Advertisement
❝ ทุกวันออกพรรษา หรือ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 จะเกิดปราฏการณ์ "บั้งไฟพญานาค" หรือ บั้งไฟผีซึ่ง มีลักษณะเป็นลูกไฟสีชมพู ไม่มีกลิ่น ไม่มีควัน ไม่มีเสียง พุ่งขึ้นเหนือลำน้ำโขง มีตั้งแต่ระดับ 1-30 เมตร แล้วพุ่งขึ้นไปในอากาศสูงประมาณ 50-150 เมตร เป็นเวลาประมาณ 5-10 วินาที โดยจะเกิดปีละ 1 ครั้งเท่านั้น ❞
บั้งไฟพญานาค เกิดจากก๊าซร้อน คือ ก๊าซที่มีส่วนผสมของก๊าซมีเทน และก๊าซไนโตรเจน เป็นส่วนผสมสำคัญเมื่อ เจอกับความกดดันของน้ำ ความกดดันของอากาศในตอนพลบค่ำ หล่มทรายก็จะไม่สามารถรับแรงดันได้ ก๊าซจะหลุดออกมาและพุ่งขึ้นเมื่อโผล่พ้นน้ำ และมีการฟุ้งกระจายไปบางส่วน โดยเหลือแกนในของก๊าซซึ่งลอยตัวขึ้นสูง เมื่อไปกระทบกับอนุภาพออกซิเจนอะตอมที่มีประจุ ที่มีพลังงานสูง ก็จะเกิดการสันดาปอย่างรวดเร็ว กลายเป็นดวงไฟหลายสี แต่ 95% จะเป็นดวงไฟสีแดงอำพัน พุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าแล้วก็หายไป และทุกตำแหน่งที่เกิดบั้งไฟพญานาคจะอยู่ในระดับ 5-13 เมตร
แล้ว "ทำไม? ต้องเป็นวันนี้" คำ ตอบจากผู้สันทัดกรณี นพ.มนัส กนกศิลป์ อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองคาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี ผู้ซึ่งลงพื้นที่ทุ่มเท แรงกาย แรงใจ ในการศึกษาค้นคว้า และวิจัยถึงปรากฏการณ์เหนือธรรมชาตินี้มามากกว่า 14 ปีให้เหตุผลสั้น ๆ ว่า
"ใน คืนวันออกพรรษาจะมีออกซิเจน ก๊าซที่ช่วยให้ติดไฟสูงสุดในรอบปี ซึ่งก็เกิดจากอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงพลังงานรังสีของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และโลก"
เมื่อ "โลกร้อน" จะกระทบไหม? ผอ.รพ.สรรพสิทธิประสงค์ บอกว่า การเกิด "บั้งไฟพญานาค" ไม่เกี่ยวกับภาวะโลกร้อนหรือ แม้แต่การเคลื่อนตัวเข้ามาของพายุกิสนาที่ไทยกำลังประสบอยู่ หากแต่เป็นเรื่องดีเสียอีก เพราะการเกิดพายุฝนฟ้าคะนองจะช่วยให้การเกิดบั้งไฟพญานาคดีขึ้น เนื่องจากความชื้นสัมผัสในอากาศจะสูง จะทำให้ติดไฟดี จากการคาดการณ์ปีนี้ จำนวนลูกไฟ ไม่น่าจะลดน้อยลง ส่วน สิ่งที่จะกระทบต่อการเกิดบั้งไฟพญานาคมีเพียงปัจจัยเดียว คือ ระดับน้ำในแม่น้ำเท่านั้น
โลโก้"บั้งไฟ" ถูกย้ายที่ นพ.มนัส ผู้เป็นเสมือนโลโก้บั้งไฟพญานาค กล่าวว่า ปีนี้อาจจะไม่ได้เดินทางไปดูที่ อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย เนื่องจากถูกย้ายมาอยู่ รพ.สรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี คาดว่าจะดูอยู่ที่นี้ ที่ อ.โขงเจียม ซึ่งได้มีการพูดคุยกับทางจังหวัด ให้จัดทีมลงตรวจสอบพื้นที่ เรือลาดตระเวน จัดทำแผนที่ ว่ามีจุดใดบ้างที่สามารถดูบั้งไฟได้ เพื่อวางแผนกระตุ้นการท่องเที่ยวให้กับจังหวัด ซึ่งใน อ. โขงเจียม มีจุดชม 3 แห่ง ที่บ้านกุ่ม บ้านท่าล้ง และบ้านตามุย
"สงสัยตัวเองอยู่เหมือนกันว่า ไม่รู้เพราะเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านบั้งไฟพญานาคหรือเปล่าถึงถูกย้ายมาประจำที่ นี้" นพ.มนัส กล่าวท้ิงท้ายอย่างอารมณ์ดี
