ทฤษฏีความต่อเนื่องของภาวะผู้นำ ( Continuum of Leadership Theory )
Robert Tannenbaum และ Warren H.Schmidt เป็นนักทฤษฏีที่ให้ความสนใจเรื่องพฤติกรรมที่เกี่ยวกับการตัดสินใจเป็นหลัก เช่น มีการมอบหมายแบ่งปันอำนาจหน้าที่กันอย่างไร มีอำนาจหน้าที่ในการตัดสินใจในกรณีใดบ้างที่ผู้นำหรือผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นคนตัดสินใจ และเขายังได้เสนอลักษณะของผู้นำตามขนาดของการใช้อำนาจหน้าที่ มีการแบ่งส่วนอำนาจการตัดสินใจเกี่ยวกับการดำเนินงานออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
1. ภาวะผู้นำที่มุ่งหัวหน้าเป็นศูนย์กลางเปรียบเทียบกับภาวะผู้นำที่มุ่งพนักงานเป็นศูนย์กลาง ทั้งสองแบบมีความเกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจโดยพิจารณาจากช่วงของพฤติกรรมภาวะผู้นำ ซึ่งลักษณะของพฤติกรรมแต่ละช่วงของผู้นำจะมีความแตกต่างกัน และภาวะผู้นำที่มุ่ง จัดให้ทั้ง 2 ส่วนมีสถานการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกัน รูปแบบนี้มีจุดมุ่งหมายให้ผู้นำวางตัวเป็นกลาง ไม่เป็นผู้รวมอำนาจหรือกระจายอำนาจเกี่ยวกับการตัดสินใจจนเกินไป ให้มีความยึดหยุ่นปรับตัวอย่างเพียงพอที่จะบริหารกิจการได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกสถานการณ์ นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว Robert Tannenbaum และ Warren H.Schmidt ยังได้กล่าวถึงลักษณะของผู้นำแบบนี้จะมีความแตกต่างกันไปตามวิธีการใช้อำนาจหน้าที่ และการเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีอิสระในการทำงาน ตามแนวคิดนี้ไม่ต้องการที่จะให้ผู้นำมีพฤติกรรมที่ใช้อำนาจมากเกินไปหรือมีการปล่อยให้มีอิสระในการทำงานมากเกินไป แต่ต้องการให้มีพฤติกรรมที่พิจารณาถึงขนาดของการควบคุมหรือเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาว่าจะมีมากน้อยเพียงใด
ดังรูปภาพข้างล่างนี้
รูปที่ 1 แสดงให้เห็นถึงแนวต่อเนื่องของพฤติกรรมผู้นำ
ด้านซ้ายมือแสดงช่วงของพฤติกรรมภาวะผู้นำที่มีหัวหน้าเป็นศูนย์กลาง ส่วนด้านขวามือแสดงช่วงพฤติกรรมภาวะผู้นำที่มีพนักงานเป็นศูนย์กลาง
ปัจจัยต่าง ๆ ที่เชื่อว่ามีอิทธิพลต่อการเลือกของความเป็นผู้นำ ผู้นำควรจะพิจารณาถึงแรงกดดันจากปัจจัย 4 อย่าง ก่อนที่จะมีการเลือกแบบของภาวะผู้นำ ได้แก่
1. แรงผลักดันในตัวผู้บริหารหรือปัจจัยที่เกี่ยวกับตัวผู้นำ เช่น ภูมิหลัง ความรู้ ค่านิยม ประสบการณ์ ความเชื่อของผู้นำ กล่าวคือ ถ้าผู้บริหารพอใจที่จะให้ผู้อื่นมีส่วนร่วม เขาก็จะให้สมาชิกของทีมมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และยอมให้สมาชิกในทีมมีเสรีภาพในการตัดสินใจอย่างมาก ภาวะผู้นำเช่นนี้จะเป็นภาวะผู้นำที่เน้นพนักงานเป็นศูนย์กลาง
ในทางตรงข้าม ถ้าผู้บริหารไม่พอใจที่จะให้สมาชิกมีส่วนร่วม โดยพอใจที่จะตัดสินใจทุกอย่างด้วยตัวเอง เขาก็จะต้องรักษาอำนาจหน้าที่ไว้กับตนให้มากที่สุดเพื่อการตัดสินใจเองในทุกเรื่อง ในกรณีนี้เป็นภาวะผู้นำที่มุ่งหัวหน้าเป็นศูนย์กลาง
