การติดต่อสื่อสาร
(Communication)
ความหมายของการสื่อสาร
คำศัพท์ “Communication” แปลเป็นภาษาไทย ว่า “การสื่อสาร” หรือ “การติดต่อ” มาจากภาษาละตีนว่า “COMMUNIS” คือ ร่วมกันหรือคล้ายคลึงกัน ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร หมายถึง กิจกรรมที่มุ่งสร้างความร่วมกัน หรือความคล้ายคลึงกันให้เกิดขึ้นระหว่างบุคคลที่เกี่ยวข้อง ถ้ามีความเข้าใจความหมายที่ตรงกัน กล่าวอีกนัยหนึ่ง
การติดต่อสื่อสาร เป็นความหมายของมนุษย์ที่ต้องการถ่ายทอด (Transmit) เพื่อแลกเปลี่ยน (Share) ข่าวสาร (Information) ความคิด (Idea) และทัศนคติ (Attitudes) ระหว่างกันซึ่งเป็นการ
การติดต่อสื่อสาร คือ การส่งข่าวสาร ข้อมูลแนวความคิด ความรู้สึก ตลอดจนทัศนคติจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง โดยการพูด เขียน และสัญลักษณ์ต่างๆ
สรุป การติดต่อสื่อสาร หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปยังอีกบุคคลหนึ่ง หรือ จากกลุ่มหนึ่งไปยังอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งการถ่ายทอดอาจใช้ภาษาพูด ภาษาเขียน หรือสัญลักษณ์อื่นๆที่สามารถทำให้เข้าใจข่าวสารได้ตรงกัน
ความสำคัญ
การติดต่อสื่อสารมีความสำคัญและประโยชน์ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา ดังนี้
1. ทำให้บุคลากรทราบนโยบาย พันธกิจ วิสัยทัศน์ วัตถุประสงค์และมาตรฐานของสถานศึกษา เพราะผู้บริหารต้องถ่ายทอดสิ่งเหล่านี้ให้บุคลากรเข้าใจ เพื่อให้การบริหารบรรลุเป้าหมาย
2. ทำให้บุคลากรทราบบทบาทและหน้าที่ของตน โดยผู้บริหารจะต้องมอบหมายงานให้ชัดเจน
3. ผู้บริหารจะต้องสอนและแนะนำวิธีการทำงานให้บุคลากรแต่ละคนเข้าใจการปฏิบัติงานในหน้าที่ของตน
4. ช่วยเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน โดยการยกย่องชมเชย เผยแพร่ผลการปฏิบัติงาน
5 ช่วยให้ผู้บริหารได้ข้อมูลป้อนกลับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชา ทั้งในส่วนที่ก้าวหน้าและเป็นปัญหา ทำให้นำมาปรับปรุงการทำงานของตนได้
6. ช่วยให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกับชุมชนในการจัดการศึกษา
7. สร้างบรรยากาศแห่งการอบอุ่น เป็นมิตร และเป็นกันเอง เกิดความร่วมมือร่วมใจในการปฏิบัติงาน
8. ทำให้บุคลากรในระดับเดียวกันได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการทำงานของแต่ละคนหรือแต่ละฝ่าย ทำให้ทราบวิธีการทำงานและปัญหาของกันและกัน
9. ทำให้บุคลากรยึดเป้าหมายของสถานศึกษาเป็นหลักในการทำงาน
10. ส่งเสริมกระบวนการทำงานเป็นทีม
11 ประหยัดทรัพยากรในการบริหาร
ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสารของมนุษย์เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นภายในสภาพแวดล้อมหรือสถานการณ์ (Contexts)อย่างใดอย่างหนึ่ง และสถานการณ์ดังกล่าวก็มักจะมีอิทธิพลต่อรูปแบบและวิธีการติดต่อสื่อสารนั้น ๆ ด้วย การติดต่อสื่อสารของมนุษย์เป็นผลสืบเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับทฤษฎีใดทฤษฎีหนึ่งหรือหลายทฤษฎีประกอบกันดังต่อไปนี้
1. ทฤษฎีทางจิตวิทยา (Psychological Theory) พฤติกรรมการติดต่อสื่อสารคือ คุณลักษณะเฉพาะของอวัยวะต่าง ๆ ของแต่ละบุคคล เกิดขึ้นระหว่างเวลาที่บุคคลเปิดรับข่าวสารกับเวลาที่บุคคลนั้นตอบรับข่าวสารนั้น
ทฤษฎีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการติดต่อสื่อสารของมนุษย์ที่สำคัญได้แก่ ทฤษฎีเกี่ยวกับสิ่งเร้า การตอบสนอง ทฤษฎีเกี่ยวกับแรงกระตุ้น (motivation) โดยเฉพาะอย่างยิ่งความต้องการทางร่างกายของมนุษย์ (physical needs) และความต้องการทางด้านจิตใจ (psychological needs) อันเป็นพื้นฐานสำคัญของการติดต่อสื่อสารเพื่อโน้มน้าวใจ (persuasion) ในกระบวนการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล
2. ทฤษฎีทางสังคม (Socialogical Theory) แนวคิดนี้มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีและการวิจัยเกี่ยวกับกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบรรดาสัญลักษณ์ต่างๆ(Symbolic interaction) ในสังคม ทฤษฎีนี้ถือว่า พฤติกรรมต่างๆของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในสังคมเป็นผลมาจากการมีปฏิกิริยาระหว่างกันและกันของการติดต่อสื่อสารระหว่างมนุษย์
วิลเลียม ชูทซ์ (William Schutz, 1966 “ 102 - 105) นักจิตวิทยาอธิบายว่าที่มนุษย์ต้องมีการติดต่อสื่อสารนั้นก็เพื่อสนองความต้องการทางสังคมที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1. การเป็นส่วนหนึ่งของสังคม (inclusion)
2. ความต้องการการควบคุม (control)
3. ความต้องการความรัก (affection)
ทรรศนะมนุษยสัมพันธ์
การติดต่อสื่อสาร : การตอบสนองซึ่งกันและกัน
Mary Parker Follett ได้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับการติดต่อสื่อสารไว้ 2 แนวคิด คือ
1. การตอบสนองซึ่งกันและกัน Follett เชื่อว่าในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลจะไม่เกิดปฏิกิริยา
ตอบสนองต่อสิ่งเร้าแบบดั้งเดิม แต่คนมีปฏิกิริยาระหว่างกัน (interaction) มีอิทธิพลต่อกันและยอมรับเกี่ยวกับวงของสิ่งย้อนกลับ (feedback loop) ของการติดต่อระหว่างกัน
2. เป้าหมายของการรวมตัวกัน บางครั้งเรียกว่า “การประสานงาน” มีการจัดการให้คนใน
องค์การบรรลุความมุ่งหมายร่วมกัน
Elton Mayo และคณะได้ใช้วิธีการสัมภาษณ์คนงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทราบความคิดเห็นของคนงานในเรื่องงานที่ปฏิบัติอยู่ ความสัมพันธ์ของผู้บังคับบัญชาที่มีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา Mayo ได้ให้แนวทางที่ผู้สัมภาษณ์ต้องปฏิบัติตามดังนี้ ซึ่งถือว่าเป็นเทคนิดการฟังที่มีประสิทธิผล
ก. มุ่งความสนใจไปยังบุคคลที่ถูกสัมภาษณ์
ข. ฟังเพียงอย่างเดียว ห้ามพูด
ค. ห้ามโต้แย้งหรือให้คำแนะนำ
ง. ฟังในสิ่งที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้พูดหรือไม่ต้องการพูดถึง หรือไม่สามารถพูด
จ. สรุปสิ่งที่ผู้ถูกสัมภาษณ์ได้พูดและให้ข้อเสนอแนะ
ฉ. สิ่งที่พูดถือว่าเป็นความลับ
หลักการติดต่อสื่อสารของ Chester I. Barnard
Barnard เสนอหลักการติดต่อสื่อสารไว้ดังนี้
ก. ช่องทางการติดต่อสื่อสารควรประกาศให้รู้อย่างชัดเจนและแน่นอน
ข. อำนาจหน้าที่ปรากฏอยู่ในช่องทางของการติดต่อสื่อสารอย่างเป็นทางการ
ค. เส้นทางของการติดต่อสื่อสาร (line of communication) ต้องสั้นและตรงประเด็น
ง. เส้นทางของการติดต่อสื่อสารที่สมบูรณ์จะถูกนำมาใช้
จ. ผู้ที่มีความสามารถจะเป็นศูนย์กลางของการติดต่อสื่อสารซึ่งได้แก่ เจ้าหน้าที่ หัวหน้างาน
ฉ. เมื่อองค์การกำลังดำเนินการ ไม่ควรขัดขวงเส้นทางของการติดต่อสื่อสาร
แนวทางการศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ของการติดต่อสื่อสาร
การศึกษาเชิงพฤติกรรมศาสตร์ของการติดต่อสื่อสารมีลักษณะสำคัญหลายประการ คือ
1. พฤติกรรมทุกชนิดเป็นการติดต่อสื่อสาร
2. การติดต่อสื่อสารอาจจะใช้พฤติกรรมทั้งทางวัจนะ (verbal) หรือวัจนะ (onoverbal) ในขณะทำการติดต่อสื่อสารทุกครั้ง
