การวางแผน (Planning)
การวางแผน คือ กระบวนการคิดก่อนลงมือทำ เพื่อกำหนดแผนงานไว้เป็นการล่วงหน้าเพื่อผลสำเร็จที่ตรงตามเป้าหมาย
การวางแผนและกระบวนการทางการบริหารและการจัดการ
– หลัก POCCC ของ Fayol
– หลัก POSDCORB ของ Luther Gulick
– หลัก PASCE ของ สมาคมผู้บริหารโรงเรียนอเมริกัน ซึ่งประกอบด้วย
1. Planning (การวางแผน)
2. Allocating(การแบ่งปันทรัพยากร)
3. Stimulating(การกระตุ้นให้รู้เป้าหมายเดียวกัน
4. Coordinating(การประสานงาน) และ
5. Evaluating ( การประเมินผล)
– Russell T. GreggThe Administrative Process มีองค์ประกอบ 7 อย่าง ดังนี้ คือ
1. Decision-making( การตัดสินใจว่าจะทำอะไร ทิศทางใด)
2. Planning(การวางแผน)
3. Organizing(จัดโครงสร้าง)
4. Communicating(การสื่อสาร)
5. Influencing(การใช้อิทธิพล)
6. Coordinating (การประสานงาน) และ
7. Evaluating ( การประเมินผล)
– วง
จรของ Deming โดย Edward W. Deming
เมื่อวางแผนแล้วเราก็ปฏิบัติตามแผนที่วางไว้จากนั้นจึงตรวจสอบว่าได้ปฏิบัติครบถ้วนไหม ? เมื่อตรวจสอบเสร็จแล้วจึงทำการประเมินผลเพื่อทำการพัฒนาต่อไป
– หลัก PLOC หัวใจของการเปลี่ยนแปลง โดย Mukhi และคณะ มีองค์ประกอบดังนี้
1. Planning (การวางแผน)
2. Leading (การนำ)
3. Organizing ( จัดโครงสร้าง)
4. Controlling ( การควบคุม )
– หลัก L-POM พัฒนาจาก PLOC โดย McCrea & Ehrich มีองค์ประกอบดังนี้
1. Leading (การนำ)
2. Planning ( การวางแผน)
3. Organizing (จัดโครงสร้าง)
4. Monitoring( การตรวจสอบ)
เหมาะสำหรับผู้บริหารเพราะสามารถสร้างและคงความสัมพันธ์ของมนุษย์ โดยสิ่ง
สำคัญของการวางแผนคือ การนำ
ประโยชน์และความสำคัญของการวางแผน
- ลดความไม่แน่นอน
- ช่วยให้การจัดการตามหน้าที่เป็นไปโดยสะดวกและมีประสิทธิภาพ รู้หน้าที่ ใครรับผิดชอบ
- วางแผนดี สำเร็จไปครึ่งทาง
- ช่วยให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ
- คาดคะเนสิ่งที่อาจเกิดปัญหาได้
โดยสรุปแล้วการวางแผนถือเป็นเครื่องมือที่มีความสำคัญของการบริหารที่เป็นระบบและมี
ประสิทธิภาพถือว่าเป็นงานตั้งแต่เริ่มแรกและเป็นงานที่ต่อเนื่องตลอด
ลักษณะการวางแผนที่ดี
ในการวางแผนนั้นจะต้องทราบว่าจะทำอะไร กับกลุ่มเป้าหมายใด ณ ที่ใด วันเวลาไหน เหตุใด
จึงได้จัด และต้องใช้งบประมาณเท่าไร
ประเภทของการวางแผน
- การวางแผนตามหน้าที่ เช่นแผนกิจกรรมต่างๆ แผนงานด้านบุคคล ด้านวิชาการ ด้านงบประมาณ
- การวางแผนตามระดับขององค์การ เช่นแผนการจัดการของระดับผู้บริหาร
- การวางแผนตามระยะเวลา เช่น ระยะสั้น ระยะยาว
- การวางแผนตามลักษณะของแผน เช่นกลยุทธ์ ระเบียบ นโยบาย
ชนิดของการวางแผน
1. การวางแผนกลยุทธ์ (Strategic planning)
จัดทำโดยผู้บริหารระดับสูงซึ่งจะเป็นแผนระยะยาว มุ่งสนใจกำหนดวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่องค์กรต้องก้าวให้ถึงโดยอาศัยวิธีการคาดคะเนและประมาณการต่าง ๆ
2. การวางแผนโครงการ (Program or Project planning)
ทำโดยผู้บริหารระดับกลาง เป็นแผนระยะปานกลาง มุ่งเน้นการวางแผนทรัพยากรทำโดยการ
แปลความจากแผนระยะยาวออกเป็นแผนงาน/ โครงการ
3. การวางแผนดำเนินงาน (Operational planning)
ทำโดยผู้บริหารระดับต้น เป็นแผนระยะสั้น แปลความจาก แผนงาน/ โครงการ ออกเป็น
แผนปฏิบัติงานละเอียดทั้งกำหนดเวลา และงบประมาณโดยชี้ว่าใครทำอะไร ที่ไหน ใคร อย่างไร มีการวิเคราะห์โดยละเอียดเกี่ยวกับเวลาที่ใช้จริงและรายละเอียดของงาน
ขั้นตอนกระบวนการวางแผน
1. ตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับอนาคต
2. กำหนดวัตถุประสงค์
3. พัฒนากลยุทธ์
4. การสร้างเป้าหมายระยะปานกลาง
5. กำหนดแผนปฏิบัติงาน
6. ปฏิบัติตามแผน
7. กลไกข้อมูลย้อนกลับ
คุณสมบัติและหน้าที่ของนักวางแผน
- มีประสบการณ์ในองค์กรนั้นๆมากพอและเคยเป็นหัวหน้างาน
- มีความสามารถในการอุดช่องว่างในการบริหาร คลุกคลีอยู่กับองค์กร รู้และเข้าใจองค์กร
- มีความรู้ด้านอื่นๆ การเมือง เศรษฐกิจ
- มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี เข้ากับผู้อื่นได้ ประสานงานได้
นักวางแผนที่ดีเป็นอย่างไร
- กำหนดแผนงานไว้ชัดเจน
- แผนงานที่เกิดขึ้นมาจากความร่วมมือ
- มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ
- วางแผนภายในกรอบวัตถุประสงค์
- กำหนดโอกาสและทางเลือกต่างๆ ที่เหมาะสมในอนาคต และควรเป็นรูปธรรมหรือภาวะวิสัย
- คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมภายในและภายนอก
- มีวิธีปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายอย่างละเอียด
- แบ่งระยะการทำงานชัดเจน
หลักในการวางแผนพัฒนาองค์กร
- องค์กรจะดำเนินไปทิศทางใด
- ในปัจจุบันองค์กรดำเนินอยู่ในทิศทางใด
- มีปัจจัยบ้างที่จะส่งผลกระทบทำให้มีการเปลี่ยนแปลทิศทางขององค์การ
- ทิศทางที่กำลังเดินอยู่นั้นเป็นทิศทางที่เหมาะสมแล้วหรือไม่อย่างไร