ชื่อเรื่อง รายงานการใช้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
เรื่องคำชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ปีการศึกษา 2551
ของ นางสมัย จันทรังษี ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ
สังกัด โรงเรียนเทศบาล ๑ วัดศรีเมือง เทศบาลเมืองนครนายก จังหวัดนครนายก
บทสรุป
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมและเสริมสร้างบุคลิกภาพ ของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารสร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้สามารถดำรงชีวิตร่วมกันในสังคมประชาธิปไตยได้อย่างสันติสุข(กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๔๕: ๓)
การเรียนการสอนตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ คุณภาพของ นักเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย นักเรียนต้องมีความรู้ ความสามารถ และคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม ดังนี้ (๑) สามารถใช้ภาษาสื่อสารได้อย่างดี (๒) สามารถอ่าน เขียน ฟัง ดู และพูดได้อย่างมีประสิทธิภาพ (๓) มีความคิดสร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล และคิดเป็นระบบ (๔) มีนิสัยรักการอ่าน การเขียน การแสวงหาความรู้และใช้ภาษาในการพัฒนาตนและสร้างสรรค์งานอาชีพ (๕) ตระหนักในวัฒนธรรมการใช้ภาษาและความเป็นไทย ภูมิใจและชื่นชมในวรรณคดีและวรรณกรรม ซึ่งเป็นภูมิปัญญาของคนไทย (๖) สามารถนำทักษะทางภาษามาประยุกต์ใช้ในชีวิตจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และถูกต้องตามสถานการณ์และบุคคล (๗) มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและสร้างความสามัคคีในความเป็นชาติไทย และ(๘) มีคุณธรรม จริยธรรม วิสัยทัศน์ โลกทัศน์ ที่ กว้างไกล และลึกซึ้ง (กระทรวงศึกษาธิการ ๒๕๔๕: ๙-๑๐)
เนื้อหาที่ใช้ในการเรียนการสอนมีทั้งเนื้อหาพุทธิพิสัย ประเภทความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ การสังเคราะห์ การประเมินค่า ซึ่งเนื้อหาทักษะพิสัยเป็นเนื้อหาที่ทำให้นักเรียนเกิดความสามารถในการใช้อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ได้แก่เนื้อหาที่ทำให้เกิดการรับรู้ การเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติ การตอบสนองตามแนวทางกลไกเรียนรู้ การตอบสนอง จนเป็นนิสัย การตอบสนองที่ซับซ้อน และการริเริ่มสิ่งใหม่ (อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง ๒๕๓๙: ๑๙๗-๑๙๘) ส่วนเนื้อหาด้านเจตพิสัย ทำให้นักเรียนเกิดความรู้สึกหรืออารมณ์ของบุคคล เช่น ทัศนคติ ค่านิยมและคุณธรรมจริยธรรมทั้งหลาย (สมบูรณ์ ชิตพงศ์ ๒๕๔๐: ๔๓๕)
ทักษะสำคัญทางภาษาไทยทั้ง ๔ ด้าน ได้แก่ การฟัง การพูด การอ่าน การเขียนจะเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นนั้นยังต้องขึ้นอยู่กับการเลือกใช้ถ้อยคำที่ถูกต้องและเหมาะสมของนักเรียนอีกด้วย ซึ่งการเข้าใจ ชนิด ความหมาย และหน้าที่ของคำนับว่าเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการใช้ภาษาที่ถูกต้อง จากการสัมภาษณ์ครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนเทศบาล ๑
