อั่งเปา หรือแต๊ะเอีย มุสลิมรับได้หรือไม่?
ด้วยมุสลิมต้องอยู่ร่วมกับผู้คนทั่วไปทั้งต่างศาสนา และต่างวัฒนธรรม จนบางครั้งมุสลิมเองก็แยกแยะไม่ออกว่า วัฒนธรรม หรือประเพณีของคนต่างศาสนิกที่ปะปนอยู่กับสังคมมุสลิมนั้น ศาสนาอนุญาตให้เข้าร่วม หรือมีส่วนร่วมกิจกรรมของพวกเขามากน้อยแค่ไหน เพียงใด? คงปฏิเสธไม่ได้ว่า มุสลิมต้องร่วมทำธุรกิจกับคนต่างศาสนิก, มุสลิมเป็นลูกจ้าง หรือเป็นพนักงานของคนต่างศาสนิก เมื่อเป็นเช่นนี้ คำถามที่มักจะถูกถามบ่อยๆ คือ ทำอย่างนั้น ทำอย่างนี้ได้หรือไม่? อิสลามหุก่มว่าอย่างไร? ยิ่งช่วงนี้เป็นช่วงตรุษจีน เป็นวันขึ้นปีใหม่ของพี่น้องชาวจีน คำถามหนึ่งจึงหลีกเลี่ยงไม่ตอบไม่ได้คือ มุสลิมจะรับซองอั่งเปา หรือซองแต๊ะเอียได้หรือไม่? ผู้เขียนจึงขออธิบายความหมาย และที่มาที่ไปของคำว่า “อั่งเปา” หรือ “แต๊ะเอีย” เสียก่อน จากนั้น ค่อยระบุว่าอิสลามอนุญาตให้มุสลิมรับซองอั่งเปา หรือซองแต๊ะเอียได้หรือไม่?
ความหมายของคำว่า “อั่งเปา”
อั่งเปา เป็น ของขวัญ ในทุกเทศกาล ทุกโอกาส ทุกสถานการณ์ ในงานมงคลแสดงความยินดี และแม้แต่ช่วงชีวิตประสบกับโชคไม่ดี อังเปายังเป็นเคล็ดที่ให้เพื่อเป็นเครื่องแสดงว่าชีวิตแต่นี้ไปจะได้พ้นจากความทุกข์ และพบกับเรื่องอันเป็นมงคล ไม่ว่าจะเป็นการเฉลิมฉลอง การให้กำลังใจ การปลอบประโลม การแสดงความขอบคุณ การชดเชยการให้รางวัล การช่วยให้พ้นจากเคราะห์กรรม การให้อังเปา เป็นการแสดงน้ำใจที่ชัดเจน และเป็นประโยชน์นำไปใช้สอยได้อย่างทันท่วงที
การให้อั่งเปา พ้นจากเดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติจีน เทศกาลสำคัญที่สุดในชีวิตของชาวจีนก็มาถึง คือ "วันตรุษจีน" วันขึ้นปีใหม่ที่แท้จริงของชาวจีนทั่วโลก นอกจากเป็นสัญลักษณ์ถึงการเริ่มต้นชีวิตอีกขวบปีแล้ว ตรุษจีนยังหมายถึงการมาถึงของฤดูใบไม้ผลิอันสดชื่นงดงาม ความรื่นเริงบันเทิงใจ "อั่งเปา" ซองแดงบรรจุธนบัตรเป็น ของขวัญ ในการเริ่มต้นชีวิตในขวบปีใหม่และการพักผ่อนอันเบิกบานติดต่อกันนานหลายๆ วัน
อั่งเปา จึงหมายถึง ห่อหรือซองแดง เหตุผลที่ใช้สีแดงน่าจะสืบเนื่องมาจากพิธีกรรมต่างๆ ทางศาสนาและความเชื่อตั้งแต่สมัยโบราณที่ว่าสีแดงเป็นสัญญลักษณ์ของความเป็นมงคลยินดี นอกจากนั้นสีแดงยังเป็นสัญญลักษณ์ของพลังอำนาจที่จะขจัดปัดเป่าสิ่งไม่เป็นมงคลทั้งหลายด้วย
