕๐
ค. พ.ศ. ๒๕๕๕
ง. พ.ศ. ๒๕๖๐
10. เครื่องมือในข้อใดควรอยู่ในยุคหินใหม่
ก. หินกะเทาะ
ข. หินสำริด
ค. ขวานหินขัด
ง. หินหยาบใช้ล่าสัตว์
ม.ศ. + ๖๒๑ = พ.ศ.
จ.ศ. + ๑๑๘๑ = พ.ศ.
ร.ศ. + ๒๓๒๔ = พ.ศ.
ค.ศ. + ๕๔๓ = พ.ศ.
ฮ.ศ. + ๑๑๒๒ = พ.ศ. พ.ศ. - ๖๒๑ = ม.ศ.
พ.ศ. - ๑๑๘๑ = จ.ศ.
พ.ศ. - ๒๓๒๔ = ร.ศ.
พ.ศ. - ๕๔๓ = ค.ศ.
พ.ศ. - ๑๑๒๒ = ฮ.ศ.
ยุคสมัย ช่วงเวลาประมาณ ลักษณะสำคัญ
สมัยก่อนประวัติศาสตร์
- ยุคหินเก่า ๕,๐๐๐,๐๐๐ ถึง ๑๐,๐๐๐
ปีมาแล้ว - เครื่องมือหินหยาบ มนุษย์ดำรงชีวิตตามธรรมชาติ
- ยุคหินกลาง ๑๐,๐๐๐ถึง ๖,๐๐๐
ปีมาแล้ว - เครื่องมือหินเริ่มประณีตหลากหลายรูปแบบ และรู้จักการทำเครื่องปั้นดินเผา เครื่องนุ่งห่มและมีพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์
- ยุคหินใหม่ ๖,๐๐๐ถึง ๔,๐๐๐
ปีมาแล้ว - เครื่องมือหินขัดเรียบ ประณีต สวยงาม เหมาะกับการใช้งานเฉพาะอย่าง มีการทำเครื่องปั้นดินเผารูปต่างๆ มีสีสันและลวดลาย
- เริ่มรู้จักเพาะปลูกควบคู่กับการล่าสัตว์และเลี้ยงสัตว์
- ยุคโลหะ ๔,๐๐๐ถึง ๑,๕๐๐
ปีมาแล้ว - - เครื่องมือทำมาจากสำริดและเหล็ก และเริ่มติดต่อค้าขายกับชุมชนอื่น เกิดการขยายตัวของชุมชน
สมัยประวัติศาสตร์ ตั้งแต่ปลายยุคโลหะ
(สำหรับไทยเริ่มเมื่อ พ.ศ. ๘๐๐) เริ่มรู้จักประดิษฐ์ตัวอักษรใช้บันทึกเรื่องราวต่างๆ เช่น ศิลา ใบลาน แผ่นดินเหนียว กระดาษ แบ่งออกเป็น
หีบสมบัติ ยุคสมัย ช่วงเวลาประมาณ
A ………………………
……………………… …………………
…………………
B ………………………
………………………. …………………
…………………
ประเภทในการแบ่งยุคสมัย คำตอบ
1. แบ่งตามสมัย
2. แบ่งตามอาณาจักร
3. แบ่งตามราชธานี
4. แบ่งตามราชวงศ์
5. แบ่งตามรัชกาล
6. แบ่งตามการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง
7. แบ่งตามการเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรม
8. แบ่งตามรัฐบาลบริหารประเทศ
คำชี้แจง จงเลือกคำตอบที่ถูกต้องหรือเหมาะสมที่สุดเพียงคำตอบเดียว
แล้วทำเครื่องหมายกากบาท ลงในกระดาษคำตอบ
1. ศักราชระบบใดที่ไทยคิดขึ้น
ก. จุลศักราช (จ.ศ.)
ข. มหาศักราช (ม.ศ.)
ค. คริสต์ศักราช (ค.ศ.)
ง. รัตนโกสินทร์ศก (ร.ศ.)
