ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

รำลึก 39 ปี ครบรอบวันเสียชีวิต มิตร ชัยบัญชา


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,149 ครั้ง
Advertisement

รำลึก 39 ปี ครบรอบวันเสียชีวิต มิตร ชัยบัญชา

Advertisement

 
 
  
 
 
 
 
มิตร ชัยบัญชา

มิตร ชัยบัญชา


รำลึก 39 ปี ครบรอบวันเสียชีวิต มิตร ชัยบัญชา


เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก วิกิพีเดีย

            หากย้อนกลับไปเมื่อสี่สิบปีก่อน คงไม่มีใครไม่รู้จักสุดยอดพระเอกภาพยนตร์ไทยที่ชื่อว่า มิตร ชัยบัญชา แน่นอน ยิ่งได้ประกบคู่กับนางเอกนัยน์ตาหยาดน้ำผึ้งที่ล่าสุดกลับมาปรากฎตัวอีกครั้งอย่าง เพชรา เชาวราษฎร์ ก็ยิ่งทำให้ มิตร เพชรา โด่งดังเป็นพลุแตก และเนื่องในวันนี้ 8 ตุลาคม พ.ศ.2552 ถือเป็นวัน ครบรอบวันเสียชีวิต 39 ปี มิตร ชัยบัญชา กระปุกดอทคอมจะพาย้อนไปร่วมรำลึกถึง มิตร ชัยบัญชา พระเอกขวัญใจคอหนังไทยตลอดกาลคนนี้กัน

 

 

 


            มิตร ชัยบัญชา มีชื่อจริงว่า พันจ่าอากาศโท พิเชษฐ์ ชัยบัญชา หรือ พิเชษฐ์ พุ่มเหม เกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ.2477 เป็นชาวอำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ชีวิตเด็กของ มิตร ชัยบัญชา นั้น เดิมเรียกกันว่า บุญทิ้ง เพราะพ่อกับแม่แยกทางกัน โดยแม่เข้ามาขายผักในกรุงเทพฯ และฝาก มิตร ชัยบัญชา ไว้กับพระที่จังหวัดเพชรบุรี ต่อมาแม่มีฐานะดีขึ้นจึงรับ มิตร ชัยบัญชา ไปอยู่ด้วย และได้เข้าโรงเรียนในกรุงเทพฯ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น สุพิศ และใช้นามสกุล พุ่มเหม ตามนามสกุลของพ่อเลี้ยง ทั้งนี้ มิตร ชัยบัญชา เป็นเด็กเรียนเก่ง ขยันทำงาน โดยรับจ้างทำงานสารพัด เพื่อหาเงินใช้เองตั้งแต่เด็ก รวมทั้งยังสนใจการชกมวยด้วย
 

 

 


            ต่อมา มิตร ชัยบัญชา ได้ลาออกจากโรงเรียนพระนครวิทยาลัย เพื่อสมัครสอบเข้าโรงเรียนจ่าอากาศ เพราะ มิตร ชัยบัญชา มีความปรารถนาจะเป็นนักบินให้ได้ จน มิตร ชัยบัญชา สามารถเข้ามาเป็นนักเรียนการบินรุ่นที่ ป.15 ของโรงเรียนการบินโคราช และ นักเรียนจ่าอากาศ เหล่าอากาศโยธิน รุ่นที่ 11 ได้สำเร็จ และสำเร็จการศึกษาในปี พ.ศ.2499 และได้ติดยศจ่าอากาศโท จนได้เป็นครูฝึกที่กองพันต่อสู้อากาศยาน กรมอากาศโยธิน กองทัพอากาศดอนเมือง ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น จ่าอากาศโทพิเชษฐ์ พุ่มเหม

 

 

 

 



