ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมภาษาไทย  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

เรียนรู้จากนิราศ


ภาษาไทย เปิดอ่าน : 20,800 ครั้ง
Advertisement

เรียนรู้จากนิราศ

Advertisement

นิราศได้ให้ความรู้แก่เราหลายประการ มีทั้งความไพเราะ ในคำประพันธ์ในแง่มุมต่าง ๆ ความรู้สึกนึกคิด ของผู้ประพันธ์ตามท้องเรื่อง วิถีชีวิตไทยในยุคนั้นๆ ความรู้ทางธรรมชาติวิทยา ความรู้ทางภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ รวมทั้งตำนานต่าง ๆ จึงนับได้ว่า บรรดานิราศเป็นแหล่งอุดมด้วยความรู้ ที่มีคุณค่ามากแหล่งหนึ่ง มีค่าควรที่จะเข้าไปเรียนรู้ ด้วยความสุขและเพลิดเพลิน ได้ตลอดเวลา

ในอดีตมีกวีเอกของไทยหลายท่าน ได้แต่งนิราศไว้เป็นจำนวนมาก เป็นมรดกตกทอดมาถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่เราพอทราบว่า ท่านผู้ใดได้แต่งนิราศเรื่องใดไว้ แต่มีนิราศบางเรื่อง ก็ยังเป็นที่กังขาอยู่ในหมู่ผู้ศึกษาในด้านนี้ว่า ท่านผู้ใดเป็นผู้แต่งแน่ เพราะมีข้อมูลบางประการ ที่สันนิษฐานว่า นิราศเรื่องนั้นๆ น่าจะเป็นท่านผู้ใดเป็นผู้แต่งมากกว่า เช่น นิราศพระแทนดงรัง เป็นต้น

นิราศ เป็นบทกลอน ที่แต่งเวลาเดินทาง ไปสถานที่ไกล การเดินทางต้องใช้เวลามาก และส่วนมาก ก็จะเป็นการเดินทางทางเรือ ซึ่งเป็นการเดินทาง ที่สะดวกกว่าวิธีอื่น แต่ต้องใช้เวลามาก เพราะในสมัยนั้นต้องใช้แจว และพายในแม่น้ำลำคลอง และใช้ใบในท้องทะเล ผู้เดินทางมีเวลาว่างมาก ผู้มีสติปัญญาและขยัน ย่อมไม่ปล่อยให้เวลาล่วงไป โดยเปล่าประโยชน์ จึงแสวงหาอะไรทำเพื่อแก้รำคาญ ผู้ที่สันทัดในทางวรรณคดี จึงได้ใช้เวลาว่างดังกล่าว แต่งบทกลอน พรรณาสิ่งที่ได้พบเห็นในระหว่างทาง ประกอบกับอารมณ์ ที่ต้องเดินทางจากบ้านที่อยู่ จากบุคคลที่รัก ก็ได้นำความอาลัยอาวรณ์ มาบรรยายไว้ในนิราศด้วย จึงได้เกิดเนื้อหา ดังที่ปรากฎอยู่ในนิราศต่างๆ

การแต่งนิราศ ได้มีมา ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา นิราศในครั้งนั้น มักแต่งเป็นโคลง เช่นโคลงหริกุญชัย สันนิษฐานว่าแต่งเมื่อปี พ.ศ. 2181 โคลงพระศรีมโหสถ แต่งเมื่อปี พ.ศ. 2201 และโคลงกำศรวลศรีปราชญ์ แต่งระหว่างปี พ.ศ. 2246 - 2251 นิราศครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่แต่งเป็นกลอนสุภาพ เท่าที่ปรากฎ มีอยู่เพียงเรื่องเดียวคือ นิราศเมืองเพชรบุรี แต่งรวมไว้ในพวกเพลงยาวสังวาส ไม่ได้แยกออกมาต่างหาก เหมือนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในระยะหลัง คือในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ


