ภัยรอบตัว! สารก่อมะเร็ง ทูตมรณะประจำวัน
เป็นอีกเรื่องน่าห่วงสำหรับคนไทยอันเกี่ยวเนื่องกับ มะเร็ง เมื่อในงานสัมมนาวิชาการซึ่งจัดขึ้นโดยศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่ 20 มี.ค.ที่ผ่านมา มีการเปิดเผยผลวิจัยช่วงปี 2549-2551 สรุปได้ว่า... หลังรัฐบาลส่งเสริมให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ ส่งผลให้ สารพิษกลุ่มคาร์บอนิล ซึ่งเป็น สารก่อมะเร็ง ในกลุ่มสารอินทรีย์ระเหยง่าย มีแนวโน้มสูงขึ้น อันเนื่องจาก กระบวนการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ อีกแล้ว...กับ สารก่อมะเร็ง ในสิ่งที่ไม่ได้คาดคิด
ก่อนหน้านี้ก็น่าตกใจ...กับ “ควันธูป” ก่อมะเร็ง !! ทั้งนี้ กับกรณี น้ำมันแก๊สโซฮอล์ นั้น ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็คงมีการชี้แจงหรือมีมาตรการควบคุมดูแลกันต่อไป อย่างไรก็ดี เมื่อเกิดกระแสทำนองนี้ขึ้นบ่อย ๆ ก็น่าจะเป็นช่วงเวลาที่คนไทย ที่เรา ๆ ท่าน ๆ น่าจะได้รับรู้-ทบทวนเรื่อง ภัยโรคมะเร็ง ที่แต่ละปีคร่าชีวิตคนไทยไป มากมาย อีกสักครั้ง... โดยเฉพาะกับประเด็น สารก่อมะเร็ง เริ่มที่ทบทวนว่า มะเร็งคืออะไร ? จากข้อมูลในเว็บไซต์ของ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ “มะเร็งคือกลุ่มของโรคที่เกิดเนื่องจากเซลล์ของร่างกายมีความผิดปกติที่ดี เอ็นเอหรือสารพันธุกรรม” ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโต มีการแบ่งตัวเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์อย่างรวดเร็วและมากกว่า ปกติ จึงอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติ และในที่สุดก็จะทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อนั้น เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง ถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดก็จะเรียกชื่อมะเร็งตามอวัยวะนั้น โดยปัจจุบันมะเร็งที่พบมีมากกว่า 100 ชนิด ต่อเนื่องด้วยประเด็นที่จะโยงสู่เรื่องสารก่อมะเร็ง คือประเด็น
อะไรคือสาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็ง ? ว่ากันถึงสาเหตุ ประเด็นนี้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทสำคัญ คือ... 1.เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย ซึ่งปัจจุบันเชื่อว่ามะเร็งส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุ ได้แก่... สารก่อมะเร็ง ที่อาจปนเปื้อนในอาหารและเครื่องดื่ม, รังสีเอกซเรย์ อัลตราไวโอเลตจากแสงแดด, เชื้อไวรัส ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสฮิวแมนแพบพิล โลมา, พยาธิใบไม้ในตับ, สูบบุหรี่ ดื่มสุรา และ 2.เกิดจากความผิดปกติภายในร่างกาย ซึ่งเป็นส่วนน้อย และว่ากันถึงปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็ง ที่สำคัญหลัก ๆ ก็มี 2 ข้อ คือ...