            ในปลายปี พ.ศ.2499 มิตร ชัยบัญชา ได้พบกับ สุรัตน์ พุกกะเวส และได้นัดให้ กิ่ง แก้วประเสริฐ หรือ ก.แก้วประเสริฐ พา มิตร ชัยบัญชา ไปพบกับทีมงานสร้างภาพยนตร์เรื่อง ชาติเสือ เนื่องจาก มิตร ชัยบัญชา มีหน้าตาหล่อเหลา สูงสง่า และบุคลิกภาพดูอ่อนโยน ซึ่ง มิตร ชัยบัญชา ก็ได้รับเลือกให้สวมบทพระเอกในภาพยนตร์เรื่อง "ชาติเสือ" ซึ่งถือเป็นผลงานชิ้นแรกของ มิตร ชัยบัญชา และครั้งนั้นเองที่ ประทีป โกมลภิส ทีมงานผู้สร้าง ชาติเสือ ได้เปลี่ยนชื่อ พิเชษฐ์ พุ่มเหม มาเป็น มิตร ชัยบัญชา โดยมีที่มาจากคำถาม 2 ข้อ คือ

            ข้อ 1 "ในชีวิตสิ่งใดสำคัญที่สุด" มิตรตอบว่า "เพื่อนครับ" ประทีปบอกว่า "เพื่อน คือ มิตร เมื่อรักเพื่อนก็เก็บเพื่อนไว้กับตัว งั้นดีให้ใช้ชื่อใหม่ว่า "มิตร" ก็แล้วกัน" และก็เป็นที่มาของชื่อ มิตร

            ข้อ 2 "ในชีวิตเกิดมาภูมิใจสิ่งใดมากที่สุด" มิตรตอบอย่างไม่ลังเลว่า "ได้อัญเชิญธงชัยเฉลิมพลในพิธีสวนสนามวันปิยมหาราชครับ" เพราะมิตรได้อัญเชิญธงชัยเฉลิมพล ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติยศสูงสุด และเขาได้ทำหน้าที่นี้ทุกปีตลอดการเป็นทหารของเขา ซึ่งเป็นที่มาของนามสกุล "ชัยบัญชา"

 

 



            หลังจากภาพยนตร์เรื่อง ชาติเสือ เข้าฉายในปี พ.ศ.2501 มิตร ชัยบัญชา ก็เริ่มเป็นที่รู้จักของประชาชน ก่อนที่ภาพยนตร์เรื่องที่สอง "จ้าวนักเลง" จะส่งให้ มิตร ชัยบัญชา ดังเป็นพลุแตก ในบทบาทของ "โรม ฤทธิไกร" หรือ "อินทรีแดง" จากนั้น มิตร ชัยบัญชา ก็มีผลงานมาเรื่อย ๆ เช่น เหนือมนุษย์ แสงสูรย์ ค่าน้ำนม ร้ายก็รัก ผู้ยิ่งใหญ่ทั้งเก้า หงษ์ฟ้า ทับสมิงคลา ฯลฯ จน มิตร ชัยบัญชา ที่เป็นพระเอกดาวรุ่ง ได้มาประกบกับนางเอกใหม่ คือ เพชรา เชาวราษฎร์ ในเรื่อง "บันทึกรักพิมพ์ฉวี" เมื่อปี พ.ศ.2504 มิตร ชัยบัญชา ก็กลายเป็นพระเอกอันดับ 1 ของประเทศ และ มิตร ชัยบัญชา ก็มักจะถูกจับคู่ให้แสดงเป็นคู่รักกับ เพชรา เชาวราษฎร์ อยู่เสมอ นับ ๆ รวมกันประมาณ 200 เรื่อง จนกลายเป็นคู่ขวัญ มิตร-เพชรา ขวัญใจของแฟน ๆ ภาพยนตร์ไทยไปโดยปริยาย เรียกว่า หากมาที่โรงภาพยนตร์แล้ว ไม่เจอชื่อ มิตร-เพชรา ก็จะเดินกลับเลย แม้จะเดินทางมาไกลเพียงใดก็ตาม



            ในปี พ.ศ.2506  มิตร ชัยบัญชา ก่อตั้ง ชัยบัญชาภาพยนตร์ และสร้างภาพยนตร์ของตัวเอง คือเรื่อง "เหยี่ยวดำ" หรือเดิมใช้ชื่อว่า "ครุฑดำ" แต่ต้องเปลี่ยนชื่อเพราะถูกติงว่า นำสัญลักษณ์ครุฑมาใช้ไม่เหมาะสม และในที่สุด "เหยี่ยวดำ" ก็ออกฉายได้โดยไม่ขาดทุน เพราะมีแฟน ๆ ให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ และหลังจากนั้น มิตร ชัยบัญชา ก็ลาออกจากการรับราชการทหารอากาศ เนื่องจากผู้บังคับบัญชาในขณะนั้น ต้องการให้ มิตร ชัยบัญชา เลือกทำเพียงอาชีพเดียว

