บทสรุป
การพัฒนาที่ยั่งยืน
ผู้แต่ง พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ผู้สรุป นางสาวสมปอง จันทคง
11 ต.ค. 2552
-------------------------------
ในหนังสือได้กล่าวถึงในช่วงแรก ๆ ว่า ทางตันของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยได้นำเสนอเกี่ยวกับการพัฒนาของโลกว่าส่วนใหญ่ที่ผ่านมาโลกของเราพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจให้เจริญรุ่งเรืองเพียงด้านเดียว โดยลืมนึกไปว่า ในขณะเดียวกันได้ทำลายโลกไปด้วยอีกทางหนึ่ง จึงเป็นการพัฒนาที่ไม่ยั่งยืน รวมทั้งในเมืองไทยของเราก็ได้นำแนวทางการพัฒนามาจากประเทศที่เจริญแล้วเช่นกัน แต่ก็เป็นการพัฒนาที่ทำให้ชีวิตและสังคมมีปัญหาหมักหมมมากมาย ประเทศมีความเจริญด้านวัตถุมากขึ้นแต่ขาดการพัฒนาด้านจิตใจ แสดงให้เห็นความเสื่อมโทรมทางศีลธรรมพร้อมทั้งทางสังคมและวัฒนธรรม จึงส่งผลให้สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลงไปด้วย โดยสรุปปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมมี 2 ประการ คือ ของดีที่มีอยู่ในโลกถูกผลาญสิ้น หรือปัญหาทรัพยากรร่อยหรอ และปัญหาระบายสิ่งที่เสียให้แก่โลก ประชากรยิ่งมากปัญหาก็ยิ่งรุนแรงหนักขึ้นเป็นเงาตามตัว เมื่อสภาพแวดล้อมเป็นปัญหาก็ทำให้การพัฒนาถึงทางตัน
นอกจากนี้ยังนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้จัดการกับสิ่งแวดล้อม เทคโนโลยีก็เป็นตัวก่อปัญหา ในแง่ทำลายของดี ผลาญทรัพยากรที่มีอยู่หมดไปอย่างรวดเร็วและสร้างของเสียให้เกิดขึ้น เช่น โรงงานอุสาหกรรม และรถยนต์ที่ปล่อยควันพิษไอเสีย ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ และการสูญเสียอิสรภาพ เช่นทำให้ไม่สามารถอยู่ดีมีสุขได้เองโดยลำพังเพราะชีวิตนี้ต้องอาศัยเทคโนโลยี
ทำอย่างไรจึงจะเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้กล่าวว่า กระแสในการพัฒนาแบบใหม่ มีสองกระแสคือ เอาคนนำกับเอาธรรมชาติเป็นเป้าหมาย ประสานหรือต่างคนต่างทำ จุดเริ่มต้นที่ทำให้มีการพัฒนาแบบใหม่ โดยสหประชาชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา (World on Commission on Environment and Development) และเกิดคำว่า Sustainable Development ขึ้นและเข้าสู่ประเทศไทย ซึ่งกำหนดความหมายว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน
กระแสการพัฒนาที่ผ่านมาทำให้องค์การยูเนสโก เห็นว่าเป็นการพัฒนาที่ผิดพลาด เพราะเป็นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจเป็นสำคัญ แต่ขาดการพัฒนาด้านวัฒนธรรม ดังนั้นยูเนสโกจึงเสนอให้มีการพัฒนาเชิงวัฒนธรรม ถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่า แนวทางในการพัฒนาที่ยั่งยืน มี 2 กระแส คือ หนึ่ง มาจากคณะกรรมาธิการโลกว่าด้วยสภาพแวดล้อมและการพัฒนา มุ่งพัฒนาและให้ความสำคัญแก่สิ่งแวดล้อม ปัญหาทรัพยากรร่อยหรอ และเกิดมลภาวะ เนื่องมาจากการเพิ่มจำนวนประชากร สองมาจากทางยูเนสโก (UNESCO) ที่ให้ความสำคัญแก่วัฒนธรรม เพราะเห็นว่าที่ผ่านมาพัฒนาแต่ทางด้านวัตถุ เน้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ใช้ตัวเลขเป็นเครื่องวัด เอาวิทยาศาสตร์และ