1.ปัจจัยจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย เช่น สารก่อมะเร็ง ที่ปนเปื้อนในอาหาร อากาศ เครื่องดื่ม หรือแม้แต่ยารักษาโรค รวมทั้งการได้รับรังสี เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย พยาธิบางชนิด และ
2.ปัจจัยภายในร่างกาย เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรม ความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกัน และภาวะทุพโภชนา เป็นต้น ดูจากข้อมูลที่ว่ามาจะเห็นว่า... เกิดจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกายเป็นสาเหตุและปัจจัยหลัก และ สารก่อมะเร็ง ก็ถูกระบุถึงเป็นลำดับแรกของสาเหตุและปัจจัยหลักในการเกิด มะเร็ง ดังนั้น เรา ๆ ท่าน ๆ อย่าประมาท “สารก่อมะเร็ง” สารก่อมะเร็งคืออะไร ? ข้อมูลจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ระบุว่า... สารก่อมะเร็งหมายถึงสารวัตถุ นิวไคลด์กัมมันตรังสี หรือการแผ่รังสีใด ๆ ที่เป็นตัวกระตุ้นที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงเสถียรภาพของจีโนม หรือการรบกวนกระบวนการสร้างและสลายในระดับเซลล์ ขณะที่ข้อมูลในเว็บไซต์ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโน โลยีแห่งประเทศไทย โดย ทวีศักดิ์ สุนทรธนศาสตร์ ระบุไว้สรุปได้ว่า...
สารก่อมะเร็งหมายถึงกลุ่มสารที่ชักนำหรือมีโอกาสเหนี่ยวนำให้เกิดมะเร็งใน มนุษย์ได้ สารก่อมะเร็งที่พบมีหลายชนิด เช่น อะฟลาทอกซิน ไดออกซิน แอสเบสตอส ฯลฯ รวมทั้งแสงแดด สารก่อมะเร็งเหล่านี้ บางชนิดเมื่ออยู่ในสภาวะหนึ่งจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ แต่อาจจะเปลี่ยนเป็นสารก่อมะเร็งได้หากมีตัวเร่งปฏิกิริยา หรือเมื่อเข้าสู่ร่างกายผ่านกระบวนการทางชีวภาพในร่างกายมนุษย์ หรือสัตว์ หรือพืช ตัวอย่างเช่น สารไนเตรต เมื่อบริโภคเข้าสู่ร่างกายจะถูกเปลี่ยนแปลงเป็นสารก่อมะเร็งไนโตรซามีนได้ อันเนื่องจากกระบวนการย่อยอาหารในกระเพาะอาหารของมนุษย์ เป็นต้น สารบางชนิดอาจจะเป็นตัวช่วยเสริมฤทธิ์สารก่อมะเร็ง กระตุ้นให้ก้อนเนื้อร้ายที่เกิดเพราะสารก่อมะเร็งเติบโตขึ้น นอกจากนี้ สารก่อมะเร็งบางชนิดจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง และทำให้เกิดมะเร็งในรุ่นลูกหลาน ทั้งนี้ นอกจากพฤติกรรมเสี่ยงอย่างสูบบุหรี่ ดื่มสุรา กับสารที่พิสูจน์ชัดแล้วว่าก่อมะเร็ง และรวมถึงสารที่มีแนวโน้มจะก่อมะเร็งนั้น “มันมีอยู่รอบตัว” เป็น “ทูตมรณะในชีวิตประจำวัน” ซึ่งก็มีชื่อต่าง ๆ มากมาย แต่โดยสรุปกับ ยากำจัดศัตรูพืช, ยาฆ่าแมลง, อาหารขึ้นรา, อาหารไหม้เกรียม, ยากำจัดเชื้อรา, วัสดุก่อสร้าง, สารอุดรอยรั่ว-สารกันน้ำ, ตัวทำละลาย, น้ำยารักษาเนื้อไม้, น้ำยาล้างสีทาบ้าน, น้ำยาขจัดรอยเปื้อน, น้ำมันที่มีสารตะกั่ว, ฮอร์โมนสังเคราะห์ เป็นต้น ซึ่งในส่วนที่เลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็ต้องใช้อย่างถูกวิธี-อย่างระมัดระวังให้มากที่สุด ด้านหนึ่ง...ภาครัฐก็ต้องดูแลเข้มงวดกับสิ่งที่มี สารก่อมะเร็ง ในอีกด้าน...ประชาชนเองก็ต้องรู้ให้เท่าทันภัย สารก่อมะเร็ง แม้เรารับสารไม่มาก...แต่ก็อาจทำให้ลูกหลานเป็นมะเร็ง !!!.
แหล่งที่พบสาร ที่ไม่ควรประมาท ก็เช่น...