            หลังจากลาออก มิตร ชัยบัญชา ได้ทุ่มเวลาให้กับการแสดง โดยถ่ายภาพยนตร์ 35-40 เรื่องต่อปี และมีผลงานต่อมาอีกมากมาย เช่น ใจเดียว, ใจเพชร, จำเลยรัก, นางสาวโพระดก, นกน้อย,ดาวพระศุกร์, มือนาง,7 พระกาฬ, พยัคฆ์ร้ายใต้สมุทร, ชุมทางเขาชุมทอง, ไฟเสน่หา, ฟ้าเพียงดิน, เงิน เงิน เงิน, เพชรตัดเพชร ฯลฯ ซึ่งในปี พ.ศ.2507 และ 2508 ภาพยนตร์เรื่อง นางสาวโพระดก และ สาวเครือฟ้า ที่ มิตร ชัยบัญชา แสดงคู่กับ พิศมัย วิไลศักดิ์ ได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง ภาพยนตร์ยอดเยี่ยมประจำปี

            นอกจากนี้ ภาพยนตร์เรื่อง เงิน เงิน เงิน ที่ มิตร ชัยบัญชา จับคู่กับ เพชรา เชาวราษฎร์ ยังทำรายได้มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ และ มิตร-เพชรา ยังได้รับพระราชทานโล่ห์เกียรตินิยมของสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิง จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้ง มิตร ชัยบัญชา ยังได้รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ในฐานะนักแสดงที่ทำรายได้สูงสุด ก่อนที่ในปีถัดไป ภาพยนตร์เรื่อง เพชรตัดเพชร จะทำรายได้แซงหน้า เงิน เงิน เงิน

            ต่อมาสมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย ได้จัดมอบรางวัล "ดาราทอง" ให้กับ มิตร ชัยบัญชา และ พิศมัย วิไลศักดิ์ โดยได้รับพระราชทานจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ เวทีลีลาศ สวนอัมพร เมื่อ 24 มีนาคม พ.ศ.2510 และ มิตร ชัยบัญชา ที่อยู่วงการมาถึง 10 ปี ได้ขอจดทะเบียนเปลี่ยนนามสกุล จาก พิเชษฐ์ พุ่มเหม เป็น พิเชษฐ์ ชัยบัญชา

            หลังจาก มิตร ชัยบัญชา ประสบความสำเร็จสูงสุด มิตร ชัยบัญชา ก็ตั้ง สหชัยภาพยนตร์ขึ้นร่วมกับเพื่อน ๆ และเป็นผู้อำนวยการสร้างเอง แสดงเอง จนมีผลงานเด่น ๆ หลายเรื่อง ก่อนที่ มิตร ชัยบัญชา จะเดินหน้าเข้าสู่สนามการเมือง โดยลงเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาเทศบาลในเขตบางรัก ยานนาวา สัมพันธวงศ์ ป้อมปราบฯ แต่ไม่ได้รับเลือก ก่อนที่ปี พ.ศ.2512 มิตร ชัยบัญชา ได้กลับมาลงสมัครเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในเขตพระนคร โดยคู่แข่งเลือกตั้งกล่าวกับประชาชนว่า หาก มิตร ชัยบัญชา ชนะการเลือกตั้งก็จะไม่กลับมาแสดงหนังให้ดูอีก ทำให้ มิตร ชัยบัญชา สอบตกจากการเมืองเป็นครั้งที่สอง

            ปี พ.ศ.2513 มิตร ชัยบัญชา ซื้อที่ดินเพื่อสร้างโรงภาพยนตร์ขนาดมาตรฐาน เพื่อฉายหนังไทยโดยเฉพาะ แต่อย่างไรก็ตาม มิตร ชัยบัญชา ยังคงรับงานแสดงภาพยนตร์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งรับแสดงภาพยนตร์จีนกำลังภายในที่ฮ่องกงด้วย คือเรื่อง "อัศวินดาบกายสิทธิ์" นอกจากนี้ในปีเดียวกัน มิตร ชัยบัญชา ได้แสดงภาพยนตร์เรื่อง มนต์รักลูกทุ่ง จนประสบความสำเร็จอย่างสูง ทำรายได้สูงถึง 6 ล้านบาท ในกรุงเทพฯ และ 13 ล้านบาททั่วประเทศ ถือเป็นการปลุกกระแส มิตร-เพชรา อีกครั้ง และยังเป็นปรากฎการณ์ที่ทำให้คนกรุงเทพฯ นิยมเพลงลูกทุ่งอีกด้วย

