ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมการวิจัยทางการศึกษา  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

การเขียนบทคัดย่อภาษาอังกฤษใน abstract


การวิจัยทางการศึกษา เปิดอ่าน : 64,526 ครั้ง
การเขียนบทคัดย่อภาษาอังกฤษใน abstract

Advertisement

การเขียนบทคัดย่อ  (Abstract)

               การเขียนบทคัดย่อภาษาอังกฤษใน Abstract เป็นปัญหาของนักวิจัยไทยส่วนใหญ่ บางคนอาจต้องขอให้ผู้ที่มีความรู้ภาษาอังกฤษดีเขียนให้ แต่หากเราเขียนบทคัดย่อภาษาไทยไม่ชัดเจนแล้วก็ยากที่ผู้อื่นจะเขียน abstract โดยดูจากเฉพาะบทคัดย่อภาษาไทยได้นอกจากจะต้องกลับไปดูเนื้อเรื่อง ทำให้เสียเวลา เพื่อช่วยให้เขียน abstract ง่ายขึ้น บทคัดย่อภาษาไทยจึงควรเขียนให้มีโครงสร้างประโยคชัดเจน โดยลองใช้เครื่องหมายวรรคตอนเช่น มหัพภาค(full stop) และ จุลภาค (comma) แบบภาษาอังกฤษ จะช่วยให้เขียน abstract ได้ง่ายขึ้น แล้วค่อยลบเครื่องหมายต่าง ๆ ออกในภายหลัง

            หลักการเขียนบทคัดย่อ
             บทคัดย่อ (Abstract) หมายถึง ส่วนที่แสดงเนื้อหาสำคัญของเอกสารโดยย่อโดยทั่วไปมักจะเขียนอยู่ต่อจากชื่อเรื่อง บทคัดย่อมักจะมีลักษณะดังนี้ คือ
              1. บทคัดย่อมาก่อนคำนำ และแยกให้ออกระหว่างคำนำกับบทคัดย่อ
              2. ย่อทุก ๆ ส่วนของสัมมนา (คำนำย่อ เนื้อเรื่องย่อ สรุปย่อ) โดยเขียนสิ่งที่ผู้อ่านควรได้ทราบจากงานของเราโดยควรเรียงลำดับเช่นเดียวกับในเนื้อหาสัมมนา
              3. เมื่อผู้อ่าน ๆ บทคัดย่อจบแล้ว ต้องมองภาพรวมของสัมมนาออก ส่วนรายละเอียดนั้น ผู้อ่านสามารถติดตามอ่านได้ในบทความสัมมนา
             4. บทคัดย่อไม่ควรยาวจนเกินไป เพราะอาจทำให้เวลาในการอ่านส่วนอื่น ๆ ลดลง
ในบทคัดย่อไม่มีตาราง รูปภาพ หรือการอ้างอิงใด ๆ 
             5. ไม่มีส่วนของข้อมูลหรือแนวคิดอื่น ที่อยู่นอกเหนือจากในเนื้อหาบทความสัมมนา 

            ประเภทของบทคัดย่อ
             บทคัดย่อมี 2 ประเภทคือ
             1.  บทคัดย่อประเภทให้ข้อมูลความรู้ (Informative Abstract) เขียนเพื่อรายงานผลการศึกษา หรือบทสรุปที่ผู้ใช้ต้องการอย่างเพียงพอ เพื่อหลีกเลี่ยงความจำเป็นในการอ่านเอกสารต้นฉบับ
             2.  บทคัดย่อประเภทพรรณนา (Indicative of Descriptive Abstract) เขียนเพื่อชี้แนะข้อเท็จจริงที่สำคัญที่สุดในเอกสาร โดยปราศจากรายงานถึงผลการศึกษา ค้นคว้า หรือสรุป เพื่อให้ผู้อ่านใช้ประกอบการตัดสินใจ ว่าจะต้องอ่านหรือศึกษาเอกสารต้นฉบับหรือไม่ โดยทั่วไปนิยมใช้เขียนเพื่อสรุปเอกสารที่นำเสนอ หรือทัศนคติที่กว้างขวาง เช่น เอกสารด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ หรือบทวิจารณ์ เป็นต้น 

 

