ข้อความนี้ ส่งผ่านมาจาก gotoknow มาถามผม ใจความดังนี้
> สวัสดี บก.ตาหวาน (kornkham)
>
> นี่คืออีเมลติดต่อจากผู้อ่าน กรุณาตอบโดยตรงไปยังผู้อ่านนั้น
> ------------------------------------------------------------
>
> ชื่อ: มานะ
> หัวเรื่อง: ช่วยตอบโจยท์นี้หน่อยครับ
>
> ข้อความ:
> มีโรงเรียนแห่งหนึ่ง เป็นโรงเรียนขนาดเล็ก มีจำนวนนักเรียน 98 คน มีครู4คนร่วมทั้งผู้บริหารโรงเรียน โรงเรียนแห่งนี้ตั้งอยู่บนภูเขา การคมนาคมการไม่สะดวก ไม่มีไฟฟ้าละไม่มีน้ำประปา แต่มีน้ำห้วย ชุมชนนั้นเป็นชุมชนกระเหรี่ยง ผู้ปกครองนักเรียนประกอบอาชีพเกษตรกรรมและมีฐานะยากจน โรงเรียนพบว่ามีสถิตินักเรียนขาดเรียนค่อนข้างสูง และผลสัมฤทธิ์การเรียนตกต่ำ ปีหน้าต้องเข้าสู่การประเมินจากภายนอก ถ้าท่านได้ไปบรรจุที่โรงเรียนแห่งนี้ท่านจะมีวิธีการการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไรให้ออกมาในรูปธรรม โดยใช้องค์ประกอบของการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน
>
>
> ขอบพระคุณครับที่ช่วยตอบไว้ ณ ที่นี้ด้วย
>
ผมก็ได้นั่งนึกและตรึกตรองดูแล้ว ด้วยความที่ยังไม่เคยไปสัมผัส
ก็ต้องตอบตามที่คนด้อยปัญญาอย่างผมจะตอบได้ละกันนะครับ
เลยถือโอกาสคัดลอกนำมาให้ท่านได้ช่วยเสนอแนะด้วยครับ
เรียนคุณมานะ
การจัดการเรียนการสอน ไม่จำเป็นต้องจำกัดอยู่ในเฉพาะห้องเรียนเสมอไป
จากข้อมูลที่ท่านว่ามานั้น มีสาเหตุจำเป็นหลายอย่างที่นักเรียนต้องขาดเรียน
อาจด้วยสภาวะการประกอบอาชีพของผู้ปกครอง นักเรียนต้องไปช่วยประกอบอาชีพเกษตรกรรม
ซึ่งเมื่อนักเรียนขาดเรียนก็ย่อมส่งผลโดยตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วย
เพราะผลสัมฤทธิ์ ก็วัดโดยการประเมินผลจากหลักสูตรการศึกษาที่จัดสอน
หากย้อนมองไปถึงการปฏิรูปการศึกษาแล้ว คงต้องรบกวนครูที่โรงเรียนเข้าใจถึงจุดนั้นด้วย
วิธีการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผล ต้องจัดให้สอดคล้อง
เช่น ถ้านักเรียนปลูกแตงกวา ท่านก็สามารถทดสอบหรือประเมินผลได้ว่านักเรียน
มีความรู้วิชาคณิตศาสตร์ได้หรือไม่ นักเรียนนับผลแตงได้หรือไม่
หรือแม้กระทั่งวิชาวิทยาศาสตร์ นักเรียนรู้หรือไม่ว่าดินมีคุณภาพอย่างไร แบบไหนปลูกแตงได้
ถ้าเขารู้เช่นนี้แล้ว ก็บูรณาการวิธีการประเมินผลให้สอดคล้องกับชีวิตประจำวันเสียเลย
ซี่งแน่นอน วิธีการสอนของครูก็ต้องเปลี่ยนไปด้วยครับ
อย่างที่กล่าวในบรรทัดแรก ไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องเรียนเสมอไป
ครู 4 คน ลองลงไปสอนเด็กถึงชุมชนเลยได้หรือไม่
อาจจะปรับในเวลาเรียน เช่น พานักเรียนที่มาโรงเรียน
ออกไปชุมชน นั่งสอนนอกห้องเรียน ไปยังที่ๆ เด็กไม่มาเรียนอยู่
เช่น ทุ่งนา ไร่ สวนฯลฯ สอนในพื้นที่ จะทำให้เด็กเกิดความที่อยากจะมา
ผู้ปกครองก็มีส่วนร่วมครับ เดินออกไปแล้ว ให้ชาวบ้านสอนหรือมีส่วนร่วมยังได้เลยครับ
นี่เป็นเพียงแนวคิดหนึ่งของคนที่ไม่ได้อยู่บนดอยนะครับ
อาจจะผิดจากความเป็นจริงไปบ้าง ก็คงเพียงเพราะยังไม่ได้ไปสัมผัส
แต่ก็น่าจะลองดูนะครับ
ด้วยความเคารพ
อดิศร ก้อนคำ