Advertisement
หลายๆ คนอาจยังไม่รู้เหตุผลว่า ทำไมจึงเลิกใช้ ฃ (ขวด) และ ฅ (คน) วันนี้จึงนำเอาความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ มาเสนอท่านผู้ฟังเพื่อไขข้อข้องใจดังกล่าว และขออนุญาตอ้างอิงบทความของปรมาจารย์ทางภาษาไทยอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ซึ่งได้อธิบายไว้ดังนี้
"ฃ พยัญชนะตัวที่สามในพยัญชนะไทย, นับเป็นพวกอักษรสูง, เรียกชื่อว่า "ขอเขตต์" หรือ "ขอขวด" เข้าในพวกกัณฐชะ (เกิดจากคอ) ใช้เป็นตัวสะกดในมาตรากักได้ บางท่านกล่าวว่าตั้งขึ้นแทนตัว กษ ในภาษาสันสกฤต ซึ่งเขาอ่านควบเป็นเสียงตัวเดียวกัน, ถึงรูปร่างก็น่าจะกลายมาจากอักษร กษ ซึ่งเขียนหวัดติดกัน, สำหรับใช้เขียนคำตัว กษ สันสกฤต เช่น เกษตร กษัตริย์; แต่เดี๋ยวนี้เลิกใช้แล้ว, นับว่าไม่มีที่ใช้เลย."
"ฅ พยัญชนะตัวที่ห้าในพวกพยัญชนะไทย, นับเป็นพวกอักษรต่ำ, อ่านว่า 'คอ', เรียกชื่อว่า 'คอกัณฐา' หรือ 'คอคน', ออกเสียงอย่างเดียวกับ ค (คอคิด); เดิมมีที่ใช้อยู่คำหนึ่ง คือ 'ฅอ' ที่หมายความว่า คอคน หรือ คอสัตว์ มาบัดนี้ใช้ ค (คอคิด) หมดแล้ว เพราะฉะนั้นนับว่าไม่มีที่ใช้เลย, และตัว ฅ นี้ ตั้งขึ้นในภาษาไทย ไม่มีในบาลีและสันสกฤต บางท่านกล่าวว่า ความประสงค์ตั้งขึ้นสำหรับใช้คำไทยที่ออกเสียงคอทั่วไป เช่น คำ, คน, ควบ เป็นต้น, เพราะตัวคอคิดนั้นตั้งขึ้นแทนตัว ค บาลี ซึ่งมีเสียงเหมือนตัว G ในคำ God ไม่ตรงกับเสียง ค ไทย, แต่ไทยออกเสียง ค บาลีไม่ชัด กลายเป็นเสียง ค ไทยไปหมด, เลยใช้ตัว คอคิด ทั้งในเสียงบาลีและเสียงไทย, ตัว ฅ กัณฐานี้จึงไม่มีที่ใช้."
นับว่าหนังสือปทานุกรม ได้ให้ความหมายของ ฃ (ขวด) และ ฅ (คน) ค่อนข้างชัดเจนดีมาก ข้อสำคัญก็คือบอกว่าตัว ฅ (คน) นั้นใช้หมายถึง คอของคนหรือคอของสัตว์เท่านั้น หาได้ใช้เขียนคำว่า "คน" ไม่
ส่วนพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔๙๓ ได้ให้คำอธิบายคำว่า ฃ (ขวด) และ ฅ (คน) ไว้เพียงสั้น ๆ ดังนี้
"ฃ พยัญชนะตัวที่สามนับเป็นพวกอักษรสูง แต่เดี๋ยวนี้เลิกใช้แล้ว."
"ฅ พยัญชนะตัวที่ห้านับเป็นพวกอักษรต่ำ เดี๋ยวนี้เลิกใช้แล้ว."
คงจะเป็นเพราะพจนานุกรม ฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ มอบว่า "เดี๋ยวนี้เลิกใช้แล้ว" นี้เองจึงทำให้คนเข้าใจผิดคิดว่าได้มีการประกาศเลิกใช้เป็นทางการแล้ว แม้แต่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ ก็บอกไว้เช่นเดียวกับพจนานุกรม ฉบับ พ.ศ. ๒๔๙๓ ทุกประการ
สาเหตุที่ทำให้เลิกใช้ ฃ (ขวด) และ ฅ (คน) นั้น คงเนื่องมาจากพิมพ์ดีดภาษาไทยในสมัยแรก ๆ นั่นเองที่แป้นอักษรไม่มี ฃ และ ฅ เนื่องจากก้านอักษรมีไม่พอกับจำนวนสระพยัญชนะและวรรณยุกต์ในภาษาไทย จึงต้องตัดคำบางคำ หรือเครื่องหมายบางตัวออกไปบ้าง ในเรื่องเกี่ยวกับพิมพ์ดีดภาษาไทยนี้ ศาสตราจารย์ ยอช เซเดย์ ได้เขียนเล่าไว้ในหนังสือ "ตำนานอักษรไทย" ตอนหนึ่งดังนี้
"มิสเตอร์ เอดวิน เอช. แมคฟาร์แลนด์ (ภายหลังเป็นพระอาจวิทยาคม" เลขานุการพิเศษของพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชา--นุภาพ (ต่อมาเป็น สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ) ครั้งเสด็จดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงศึกษาธิการ ได้ออกความคิดจะทำเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยขึ้น เมื่อได้รับความเห็นชอบที่จะให้มีพิมพ์ดีดเป็นภาษาไทยขึ้นจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ และมิสเตอร์แมคฟาร์แลนด์ ซึ่งถึงแม้ว่ามิได้เป็นช่างกลก็จริง แต่เป็นผู้มีความรู้ทางหนังสือดีผู้หนึ่ง ได้จัดการทำเครื่องพิมพ์ดีดขึ้นจนสำเร็จ เขาได้เลือกเครื่องพิมพ์ดีดชนิดสมิธพรีเมียร์ว่า เป็นแบบที่ดีที่สุดแลได้ใช้เวลาหลายเดือนในระหว่างลาหยุดคราวหนึ่งไปอยู่ในประเทศอเมริกา เพื่อจะจัดการทำเครื่องพิมพ์นี้ ผลที่สุดมิสเตอร์แมคฟาร์แลนด์ได้ร่วมการงานกับบริษัทสมิธพรีเมียร์ ทำเครื่องพิมพ์ดีดสมิธพรีเมียร์ภาษาไทย เบอร์ ๒ ซึ่งเป็นแบบเหมาะที่สุดขึ้นเป็นผลสำเร็จ