ก่อนการใช้ อั่งเปา อย่างเป็นรูปแบบนั้น ชาวจีนใช้ แถบแดง เป็นตัวแทนแห่งความเป็นมงคลและขจัดปัดเป่าสิ่งที่ไม่เป็นมงคล
การให้อั่งเปา เป็นสินน้ำใจ ประเพณีจีนโบราณจึงมักให้อั่งเปา เป็น ของขวัญ แก่คนรับใช้ที่ญาติมิตรให้นำ ของขวัญ มามอบให้ เรียกว่า "ลี่" หรือ "จิ้งเส่อ" ซึ่งหมายถึง อาศัยแรงงาน หรือไหว้วานด้วยความนับถือ
อั่งเปา คือ เงินโบนัส ที่เถ้าแก่หรือเจ้าของกิจการมอบให้พนักงานในช่วงเทศกาลตรุษจีน และที่พิเศษคือ ในวันเปิดงานวันแรกของปีหลังวันหยุดในช่วงเทศกาลตรุษจีน พนักงานจะได้รับอั่งเปาเป็นขวัญ กำลังใจในการเริ่มต้นทำงานในขวบปีใหม่
อั่งเปา ในงานแต่งงาน เป็น ของขวัญ ในแทบจะทุกขั้นตอน เงินค่าสินสอดนั้นจะใส่ไว้ในซองหรือ ผ้าสีแดง ขนมไหว้ต่างๆ ย้อมเป็นสีแดง เมื่อเจ้าบ่าว เจ้าสาวยกน้ำชาคารวะ ญาติก็จะให้ทองหรือซองอั่งเปาเป็น ของขวัญ ในการเริ่มชีวิตคู่ (อ้างอิงจาก http://www.fourbears2002.com/-eoaue/i-cn-cn-aaa-o-in-a-o-2.html )
บางตำราอธิบายคำว่า “อั่งเปา” ไว้ว่าดังนี้
อั่งเปา เป็นภาษาจีน
คำ อั่ง แปลว่า สีแดง
คำ เปา แปลว่า ซอง ห่อ
อั่งเปา จึงแปลว่า ซองสีแดง แต่ความหมายของอั่งเปาอยู่ที่ ของในซองสีแดง ซึ่งหมายถึง เงิน หรือ ธนบัตร หรือ เช็คแลกเงินที่อยู่ในซองนั้นมากกว่า
อั่งเปา คือ เงินพิเศษที่นายจ้างหรือผู้ใหญ่มอบให้ลูกจ้างหรือผู้น้อย นอกเหนือจากเงินเดือนที่ได้รับปกติ โดยปกติจะมอบให้ตอนสิ้นปี หรือเทศกาลตรุษจีน นั่นคือเงินแต๊ะเอียนั่นเอง เพราะเหตุที่มอบให้ในวาระที่เป็นมงคล ชาวจีนเชื่อว่าสีแดงคือสีมงคล ซองที่ใส่เงินจึงมีสีแดง
นอกจากนี้เมื่อถึงวันตรุษจีนคนไทยเชื้อสายจีนในปัจจุบัน ยังมอบเงินพิเศษแด่บิดามารดาหรือญาติผู้ใหญ่ใกล้ชิดโดยใส่เงินในซองสีแดงเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบุพพการี สำหรับบิดามารดา ญาติผู้ใหญ่ (ผู้รับ) ที่ไม่เดือดร้อนเรื่องการเงิน จะไม่รับเงินไว้ทั้งหมด จะคืนเงินบางส่วนมายังลูกหลานผู้ให้ โดยเชื่อว่า จะเป็นเงินก้นถุง เงินนำโชคสำหรับทำทุน
(อ้างอิงจาก http://www.sbuyzone.com/board/index.php?showtopic=2399)
ความหมายของคำว่า แต๊ะเอีย
แต๊ะ แปลว่า ทับ หรือ กด
เอีย แปลว่า เอว
