ลักษณะเด่นของภาษาไทย
1. เป็นคำภาษาโดด มีคำใช้โดยอิสระ ไม่ต้องเปลี่ยนรูปเพื่อบอก เพศ,พจน์,กาล เช่น พ่อ, แม่, เขย, ลุง, พระ เป็นคำแสดงเพศในตัว ฝูง,กอง,เดียว,เหล่า,เด็กๆ เป็นคำแสดงพจน์(จำนวน)ในตัว กำลัง, จะ, แล้ว, เพิ่ง, เมื่อวาน เป็นคำแสดงกาล (เวลา) ในตัว
2. คำไทยแท้ส่วนมากมีพยางค์เดียว เป็นคำที่มีความหมายสมบูรณ์ในตัว เข้าใจได้ทันที เช่น แมว, กบ,แม่,นอน,สวย,พ่อ,นา
3. สะกดตามมาตราตัวสะกดทั้ง 8 มาตรา และไม่มีคำใช้ทัณฑฆาต หรือตัวการันต์
เช่น มาตราแม่กก สะกดด้วย ก: ปาก,มาก,นัก,จัก,บอก
มาตราแม่กด สะกดด้วย ด: ปาด,ลด,สอด,ปิด,จุด
มาตราแม่กบ สะกดด้วย บ: รบ,พบ,จับ,สิบ,งบ
มาตราแม่กง สะกดด้วย ง: ลง,ราง,พุ่ง,ว่าง,รอง,
มาตราแม่กน สะกดด้วย น: ฝัน,ปีน,กิน,ตน,นอน
มาตราแม่กม สะกดด้วย ม: นม,ตูม,นิ่ม,ขม,ซ้อม
มาตราแม่เกย สะกดด้วย ย: ย้าย,เฉย,รวย,หาย,สวย
มาตราแม่เกอว สะกดด้วย ว: ดาว,เลว,ชาว,ทิว,กิ่ว
4. มีเสียงวรรณยุกต์ทำให้ระดับเสียงต่างกัน,มีคำใช้กันมากขึ้น ,เกิดความไพเราะดังเสียง
ดนตรีและสามารถเลียนเสียงธรรมชาติได้อย่างไกล้เคียง เช่น โฮ่งๆ, กุ๊กๆ, เจี๊ยบๆ, ฉ่าๆ, ตุ้มๆ, วรรณยุกต์สร้างคำเลียนเสียงธรรมชาติได้อย่างใกล้เคียง นอง, น่อง, น้อง ไร,ไร่,ไร้ วรรณยุกต์ทำให้มีเสียงต่างกัน
5. การสร้างคำ ภาษาไทยมีการยืมคำภาษาต่างประเทศมาใช้และมีการสร้างคำใหม่โดย
การประสมคำ,ซ้ำคำ,ซ้อนคำ,การสมาส-สนธิ ฯลฯ เช่น พ่อมด, แม่น้ำ, วิ่งราว คือการนำคำไทยมาประสมกับคำไทย
รางชอล์ก,เพลงเชียร์,ของฟรี, คือการนำคำไทยมาประสมกับคำในภาษาอังกฤษ มนุษย์+ศาสตร์ = มนุษยศาสตร์ ,ศิลป์+กรรม = ศิลปกรรม คือการนำคำจาก ภาษาสันสกฤตสมาสกับคำภาษาสันสกฤต ราช + โอวาท = ราโชวาท ,อิฐ + อารมณ์ = อิฏฐารมณ์ คือการนำคำจากภาษา บาลีสนธิกับคำภาษาบาลี
6. การเรียงคำในประโยค ภาษาไทยเรียงเป็นประโยคแบบ ประธาน + กริยา + กรรม
(ฉันกินไก่) ส่วนคำขยายจะเรียงไว้หลังที่ถูกขยายเสมอ เว้นแต่บอกปริมาณบางคำจะวางไว้ข้างหน้าหรือ ข้างหลังที่ถูกขยายก็ได้ เช่น เธอวิ่งช้า, ฉันเขียนสวย คำขยายอยู่หลังคำถูกขยายมากคนมากความ, มีหลายเรื่องที่อยากบอก คำบอกปริมาณอยู่หลังคำที่ถูกขยายเดินคนเดียวล้มคนเดียว,เรือนสามน้ำสี่ คำบอกจำนวนอยู่หลังคำที่ถูกขยาย ส่วนคำขยายกริยา และมีกรรมมารับ คำขยายจะอยู่หลังกรรม
เช่น ฉันอ่านหนังสือมากมาย
7. มีลักษณะนาม
ก. คำลักษณะนามจะอยู่ข้างหลังคำวิเศษณ์บอกจำนวนนับ เช่น ฉันรักแมวทั้ง 10 ตัว เข้าได้รับบ้าน 1 หลัง ที่ดิน 2 แปลงเป็นมรดก
*ถ้าใช้คำว่า "เดียว" เป็นจำนวนนับ คำลักษณะนามจะอยู่หน้าคำว่าเดียว เช่น ขวดเดียวก็เกินพอ
ข. คำลักษณะนามตามหลังคำนามเพื่อลักษณะของนามนั้น เช่น ปลาตัวใหญ่นี้แพงมาก, ที่ดินแปลงนี้สวยจริง ๆ ,เทียนเล่มแดงหายไปไหน
8. ภาษาไทยมีการแบ่งวรรคตอนเป็นจังหวะ การเขียนภาษาไทยจำเป็นต้องแบ่งวรรค
ตอน ส่วนการพูดภาษาไทยก็จำเป็นต้องเว้นจังหวะให้ถูกต้อง เพื่อความชัดเจนของข้อความ
ที่จะพูดและเขียนนั้น เช่น ยานี้กินแล้วแข็งแรง ไม่มีโรคภัยเบียดเบียน หมายความว่า ยานี้กินแล้วดี
ยานี้กินแล้วแข็ง แรงไม่มีโรค โรคภัยเบียดเบียน หมายความว่า ยานี้กินแล้วไม่ดี
9. ภาษาไทยมีคำเลือกใช้ตามกาลเทศะ การเลือกใช้คำให้ถูกต้องเหมาะสมกับบุคคล
แสดงถึงลักษณะของวัฒนธรรมทางภาษา สังคมไทยเป็นสังคมที่นับถืออาวุโส ทั้งคุณวุฒิ
วัยวุฒิ ชาติวุฒิ จึงมีคำใช้ตามฐานะของบุคคลเพื่อแสดงถึงความยกย่องกันและกัน ภาษา
จึงมี "คำราชาศัพท์" ใช้ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของภาษาไทย