ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

โรคข้อเข่าเสื่อมอันตรายสำหรับคนไทย


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,159 ครั้ง
Advertisement

โรคข้อเข่าเสื่อมอันตรายสำหรับคนไทย

Advertisement

 
ยอมทนอ่านกันซักนิดนะ....ข้อความอาจจะยาวไปบ้าง  แต่ก็เพื่อสุขภาพที่ดีของเราเอง....
 
หมอเตือนข้อเข่าเสื่อมพบอายุน้อยลง นักฟุตบอล -คนอ้วนเสี่ยงสูง (แนะวิธีป้องกัน-บำบัดด้วยตัวเอง)

หมอเตือนโรคข้อกระดูกเสื่อม พบในคนอายุน้อยลงจากเดิม 60ปีขึ้นไป เหลือเพียง 45-50 ปี จากภาวะอ้วนทำให้ข้อเข่าแบกรับน้ำหนักเกิน เล่นกีฬาหักโหมเกินไป โดยเฉพาะฟุตบอล ให้หลีกเลี่ยงการคุกเข่า-ขัดสมาธิ-นั่งยองๆ

เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ที่บริเวณโซนอีเดนชั้น 1  ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ มูลนิธิทศวรรษโรคกระดูกและข้อ(ประเทศไทย) ร่วมกับบริษัท มิลลิเมด จำกัด จัดกิจกรรม "Joint Free จารบีข้อเข่า" ขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนมีความเข้าใจถึงสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด โรค รวมทั้งแนวทางการป้องกันและรักษาโรคข้อกระดูกเสื่อม โดยมี รศ.พญ.วิไล คุปต์นิรัตศัยกุล หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า โรคข้อเสื่อม เป็นโรคที่กระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อเกิดความผิดปกติ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อทั้งทางด้านรูปร่าง โครงสร้าง และทางเคมี โดยปกติกระดูกอ่อนจะมีความยืดหยุ่น ทำหน้าที่ลดแรงที่กระทำต่อข้อกระดูกและทำให้ข้อเคลื่อนไหวด้วยความราบรื่น เมื่อกระดูกอ่อนเสื่อมกระดูกแท้จะเสียดสีกันทำให้เกิดความเจ็บปวด และเกิดเสียงดัง จนทำให้สูญเสียหน้าที่ในการเคลื่อนไหว รับน้ำหนัก และกระจายแรง ซึ่งภาวะข้อกระดูกเสื่อมมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นตามอายุที่มากขึ้น

รศ.พญ.วิไล  กล่าวว่า  สำหรับสถิติของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมพบประมาณ 1 ใน 3 หรือคิดเป็นร้อยละ 34.5-45.6 ของประชากรทั้งประเทศ โดยส่วนใหญ่จะพบในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป แต่ปัจุจบันพบเร็วขึ้นอายุประมาณ 45-50 ปี เนื่องจากมีปัจจัยส่งเสริม เช่น ภาวะอ้วน ทำให้ข้อเข่าแบกรับน้ำหนักเกิน หรือการนั่งยองๆ นั่งพับเพียบ รวมทั้งกรณีประสบอุบัติเหตุ หรือการเล่นกีฬาหักโหมเกินไป  อย่างการเล่นฟุตบอล เป็นต้น นอกจากปัจจัยด้านอายุ พันธุกรรม และปัจจัยส่งเสริมดังกล่าวแล้ว ยังพบว่า การเปลี่ยนแปลงในกระดูกอ่อนจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ การติดเชื้อในข้อ หรือโรคเก๋า ก็มีส่วนทำลายกระดูกอ่อนผิวข้อให้เสื่อมเร็วยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม แม้ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมให้หายขาดได้ แต่สามารถลดอาการปวดได้ เช่น การทำกายภาพบำบัด การบริหารกล้ามเนื้อเข่า การใช้ยา  และการผ่าตัด 
   