2. การนับเวลาทางประวัติศาสตร์มีประโยชน์อย่างไร
ก. สามารถเรียงลำดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ได้
ข. สามารถบอกเรื่องราวเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในอดีตได้
ค. สามารถบอกลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมสมัยต่างๆได้
ง. สามารถบอกลักษณะของเครื่องมือเครื่องใช้สมัยต่างๆได้
3. รัตนโกสินทร์ศก (ร.ส.) เริ่มนับตั้งแต่รัชสมัยใด
ก. สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ข. สมเด็จพระพุทธเลิศเหล้านภาลัย
ค. สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ง. สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
4. การแบ่งช่วงเวลาตามแบบสากลแบ่งออกเป็นกี่ช่วง
ก. 2 ช่วง สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์
ข. 2 ช่วง สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยหลังประวัติศาสตร์
ค. 3 ช่วง สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยประวัติศาสตร์และสมัยหลังประวัติศาสตร์
ง. 3 ช่วง สมัยก่อนประวัติศาสตร์ สมัยกลางประวัติศาสตร์และสมัยหลังประวัติศาสตร์
5. มหาศักราช (ม.ศ.) เป็นศักราชเก่าแก่ที่ใช้ในสมัยใด
ก. สุโขทัย ถึง ธนบุรี
ข. สุโขทัย ถึงอยุธยา
ค. อยุธยา ถึง รัตนโกสินทร์
ง. ธนบุรี ถึง รัตนโกสินทร์
6. ข้อใดไม่ใช่การแบ่งช่วงเวลาตามแบบไทย
ก. แบ่งตามสมัย
ข. แบ่งตามอาณาจักร
ค. แบ่งตามราชฐานี
ง. แบ่งตามความรุ่งเรืองของเมืองหลวง
7. ข้อใดต่อไปนี้กล่าวถึงศักราชระบบต่างๆ ไม่ถูกต้อง
ก. ร.ศ. เริ่มใช้ในรัชกาลที่ 4
ข. จ.ศ. เลิกใช้ในสมัยรัชกาลที่ 5
ค. พ.ศ. แบบไทยน้อยกว่าแบบลังกา 1 ปี
ง. ค.ศ. 1 เริ่มนับปีตั้งแต่วันพระราชสมภพของพระเยซู
8. การเทียบพุทธศักราชเป็นคริสต์ศักราชทำได้โดยวิธีใด
ก. พ.ศ. - 543
ข. ค.ศ. + พ.ศ.
ค. พ.ศ. + 543
9. ค.ศ. + 5439. ถ้านำ ฮ.ศ. ๑๔๓๘ มาเทียบเป็นพุทธศักราช จะตรงกับข้อใด
ก. พ.ศ. ๒๕๔๕
ข. พ.ศ. ๒๕๕๐
ค. พ.ศ. ๒๕๕๕
ง. พ.ศ. ๒๕๖๐
10. เครื่องมือในข้อใดควรอยู่ในยุคหินใหม่
ก. หินกะเทาะ
ข. หินสำริด
ค. ขวานหินขัด
ง. หินหยาบใช้ล่าสัตว์
พลับพลึง คงชนะ, มยุรี เกตุแดง และคณะ. (2550). ประวัติศาสตร์ ม.๑. กรุงเทพ: บริษัท
พัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว).จำกัด
รศ.ณรงค์ พวงพิศ,รศ. วุฒิชัย มูลศิลป์,ผศ.ดร.ชาคริต ชุ่มวัฒนะ. (2552). ประวัติศาสตร์ ม.๑.
กรุงเทพ: บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท.จำกัด
รศ.ดร.ไพฑูรย์ มีกุศล,สมพร อ่อนน้อม,บุญรัตน รอดตา และคณะ. (2549). ประวัติศาสตร์ ม.๑.
กรุงเทพ: บริษัทวัฒนพาณิชย์.จำกัด
รศ.วีณา เอี่ยมประไพ,วชิราวรรณ บุนนาค,นภาศรี ขำเมฆ และคณะ. (2549). ประวัติศาสตร์ ม.๑.
กรุงเทพ: บริษัทอักษรเจริญทัศน์ อจท.จำกัด
กระดาษคำตอบบทเรียนสำเร็จรูป สาระที่ 4 ประวัติศาสตร์
หน่วยที่ 1 การแบ่งยุคสมัยและวิธีการทางประวัติศาสตร์
ชุดที่ 1 การนับศักราชและการแบ่งยุคสมัยทางประวัติศาสตร์ไทย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
ชื่อนักเรียน............................................................... ชั้น................. เลขที่...............
แบบทดสอบก่อนเรียน
ข้อ ก ข ค ง ข้อ ก ข ค ง
1 6
2 7
3 8
4 9
5 10
แบบฝึกหัดกรอบที่ 1
ตอบ 1..............................................................................................................................
2..............................................................................................................................
แบบฝึกหัดกรอบที่ 2
ตอบ 1)……………………………… 2)…………………………………
3)……………………………… 4)…………………………………
5)……………………………… 6)…………………………………
แบบฝึกหัดกรอบที่ 3
ตอบ 1)……………………………… 2)…………………………………
3)……………………………… 4)…………………………………
5)………………………………
แบบฝึกหัดกรอบที่ 4
ตอบ หีบ
A..............................................................................................................................
หีบ
B..............................................................................................................................
แบบฝึกหัดกรอบที่ 5
ตอบ 1..............................................................................................................................
2..............................................................................................................................
3..............................................................................................................................
4..............................................................................................................................
5..............................................................................................................................
6..............................................................................................................................
7..............................................................................................................................
8..............................................................................................................................
แบบทดสอบหลังเรียน
ข้อ ก ข ค ง ข้อ ก ข ค ง
1 6
2 7
3 8
4 9
5 10
วันที่ 19 ต.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,186 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,187 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,422 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 13,396 ครั้ง |
เปิดอ่าน 49,394 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,199 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,122 ครั้ง |
เปิดอ่าน 4,413 ครั้ง |
|
|