            แต่แล้วในวันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ.2513 แฟนภาพยนตร์ทั่วประเทศก็ต้องช็อกไปตาม ๆ กัน เมื่อมีข่าวว่า มิตร ชัยบัญชา พระเอกตลอดกาล เสียชีวิตขณะถ่ายทำภาพยนตร์เรื่อง "อินทรีทอง" ที่ มิตร ชัยบัญชา เป็นทั้งผู้กำกับและแสดงนำเอง โดยเป็นฉากที่ มิตร ชัยบัญชา ต้องโหนบันไดเชือกจากเฮลิคอปเตอร์ แต่เกิดผิวคิวในการถ่ายทำ ทำให้ มิตร ชัยบัญชา ตกลงมาจากเฮลิคอปเตอร์กระแทกกับพื้นที่ความสูง 300 ฟุต และเสียชีวิต จากนั้นวันรุ่งขึ้น หนังสือพิมพ์ทุกฉบับต่างพาดหัวถึงข่าวการเสียชีวิตของ มิตร ชัยบัญชา และมีแฟน ๆ ภาพยนตร์ไปร่วมงานศพของ มิตร ชัยบัญชา ที่วัดแคนางเลิ้ง เนืองแน่นหลายหมื่นคน

            ด้านชีวิตครอบครัว มิตร ชัยบัญชา สมรสอย่างเงียบ ๆ กับ จารุวรรณ สรีรวงศ์ มีบุตรชาย 1 คน คือ ยุทธนา พุ่มเหม แต่ชีวิตสมรสครั้งนั้นไม่ราบรื่น จึงหย่าขาดจากกัน ก่อนที่ มิตร ชัยบัญชา จะมาใช้ชีวิตคู่อย่างไม่เปิดเผยกับ กิ่งดาว ดารณี แต่ก็เลิกรากันไป และก่อนที่ มิตร ชัยบัญชา จะเสียชีวิตไม่นาน มิตร ชัยบัญชา ก็ได้พบรักกับ ศศิธร เพชรรุ่ง

            หลัง มิตร ชัยบัญชา เสียชีวิตได้ 4 ปี ได้มีการสร้างหุ่น มิตร ชัยบัญชา ขึ้นที่วัดบ้านท่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ส่วนกระดูกยังคงเก็บไว้ที่วัดแคนางเลิ้ง นอกจากนี้ยังมีการสร้างศาล มิตร ชัยบัญชา ที่บริเวณหาดดงตาล พัทยาใต้ สถานที่ที่ มิตร ชัยบัญชา เสียชีวิตไว้ด้วย ปัจจุบันอยู่หลังโรงแรมจอมเทียน และในปี พ.ศ.2548 ช่อง 7 ได้สร้างละครเรื่อง "มิตร ชัยบัญชา มายา-ชีวิต" ที่ดัดแปลงมาจากชีวิตจริงของ มิตร ชัยบัญชา พระเอกคนดัง นอกจากนี้ใน ปี พ.ศ.2549 ได้มีการจัดสร้างอนุสรณ์สถาน มิตร ชัยบัญชา ที่วัดท่ากระเทียม อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี บ้านเกิดของ มิตร ชัยบัญชา โดยมีการหล่อหุ่นปั้นไฟเบอร์กลาส มิตร ชัยบัญชา ขนาดเท่าของจริงไว้ด้วย

            และแม้ว่าวันนี้ มิตร ชัยบัญชา จะจากโลกนี้ไปถึง 39 ปีแล้ว แต่ผลงานและเกียรติประวัติของ มิตร ชัยบัญชา ก็ยังอยู่ในความทรงจำของแฟน ๆ ภาพยนตร์ไม่เสื่อมคลาย