รศ.พญ.วิไล กล่าวอีกว่า การใช้ยาในปัจจุบันก็สะดวกมากขึ้น โดยมีผงชงละลายน้ำกลูโคซามีน ซัลเฟต สำหรับดื่มวันละ 1 ครั้ง เพื่อช่วยชะลอการสึกหรอของกระดูกอ่อนผิวข้อ และช่วยบรรเทาอาการปวดของโรคข้อเสื่อม แต่ต้องร่วมกับการบริหารกล้ามเนื้อเข่า หรือกายภาพบำบัด อย่างไรก็ตาม แนวทางสำคัญควรป้องกันหรือชะลอการเกิดโรคให้ช้าที่สุด โดยควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนเกินไป หลีกเลี่ยงการคุกเข่า ขัดสมาธิ หรือนั่งยองๆ รวมทั้งการขึ้นลงบันไดบ่อยๆ  โดยไม่จำเป็น และควรบริหารกล้ามเนื้อเข่าให้แข็งแรง เพราะจะช่วยให้การใช้งานข้อเข่าดียิ่งขึ้น โดยเลือกการออกกำลังกายที่เหมาะสม เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน หรือการออกกำลังกายในน้ำ เป็นต้น

"ทางที่ดีที่สุดต้องรู้จักดูแลตัวเอง อย่าใช้งานพวกข้อเข่ามากจนเกินไป เพราะจะทำให้เสื่อมเร็วขึ้น ที่สำคัญหากป่วยด้วยโรคข้อเข่าเสื่อม จะมีอาการตั้งแต่ข้อฝืด ไปจนกระทั่งปวดบริเวณข้อ จนไม่สามารถเดิน หรือเคลื่อนไหวไปไหนได้" หัวหน้าภาควิชาเ
ชศาสตร์ฟื้นฟู กล่าว
 
===========================
 
อาการของโรคข้อเข่าเสื่อม
โรค ข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่พบในผู้ป่วยสูงอายุ แต่ผู้ป่วยที่มีโรคข้อเรื้อรังเช่นโรครูมาตอยด์ โรคเกาต์ หรือผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่า ก็อาจจะเกิดโรคข้อเข่าเสื่อมในขณะที่อายุยังไม่มาก โดยเฉพาะคุณผู้หญิงจะมีโอกาสเป็นข้อเสื่อมได้มากกว่าผู้ชายเนื่องจากความ แข็งแรงของกระดูกและกล้ามเนื้อน้อยกว่าผู้ชาย

อาการที่สำคัญได้แก่
- อาการปวดเข่า เป็นอาการที่สำคัญเริ่มแรกจะปวดเมื่อยตึงทั้งด้านหน้าและด้านหลังของเข่า หรือบริเวณน่อง เมื่อเป็นมากขึ้นจะปวดบริเวณเข่าเมื่อมีการเคลื่อนไหว ลุกนั่งหรือเดินขึ้นบันไดไม่คล่องเหมือนเดิม
- มีเสียงในข้อ เมื่อเคลื่อนไหวผู้ป่วยจะรู้สึกมีเสียงในข้อและปวดเข่า
- อาการบวม ถ้าข้อมีการอักเสบก็จะเกิดข้อบวม
- ข้อเข่าโก่งงอ อาจจะโก่งด้านนอกหรือโก่งด้านใน ทำให้ขาสั้นลงเดินลำบากและมีอาการปวดเวลาเดิน
- ข้อเข่ายึดติด ผู้ป่วยจะไม่สามารถเหยียดหรืองอขาได้สุดเหมือนเดิมเนื่องจากมีการยึดติดภายในข้อ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดข้อเสื่อม
- อายุ อายุมากมีโอกาสเป็นมากเนื่องจากอายุการใช้งานมาก
- เพศหญิงจะเป็นโรคเข่าเสื่อมมากกว่าผู้ชาย 2 เท่า
- น้ำหนัก ยิ่งน้ำหนักตัวมากข้อเข่าจะเสื่อมเร็ว
- การใช้ข้อเข่า ผู้ที่นั่งยองๆ นั่งขัดขัดสมาธิ หรือนั่งพับเพียบนานๆจะพบข้อเข่าเสื่อมเร็ว
- การได้รับบาดเจ็บบริเวณข้อเข่า ผู้ที่ได้รับอุบัติเหตุที่ข้อเข่าไม่ว่าจะกระดูกข้อเข่าแตกหรือเอ็นฉีก จะเกิดข้อเข่าเสื่อได้
- ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและกระดูก ผู้ที่ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและได้รับแคลเซียมในปริมาณที่พอเพียงจะชะลอการเสื่อมของเข่า