2
เทคโนโลยีเป็นพระเอก แต่จากนี้ไปจะนำเอาการพัฒนาคุณค่าของมนุษย์และวัฒนธรรม ถือเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนา โดยเชื่อมโยงกับการพัฒนาสิ่งแวดล้อมควบคู่กันไป
แต่การพัฒนาทั้งสองกระแสก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร ซึ่งพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้เสนอข้อพิจารณาหลายอย่าง เช่น
1. การพัฒนาทั้งสองกระแสบอกแจ้งเหตุปัจจัยต่าง ๆ ได้ถูกต้องและครบถ้วนหรือเพียงพอหรือไม่
2. การแก้ปัญหาโดยเน้นมิติทางด้านวัฒนธรรม ที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร ต้องเข้าใจระบบจริยธรรมให้ถูกต้องจึงจะแก้ไขได้สำเร็จ
3. ข้อเสนอในการแก้ปัญหาอย่างกว้าง ๆ เมื่อนำไปใช้ในแต่ละสังคม แต่ละประเทศ จะต้องปรับให้เข้ากับสังคม ประเทศนั้น ๆ เพราะมีเหตุปัจจัยที่แตกต่างกัน
อย่างไรที่เรียกว่าการพัฒนาที่ยั่งยืน พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) กล่าวว่า การพัฒนาที่ยั่งยืน คือ การพัฒนาที่สนองความต้องการของปัจจุบัน โดยไม่ทำให้ประชาชนรุ่นต่อไปในอนาคตต้องประนีประนอมยอมลดความสามารถของเขาในการที่จะสนองความต้องการของเขาเอง หรือการพัฒนาที่ยั่งยืนคือ นโยบายที่สนองความต้องการของประชาชนในปัจจุบัน โดยไม่ต้องทำลายทรัพยากรซึ่งจะเป็นที่ต้องการในอนาคต
การพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืน สังคมที่ยั่งยืน คือ สังคมที่สนองความต้องการของตนได้โดยไม่ทำให้สัตว์จำพวกอื่นและประชาชนรุ่นต่อ ๆ ไป ในอนาคตต้องประนีประนอมยอมลดความต้องการของเขา
นั่นหมายความว่า การทำกิจกรรมของมนุษย์ต้องสอดคล้องกับกฎเกณฑ์ของธรรมชาติ ต้องบูรณาการทั้งเศรษฐกิจและธรรมชาติแวดล้อมเข้าด้วยกัน เพื่อจะพิทักษ์รักษาทรัพยากรธรรมชาติ และกำจัดความยากจนออกไป ดังนั้น การพัฒนาที่ยั่งยืน มีแนวทางสรุปได้ดังนี้
1. ต้องวางนโยบายประชากรให้ดี เช่น ควบคุมจำนวนประชากร ด้วยการวางแผนครอบครัว ในการแก้ปัญหาประชากรที่สำคัญอย่างหนึ่งคือการแก้ปัญหาทางการศึกษา เพราะจะครอบคลุมไปถึงการแก้ปัญหาด้านอื่น ๆ ทั้งหมด ทั้งปัญหาความยากจน สาธารณสุข ตลอดจนการอนุรักษ์ธรรมชาติ
2. ต้องอนุรักษ์หรือสงวนทรัพยากร สิ่งแวดล้อม ใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดและอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมีหลายวิธี เช่น จัดตั้งป่าสงวน วนอุทยาน อุทยานแห่งชาติ เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่า การฟื้นฟูแหล่งธรรมชาติที่เสื่อมโทรง การรักษาดิน น้ำ อากาศ ให้ปลอดสารเคมีและมลภาวะ
3
การผลิตเทคโนโลยีกำจัดน้ำเสีย ตลอดจนการปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตไม่สุรุ่ยสุร่าย ต้องประหยัดพลังงาน
การพัฒนาที่ยั่งยืน จะสำเร็จได้ จะต้องพัฒนาคน ให้มีจริยธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้สรุปให้เห็นว่า ปัญหาในการพัฒนาที่ยั่งยืนไม่สำเร็จ เกิดจาก กิเลิส 3 อย่างที่ขัดขวางจริยธรรม คือ ตัณหา มานะ ทิฏฐิ
1. ตัณหา ความอยากได้ อยากบำรุงบำเรอตนเอง ให้มีสุข สะดวกสบาย พรั่งพร้อม ด้วยวัตถุ คืออยากได้ผลประโยชน์