              การเขียนบทคัดย่อมีหลักสำคัญ 3 ประการ ดังนี้

              1.  มีความสั้น กะทัดรัดและกระชับ (Concision)
                   คือ เลือกเฉพาะสาระที่เป็นประเด็นใจความสำคัญของเอกสาร โดยใช้สำนวนที่กะทัดรัด มีความกระชับ หลีกเลี่ยงการใช้คำหรือประโยคที่มีความยาว หรือมีความซ้ำซ้อนความยาวของบทคัดย่อไม่มีกำหนดไว้ตายตัว ขึ้นอยู่กับชนิดของเอกสารและเนื้อหาสาระของเอกสารนั้น ๆ ว่า มีความสำคัญมากน้อยเพียงใด โดยทั่วไปบทคัดย่อจะมีเพียง 1 ย่อหน้า แต่สำหรับเอกสารงานวิจัยมีได้มากกว่า
             2. มีความถูกต้อง (Precision)
                 คือ สามารถถ่ายทอดประเด็นสำคัญของเอกสารได้อย่างถูกต้อง ตามความหมายเดิมของเอกสารต้นฉบับ ไม่ควรมีการตีความหรือแสดงความคิดเห็นใด ๆ อันทำให้ผู้อ่านเข้าใจสาระของเอกสารต้นฉบับผิดไป
             3. มีความชัดเจน (Clarity)
                 การเรียบเรียงถ้อยคำเพื่อเสนอในบทคัดย่อจะต้องสื่อความหมายให้เข้าใจชัดเจน โดยใช้รูปประโยคที่สมบูรณ์ไม่ใช่เขียนกระท่อนกระแท่นเป็นคำ ๆ 

              การเขียนบทคัดย่องานวิจัย

              การเขียนบทคัดย่อของงานวิจัยเป็นการเขียนบทคัดย่อประเภทให้ความรู้ (Informative Abstract) ซึ่งควรเขียนให้ประกอบด้วยส่วนสำคัญในเนื้อหาบทคัดย่อดังนี้ คือ
               1.  วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Purpose or Objective)
                     เป็นการอธิบายให้ทราบถึงจุดมุ่งหมายในการศึกษานั้นว่ามุ่งในเรื่องใดบ้าง และหากจำเป็นต้องกล่าวถึงปัญหาสำคัญหรือการศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลการศึกษาวิจัยอย่างใกล้ชิด ก็อาจกล่าวไว้โดยย่อ
               2. วิธีการ (Methodology)
                    เป็นการอธิบายขั้นตอน เทคนิค อุปกรณ์ เครื่องมือ ที่สำคัญในการศึกษาวิจัยนั้นโดยย่อ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  คุณภาพของเครื่องมือ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
               3.  ผลและบทสรุป (Result and Conclusions)
                   เป็นการกล่าวถึงผลการค้นคว้าทดลอง สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และสมมติฐานของการวิจัย   โดยการเขียนอย่างกะทัดรัด และให้ความรู้ ความเข้าใจมากที่สุด หากมีข้อกำหนดใด ๆ ที่มีผลกระทบต่อความเที่ยงตรงของผลการวิจัย จะต้องชี้แจงไว้ด้วยส่วนบทสรุป โดยอธิบายความสำคัญของผลการค้นคว้าที่ดี ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้เบื้องต้น นอกจากนี้อาจมีข้อเสนอแนะ การประเมินผล และแนวทางการใช้ประโยชน์ที่สำคัญด้วย

เหตุใดคุณจึงควรพยายามเขียนบทคัดย่อที่ดี ?

               1. บทคัดย่อที่ดีกว่าจะได้รับความนิยมมากกว่า
               2. การเขียนบทคัดย่อที่ดีจะช่วยเพิ่มทักษะทางภาษาและทักษะสำคัญอื่น ๆ ของคุณ
               3. บทคัดย่อที่ดีจะช่วยให้คนอื่นสามารถเรียนรู้ เข้าใจ และขยายขอบเขตความรู้ของผู้อื่น

บทคัดย่อที่ดีและได้ผล เป็นอย่างไร?

              1. ใช้โครงสร้างแบบ บทนำ-เนื้อความ-สรุป ที่เป็นการนำเสนอถึงหนังสือ/บทความที่ต้องการ เรียงตามลำดับเหตุการณ์ในหนังสือ/บทความอย่างเคร่งครัด
              2. ตรวจให้แน่ใจว่าบทคัดย่อแบ่งเป็นย่อหน้าย่อย ๆ ที่มีความเป็นเอกภาพ สอดคล้องกัน รวบรัด และสามารถสื่อความได้เมื่ออยู่เดี่ยว ๆ
             3. ใส่การเชื่อมต่อทางตรรกะระหว่างข้อมูลที่ให้มา
             4. ใส่เครื่องหมายต่าง ๆ สำหรับจัดรูปแบบข้อมูลลงในบทคัดย่อของคุณด้วย เช่น ชื่อเรื่อง วรรค ตัวแบ่งบรรทัด ย่อหน้า สัญลักษณ์หัวข้อย่อย ตัวหนา ฯลฯ องค์ประกอบเหล่านี้เป็นสิ่งที่สำคัญเพื่อให้ผู้อ่านสามารถอ่านเนื้อความได้อย่างสะดวกง่ายดาย
              กล่าวโดยสรุป บทคัดย่อ เป็นการย่อสรุปผลงานวิจัยของผู้เขียนทั้งหมด (5 บท) สรุปย่อเหลือเพียง 1-2 หน้ากระดาษ ทั้งนี้เพื่อสื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจ รับรู้ สื่อความหมายโดยภาพรวมทั้งหมดของงานวิจัย