แพทย์จะวินิจฉัยข้อเข่าเสื่อมได้อย่างไร
หากท่านมีอาการปวดเข่าเรื้อรังเมื่อไปพบแพทย์หากสงสัยว่าเป็นโรคข้อเข่าเสื่อมแพทย์ก็จะมีขั้น ตอนการวินิจฉัยดังนี้
1) ซักประวัติและตรวจร่างกายโดยเน้นทีการตรวจข้อเข่าซึ่งอาจจะพบลักษณะที่สำคัญคือ ข้อบวม หรือขนาดข้อใหญ่และมีการงอของข้อเข่า
2) การถ่ายภาพรังสี ก็จะพบว่าช่องว่างระหว่างกระดูกเข่าแคบลงซึ่งหมายถึงกระดูกอ่อนมีการสึกหรอ หากสึกมากก็ไม่พบช่องว่างดังกล่าว
3) การเจาะเลือด การเจาะเลือดเพื่อวินิจฉัยแยกโรคที่อาจจะเป็นสาเหตุของโรคปวดเข่าเรื้อรังเช่น โรคเกาต์ หรือโรครูมาตอยด์
4) การตรวจน้ำหล่อเลี้ยงเข่า ในกรณีที่เข่าบวมแพทย์จะเยาะเอาน้ำหล่อเลี้ยงเข่าออกมาตรวจด้วยกล้องจุลทัศน์
5) การตรวจความหนาแน่นของกระดูก เป็นการตรวจหาโรคกระดูกพรุน

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม
โรค ข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคของผู้สูงอายุ หากเป็นแล้วจะไม่สามารถรักษาให้เหมือนเดิม ดังนั้นการรักษาข้อเข่าเสื่อมจึงมีจุดประสงค์เพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวด ป้องกันข้อติด ป้องกันข้อโกงงอ เป็นต้น การรักษาแบ่งออกได้เป็น 3 วิธี
การรักษาทั่วไป
การรักษาโดยการใช้ยา
การรักษาโดยการผ่าตัด

