World Food Day 2009 theme: "Achieving food security in times of crisis"
World Food Day, 16 October 2009"
-
-
ในปี ค.ศ. ๑๙๔๒ ได้มีการประชุมผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งเคยมีบทบาททางด้านโภชนาการขององค์การสันนิบาตชาติอีกครั้ง ที่กรุงวอชิงตัน แต่ยังไม่มีการตกลงจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศทางด้านอาหารขึ้น
-
ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๔๓ ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการชั่วคราวขึ้น เพื่อยกร่างธรรมนูญขององค์การอาหารและเกษตร และในวันที่ ๑๖ ตุลาคม ค.ศ. ๑๙๔๕ ได้มีการจัดตั้งองค์การอาหารและเกษตรขึ้นอย่าง เป็นทางการ โดยมีสำนักงานใหญ่ชั่วคราวอยู่ที่เมืองควีเบก (Quebec) ประเทศแคนาดา ต่อมาในปี ค.ศ. ๑๙๕๑ จึงได้ย้ายสำนักงานใหญ่ไปอยู่ ณ กรุงโรม ประเทศอิตาลี ปัจจุบันองค์การอาหารและการเกษตรมีประเทศสมาชิก ๑๕๘ ประเทศ
-
บทบาทและหน้าที่ขององค์การอาหารและเกษตร
-
๑. บทบาททางด้านอาหาร โดยการจัดหาอาหารให้แก่ประเทศทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาในรุปของกรพัฒนาทางเศรษฐกิจควบคู่กันไป
๒. บทบาททางด้านการเกษตร โดยการนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร
๓. บทบาททางด้านการประมง โดยการเก็บรวบรวมและแจกจ่ายข้อมูลทางด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมง ช่วยปรับปรุงวิธีการและเครื่องมือประมงใหม่สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้น
๔. บทบาททางด้านป่าไม้โดยการส่งเสริมการสงวนป่าไม้ การพัฒนาพื้นที่ป่าไม้ และเทคโนโลยีทางด้านวนศาสตร์ เป็นต้น
จากบทบาทดังกล่าวขององค์การอาหารและเกษตร ทำให้ประเทศสมาชิกทั่วโลกได้พร้อมใจกันกำหนดให้วันที่ ๑๖ ตุลาคม ของทุกกปี อันเป็นวันคล้ายวันก่อตั้งองค์การอาหารและเกษตรเป็นวันอาหารโลก และ ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมต่างๆ ขึ้น เช่น การอภิปราย การจัดนิทรรศการ และกิจกรรมอื่นๆ ภายใต้หัวข้อที่กำหนดขึ้นเหมือนกันทั่วโลก
ในการจัดกิจกรรมต่างๆ ในวันอาหารโลก มีวัตุประสงค์ดังต่อไปนี้
๑. เพื่อเป็นการเร่งเร้าให้ประเทศต่างๆ มีจิตสำนึกเรื่องอาหารและการพัฒนา
๒. เพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์ระดับชาติและนานาชาติในการต่อสู้กับความอดอยากหิวโหย ทุพโภชนาการและความยากจนซึ่งเป็นปัญหาของโลก
สำหรับประเทศไทยได้สมัครเข้าเป็นสมาชิกขององค์การฯ เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๔๙๐ และเป็นสมาชิกลำดับที่ ๔๕ นับตั้งแต่ได้เข้าเป็นสมาชิกแล้ว ประเทศไทยได้รับความช่วยเหลือทางด้านการเร่งฟื้นฟูการเกษตรของประเทศ ในระยะแรกมีโครงการที่ประสบความสำเร็จมาก คือ โครงการประมงน้ำจืดซึ่งทางองค์การฯ ได้ส่งนักวิชาการด้านประมงมาให้คำแนะนำแก่ชาวประมงไทยในการเลี้ยงปลาหมอเทศ และ การเพาะพันธุ์ปลาสวาย
นอกจากนี้ประเทศไทยยังได้รับความช่วยเหลือจากองค์การฯ ทางด้านการชลประทาน สหกรณ์ เศรษฐกิจการเกษตร ด้านสุขภาพอนามัยและโภชนาการตลอดจนสนับสนุนทุนการศึกษา ดูงานและฝึกอบรบอีกด้วย
บรรณนานุกรม
วรนุช อุษณกร. ประวัติวันสำคัญที่ควรรู้จัก. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, ๒๕๔๓.
ภาพประกอบ