ร่องรอยที่เชื่อว่าเป็น "พญานาค" นาย ยอดยิ่ง ราชตั้งใจ ศิลปินดีเด่นจังหวัดหนองคาย ประธานชมรมนาฏศิลป์ เล่าว่า เมื่อ 2 สัปดาห์ ก่อนถึงวันออกพรรษา หลังจากที่ครูโรงเรียนปทุมเทพวิทยาคาร เสร็จจากเผาโครงกระดูกอาจารย์ใหญ่ ซึ่งอยู่ภายในห้องศิลปะมีไว้ให้นักเรียนวาดเป็นแบบที่วัดข้าง ๆ โรงเรียน เมื่อเดินทางกลับพบร่องรอยคล้ายสัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งเชื่อกันว่าเป็น ร่องรอยพญานาค ปรากฏขึ้นที่บริเวณฝากระโปรงรถ 4 คันรวด
"บั้งไฟ" ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำโขงศิลปินดีเด่นจังหวัดหนองคาย กล่าวว่า จากสถิติ 2-3ปีที่ผ่านมา พบว่าปริมาณบั้งไฟมีจำนวนที่น้อยลง เนื่องจากน้ำในแม่น้ำโขงมีปริมาณลดลง ปัจจัยหนึ่งมาจากการสร้างอุโมงค์ผันน้ำจากแม่น้ำโขงฝั่งประเทศลาว ข้อดีคือ น้ำไม่ท่วมพื้นที่ของเกษตร แต่ข้อเสียคือ ปริมาณบั้งไฟจะลดน้อยลง ซึ่งในปีนี้ก็คาดว่าจะมีปริมาณไม่มาก
"หนองคาย" พร้อมต้อนรับ นายยอดยิ่ง เชิญชวนนักท่องเที่ยวทั้งไทย และต่างชาติ มาชมปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ 1 ปี จะมีเพียงหนเดียว โดย จังหวัดได้เตรียมพร้อมต้อนรับแขกที่จะเที่ยวชม ตามนโยบายของผู้ว่าฯ "ชาวบ้านที่ดี" โดยในส่วนของตำรวจได้มีการอำนวยความสะดวกด้านการจราจร ทางเทศบาลจัดเตรียมความบันเทิง นอกจากนี้ ทางจังหวัดได้เตรียมที่พักไว้ให้บริการ โดยทางอาสารักษาดินแดน ได้จัดเตรียมเต็นท์ ไว้ที่บริเวณหน้าศาลากลางให้บริการในคืนวันที่ 3-4 ต.ค. เพื่อรองรับนัก ท่องเที่ยวที่ไม่มีที่พัก สามารถมาใช้บริการได้ฟรี
ข้อมูลจาก หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
Advertisement
เปิดอ่าน 12,658 ครั้ง เปิดอ่าน 18,833 ครั้ง เปิดอ่าน 60,271 ครั้ง เปิดอ่าน 14,753 ครั้ง เปิดอ่าน 26,731 ครั้ง เปิดอ่าน 23,823 ครั้ง เปิดอ่าน 13,551 ครั้ง เปิดอ่าน 18,064 ครั้ง เปิดอ่าน 9,548 ครั้ง เปิดอ่าน 14,482 ครั้ง เปิดอ่าน 10,541 ครั้ง เปิดอ่าน 14,137 ครั้ง เปิดอ่าน 16,357 ครั้ง เปิดอ่าน 28,904 ครั้ง เปิดอ่าน 11,716 ครั้ง เปิดอ่าน 10,324 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 12,581 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,804 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 27,560 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 12,065 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 8,447 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 128,495 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 30,631 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 11,109 ครั้ง |
เปิดอ่าน 38,310 ครั้ง |
เปิดอ่าน 41,570 ครั้ง |
เปิดอ่าน 20,190 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,864 ครั้ง |
|
|