แต๊ะเอีย แปลว่า ของที่มากดหรือทับเอว
ในสมัยโบราณ เงินตราที่จับจ่ายใช้สอยกันนั้นใช้วัสดุเป็นโลหะ และส่วนใหญ่ชุดเสื้อผ้าของชาวจีนไม่มีกระเป๋าเหมือนสมัยปัจจุบัน การนำเงินตราติดตัวไปจึงบรรจุไว้ในกระเป๋าทำด้วยผ้าหรือหนังผูกรอบบั้นเอวที่คนไทยเราเรียกว่า “ไถ้” ดังนั้น เมื่อได้รับและนำเงินติดตัวมากขึ้นเท่าใด น้ำหนักของเงินตราที่บรรจุไว้ในไถ้จะกดทับบริเวณเอวมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
เงินที่ได้รับในวันตรุษจีนนี้จึงเรียกว่า เงินแต๊ะเอีย และถือว่าเป็นโชคลาภอย่างหนึ่งซึ่งคนจีนรวมทั้งคนไทยเชื้อสายจีนได้ตั้งความปรารถนาจิตใจจดจ่อที่จะได้รับในวันตรุษจีน
(อ้างอิงจาก http://www.sbuyzone.com/board/index.php?showtopic=2399)
เมื่อผู้อ่านรับทราบถึงที่มาที่ไป หรือเป้าหมายของ “อั่งเปา” และ “แต๊ะเอีย” แล้ว ถ้าเช่นนั้น ด้วยข้อมูลข้างต้น ตกลงมุสลิมรับซองอั่งเปา หรือซองแต๊ะเอียได้หรือไม่?
คำตอบ ผู้เขียนขออธิบายทีละประเด็นดั่งนี้
ประเด็นแรก ซองอั่งเปา มีที่มาจากความเชื่อของชาวจีน กล่าวคือ ซองอั่งเปาจะต้องเป็นซองสีแดงเท่านั้น เพราะสีแดงเป็นสัญญลักษณ์ของความเป็นมงคลยินดี นอกจากนั้นสีแดงยังเป็นสัญญลักษณ์ของพลังอำนาจที่จะขจัดปัดเป่าสิ่งไม่เป็นมงคลทั้งหลายด้วย ก่อนการใช้ อั่งเปา อย่างเป็นรูปแบบนั้น ชาวจีนใช้ แถบแดง เป็นตัวแทนแห่งความเป็นมงคลและขจัดปัดเป่าสิ่งที่ไม่เป็นมงคล ฉะนั้นซองอั่งเปาจึงไม่อนุญาตให้ใช้สีอื่นนอกจากสีแดงเท่านั้น ด้วยเหตุผลความเชื่อข้างต้นขัดแย้งกับอิสลาม เพราะอิสลามสอนถึงความจำเริญมาจากพระองค์อัลลอฮฺ หรือสิ่งที่พระองค์ทรงระบุเท่านั้น ส่วนเรื่องสีแดงเป็นสีแห่งความสิริมงคล หรือเป็นสีแห่งการขจัดปัดเป่าสิ่งอัปมงคล ทัศนะของอิสลามไม่มีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องสีต่างๆ และไม่เชื่ออีกว่าสีต่างๆ จะกำหนดโชคชะตาชีวิตของมนุษย์ และอิสลามก็ไม่มีความเชื่ออีกเช่นกันว่าสีต่างๆ จะกำหนดความจำเริญ หรือกำหนดความอัปมงคลในชีวิตประจำวันของมนุษย์เหมือนกัน
ประการที่สอง ชาวจีนมีความเชื่อว่า "อั่งเปา ซองแดงบรรจุธนบัตรเป็น ของขวัญ ในการเริ่มต้นชีวิตในขวบปีใหม่และการพักผ่อนอันเบิกบานติดต่อกันนานหลายๆ วัน” ยิ่งประเด็นนี้ไม่ต้องพูดถึง มุสลิมไม่มีความเชื่อเช่นนั้นอยู่แล้ว เพราะอิสลามมิได้ระบุว่า การเริ่มต้นชีวิตใหม่ต้องรอให้ถึงสิ้นปี ถึงแม้ว่าจะเป็นสิ้นเดือนซุลหิจญะฮฺ ซึ่งเป็นเดือนสุดท้ายของปฏิทินอิสลามก็ตาม