2. แรงกดดันในตัวลูกน้องหรือ ปัจจัยที่เกี่ยวกับผู้ใต้บังคับบัญชา กล่าวคือ ถ้าสมาชิกในทีมต้องการมีอิสระในการทำงาน ต้องการที่จะรับผิดชอบในการตัดสินใจ มีความรู้ และสติปัญญา ประสบการณ์เพียงพอในการจัดการกับปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ มีความเต็มใจในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ผู้นำก็จะให้สมาชิกของทีมมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและยอมให้สิทธิเสรีภาพในการตัดสินใจอย่างมาก ภาวะผู้นำเช่นนี้เป็นภาวะผู้นำที่มุ่งพนักงานเป็นศูนย์กลาง
ในทางตรงข้าม ถ้าสมาชิกของทีมขาดความรู้ ขาดทักษะหรือประสบการณ์ มีความเฉื่อยชา จะทำให้ผู้นำไม่สามารถมอบอำนาจหรือไม่กล้ามอบอำนาจในการตัดสินใจให้ ภาวะผู้นำเช่นนี้เป็นภาวะผู้นำที่มุ่งที่หัวหน้าเป็นศูนย์กลาง
สามารถเข้าใจและระบุถึงเป้าหมายได้ ตลอดจนความคาดหวังในตัวผู้นำ
3. แรงกดดันในสถานการณ์หรือ ปัจจัยที่เกี่ยวกับสถานการณ์ กล่าวคือ เป็นการพิจารณาถึงสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องเป็นหลักในการเลือกรูปแบบภาวะผู้นำ กล่าวคือ สถานการณ์ที่ผู้บริหารเพียงคนเดียวมีความเพียงพอในการแก้ปัญหาได้ ผู้นำหรือผู้บริหารก็จะตัดสินใจเอง ภาวะผู้นำเช่นนี้เป็นภาวะผู้นำที่มุ่งที่หัวหน้าเป็นศูนย์กลาง แต่ในบางสถานการณ์จะต้องอาศัยสมาชิกโดยการให้อิสระในการแก้ปัญหาโดยจะต้องพิจารณาถึงความรู้ความสามารถของสมาชิกก่อน ซึ่งจะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ช่วยในการตัดสินใจแก้ปัญหาได้ดี ภาวะผู้นำแบบนี้จึงเป็นภาวะผู้นำที่เน้นคนเป็นศูนย์กลาง นอกจากนี้สถานการณ์ในการตัดสินใจยังขึ้นอยู่กับความแตกต่างในแต่ละองค์การ เช่น ค่านิยม กฎเกณฑ์ วัฒนธรรมองค์การ ดังนั้นผู้นำที่เหมาะสมกับองค์การหนึ่งอาจจะไม่เหมาะสมกับองค์การหนึ่งก็ได้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสถานการณ์ที่แตกต่างกัน เช่น บางองค์การมีค่านิยมและวัฒนธรรมขององค์การที่เข้มแข็ง พนักงานสามารถสร้างทีมงานได้ ทำให้เกิดภาวะผู้นำที่มุ่งพนักงานเป็นศูนย์กลาง แต่ในบางองค์การมีค่านิยมและวัฒนธรรมขององค์การที่ไม่เกิดให้เกิดการสร้างทีม ผู้นำจำเป็นต้องรวมอำนาจไว้ที่ตนเอง ก็จะทำให้เป็นภาวะผู้นำที่มุ่งหัวหน้าเป็นศูนย์กลาง
4. แรงกดดันด้านเวลา พิจารณาเวลาเป็นหลักในการเลือกรูปแบบภาวะผู้นำ กล่าวคือ ถ้าผู้นำต้องการให้การตัดสินใจเร็วยิ่งขึ้นเท่าใดก็ต้องตัดสินใจเอง กล่าวคือ เป็นภาวะผู้นำที่มุ่งหัวหน้าเป็นศูนย์กลางซึ่งจะมีความสะดวก รวดเร็วมาก เพราะถ้าหากต้องการการมีส่วนร่วมหรือเกี่ยวข้องกับคนอื่น ๆ มากขึ้นเท่าใด ก็จะทำให้ความยุ่งยากซับซ้อนเท่านั้น
2. ลำดับความต่อเนื่องของภาวะผู้นำแบบเผด็จการ ( Autocratic ) แบบมีส่วนร่วม
( Participative ) และแบบเสรีภาพ ( Free – rein )
Robert Tannenbaum และ Warren H.Schmidt ได้พัฒนาลำดับความต่อเนื่องที่เน้นจุดสำคัญเป็นช่วง ๆ สามจุดบนลำดับความต่อเนื่อง ดังรูปที่ 2
รูปที่ 2 แสดงความต่อเนื่องของของภาวะผู้นำแบบเผด็จการ ( Autocratic ) แบบมีส่วนร่วม
( Participative ) และแบบเสรีภาพ ( Free – rein )