วัดศรีเมือง ปัญหาที่พบมากที่สุดเป็นเรื่องของการพูด คือ พูดไม่ชัดใช้คำไม่ถูกต้องและพูดวกวนส่วนการเขียนจะใช้คำผิดความหมายกันมาก จึงแสดงว่านักเรียนยังขาดทักษะในการอ่านคำ และการใช้คำหรือการนำคำต่างๆ กเรียนส่วนใหญ่ยังอ่านคำหรือใช้คำไม่ถูกต้องจึงแสดงว่านักเรียนยังขาดทักษะในการอ่านคำ และการใช้คำหรือการนำคำไปใไปใช้ไม่ถูกต้อง ดังนั้นพื้นฐานในการรู้จักคำ หน้าที่ และความหมายของคำนับว่าเป็นสิ่งสำคัญในการที่นักเรียนจะรวบรวมความรู้และนำมาประกอบขึ้น เพื่อตีความหมายที่จะให้เข้าใจข้อความที่ได้อ่าน ฟัง พูด หรือเขียนในการเรียน เพราะฉะนั้นวิธีการเรียนการสอนภาษาไทยจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งครูควรหาวิธีการสอนและจัดกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยของนักเรียน เพราะวิธีการสอนเป็นวิธีฝึกทักษะโดยตรง นักบริหารการศึกษาบางท่านถือว่า วิธีสอนมีความสำคัญยิ่งกว่าเนื้อหาหรือความรู้ที่ต้องสอนจริง เพราะความรู้ไม่ใช่สิ่งที่ตายตัว อาจเปลี่ยนแปลงได้เสมอ วิธีการสอนภาษาไทยจากอดีตจนถึงปัจจุบันได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมกับสภาพสังคมเสมอมา สิ่งหนึ่งที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การวิจัยเกี่ยวกับการสอนวิชาภาษาไทย ซึ่งผลการวิจัยเหล่านั้นทำให้มีการพัฒนาการเรียนการสอนในวิชาภาษาไทยที่มีประสิทธิภาพ (รัชนี ศรีไพรรวรรณ ๒๕๑๗: คำสัมภาษณ์) ซึ่งสอดคล้องกับ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ได้ทำการศึกษาประสิทธิผลของวิธีการสอน และสื่อการสอนภาษาไทยเพื่อดูผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังจากที่ได้รับการสอนด้วยวิธีการสอน และการใช้ สื่อการสอนภาษาไทย ผลการทดลองพบว่าวิธีการสอนโดยเน้นให้นักเรียนเป็นศูนย์กลาง และ ใช้สื่อการสอนมาช่วยในการเรียนการสอนทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยสูงขึ้น
จากการศึกษาปัญหาข้างต้น ผู้รายงานจึงสร้างชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕/๑ โรงเรียนเทศบาล ๑ วัดศรีเมือง มาปรับใช้ ในการจัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นวิธีที่เหมาะสม สามารถแก้ปัญหาการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้ ดังนี้ (๑) ด้านวิธีการสอน ครูมีการใช้การสอนแบบศูนย์การเรียน การสอนแบบแบ่งกลุ่มกิจกรรม และการสอนโดยให้นักเรียนลงมือปฏิบัติจริง (๒) ด้านเนื้อหา มีการปรับเนื้อหาให้มีความยากง่ายเหมาะสมกับนักเรียนและสอดคล้องกับเนื้อหาสาระการเรียนรู้ภาษาไทย (๓) ด้านสื่อ การสอนมีการพัฒนาสื่อการเรียนการสอนในรูปแบบสื่อประสม และ (๔) ด้านสภาพแวดล้อมมีการจัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม จากการแก้ปัญหาทั้ง ๔ ด้านที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นสมารถนำไปปรับใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ซึ่งทำให้การเรียนการสอนดำเนินไปด้วยดีมีประสิทธิภาพนักเรียน มีความสนใจในการเรียนลงมือปฏิบัติกิจกรรมด้วยตนเอง ทำให้นักเรียนเกิดทักษะมีความรู้ ความเข้าใจในการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของการศึกษา
๑. เพื่อสร้างชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่อง คำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕/๑ ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐
๒. เพื่อศึกษาความก้าวหน้าผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕/๑ หลังจาก ใช้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำ
๓. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕/๑ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำ
๓. สมมติฐานการศึกษา
๓.๑ ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐
๓.๒ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ ที่เรียนจากชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน
เรื่อง คำ มีความรู้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕
๓.๓ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ มีความพึงพอใจต่อชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำ อยู่ในระดับ “เห็นด้วยมากที่สุด”