การรักษาทั่วไป
- ปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงต่อการเกิดข้อเข่าเสื่อมเช่น การยกของหนัก การนั่งพับเพียบ นั่งยองๆ การนั่งสมาธิเป็นเวลานานๆ การใช้ส้วมชนิดนั่งยองๆ การนอนกับพื้นเป็นประจำเพราะขณะลุกขึ้นหรือลงนอนจะเกิดอันตรายกับเข่า หลีกเลี่ยงการขึ้นบันไดบ่อยๆ ควรจะนั่งบนเก้าอี้ไม่ควรนั่งบนพื้น
- การลดน้ำหนักซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่จะลดอาการปวดและช่วยชะลอข้อเข่าเสื่อมได้
- การออกกำลังกายและการบริหารกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะการบริหารกล้ามเนื้อต้นขาจะทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงจะช่วยลดแรงที่ กระทำต่อเข่า วิธีการบริหารสามารถทำได้โดยการยืน มือเกาะกับเก้าอี้ ย่อตัวให้เข่างอเล็กน้อย นับ 3-6 แล้วยืนตรงทำช้ำ 3-6 ครั้ง หรืออาจจะทำได้โดยนั่งบนเก้าอี้เหยียดขาเกร็งไว้ 10 วินาที่แล้วจึงงอเข่า ทำซ้ำหลายครั้ง นอกจากนั้นการเดินเร็วหรือการไหว้น้ำจะช่วยกระตุ้นให้กระดูกแข็งแรง
- เวลาเดินหรือวิ่งให้ใส่รองเท้าสำหรับเดินหรือวิ่งซึ่งจะมีพื้นกันกระแทก
- ให้ใช้เข่าเหมือนปกติ หากมีอาการปวดให้พักเข่า
- ใช้ไม้เท้าค้ำเวลาจะลูกขึ้น อย่าหยุดใช้งาน
- เวลาขึ้นบันไดให้ก้าวข้างดีขึ้นก่อน เวลาลงให้ก้าวข้างปวดลงก่อน มือจับราวบันได
- ประคบอุ่นเวลาปวดเข่า
- การทำกายภาพบำบัด แพทย์จะแนะนำวิธีการบริหารกล้ามเนื้อและข้อเข่าเพื่อลดอาการปวด ป้องกันข้อติด ป้องกันข้อผิดรูปรวมทั้งทำให้กล้ามเนื้อและกระดูกแข็งแรง ที่สำคัญต้องปฏิบัติเป็นประจำจึงจะได้ผลดี
 
การบริหารกล้ามเนื้อ
การพักกล้าม เนื้อเป็นวิธีที่ดีสำหรับการรักษาข้อเข่าเสื่อม แต่ต้องมีการออกกำลังหรือบริหารข้อเข่าอย่างเหมาะสม การออกกำลังจะช่วยให้กล้ามเนื้อแข็งแรง ป้องกันข้อติด การเคลื่อนไหวของข้อดีขึ้น การบริหารมีให้เลือกหลายท่า การบริหารที่สามารถทำได้บ่อยๆวิธีง่ายๆสามารถทำได้ด้วยตัวเอง
1.   นั่งบนเก้าอี้ให้นั่งห้อยเท้าไว้ ผูกน้ำหนักที่ข้อเท้าประมาณ 2-5 กิโลกรัมไว้ที่ขาทั้งสองข้าง ให้ทำวันละ 1-3 ครั้งครั้งละ 5-15 นาที

2.   นั่งบนเก้าอี้ พักเท้าข้างหนึ่งไว้บนพื้น เท้าอีกข้างหนึ่งวางบนเก้าอี้ ให้กดเท้าทีวางอยู่บนเก้าอี้ลงหาพื้นนาน 5-10 วินาที่แล้วพัก 1 นาที ทำซ้ำข้างละ10 ครั้ง ให้ทำวันละ 3 เวลา
3.    
4.   ให้นั่งบนเก้าอี้ หลังพิงพนัก ยกเท้าขึ้นมาและเกร็งกล้ามเนื้อต้นขาโดยการกระดกข้อเท้าให้นับถึง5- 10วินาที ทำข้างละ 10 ครั้ง ทำวันละ 3 เวลา ถ้าหากแข็งแรงขึ้นอาจจะถ่วงน้ำหนักที่ปลายเท้า
5.   ให้นอนหงาย ยกเท้าข้างหนึ่งงอตั้งไว้ อีกข้างหนึ่งยกสูงขึ้นจากพื้นเกร็ง 1 ฟุต นับ 1-10  สลับข้างทำ ให้ทำซ้ำหลายๆครั้ง หรืออาจะเคลื่อนเท้าเป็นรูปตัวที ให้ทำวันละ 3 เวลา
5.   นอน หงาย หรือนั่งหาหมอนรองบริเวณข้อเท้าข้างหนึ่ง กดเข่าของเท้าที่มีหมอนหนุนให้ติดพื้นให้นับ นาน 5-10 วินาทีพัก1 นาทีทำข้างละ 10 ครั้ง วันละ 3 เวลา ทำสลับข้างทำบ่อยๆ
6.   นั่งบนเก้าอี้ นำผ้าวางไว้ใต้เท้าข้างหนึ่ง แล้วดึงขึ้นมาให้สูงจากพื้น 4-5 นิ้วดึงไว้ 5-10 วินาที พักหนึ่งนาที่ ทำซ้ำข้างละ 10 ครั้ง ทำวันละ 3 ครั้ง
7.   ให้ยืนหลังพิงกำแพง ให้เคลื่อนตัวลงจนเข่างอ 30 องศา แล้วให้ยืนขึ้นทำ 5-10ครั้ง วันละ 3 เวลา
 
การรักษาโดยการใช้ยา
หากการรักษาทั่วไปไม่สามารถลดอาการปวดจำเป็นต้องใช้ยาในการรักษา ซึ่งมียาหลายชนิดให้เลือกดังนี้
1.   ยาแก้ปวด เป็นยาลดอาการปวดแต่ไม่ได้แก้อาการอักเสบ พอหมดฤทธิ์ยาก็ปวดอีก เช่นยา paracetamol
2.   ยาแก้อักเสบ steroid เมื่อ สมัยก่อนนิยมใช้กันมากทั้งชนิดรับประทานและชนิดฉีดเข้าข้อ แต่ปัจจุบันความนิยมลดลงเนื่องจากผลข้างเคียง โดยเฉพาะยาที่ฉีดเข้าข้อจะทำให้ข้อเข่าเสื่อมเร็วขึ้น
3.   ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่ steroid ยากลุ่มนี้นิยมใช้กันมากขึ้น แต่ต้องระวังการเกิดโรคแทรกซ้อน
4.   ยาบำรุงกระดุกอ่อน ได้ผลช้าและใช้ค่าใช้จ่ายสูงจึงไม่เป็นที่นิยม
5.   การใช้น้ำหล่อเลี้ยงข้อชนิดเทียม เนื่องจากโรคข้อเสื่อมจะมีน้ำหล่อเลี้ยงข้อน้อยทำให้มีการเสียดสีของข้อ จึงได้มีการฉีดน้ำหล่อเลี้ยงข้อเทียมเข้าไปในเข่า 3-5 ครั้งแต่ละครั้งห่างกัน 1 สัปดาห์ซึ่งจะทำให้ลดการเสียดสีของข้อ ลดอาการปวด แต่การฉีดนี้ใช้ได้เฉพาะข้อที่เสื่อมไม่มาก
การผ่าตัด
ปัจจุบันได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากได้ผลดีและโรคแทรกซ้อนไม่มาก วิธีการผ่าตัดมีได้หลายวิธี

ดังนี้
1.   การผ่าตัดโดยการส่องกล้อง (arthroscope) เหมาะสำหรับข้อที่เสื่อมไม่มาก แพทย์จะเข้าไปเอาสิ่งสกปรกที่เกิดจากการสึกออกมา
2.   การผ่าตัดแก้ความโกงงอของเข่า วิธีนี้ต้องตัดกระดูกบางส่วนออกทำให้ใช้เวลานานกว่าจะใช้งานได้ ปัจจุบันนิยมลดลง
3.   การผ่าตัดใส่ข้อเข่าเทียม คือการใส่ข้อเข่าเทียมเข้าแทนข้อที่เสื่อม ซึ่งผลการผ่าตัดทำให้หายปวด ผู้ป่วยใช้ชีวิตได้ดีขึ้น
 
 
 
 

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 8336 วันที่ 18 ต.ค. 2552

หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244

https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6


โรคข้อเข่าเสื่อมอันตรายสำหรับคนไทย

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

คาถา....รักษาโรคกรรม

คาถา....รักษาโรคกรรม


เปิดอ่าน 7,159 ครั้ง
ผลงานทางวิชาการ

ผลงานทางวิชาการ


เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง
โอ๊ย!!...เหลือแต่หะ..หะ...หัว...

