ในอดีตนั้นภาษาและตัวหนังสือของคนไทยได้รับอิทธิพลมาจากมอญและขอม ซึ่งมีความเจริญมาจากชาติอื่นในสุวรรณภูมิ ต่อมาเมื่อพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ทรงประกาศอิสรภาพจากขอม จึงเลิกใชขนบประเพณีแบบขอม และเลิกใช้ภาษาขอมในทางราชการ เปลี่ยนเป็นภาษาไทยแทน แต่ยังคงเขียนด้วยภาษาขอมหวัด
ในปีพ.ศ.๑๘๒๖พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตร่วมกันประดิษฐ์อักษรไทยขึ้น เรียกว่า ลายเสือไทย
ลักษณะของลายเสือไทย
มีผู้ให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับลายเสือไทยต่างๆกัน บ้างก็ว่ามาจากอักษรปัลลวะ อักษรมอญ และอักษรขอม ซึ่งพระองค์คงจะเอาเลือกเอาลักษณะของตัวอักษรที่สะดวกแก่การเขียนมากที่สุดมาดัดแปลงเป็นอักษรไทย ดังนี้
- รูปพยัญชนะส่วนใหญ่นั้นดัดแปลงมาจากอักษรขอม บางส่วนก็มาจากปัลลวะ และมอญ
- รูปสระนั้นดัดแปลงมาจากอักษรขอม มีครบทุกเสียงในภาษาไทย
- รูปวรรณยุกต์คิดขึ้นใหม่ทั้งหมด มี ๒ รูป คือ ไม้เอก และไม้โท
- ตัวเลขนั้นดัดแปลงมาจากตัวเลขขอม
คุณลักษณะพิเศษของลายเสือไทย คือ ความสูงต่ำของตัวอักษรนั้นเสมอกันและวางรูปพยัญชนะและสระทุกตัวไว้ในบรรทัดเดียวกัน ทำให้ไม่สิ้นเปลืองเนื้อที่ รูปอักษรมีมากพอ รูปอักษรส่วนมากเป็นเส้นเดียวกันตลอด ทำให้เขียนง่าย รวดเร็ว ไม่ต้องยกปากกา
การเปลี่ยนแปลงอักษรของพ่อขุนรามคำแหง
ในรัชกาลพญาลิไท ( พ.ศ. ๑๙๐๐ ) การเขียนตัวอักษรมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมหลายประการ เช่น
- รูปสระ อิ อี อื อยู่บนพยัญชนะ อุ อู อยู่ล่าง
- รูปสระ ใ ไ โ สูงขึ้นเกินพยัญชนะ
- เริ่มใช้ไม้หันอากาศบ้าง แต่ยังไม่ใช้ทั่วไป
- ตัว ญ เขียนเช่นเดียวกับปัจจุบัน
- เพิ่มตัว ฤา ฦา
ต่อมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ( พ.ศ.๒๑๙๙ – ๒๒๓๑)ได้มีการเปลี่ยนแปลง ลักษณะอักษรและอักขระวิธี ดังนี้
- ใช้ไม้หันอากาศโดยทั่วไป
- สระเอีย ใช้เช่นเดียวกับปัจจุบัน ทั้งแบบมีตัวสะกด และไม่มีตัวสะกด
- สระอือ สระออ เมื่อไม่มีตัวสะกดใช้ อ เคียง
- สำหรับวรรณยุกต์นั้น สันนิษฐานว่ามีครบ ๔ รูป เช่นเดียวกับปัจจุบัน ดังหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือจินดามณีซึ่งแต่งในรัชกาลนี้
การเปลี่ยนแปลงในภาษาไทย
ภาษาเปลี่ยนแปลงในลักษณะของการออกเสียง คำศัพท์ รูปแบบ และลักษณะอื่นอื่นตามกาลเวลาที่เปลี่ยนไป ภาษาที่เปลี่ยนไปเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของกลุ่มคนที่ใช้ภาษาไทยสื่อและการกระจายตัวของประชากรเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงของภาษา จะเห็นได้ว่ามีคำศัพท์จากทางภาคต่างๆ ในประเทศไทยเริ่มใช้กันข้ามภาคในประเทศไทย เช่นคำศัพท์จากทางภาคกลางมีการเริ่มใช้กันมากทางภาคเหนือ และภาคใต้เนื่องจากทุกคนได้ดูรายการโทรทัศน์ ที่เสนอภาษาจากทางภาคกลาง ในขณะเดียวกันกลุ่มคนภาคกลางได้เริ่มใช้ภาษาจากทางภาคอีสานมากขึ้น เมื่อมีรายการโทรทัศน์เกี่ยวกับคนที่อาศัยในภาคอีสาน ภาษาต่างประเทศเช่นภาษาอังกฤษได้เข้ามามีบทบาทในทางศัพท์วิชาการและศัพท์ทางคอมพิวเตอร์ มากขึ้นเช่นกันกลุ่มเฉพาะเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการพัฒนาของภาษา คำศัพท์ใหม่ใหม่เกิดขึ้นมากโดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่น มีภาษาเฉพาะของกลุ่ม เมื่อภาษาเกิดมีการใช้กันใหม่ ทำให้มีคำศัพท์ใหม่นิยามขึ้นมา แต่อย่างไรก็ตามเมื่อหมดการใช้ของคำศัพท์นั้นนั้น ภาษานั้นก็จะตกรุ่นและหมดความนิยมไป ยกตัวอย่างเช่นคำว่า จ๊าบ ที่เคยมีการใช้กันในหมู่วัยรุ่น และเริ่มนิยมกันมากเมื่อสื่อนำไปใช้ในรายการโทรทัศน์ มีการถกเถียงเรื่องของภาษาวัยรุ่นที่ไม่นับว่าเป็นภาษาไทยกันมาก แต่อย่างไรก็ตามเมื่อทุกคนใช้ภาษาเดียวกันและมีการสื่อสารไปในทิศทางเดียวกัน ย่อมถือได้ว่า ภาษาที่เกิดขึ้นมาใหม่ไม่ว่าจากวัยรุ่นหรือนักวิชาการ ยังคงเป็นภาษาไทย