กรอบแนวคิดในการศึกษา
ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง คำ
จำนวน ๕ หน่วย ได้แก่
หน่วยที่ ๑ เรื่อง ความหมายของคำ
หน่วยที่ ๒ เรื่อง ชนิดของคำ (๑)
หน่วยที่ ๓ เรื่อง ชนิดของคำ (๒)
หน่วยที่ ๔ เรื่อง คำราชาศัพท์
หน่วยที่ ๕ เรื่อง คำพ้อง
|
ความก้าวหน้าทางการเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕/๑
|
ขอบเขตการศึกษา
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากร เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ โรงเรียนเทศบาล ๑ วัดศรีเมือง จำนวน ๕ ห้อง นักเรียน จำนวน ๒๐๒ คน
กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕/๑ ของโรงเรียนเทศบาล ๑
วัดศรีเมือง จังหวัดนครนายก ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๐ จำนวน ๔๒ คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
เนื้อหาสาระในการศึกษาที่ใช้ในการสร้างชุดการสอน ประกอบด้วย
หน่วยที่ ๑ เรื่อง ความหมายของคำ
หน่วยที่ ๒ เรื่อง ชนิดของคำ (๑)
หน่วยที่ ๓ เรื่อง ชนิดของคำ (๒)
หน่วยที่ ๔ เรื่อง คำราชาศัพท์
หน่วยที่ ๕ เรื่อง คำพ้อง
เครื่องมือในการศึกษา ประกอบด้วยชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน เรื่อง คำ โดยยึดระบบการผลิตชุดการสอนแบบศูนย์การเรียนของศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน
ระยะเวลาที่ดำเนินการศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๔๘- ๒๕๕๐
นิยามศัพท์เฉพาะ
ชุดการสอน หมายถึง สื่อประสม มีจุดมุ่งหมายเฉพาะเรื่องที่จะสอน โดยมีระบบ การผลิต และการนำสื่อการสอนที่สอดคล้องกับวิชา หน่วย หัวเรื่อง และวัตถุประสงค์ เพื่อช่วยให้ นักเรียนเปลี่ยนพฤติกรรมการเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
การสอนแบบศูนย์การเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนที่เน้น สื่อการสอนแบบประสม เปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการเรียนอย่างกระฉับกระเฉง
ได้ตรวจสอบผลการเรียนรู้ด้วยตนเอง ได้มีประสบการณ์ทำให้เกิดความสำเร็จความภาคภูมิใจ และ เกิดการเรียนรู้ทีละน้อยตามลำดับ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย หมายถึง กลุ่มวิชาหนึ่งในกลุ่มของการศึกษา ขั้นพื้นฐานตามหลักสูตรพุทธศักราช ๒๕๔๔ สาระที่เป็นองค์ความรู้ได้แก่ สาระที่ ๑: การอ่าน สาระที่ ๒: การเขียน สาระที่ ๓: การฟัง การดู และการพูด สาระที่ ๔: หลักการใช้ภาษา และสาระที่ ๕: วรรณคดี และวรรณกรรม
ชุดการสอน เรื่อง คำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕/๑ประกอบด้วย
หน่วยที่ ๑ เรื่อง ความหมายของคำ
หน่วยที่ ๒ เรื่อง ชนิดของคำ (๑)
หน่วยที่ ๓ เรื่อง ชนิดของคำ (๒)
หน่วยที่ ๔ เรื่อง คำราชาศัพท์
หน่วยที่ ๕ เรื่อง คำพ้อง
การหาประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ หมายถึง คุณภาพของชุดการสอน ที่ได้จากกระบวนการและผลลัพธ์ โดยมีค่าร้อยละ ๘๐ ขึ้นไป ค่า ๘๐ ตัวแรก คือ ค่าประสิทธิภาพของ กระบวนการ (E1) ได้จากคะแนนงานที่กำหนดให้ทำระหว่างเรียน ค่า ๘๐ ตัวหลัง คือ ค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) ได้จากคะแนนทำแบบทดสอบหลังเรียน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการศึกษาค้นคว้า
๑. ทำให้ได้ชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง คำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ ๘๐/๘๐ และทำให้นักเรียน
มีความก้าวหน้าในการเรียนเพิ่มขึ้น
๒. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕ เรื่อง คำ สูงขึ้น
๓. ทำให้ได้แนวทางในการสอนแบบศูนย์การเรียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