 แหล่งที่มา : http://www.trang1.go.th/view.php?article_id=2514

 เขียนโดย ดร.จำเริญ จิตรหลัง Ed.D  
      (Educational Administration)


การเขียนบทคัดย่อภาษาอังกฤษใน abstractการเขียนบทคัดย่อภาษาอังกฤษในabstract

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

วิเคราะห์อำนาจจำแนก

วิเคราะห์อำนาจจำแนก


เปิดอ่าน 23,263 ครั้ง
เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique)

เทคนิคเดลฟาย (Delphi technique)


เปิดอ่าน 102,365 ครั้ง
วิจัยและสถิติ

วิจัยและสถิติ


เปิดอ่าน 41,646 ครั้ง
ศัพท์สถิติทางการศึกษา

ศัพท์สถิติทางการศึกษา


เปิดอ่าน 39,372 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

การพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที่ 21

การพัฒนาการศึกษาภายใต้กรอบประเทศไทย 4.0 สู่ศตวรรษที่ 21

เปิดอ่าน 20,549 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
การพัฒนาการวิจัยโดยใช้รูปแบบ
การพัฒนาการวิจัยโดยใช้รูปแบบ
เปิดอ่าน 26,706 ☕ คลิกอ่านเลย

ลักษณะที่ดีและลักษณะที่บกพร่องของงานวิจัยเชิงปริมาณที่เป็นปริญญานิพนธ์ (วิทยานิพนธ์)
ลักษณะที่ดีและลักษณะที่บกพร่องของงานวิจัยเชิงปริมาณที่เป็นปริญญานิพนธ์ (วิทยานิพนธ์)
เปิดอ่าน 22,052 ☕ คลิกอ่านเลย

รูปแบบการรายงานผลการวิจัยแบบเป็นทางการ
รูปแบบการรายงานผลการวิจัยแบบเป็นทางการ
เปิดอ่าน 68,998 ☕ คลิกอ่านเลย

ไขปัญหาเกี่ยวกับ สถิติ วัดผล และวิจัย ตอนที่ 1
ไขปัญหาเกี่ยวกับ สถิติ วัดผล และวิจัย ตอนที่ 1
เปิดอ่าน 32,148 ☕ คลิกอ่านเลย

จุดมุ่งหมายทั่วไปของการวิจัย
จุดมุ่งหมายทั่วไปของการวิจัย
เปิดอ่าน 92,501 ☕ คลิกอ่านเลย

วิเคราะห์อำนาจจำแนก
วิเคราะห์อำนาจจำแนก
เปิดอ่าน 23,263 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ทริคเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับน้ำ ที่คุณครูเอาไปสอนเด็กได้
ทริคเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับน้ำ ที่คุณครูเอาไปสอนเด็กได้
เปิดอ่าน 12,834 ครั้ง

ยัน"เขื่อนศรีฯ"ยังรับน้ำได้อีก
ยัน"เขื่อนศรีฯ"ยังรับน้ำได้อีก
เปิดอ่าน 7,488 ครั้ง

สาวยูเครน 19 คลั่งอนิเมะ แปลงตัวเองเป็นการ์ตูนญี่ปุ่น
สาวยูเครน 19 คลั่งอนิเมะ แปลงตัวเองเป็นการ์ตูนญี่ปุ่น
เปิดอ่าน 11,559 ครั้ง

แชร์ว่อนเน็ต คลิป"มอเตอร์ไซค์รับจ้าง"พูดอังกฤษคล่องปรื๋อ! ให้สัมภาษณ์ทีวีสิงคโปร์ หลายคนแห่ชื่นชม !!
แชร์ว่อนเน็ต คลิป"มอเตอร์ไซค์รับจ้าง"พูดอังกฤษคล่องปรื๋อ! ให้สัมภาษณ์ทีวีสิงคโปร์ หลายคนแห่ชื่นชม !!
เปิดอ่าน 15,727 ครั้ง

ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 มิถุนายน 2552
ผลสลากกินแบ่งรัฐบาล งวดประจำวันที่ 1 มิถุนายน 2552
เปิดอ่าน 15,142 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