Advertisement
|
โลกและชีวิต มีคนเก่ง ๆ มาปรึกษาด้วยอาการฟุ้งซ่านมากขึ้นส่วนมากจะเรียนเก่งหรือทำงานเก่ง หน้าที่การงานดี
มีอนาคตแต่ในชีวิตส่วนตัวไม่ค่อยมีความสุขเลยเริ่มตั้งแต่นอนไม่หลับติดต่อกัน กังวล คิดมาก คิดซ้ำซากกลัวว่าจะอ่อนเพลีย ก็เลยรู้สึกอ่อนเพลียจริง ๆ ทุกครั้งอารมณ์เสีย หงุดหงิดง่าย พวกนี้มีความคิดที่มากเกินปกติ คิดตลอดเวลา ขยันหาข้อมูลความคิดมาใส่สมองทั้งจากอินเตอร์เน็ต สิ่งพิมพ์ การสัมมนา ทีวี การสนทนา ฯลฯ สมองจึงเต็มไปด้วยข้อมูลที่มากจนล้นสมองออกมาบางคนรู้ว่าควรจะลบ (delete) ข้อมูลออกจากสมองบ้าง แต่ก็ไม่รู้จะลบอย่างไร
แถม...กลับไปได้ข้อมูลที่ไม่เหมาะสมมาเพิ่มเติมใส่สมองเข้าไปอีก นี่คือวงจรชีวิตของคนที่เรียนเก่งหรือทำงานเก่ง ที่มักคิดฟุ้งซ่านที่พบได้มากขึ้นในทุกวันนี้ พวกนี้มักมีสมองซีกซ้ายทำงานดี ชอบคิดในแนวหาเหตุผล วิเคราะห์ วิจารณ์ได้เก่ง และพวกนี้มักใช้สมองซีกขวาเพื่อความสุนทรีย์ การจินตนาการที่ดี ความรัก มิตรภาพ ศิลปะ ความงามได้น้อย
ข้อแนะนำง่าย ๆ สำหรับพวกฟุ้งซ่าน ก็คือ
1. หาเวลาฝึกสติ ทำสมาธิทุกวัน จะเป็นการกรองความคิดที่ไม่เหมาะสมออกไปและลดการปรุงแต่งอารมณ์ อยู่กับปัจจุบัน ทำให้คิดฟุ้งซ่านน้อยลง
2. ออกกำลังกายแบบไม่คาดหวังผลให้มากขึ้นทุกวัน ๆ ละ 45 นาที เช่น การวิ่ง แต่เลี่ยงการออกกำลังกายก่อนนอน
3. ฝึกการนอนอย่างมีสติและมีความสุข หลีกเลี่ยงการทำให้สมองและร่างกายตื่นตัวก่อนนอน เช่น ออกกำลังกาย อ่านหนังสือสนุก ดูหนังเร้าใจก่อนนอน ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ไม่คิดเรื่องงาน
- รู้จักการนอนอย่างปล่อยวาง คือทำจิตให้ว่างก่อนนอนโดยการหายใจลึก ๆ ช้า ๆ จดจ่ออยู่ที่ลมหายใจเข้า-ออกรูจมูก และตั้งจิตบอกกับตัวเองว่าจะนอน - หลับ - พัก - ผ่อนเสียที
- เมื่อนอนหลับได้แค่ไหนก็แค่นั้น อย่ากังวล ถ้าหลับลึก ๆ 4 - 5 ชั่วโมงพอแล้ว ตื่นขึ้นมาให้ทำท่ากระฉับกระเฉง บอกกับตัวเองว่าโชคดีที่ตื่นขึ้นมาได้ วันนี้คงพบสิ่งอื่น ๆที่น่าสนใจมากขึ้นบ้าง
4. ลดกิจกรรม "วิเคราะห์" ลงบ้าง ปล่อยกาย - ใจ - และความรู้สึก ให้สบายมากขึ้น บอกตัวเองว่าต้องการความสุข รู้จักการพอ ยอม และไม่เปรียบเทียบกับคนอื่น
ถ้าวิเคราะห์มากมักจะจับผิดเก่ง ทั้งตัวเองและสิ่งรอบตัว คนเก่ง ๆ ที่ฟุ้งซ่านมีมากขึ้น ที่มาปรึกษาก็มาก หลาย ๆ คนดีขึ้น บางคนต้องใช้ยาช่วยหรือใช้จิตบำบัด
จงเก็บพลังความคิดที่ดี ๆ ไว้ใช้อย่างสร้างสรรค์เถิด ถ้ามีความคิดมากไปตลอดเวลาเข้าข่ายฟุ้งซ่าน จะเป็นอุปสรรคในการทำงาน และจะเป็นโรคจิต โรคประสาทได้
ศ.ดร.นพ.วิทยา นาควัชระ
ที่มา http://board.palungjit.com/
|
วันที่ 8 ต.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,151 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,150 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,410 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,151 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 9,731 ครั้ง |
เปิดอ่าน 25,862 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,076 ครั้ง |
เปิดอ่าน 29,623 ครั้ง |
เปิดอ่าน 17,095 ครั้ง |
|
|