"เขาได้นำเครื่องพิมพ์นี้มาด้วยในเวลาที่กลับมาประเทศสยาม และได้รับพระบรมราชานุญาตให้เข้าไปเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เขาได้อธิบายถึงประโยชน์ของเครื่องพิมพ์และดีดพิมพ์ถวายโดยพิสดาร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระปรีชาก็ทรงโปรด โดยทรงเห็นว่าเครื่องพิมพ์อาจเป็นประโยชน์แก่ประเทศของพระองค์มาก พระองค์ได้ทรงทดลองพิมพ์ลายพระราชหัตถ์ฉบับหนึ่งด้วยเครื่องพิมพ์ใหม่นี้ด้วยพระองค์เอง โดยทรงเอาพระหฤทัยใส่ที่สุดแล้ว ทรงขอบพระหฤทัยมิสเตอร์แมคฟาร์แลนด์ที่ได้คิดการอันนี้ให้แก่ประเทศสยาม และทรงแสดงว่าเครื่องพิมพ์นี้จะเป็นผลดีแก่ประเทศสยามในการภายหน้ามาก ลายพระราชหัตถ์ฉบับนี้ พระองค์ได้ทรงเซ็นพระบรมนามาภิไธย จุฬาลงกรณ์ และเพื่อเป็นเครื่องหมายว่า พระองค์ทรงโปรดมากยิ่งขึ้นไป พระองค์ได้พระราชทานนาฬิกาทองคำ มีพระบรมนามาภิไธยให้แก่มิสเตอร์แมคฟาร์แลนด์ ๑ เรือน และตรัสสั่งให้ทำเครื่องพิมพ์มีเครื่องหมายพระบรมนามาภิไธยของพระองค์อีก ๔๐ เครื่อง เครื่องนี้ได้ทำขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕ ภายหลังเครื่องพิมพ์เครื่องแรกได้ประดิษฐ์ขึ้นในประเทศอเมริกา เพียง ๒๑ ปีเท่านั้น"
คงจะเป็นเพราะในเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยสมิธพรีเมียร์ เบอร์ ๒ ในสมัยนั้น ไม่ได้บรรจุอักษร ฃ (ขวด) และ ฅ (คน) ไว้ เพราะไม่มีที่นั่นเอง ผสมกับคำที่ใช้ ฃ และ ฅ ก็มีน้อยและยังไม่เป็นเอกภาพกัน เมื่อได้ตัด ฃ และ ฅ ออกไป ก็ไม่มีปัญหาอะไร แม้ปัจจุบันวิทยาการและเทคโนโลยี จะเจริญจนสามารถบรรจุ ฃ และ ฅ ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องคณิตกรณ์ได้แล้ว ก็คงไม่สามารถจะนำ ฃ และ ฅ มาใช้ได้อีกแล้ว เพราะใครเล่าจะเป็นผู้วางหลักเกณฑ์ว่าเมื่อใดจะใช้ ฃ (ขวด) ฅ (คน) ถึงจะมีผู้ประกาศใช้ ก็คงไม่มีใครยอมทำตามอย่างแน่นอน เพราะฉะนั้นจึงควรเก็บไว้เป็นประวัติศาสตร์ เพื่อให้อนุชนรุ่นต่อ ๆ ไปได้ทราบความเป็นมาของอักษรทั้ง ๒ ตัวนี้ มิฉะนั้น ถ้าไปพบ ฃ และ ฅ ในหนังสือเก่า จะคิดว่าบรรพบุรุษของเราเขียนผิด ก็ได้.
ขอบคุณที่มา www.tpschamnong.iirt.net/article/basa_5nt138.html
|
วันที่ 4 ต.ค. 2552
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง เปิดอ่าน 7,208 ครั้ง เปิดอ่าน 7,160 ครั้ง เปิดอ่าน 7,197 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,170 ครั้ง เปิดอ่าน 7,179 ครั้ง เปิดอ่าน 7,224 ครั้ง เปิดอ่าน 7,161 ครั้ง เปิดอ่าน 7,454 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,187 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง เปิดอ่าน 7,175 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง เปิดอ่าน 7,153 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,181 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,183 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,180 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,153 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,158 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 19,605 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,253 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,946 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,326 ครั้ง |
เปิดอ่าน 27,131 ครั้ง |
|
|