ประการที่สาม เงินที่ได้รับในวันตรุษจีนนี้จึงเรียกว่า เงินแต๊ะเอีย และถือว่าเป็นโชคลาภอย่างหนึ่งซึ่งคนจีนรวมทั้งคนไทยเชื้อสายจีนได้ตั้งความปรารถนาจิตใจจดจ่อที่จะได้รับในวันตรุษจีน ฉะนั้นซองที่เรียกว่า เงิน (หรือซอง) แต๊ะเอียก็ถือว่าเป็นโชคลาภอย่างหนึ่ง ซึ่งโชคลาภข้างต้นเป็นความเชื่อของชาวจีน ไม่เกี่ยวข้องกับอะไรกับมุสลิมเลยแม้แต่น้อย เพราะมุสลิมถูกสอนให้เชื่อว่าความจำเริญ (หรือบะเราะกะฮฺ) นั้นมาจากพระเจ้า หรือสิ่งที่พระเจ้ากำหนดไว้เท่านั้นว่าสิ่งนั้นทำแล้วมีความจำเริญ สิ่งนั้นทำแล้วได้รับความเมตตา
ประการที่สี่ “เงินแต๊ะเอีย หรือ อั่งเปา ที่แปลว่าซองแดง เด็ก ๆ มักได้จากผู้ใหญ่ในครอบครัว โดยหลายบ้านจะถือธรรมเนียมว่าให้กันเฉพาะคนในครอบครัวหรือสกุลเดียวกัน แล้วอาจจะขยายวงไปถึงคนรักใคร่นับถือกันเหมือนญาติ โดยแต่โบราณเรียกเงินนี้ว่า ‘เงินเอี๊ยบส่วยจี๊ เอี๊ยบ’ แปลว่า กด , อัด , ห้าม ส่วย แปลว่า อายุ
เอี๊ยบส่วยจี๊ เป็นดั่งหนึ่งเงินมงคลคุ้มครองชะตา ตามตำรา 100 ธรรมเนียมจีนโบราณ บอกว่า ดั้งเดิมนิยมให้กันในวันสิ้นปี ผู้ใหญ่จะเอาเหรียญทองแดง 100 อัน ร้อยด้วยด้ายแดง ผูกเป็นพวงให้เด็กในวันก่อนวันตรุษจีนหรือวันสิ้นปีนั่นเอง เรียกเงินพวกนี้ว่าเอี๊ยบส่วนจี๊ โดยมีลูกเล่นเล็กๆ ว่า ส่วนที่แปลว่าอายุนี้ พ้องเสียงกับคำว่า ส่วย ที่แปลว่าผี ปีศาจ และคำว่า ‘ซวย เอี๊ยบส่วย’ หรือ ‘เอี๊ยบซวย’ จึงแปลว่า ห้ามความซวยหรือผี ปีศาจมาสู่
เงินร้อยด้ายแดงทั้งพวง นี้ ดั้งเดิมเด็ก ๆ คงห้อยไว้กับเชือกผูกเอว เกิดคำว่า ‘แต๊ะเอีย’ แปลว่า ถ่วงเอวบางบ้านมีการวางส้มสีทองและลิ้นจี่ไว้ที่หมอน แล้วให้เด็ก ๆ รับประทานก่อนนอนในคืนวันตรุษจีน เรียกผลไม้นี้ว่า ‘เอี๊ยบส่วยก้วย’ เพื่ออวยพรให้โชคดี ซึ่งคนจีนในไทยไม่ได้นำธรรมเนียมวางเอี๊ยบส่วยก้วย ไว้ที่หมอนให้ลูกหลานทาน แต่จะเป็นการนำส้มสีทองหรือ ไต้กิก 4 ผล ไปมอบให้แก่ผู้ใหญ่หรือญาติมิตรที่นับถือกันมากกว่า เรียกธรรมเนียมนี้ว่า ไป๊เจีย
"ธรรมเนียมและความหมาย"