นิราศที่แต่งในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ แต่งทั้งเป็นโคลง และกลอนสุภาพ กวีที่แต่งนิราศเป็นกลอนสุภาพ มากเรื่องกว่าผู้อื่นทั้งหมด คือสุนทรภู่ กลอนของสุนทรภู่ คนชอบอ่านกันมาก และได้ถือเอานิราศของสุนทรภู่ เป็นแบบอย่างแต่งนิราศกันต่อมา
นิราศแต่ละเรื่อง ที่จะนำเสนอต่อไปนี้ ได้เลือกเฉพาะส่วนที่ให้เรา ได้เรียนรู้ข้อมูลดังกล่าวข้างต้น โดยตัดส่วนที่แสดงความรัก และอาลัยอาวรณ์ออกไป แต่ได้พยายามคงเค้าโครงเดิมเอาไว้ คือมีทั้งที่มาท่ามกลางและที่ไปให้ครบถ้วน

 

ที่มา หอมรดกไทย

ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด

฿368 - ฿999

https://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6


เรียนรู้จากนิราศ

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

"สาสน์" "สาส์น" และ "สาร"

"สาสน์" "สาส์น" และ "สาร"


เปิดอ่าน 37,428 ครั้ง
สุภาษิต หรือ ภาษิต

สุภาษิต หรือ ภาษิต


เปิดอ่าน 48,274 ครั้ง
"ข้าว" ในสมัยพุทธกาล

"ข้าว" ในสมัยพุทธกาล


เปิดอ่าน 28,064 ครั้ง
ภาษาและอักษรไทย

ภาษาและอักษรไทย


เปิดอ่าน 22,149 ครั้ง
คำพังเพย

คำพังเพย


เปิดอ่าน 45,043 ครั้ง
คำนาม

คำนาม


เปิดอ่าน 47,631 ครั้ง
โคลงโลกนิติ

โคลงโลกนิติ


เปิดอ่าน 89,891 ครั้ง
ประโยคเพื่อการสื่อสาร

ประโยคเพื่อการสื่อสาร


เปิดอ่าน 7,133 ครั้ง
เกลือ

เกลือ


เปิดอ่าน 58,255 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ประมวลศัพท์ คำพ้องรูป ในภาษาไทย ที่ควรรู้

ประมวลศัพท์ คำพ้องรูป ในภาษาไทย ที่ควรรู้

เปิดอ่าน 872,965 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
การเขียนเรื่องสั้นเบื้องต้น
การเขียนเรื่องสั้นเบื้องต้น
เปิดอ่าน 43,614 ☕ คลิกอ่านเลย

"เผยแผ่" กับ "เผยแพร่"
"เผยแผ่" กับ "เผยแพร่"
เปิดอ่าน 11,046 ☕ คลิกอ่านเลย

วรรณคดีมรดกของไทยสมัยอยุธยา
วรรณคดีมรดกของไทยสมัยอยุธยา
เปิดอ่าน 62,068 ☕ คลิกอ่านเลย

คำเรียกตัวเลขทั้งสิบในภาษาไทย
คำเรียกตัวเลขทั้งสิบในภาษาไทย
เปิดอ่าน 212,191 ☕ คลิกอ่านเลย

เกลือ
เกลือ
เปิดอ่าน 58,255 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

ความหมายและความสำคัญของการเกษตร
ความหมายและความสำคัญของการเกษตร
เปิดอ่าน 82,341 ครั้ง

ทำอย่างไรให้ลูกมีความจำดี : ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ
ทำอย่างไรให้ลูกมีความจำดี : ดร.สุพาพร เทพยสุวรรณ
เปิดอ่าน 12,360 ครั้ง

วิธีสร้างความสุขแบบสาวโสด
วิธีสร้างความสุขแบบสาวโสด
เปิดอ่าน 9,996 ครั้ง

รอบรู้เกี่ยวกับเรื่องของ พ.ร.บ. ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
รอบรู้เกี่ยวกับเรื่องของ พ.ร.บ. ประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ
เปิดอ่าน 20,702 ครั้ง

คลายเครียด ด้วยการดื่มน้ำ
คลายเครียด ด้วยการดื่มน้ำ
เปิดอ่าน 10,688 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.

Thailand Web Stat

Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