Advertisement
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดให้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๕ พร้อมกับการสร้างพระบรมมหาราชวังและกรุงรัตนโกสินทร์ ตามประเพณีการสร้างพระอารามในพระราชฐานสมัยอยุธยา โดยมีพระราชประสงค์จะให้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร และเป็นสถานที่บำเพ็ญพระราชกุศล ได้อัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรจากกรุงธนบุรีมาประดิษฐาน เมื่อวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๓๒๗
มาแล้ว ถ้าไม่ได้เดินดูจิตรกรรมฝาผนัง ก็ต้องถือว่ายังมาไม่ถึงวัดพระแก้ว
การที่เลือกเรื่องรามเกียรติ์มาวาดเป็นจิตรกรรมฝาผนังในวัดพระแก้ว ซึ่งเป็นวัดในพระบรมมหาราชวังนี่ก็มีที่มาที่ไปเหมือนกัน
เพราะจากความเชื่อของเราที่ว่าพระมหากษัตริย์นั้น ทรงเป็นพระนารายณ์อวตารลงมาปราบทุกข์เข็ญอย่างเดียวกับพระรามในเรื่องรามเกียรติ์ เพราะงั้นภาพเล่าเรื่องรามเกียรติ์ จะว่าไปแล้วก็ไม่ใช่เรื่องของใครอื่น แต่เป็นเรื่องราวพระราชประวัติของพระมหากษัตริย์นั่นเอง
จีน - ไทย ใช่อื่นไกล
ดวกบัวในวัด
ช่างกำลังซ่อมภาพจิตรกรรมฝาผนัง
ลิงและยักษ์แบกสุวรรณเจดีย์ แบกมา 200 กว่าปีแล้ว ถึงจะเหนื่อยแต่ยังสู้อยู่
เจดีย์นี้รัชกาลที่ 1 โปรดให้สร้างขึ้นเพื่ออุทิศแด่พระชนกชนนี ซึ่งเป็นตามธรรมเนียมการสร้างวัดที่จะสร้างเจดีย์คู่ไว้หน้าวัด เป็นการอุทิศแก่บิดามารดาของผู้สร้าง ที่ฐานเจดีย์เป็นรูปยักษ์กับกระบี่ (ลิง) แบกเจดีย์
ตัวไหนเป็นยักษ์ ตัวไหนเป็นลิง สังเกตได้อย่างหนึ่งง่าย ๆ คือ ลิงไม่ใส่รองเท้าจ้า
บัวต่างสี
กินนรีบริเวณลานด้านหน้าปราสาทพระเทพบิดร
สุวรรณเจดีย์
เหนื่อยนักก็พักก่อน
ไทย จีน ฝรั่ง เดินเยอะๆก็เหนื่อยเหมือนกันแหละครับ
ไกด์ชาวไทย กำลังบรรยายเป็นภาษาเยอรมันให้นักท่องเที่ยวฟัง
รูปฤาษีนี้คือหมอประจำพระองค์ของพระพุทธเจ้า หรือท่าน “ชีวก โกมารทัจน์” ท่านเป็นที่นับถือของผู้ที่ศึกษาทางด้านการแพทย์แผนโบราณ รวมทั้งผู้คนที่เจ็บไข้ได้ป่วยก็มักจะมาขอพรจากท่านกัน
ยักษ์ทวารบาล ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้ามาภายในบริเวณวัด ทั้งหมดมีอยู่ 6 คู่ด้วยกัน
วันที่ฟ้าไม่เปิด
ถ้าข้อมูลผมจำมาไม่ผิด ที่นี่น่าจะเป็นหมู่พระมหามณเฑียรนะครับ
บริเวณใกล้ๆกันครับ
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยเป็นอาคารแบบยุโรปสมัยสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรีย ส่วนหลังคาสร้างตามแบบไทยมียอดปราสาท 3 ยอด ว่ากันว่าเมื่อแรกสร้างนั้นมีขุนนางไทยเข้ามาเห็นถึงกับอุทานว่า “ฝรั่งใส่ชฏา” แต่ก็เป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานระหว่างศิลปะแบบยุโรปกับไทยได้อย่างสวยงาม
ต่างมุมมอง
มองต่างมุม
มองสูง
บัตรเข้าชมสำหรับชาวต่างชาติคนละ 200 บาท
ส่วนคนไทยไม่ต้องเสียค่าเข้าชม
วัดพระแก้วและพระบรมมหาราชวัง สามารถมาชมได้
ตั้งแต่ 8.00 – 16.00 น. สำหรับคนไทย
และ 8.30 – 15.30 น. สำหรับชาวต่างประเทศ
แบบจีนๆ
เคยสังเกตกันไหมหนอว่าคำว่า "โกสินทร์" แปลว่า พระ ส่วน "รัตนะ" ก็แปลว่า แก้ว เพราะงั้น ถ้าถอดเครื่องประดับรุงรังของคำว่า “กรุงรัตนโกสินทร์” เราก็จะได้เจอตัวจริงที่ชื่อ “เมืองพระแก้ว” นั่นเอง
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม หรือวัดพระแก้ว ตั้งอยู่ตรงมุมตะวันออกเฉียงเหนือ ของพระบรมมหาราชวัง เป็นที่ประดิษฐาน พระมหามณีรัตนปฏิมากร และใช้เป็นที่ประกอบ พระราชพิธีทางศาสนาที่สำคัญ วัดพระแก้วสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2327 วัดนี้เป็นวัดพุทธาวาส ภายในพระอุโบสถและระเบียงรอบวัด มีภาพเขียนฝาผนังสวยงามมาก
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 1-9 ตลอดทุกรัชกาล สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดได้แก่ หอพระเทพบิดร ( เปลี่ยนชื่อเป็นปราสาทพระเทพบิดร ในสมัยรัชกาลที่ 6 ) พระปรางค์ 8 องค์ พระศรีรัตนเจดีย์ ปราสาทนคร วัดจำลอง ฯลฯ
ภายในบรรยากาศของพระบรมมหาราชวังแห่งนี้ คุณจะรู้สึกราวกับว่าได้กลับไปอยู่ในอีกยุคสมัยหนึ่ง เพราะถึงแม้ว่าเวลาจะผ่านมากว่า 200 ปีแล้วก็ตาม หากแต่ยังได้รับการดูแลรักษาอย่างดี และยังคงใช้เป็นสถานที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญหลายๆพิธีเช่นแต่ก่อนมา
สิ่งที่น่าตื่นตาตื่นใจอีกประการหนึ่งของที่นี่นั่นก็คือ ไม่ว่าจะมาเยี่ยมชมที่นี่สักกี่ครั้ง คุณจะรู้สึกว่าที่นี่ยังคงแปลกใหม่ มีหลายสิ่งหลายอย่างที่น่าสนใจและชวนศึกษาอยู่เสมอ
http://www.fwdder.com/topic/181445
วันที่ 5 ต.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,409 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,218 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,148 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,177 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 29,498 ครั้ง |
เปิดอ่าน 5,990 ครั้ง |
เปิดอ่าน 24,595 ครั้ง |
เปิดอ่าน 2,358 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,676 ครั้ง |
|
|