ประวัติ มิตร ชัยบัญชา

        ชื่อในวงการ : มิตร ชัยบัญชา

        ชื่ออื่น ๆ : พิเชษฐ์ พุ่มเหม , พิเชษฐ์ ชัยบัญชา

        วันเกิด : 28 มกราคม พ.ศ.2477

        ภูมิลำเนา : จังหวัดเพชรบุรี

        วันเสียชีวิต : 8 ตุลาคม พ.ศ.2513

        ช่วงเวลาในวงการบันเทิง : พ.ศ. 2500 – พ.ศ.2513

        ผลงานภาพยนตร์ทั้งหมด : 266 เรื่อง แสดงคู่กับ เพชรา เชาวราษฎร์ 172 เรื่อง

        ผลงานสร้างชื่อ : จ้าวนักเลง, นกน้อย , สิงห์ล่าสิงห์, บันทึกรักพิมพ์ฉวี, เงิน เงิน เงิน, เพชรตัดเพชร, มนต์รักลูกทุ่ง ฯลฯ

รางวัล

        รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี ปี พ.ศ.2508 สาขาดารานำฝ่ายชายที่ทำรายได้สูงสุด จากเรื่อง เงิน เงิน เงิน

        รางวัลดาราทองพระราชทาน ปี พ.ศ.2509 สาขาดาราทองขวัญใจมหาชน

www.thaifilm.com

www.songburi.com

 

 

 

 

http://www.charyen.com/jukebox/play.php?id=5180

 

 






http://women.kapook.com/view5625.html

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 923 วันที่ 8 ต.ค. 2552


รำลึก 39 ปี ครบรอบวันเสียชีวิต มิตร ชัยบัญชา รำลึก39ปีครบรอบวันเสียชีวิตมิตรชัยบัญชา

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

..ตกยุค...

..ตกยุค...


เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง
เพลงนี้มอบให้ยามเช้า

เพลงนี้มอบให้ยามเช้า


เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง
ฉันคือแม่เหล็กดึงดูดเงิน

ฉันคือแม่เหล็กดึงดูดเงิน


เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง
ผญา กับ หัวหน้างาน

ผญา กับ หัวหน้างาน


เปิดอ่าน 7,212 ครั้ง
ขิงแก่...แก้ผมร่วง

ขิงแก่...แก้ผมร่วง


เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
ผลไม้ทายนิสัย

ผลไม้ทายนิสัย


เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

เผยแพร่ผลงาน

เผยแพร่ผลงาน

เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
7 สมุนไพร.....ช่วยย่อยอาหาร
7 สมุนไพร.....ช่วยย่อยอาหาร
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย

ทฤษฎีความรัก(ภาควิชาการ)
ทฤษฎีความรัก(ภาควิชาการ)
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย

ยากจริงหรือ คศ.3
ยากจริงหรือ คศ.3
เปิดอ่าน 7,166 ☕ คลิกอ่านเลย

เจ้าหญิงวุ่นวาย เจ้าชายเย็นชา 26
เจ้าหญิงวุ่นวาย เจ้าชายเย็นชา 26
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย

ผมไม่ใช่คนเก่ง
ผมไม่ใช่คนเก่ง
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย

เทคโนโลยี
เทคโนโลยี
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ปรุง...ต้านมะเร็ง ด้วยเมนูโฮมเมด
ปรุง...ต้านมะเร็ง ด้วยเมนูโฮมเมด
เปิดอ่าน 15,131 ครั้ง

"กับดักส้มสอดไส้ตะปู" ที่แท้มาจากประเทศ......
"กับดักส้มสอดไส้ตะปู" ที่แท้มาจากประเทศ......
เปิดอ่าน 8,925 ครั้ง

รูปแบบการรายงานผลการวิจัยแบบเป็นทางการ
รูปแบบการรายงานผลการวิจัยแบบเป็นทางการ
เปิดอ่าน 69,561 ครั้ง

พืชที่ใช้เป็นอาหาร
พืชที่ใช้เป็นอาหาร
เปิดอ่าน 60,328 ครั้ง

นับถอยหลังทั้งกาย-ใจ เทศกาลกินเจ ทำกุศลเพื่อ สุขภาพ
นับถอยหลังทั้งกาย-ใจ เทศกาลกินเจ ทำกุศลเพื่อ สุขภาพ
เปิดอ่าน 10,712 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