2.1 ภาวะผู้นำแบบเผด็จการ ( Autocratic leadership style ) เป็นผู้นำที่นิยมใช้อำนาจการตัดสินใจด้วยตนเองแต่เพียงผู้เดียว โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้แสดงความคิดเห็น ลักษณะของผู้นำแบบนี้โดยทั่วไปจะเรียกว่าเจ้านาย ผู้นำแบบเผด็จการจะรวมอำนาจไว้ที่ตนเอง จะตัดสินใจอย่างเชื่อมั่นและคาดว่าสมาชิกจะยอมรับ โดยไม่สนใจทัศนคติที่สมาชิกของกลุ่มมีต่อการตัดสินใจ ผู้นำแบบนี้มุ่งให้ความสำคัญกับงานเพราะจะมุ่งเน้นให้งานเสร็จ พฤติกรรมโดยทั่วไปของประเภทนี้จะชอบสั่งการให้ผู้อื่นทำงาน วางอำนาจและคิดว่าตนเองเป็นแบบอย่างสมาชิกในกลุ่ม
2.2 ภาวะผู้นำแบบมีส่วนร่วม ( Participative leadership style ) เป็นพฤติกรรมของผู้นำที่เกี่ยวข้องกับการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้ใต้บังคับบัญชาก่อนการตัดสินใจ เป็นผู้นำที่ยอมรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น จะตัดสินใจร่วมกับสมาชิกในกลุ่ม ผู้นำแบบนี้สามารถแบ่งออกได้ 3 แบบ คือ
(1) ผู้นำแบบเป็นที่ปรึกษา ผู้นำแบบนี้เมื่อจะทำการตัดสินใจจะปรึกษากลุ่มก่อนทุกครั้ง แล้วจึงตัดสินใจครั้งสุดท้ายเอง
(2) ผู้นำแบบใช้การเห็นพ้องต้องกัน เป็นผู้นำที่ชอบชักชวนให้ผู้อื่นเห็นด้วยในความคิด ผู้นำแบบนี้จะชอบกระตุ้นให้กลุ่มอภิปรายปัญหาในประเด็นต่าง ๆ แล้วทำการตัดสินใจโดยมีสมาชิกของกลุ่มให้การสนับสนุน พนักงานทุกคนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินใจและมีโอกาสให้ข้อมูล การตัดสินใจยังไม่ถือเป็นเด็ดขาดจนกว่าทุกฝ่ายจะพอใจกับการตัดสินใจนั้น
(3) ผู้นำแบบประชาธิปไตย เป็นผู้นำที่มอบหมายอำนาจการตัดสินใจให้พนักงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชา มีการกระตุ้นให้มีส่วนร่วม และไว้วางใจในผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้นำที่เปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาแสดงความคิดเห็นในการปฏิบัติงานและแก้ปัญหาได้อย่างอิสระ ตลอดจนยอมรับความคิดเห็นจากสมาชิกทุกคนในกลุ่ม มักจะใช้วิธีการตั้งคณะกรรมการเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับงาน บุคลิกภาพของผู้นำประเภทนี้จะมีลักษณะใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีสัมพันธภาพที่ดีในการทำงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาจะมีการยกย่องเกรงใจแต่มิได้เกรงกลัวผู้บังคับบัญชา
2.3 ภาวะผู้นำแบบเสรีภาพ ( Free – rein leadership style ) เป็นผู้นำที่ให้อำนาจ ให้อิสระกับสมาชิกของกลุ่มได้ทำงาน ถ้าไม่ขัดกับกฎเกณฑ์ มีการมอบหมายงานให้กับสมาชิกและมีสัมพันธภาพที่ดีในการทำงาน รูปแบบของผู้นำประเภทนี้จะใช้ได้ดีกับพนักงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชามีความกระตือรือร้นและมีประสบการในการทำงาน ปัญหาของผู้นำประเภทนี้ คือ สมาชิกในกลุ่มคิดว่าผู้นำไม่เข้ามาช่วยในการทำงาน จึงทำให้รู้สึกว่าการมีผู้นำหรือไม่มีผู้นำไม่ต่างกัน แต่ผู้นำประเภทนี้เชื่อว่าเขาเป็นคนช่วยให้ผู้ใต้บังคับบัญชาพัฒนาประสิทธิภาพของตนเอง
อ้างอิง
รังสรรค์ ประเสริฐศรี. 2544. ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธนธัชการพิมพ์ จำกัด.