โดยมีเคล็ดธรรมเนียมว่า เมื่อเรารับส้ม 4 ผล ที่ห่อในผ้าเช็ดหน้า ก็ให้นำมาเปลี่ยน โดยนำส้มของแขกออกมา 2 ใบ แล้วใส่ส้มของเราเข้าไปแทน 2 ใบ ผูกห่อผ้าเช็ดหน้าคืนแขกไป ดังนั้นส้มสีทอง 4 ผลนี้ ก็จะมีส้มของแขก 2 ใบ กับของเราอีก 2 ใบ ถือเป็นการนำโชคดีมามอบให้และแลกเปลี่ยนโชคกันด้วย
ส่วนเงินสิริมงคลนั้น เรียกว่า ‘เงินเอี่ยมเส่งจี่’ หมายถึงเหรียญเงินที่พิชิตความไม่ดี คำเต็มๆ คือ ‘จับยี่แซเสี่ยวเอี่ยมเส่งจี๋’ เป็นเงินเหรียญรูป 12 ปีนักษัตร สำหรับเป็นเครื่องรางคุ้มครองทุกดวงชะตาให้สันติสุขปลอดภัย
ต่อมาเงินเอี๊ยบส่วยจี๋ ที่เป็นเหรียญ 100 อันร้อยเชือกแดงก็ดี เป็นเงินเอี่ยมเส่งจี๋ 12 นักษัตรก็ดี ก็พัฒนาเป็นการให้ธนบัตรใหม่ๆ ใส่ซองแดง เรียกว่า ‘เงินอั่งเปา’ หรือ ‘เงินแต๊ะเอีย’ สืบมาโดยคำนึงว่าเงินเอี๊ยมส่วยจี๋ได้หายไป หากเคล็ดการให้ก็ยังคงเพื่ออวยพรนั่นเอง เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่ผู้รับว่า "อวยพรให้แข็งแรงเติบโตอายุยืน"
(อ้างอิงจาก http://variety.teenee.com/world/1862.html)
ด้วยข้อมูลข้างต้น กล่าวถึงที่มาที่ไปของคำว่า อั่งเปา และ แต๊ะเอีย คงไม่ต้องพูดอะไรไปมากกว่านี้ สรุปได้ว่า ไม่ว่าเงิน หรือซองจะเรียกว่า “อั่งเปา” หรือเรียกว่า “แต๊ะเอีย” ล้วนมาจากความเชื่อของชนชาวจีนทั้งสิ้น เมื่อเป็นเช่นนี้ในฐานะที่เราเป็นมุสลิม จึงวายิบ (จำเป็น) จะต้องหลีกห่างกับแนวความเชื่อข้างต้น เพราะพระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสไว้ว่า لكم دينكم ولي دين ความว่า “สำหรับพวกท่าน คือศาสนาของพวกท่าน และสำหรับฉัน คือศาสนา (ของฉัน)” (สูเราะฮฺอัลกาฟิรูน อายะฮฺที่ 6) ด้วยเหตุนี้ ผู้เขียนจึงเขียนบทความนี้เพื่อทำให้ผู้อ่านรู้ว่าแต่ละชนชาติต่างก็มีความเชื่อ, มีศาสนาที่แตกต่างกันไป ชนชาวจีนก็มีความเชื่อเป็นตนตนเอง มุสลิมก็มีความเชื่อเป็นของตนเอง ดังนั้น การหยิบยกประวัติความเป็นมาของเงินอั่งเปา และเงินแต๊ะเอีย เพียงต้องการตอบคำถามที่ว่า ทำไมมุสลิมจึงรับเงินอั่งเปา หรือเงินแต๊ะเอียไม่ได้? และสาเหตุที่รับไม่ได้เพราะอะไร? เท่านั้น ไม่ใช่เป็นบทความที่วิพากษ์วิจารณ์ความเชื่อของชาวจีนแต่อย่างใดทั้งสิ้น
อนึ่ง โปรดอย่าลืมว่า แม้ว่าเงินอั่งเปา หรือเงินแต๊ะเอียที่ใส่ซองให้นั้น<