2. มานะ ความต้องการยิ่งใหญ่ อยากมีอำนาจครอบงำผู้อื่น ตั้งแต่บุคคล สังคม ประเทศชาติ คือความใฝ่อำนาจ
3. ทิฏฐิ ความยึดมั่นตลอดจนคลั่งไคล้ในค่านิยมแนวคิด ลัทธิ ศาสนา อุดมการณ์ต่าง ๆ ซึ่งแก้ได้ยาก
เราจะต้องพัฒนาคน พัฒนาด้านเศรษฐกิจเป็นคู่ขนานกันไปกับการพัฒนาจริยธรรม แต่ถ้าพัฒนาแบบประนีประนอมการพัฒนาก็จะไม่ยั่งยืน
ระบบการพัฒนาที่ยั่งยืน มองจาก 4 ปัจจัย คือ
1. มนุษย์
1.1 ต้องมุ่งให้การศึกษาและจัดสรรปัจจัยเกื้อหนุนอื่นเพื่อให้ชีวิตเจริญงอกงาม เป็นมนุษย์โดยสมบูรณ์
1.2 มนุษย์เป็นทรัพยากร ซึ่งเป็นทุนหรือปัจจัยในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม พึงพัฒนาคนให้มีคุณภาพมีสุขภาพดี ขยัน อดทน รับผิดชอบ มีฝีมือ มีความรู้ความสามารถ เชี่ยวชาญ พร้อมที่จะเป็นกำลังสำคัญในระบบเศรษฐกิจและสังคมที่จัดสรรให้เกื้อหนุนและนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
2. สังคม
2.1 จัดระบบสังคม ทั้งด้านเศรษฐกิจ การเมือง การบริหาร ตลอดจนกิจการต่าง ๆ ให้ประสมกลมกลืนสอดคล้องเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันบนฐานแห่งความรู้ความเป็นจริง
2.2 จากการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง เป็นผลสำเร็จของการพัฒนาสังคม มีชีวิตที่ดีงาม มีอิสรภาพ และสันติสุขที่แท้จริง
2.3 สร้างบรรยากาศแห่งความไม่เบียดเบียน บรรยากาศแห่งความช่วยเหลือเกื้อกูล พิทักษ์ปกป้องคนที่อยู่ในสถานะต่าง ๆ ซึ่งมีโอกาส มีความสามารถต่างกัน
4
3. ธรรมชาติ
3.1 มองตัวเองให้เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ต้องมีชีวิตที่สอดคล้องกลมกลืนกับธรรมชาติ ความสามารถที่แท้จริงของมนุษย์คือการทำให้โลกน่าอยู่
3.2 คุ้มครองสังคมให้อยู่ในสันติสุข ธรรมชาติเป็นตัวหล่อเลี้ยง มนุษย์ที่เข้าสู่วิถีการพัฒนาจะได้รับคุณค่าจากธรรมชาติ
4. เทคโนโลยี
4.1 การประดิษฐ์ การผลิต การใช้เทคโนโลยี เพื่อใช้แก้ปัญหาและอนุรักษ์ธรรมชาติมีมากมาย ต้องเกื้อกูล ไม่ทำลายธรรมชาติ นำของเสียมาผลิตเวียนใช้ประโยชน์ใหม่ วางมาตรการบังคับ ควบคุม ต้องเร่งแก้ไขปรับปรุงอีกมาก
4.2 สังคมไทยบางสังคมขาดภูมิหลังในการพัฒนาเทคโนโลยี
4.3 เทคโนโลยีเป็นเครื่องขยายวิสัยแห่งอินทรีย์ของมนุษย์ ต้องพัฒนาเทคโนโลยีควบคู่ไปกับการพัฒนาตนเอง
4.4 เทคโนโลยีเป็นส่วนประดิษฐ์เสกสรรของมนุษย์ เป็นสิ่งแวดล้อมเทียม ต้องใช้อย่างไม่ประมาท
4.5 การใช้เทคโนโลยี มี 2 แบบ คือ แบบสนองตัณหา และเพื่อเกื้อหนุนให้ตนเองมีชีวิตดีงาม สมบูรณ์ มีอิสรภาพ และสันติสุข
มนุษย์จึงควรเข้าถึงความจริงของธรรมชาติ พร้อมพัฒนาความสามารถที่จะใช้ความรู้เพื่อให้โลกดีขึ้น ใช้ความรู้อย่างถูกต้อง อย่างเป็นบัณฑิตชน
_________________________
บทสรุป
การพัฒนาที่ยั่งยืน
ของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
เสนอ
รศ. ดร.พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์
โดย
นางสาวสมปอง จันทคง
นักศึกษาปริญญาเอก สาขาการบริหารการศึกษา
เลขประจำตัวนักศึกษา 5251023
มหาวิทยาลัยราชธานี
บทสรุปนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาวิชาการวิเคราะห์นโยบายการศึกษา 932 801
มหาวิทยาลัยราชธานี
ตุลาคม 2552