วิเชียร วิทยอุดม. 2550. ภาวะผู้นำ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : บริษัท ธีระฟิล์ม
และไซเท็กซ์ จำกัด.
รายงานเรื่อง
Tannenbaum and Schmidt (Continuum of Leadership Behavior)
เสนอ
รองศาสตราจารย์ ดร.ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์
โดย
นายยาเบ็น เรืองจรูญศรี รหัส 5120121233 กลุ่ม 2
นายอับดุลเร๊าะมัน หะยีปะดอเฮง รหัส 5120121250 กลุ่ม 2
นางสาวสุนธีราภรณ์ ชัยฤกษ์ รหัส 5120121245 กลุ่ม 2
เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 260 - 504 ภาวะผู้นำทางการศึกษา
(Educational Leadership)
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551
บัณฑิตวิทยาลัย ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี
คำนำ
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งเพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนรายวิชา 260 - 504 ภาวะผู้นำทางการศึกษา (Educational Leadership) ในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับทฤษฏีความต่อเนื่องของภาวะผู้นำ (Continuum of Leadership Theory) ตามหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับทฤษฏีความต่อเนื่องของภาวะผู้นำ (Continuum of Leadership Theory) เพื่อเป็นความรู้และนำไปใช้ในการจัดทำสารนิพนธ์ วิทยานิพนธ์และงานวิจัยอื่นๆต่อไป
ดังนั้น เนื้อหาในรายงานฉบับนี้ จะเป็นทางเลือกหนึ่งในการศึกษาความรู้พื้นฐาน
การนำเสนอในเอกสารรายงานฉบับนี้มุ่งศึกษาเกี่ยวกับทฤษฏีความต่อเนื่องของภาวะผู้นำ (Continuum of Leadership Theory) ภาวะผู้นำที่มุ่งหัวหน้าเป็นศูนย์กลางเปรียบเทียบกับภาวะผู้นำที่มุ่งพนักงานเป็นศูนย์กลาง ลำดับความต่อเนื่องของภาวะผู้นำแบบเผด็จการ ( Autocratic ) แบบมีส่วนร่วม ( Participative ) และแบบเสรีภาพ ( Free – rein ) ตลอดจนได้นำแบบทดสอบการประเมินตนเองด้านรูปแบบของภาวะผู้นำในภาคผนวกด้วย
ผู้จัดทำได้ศึกษาจากหนังสือและเอกสารต่างๆ และจัดพิมพ์รายงานฉบับนี้ เพื่อให้ผู้สนใจ ศึกษา เรียนรู้และนำไปใช้ประโยชน์ในการประกอบการทำวิจัย และขอขอบคุณ
รองศาสตราจารย์ ดร.ชุมศักดิ์ อินทร์รักษ์ ในความเอื้อเฟื้อให้การสนับสนุนและเป็นที่ปรึกษาการเขียนรายงานฉบับนี้
ผู้จัดทำ
15 ธันวาคม 2551
สารบัญ
เรื่อง หน้า
คำนำ…………………………………………………………………………………………….ก
สารบัญ………………………………………………………………………………………….ข
ทฤษฏีความต่อเนื่องของภาวะผู้นำ (Continuum of Leadership Theory)……………...…..1
ภาวะผู้นำที่มุ่งหัวหน้าเป็นศูนย์กลางเปรียบเทียบกับภาวะผู้นำที่มุ่งพนักงาน
เป็นศูนย์กลาง……………………………………………………………………..…...1
ลำดับความต่อเนื่องของภาวะผู้นำแบบเผด็จการ ( Autocratic )
แบบมีส่วนร่วม ( Participative ) และแบบเสรีภาพ ( Free – rein )…………………...3
บรรณานุกรม……………………………………………………………………………….......5
ภาคผนวก……………………………………………………………………………………….6
ภาคผนวก