โอ๊ย!!...เหลือแต่หะ..หะ...หัว...


เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง
นิยามของ  นักเรียน

นิยามของ นักเรียน


เปิดอ่าน 7,167 ครั้ง
รูปทรงเรขา

รูปทรงเรขา


เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง
แห่งการเปลี่ยนแปลง

แห่งการเปลี่ยนแปลง


เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง
ความเป็นมาของ..วันครู...

ความเป็นมาของ..วันครู...


เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง
ฟ.ฟันของผม

ฟ.ฟันของผม


เปิดอ่าน 7,431 ครั้ง
สาระน่ารู้

สาระน่ารู้


เปิดอ่าน 7,184 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เธอขี้เหงา..เขาขี้เอาใจ....(เรื่องมันเลยเกิด..เลยเถิดไปถึง..ไหนๆ)

เธอขี้เหงา..เขาขี้เอาใจ....(เรื่องมันเลยเกิด..เลยเถิดไปถึง..ไหนๆ)

เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
6 ตำรับอายุวัฒนะ....จากทั่วโลก
6 ตำรับอายุวัฒนะ....จากทั่วโลก
เปิดอ่าน 7,157 ☕ คลิกอ่านเลย

เคล็ดลับผิวขาวอมชมพู ....โยเกิร์ตสครับสูตรน้ำผึ้ง
เคล็ดลับผิวขาวอมชมพู ....โยเกิร์ตสครับสูตรน้ำผึ้ง
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย

ถ้ารู้จริง สิ่งเดียว ก็ง่ายดาย
ถ้ารู้จริง สิ่งเดียว ก็ง่ายดาย
เปิดอ่าน 7,165 ☕ คลิกอ่านเลย

กินอาหารย่าง...อย่างไรให้ปลอดมะเร็ง
กินอาหารย่าง...อย่างไรให้ปลอดมะเร็ง
เปิดอ่าน 7,168 ☕ คลิกอ่านเลย

วาทะความรัก...จากดังตฤณ รู้จักรัก...
วาทะความรัก...จากดังตฤณ รู้จักรัก...
เปิดอ่าน 7,177 ☕ คลิกอ่านเลย

   เยือนขุนเขาแห่งทะเลดอกไม้สีทอง : บัวตอง ดอกบัวตอง ทุ่งดอกบัวตอง ดอกไม้
เยือนขุนเขาแห่งทะเลดอกไม้สีทอง : บัวตอง ดอกบัวตอง ทุ่งดอกบัวตอง ดอกไม้
เปิดอ่าน 7,161 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ยิมนาสติก
ยิมนาสติก
เปิดอ่าน 38,496 ครั้ง

เซอร์บาเดน เพาเวล
เซอร์บาเดน เพาเวล
เปิดอ่าน 14,188 ครั้ง

คู่มือและแนวปฏิบัติสำหรับการจัดการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย
คู่มือและแนวปฏิบัติสำหรับการจัดการศึกษาแก่บุคคลที่ไม่มีหลักฐานทะเบียนราษฎรหรือไม่มีสัญชาติไทย
เปิดอ่าน 19,971 ครั้ง

ถอดรหัส “วิทยาการคำนวณ” วิชาแห่งโลกอนาคตที่ครูวันนี้ก็ไม่เคยได้เรียน!
ถอดรหัส “วิทยาการคำนวณ” วิชาแห่งโลกอนาคตที่ครูวันนี้ก็ไม่เคยได้เรียน!
เปิดอ่าน 12,647 ครั้ง

ไม่อยากเป็นผู้หญิง กลิ่นตัวแรง
ไม่อยากเป็นผู้หญิง กลิ่นตัวแรง
เปิดอ่าน 10,889 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