3. การติดต่อสื่อสารทุกครั้งมีเนื้อหาสารและเนื้อหาสารจะกำหนดพฤติกรรมความสัมพันธ์ระหว่างแหล่งสารกับผู้รับสารด้วย
4. พฤติกรรมการติดต่อสื่อสารมีลักษณะเป็นกระบวนการ
5. พฤติกรรมการติดต่อสื่อสารมีลักษณะเป็นวงกลม (Circular)
6. พฤติกรรมการติดต่อสื่อสารมีลักษณะซับซ้อน (Complex)
7. การติดต่อสื่อสารมีลักษณะของพฤติกรรมการเข้ารหัสสารและถอดรหัสสาร(Decoding-Encoding Behavior)
8. พฤติกรรมการติดต่อสื่อสารมีลักษณะเป็นปฏิสัมพันธ์ (Interaction)
9. การติดต่อสื่อสารเป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถแก้ไขใหม่ (Irreversible) หรือซ้ำของเดิมได้ (unrepeatable)
กระบวนการติดต่อสื่อสาร
ร็อบบินส์และคูลตาร์ (Robbins and Coultar) ได้กล่าวถึงองค์ประกอบกระบวนการติดต่อสื่อสารไว้ 7 องค์ประกอบ ได้แก่
1. ผู้ส่งข่าวสาร (sender) อาจเป็นคนหนึ่งหรือกลุ่มที่ต้องการสื่อสารไปยังผู้อื่น จะต้องมีเป้าหมายชัดเจนว่าตนจะสื่อสารอะไร ไปให้ใคร เพื่อเป้าหมายใด และใช้ช่องทางการสื่อสารแบบใด
2. ข่าวสาร (message) ส่งที่ผู้ส่งข่าวสารต้องการถ่ายทอดให้ผู้รับข่าวสารรับรู้
3. การเข้ารหัส (encoding) หรือการแปลความหมายของข่าวสารที่จะส่ง ผู้ส่งจะต้องแปลความคิดของตนให้เป็นสัญลักษณ์ที่มีความหมายและให้ผู้รับเข้าใจ อาจเป็นการพูด การเขียน หรืออย่างอื่น
4. ช่องทางส่งข่าวสาร (channel) ผู้ส่งต้องเลือกช่องทางให้เหมาะสมกับจุดประสงค์และชนิดของข่าวสาร
5. การแปลความหมายหรือการถอดรหัส (decoding) ผู้รับสารต้องแปลความหมายของข่าวสารที่ส่งมา โดยอาศัยความรู้ ประสบการณ์ ทักษะและความสัมพันธ์ที่มีกับผู้ส่งสารด้วย
6. ผู้รับข่าวสาร (receiver) ได้แก่ ผู้ฟัง ผู้อ่าน หรือผู้รับสัญญาณต่างๆ
7. การส่งข้อมูลป้อนกลับ (feedback) สิ่งที่ต้องระมัดระวังในการสื่อสารคือความเข้าใจตรงกันระหว่างผู้รับสารและผู้ส่งสาร เพื่อแก้ใขให้เข้าใจตรงกันก็โดยอาศัยการให้ข้อมูลป้อนกลับของผู้รับสาร
กระบวนการสื่อสาร เน้นองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ
ผู้ส่งสาร สาร และผู้รับสาร
การสื่อสารเป็นกระบวนการ หมายถึงการสื่อสารมีลักษณะเปลี่ยนแปลงและต่อเนื่องตลอดเวลา องค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบของการสื่อสารมีความเกี่ยวข้อง และมีผลกระทบซึ่งกันและกัน ในการวิเคราะห์กระบวนการสื่อสารมีแบบจำลองการสื่อสารต่างอธิบายการสื่อสารดังต่อไปนี้
1. The Aristotelian Model
2. Lasswell model
Lasswell model เป็นนักรัฐศาสตร์ที่ผู้สนใจศึกษาการสื่อสารจากโฆษณาชวนเชื่อ Lasswell ได้อธิบาย ได้อธิบายกระบวน การสื่อสารในลักษณะที่เป็น Verbal Modelโดยการให้ตอบคำถามซึ่งเป็นองค์ประกอบการสื่อสารเรื่องสั้น ๆ ให้ได้ คือ
ใคร (Who)
พูดอะไร (Says what)
ผ่านสื่อใด (In which channel)
ถึงใคร (To whom)
เกิดผลอะไร (With what effect ?)
3. Claude E. Shannon and Warren Weaver Model
วันที่ 10 ต.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,149 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,214 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,133 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 19,325 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,071 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,123 ครั้ง |
เปิดอ่าน 5,240 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,296 ครั้ง |
|
|