Advertisement
❝ การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวนการถ่ายทอดสารจากผู้ส่งสารผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน การแสดงการจัดกิจกรรม ฯลฯ ไปยังผู้รับสารอย่างมีวัตถุประสงค์ ทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการให้เหมาะสมกับบริบททางการสื่อสาร เพื่อให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล ❞
การใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร
สาระสำคัญ
ภาษาเป็นเครื่องมือที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการสื่อสารของมนุษย์ ไม่ว่าในฐานะของผู้ส่งสารหรือผู้รับสาร ดังนั้นในการสื่อสารที่สัมฤทธิ์ผล ผู้ใช้ภาษาจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ และสามารถเลือกใช้ภาษาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม รวมทั้งมีคุณธรรมและมารยาทที่ดีในการสื่อสารเป็นสำคัญ
เนื้อหา
การสื่อสาร (Communication) คือ กระบวนการถ่ายทอดสารจากผู้ส่งสารผ่านสื่อต่าง ๆ ที่อาจเป็นการพูด การเขียน การแสดงการจัดกิจกรรม ฯลฯ ไปยังผู้รับสารอย่างมีวัตถุประสงค์ ทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกันมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการให้เหมาะสมกับบริบททางการสื่อสาร เพื่อให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล
ความสำคัญของการสื่อสาร
๑) การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต ไม่มีใครที่ดำรงชีวิตได้ โดยปราศจาก การสื่อสาร โดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา พัฒนาการทางสังคมจึงดำเนินไปพร้อมๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร
๒) การสื่อสารช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุข เนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับระเบียบ ประเพณี กฎเกณฑ์ทางสังคมและความรู้ต่างๆ จำเป็นต้องรับการถ่ายทอดเพื่อให้เป็นมรดกทางสังคมตกลงใช้ร่วมกันอย่างสันติ
๓) การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯ รวมทั้งในการสื่อสารจำเป็นต้อง พัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งและต้องใช้การสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาด้านต่างๆ เช่น การใช้สื่อโสตฯ หรือสื่อ อิเล็คทรอนิกส์ในงานสาธารณสุข เป็นต้น
ภาษาในฐานะเป็นเครื่องมือสื่อสาร
๑. ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร ผู้ส่งสารใช้ภาษาถ่ายทอดเรื่องราว ความรู้ ความคิด ความรู้สึกไปยังผู้ส่งสาร ภาษาแบ่งออกได้ เป็น ๒ ชนิด คือ
๑.๑ วัจนภาษา (verbal languaye) เป็นภาษาถ้อยคำ อาจเป็นคำพูดหรือตัวอักษรก็ได้ การใช้วัจนภาษาจะต้องชัดเจนและถูกต้องทั้งการเขียน การออกเสียงคำ และการเรียงเรื่องประโยค นอกจากนี้ยังต้องใช้ภาษาให้เหมาะสมกับลักษณะของการสื่อสาร ลักษณะงาน สื่อ และผู้รับสารด้วย
๑.๒ อวัจนภาษา (non-verbal languaye) คือภาษาที่ไใม่ใช้ถ้อยคำ แต่แฝงอยู่ในถ้อยคำ ได้แก่ สีหน้า สายตา ท่าทาง น้ำเสียง วัตถุ ช่องว่าง เวลา การสัมผัส กลิ่น รส ภาพและลักษณะของอักษร เป็นต้น เราอาจใช้อวัจนภาษาเพื่อเสริม เน้นหรือแทนคำพูดก็ได้ ผู้ใช้ภาษาต้องเลือกใช้อวัจนภาษาให้เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ระดับภาษาในการสื่อสาร
การใช้ภาษาต้องคำนึงถึงระดับของภาษา ซึ่งต้องใช้ให้เหมาะสมกับโอกาส สถานการณ์และบุคคล ระดับภาษามี ๓ ระดับ คือ
๑. ระดับพิธีการ
เป็นระดับภาษาที่ใช้กับพระมหากษัตริย์ เช่น ภาษาในศาล การประชุมรัฐสภา และในพิธีการต่าง ๆ
ตัวอย่าง ข้าพระพุทธเจ้าของพระราชทานพระบรมราชวโรกาสกราบบังคมทูลอัญเชิญใต้ผ่าละอองธุลีพระบาทพระราชทาน ปริญญาบัตร
๒. ระดับทางการ
เป็นรูปแบบของภาษาที่ใช้ในโอกาสหรือเรื่องสำคัญ ได้แก่ภาษาในบทความวิชาการ เอกสารทางราชการ สุนทรพจน์ การประชุมทางการ ตัวอย่าง ประธานขอให้ที่ประชุมพิจารณาเรื่องปัญหาและแนวทางการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย
๓. ระดับกึ่งทางการ
เป็นระดับภาษาที่ใช้ปรึกษาหารือกิจธุระ การประชุมไม่เป็นทางการ บทความแสดงความคิดเห็น สารคดีกึ่งวิชาการ
วันที่ 11 ต.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,233 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,133 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 14,270 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,863 ครั้ง |
เปิดอ่าน 98,256 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,987 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,884 ครั้ง |
|
|