ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูเป็นศาสนาที่มีแหล่งกำเนิดในเอเชียใต้ คือ อินเดีย มีผู้นับถือที่เรียกว่าศาสนิกชนฮินดู ส่วนมากที่ประเทศอินเดีย นอกนั้นจะมีบ้างเป็นส่วนน้อยตามประเทศต่างๆ เช่น ลังกา บาหลี อินโดนีเสีย ไทย แอฟริกาใต้ สถิติผู้นับถือประมาณกว่า 475 ล้านคน
ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูเป็นศาสนาที่เก่าแก่มากที่สุดในโลกศาสนาหนึ่ง มีอายุกว่า 4,000 ปี เนื่องจากศาสนานี้มีวิวัฒนาการอันยาวนานผ่านขั้นตอนทางประวัติศาสตร์หลายขั้นตอนตั้งแต๋โบราณกาลถึงปัจจุบัน จึงเป็นการยากในการศึกษาเรื่องราวต่างๆ ให้แจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งกว่าศาสนาอื่นๆ ไม่มีใครกำหนดได้ว่าศาสดาคือใคร จนต้องถือว่าไม่มีศาสดา หรือผู้ก่อตั้งศาสนา คิดว่าเกิดจาการได้ยินได้ฟังต่อๆ กันมา หรือเกิดจากประสบการณ์ทางศาสนาของชาวฮินดูร่วมกัน เกิดเป็นคำสอน เป็นคำภีร์ขึ้นจนผู้นับถือศาสนา มีความเชื่อและแนวทางปฏิบัติต่างกันมากมาย ทั้งในสมัยเดียวกันและสมัยต่างกัน แม้แต่ชื่อของศาสนาเอง ก็ยังเรียกต่างกันไปตามกาลเวลา เช่น
- สนตนธรรมแปลว่า “ศาสนาสนต” หมายความว่า เป็นศาสนาที่ดำรงอยู่เป็นนิตย์ ไม่มีวันเสื่อมสูญ
-
ไวทิกธรรมแปลว่า “ธรรมที่ได้มาจากพระเวท”
- อารยธรรมแปลว่า “ธรรมอันดีงาม”
-
พราหมณธรรมแปลว่า “คำสอนของพราหมณาจารย์”
- ฮินทูธรรม หรือฮินดูธรรมแปลว่า “ธรรมที่สอนลัทธิอหิงสาหรือศาสนาฮินดู”
ศาสนาพราหมณ์หรือฮินดูก็คือศาสนาเดียวกันนั่นเอง การที่มีชื่อเรียกควบคู่กันไป 2 ชื่อ คือ “พราหมณ์-ฮินดู” เพราะผู้ให้กำเนิดศานานี้ ในตอนแรกเริ่มเรียกตัวเองว่า ”พราหมณ์” ต่อมาศานาเสื่อลงระยะหนึ่งและได้มาฟื้นฟูปรับปรุงเป็นให้เป็นศาสนาฮินดู โดยเพิ่มบางสิ่งบางอย่างเข้าไป มีการปรับปรุงเนื้อหาหลักธรรม คำสอนให้ดีขึ้น คำว่า “ฮินดู” เป็นคำที่ใช้เรียกชาวอารยันที่อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในลุ่มแม่น้ำสินธุ และเป็นคำที่ใช้เรียกลูกผสมของชาวอารยันกับชาวพื้นเมือง ในชมพูทวีป และชนพื้นเมืองนี้ได้พัฒนาศาสนาพราหมณ์โดยการเพิ่มเติมอะไรใหม่ๆ ลงไป แลัวเรียกศาสนาของพวกนี้ว่า “ศาสนาฮินดู” เพราะฉะนั้นศานาพราหมณ์จึงมีอีกชื่อในศาสนาใหม่ว่า “ฮินดู” จนถึงปัจจุบันนี้
ศาสนาพราหมณ์ –ฮินดู เป็นศาสนาเก่าแก่ที่ยากแก่การศึกษาเรื่องราวให้เข้าใจแจ่มแจ้งชัดเจนยิ่งกว่าศาสนาอื่นเพราะ
1.เนื้อหาอันเป็นแก่นแท้ของลัทธิเกิดจากแนวคิดและมโนคติที่ลึกซึ้งและสูงยิ่ง
2.มีวิวัฒนาการที่เกิดจากการผสมผสาน ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงและเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองหลายซับหลายซ้อน จนยากแก่การจำแนกแจกแจงขั้นตอนให้เห็นเด่นชัด
3.เอกสาร (คัมภีร์ต่าง ๆ) อันเป็นหลักฐานสำคัญของศาสนานี้ แม้จะมีมากและมีมานานนับเวลาพันปีแต่ก็มิได้รับการเผยแพร่เพราะถูกสงวนไว้เป็นสมบัติส่วนตัวของพราหมณ์แต่ละตระกูล คงมีการถ่ายทอดให้แก่ทายาทผู้สืบเชื้อสายเท่านั้น เอกสารเหล่านั้น เพิ่งจะมีผู้นำมารวบรวมเป็นคัมภีร์เมื่อประมาณ พ.ศ. 1750 แต่ก็เป็นหลักฐานที่มิได้มีการตรวจสอบรับรองความถูกต้องมาก่อน เพราะศาสนานี้ไม่มีศาสดาที่เป็นมนุษย์คำสอนทั้งปวงพราหมณือ้างว่าได้ยินได้ฟังมาจากเสียงสวรรค์ จากโอษฐ์ของพระเจ้าโดยตรง
อย่างไรก็ตาม คำสอนอันเป็นแก่นแท้ของศาสนาพราหมณ์ ที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พระเวท ก็เป็นพื้นฐานให้เกิดศาสนาอื่นที่สำคัญ ๆ หลายศาสนา เป็นหลักฐานที่สนใจศึกษากันในหมู่นักปรัชญาทั่วไปในสมัยปัจจุบันยิ่งกว่านั้นคำอธิบายเรื่องกำเนิดจักรวาลของศาสนานี้ยังมีความสอดคล้องและท้าทายข้อพิสูจน์ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับกำเนิดของสุริยจักรวาล ที่นักวิทยาศาสตร์สมัยปัจจุบันกำลังศึกษาค้นคว้ากันอยู่อีกด้วย
สัญลักษณ์ของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู คือ อักษรเทวนาครี อ่านว่า “โอม” ซึ่งย่อมาจากอักษร อ อุ และ ม หมายถึงเทพยิ่งใหญ่ทั้งสาม อักษร “อ” แทนพระวิษณุ อักษร “อุ” แทนพระศิวะ และอักษร “ม” แทนพระพรหม สัญลักษณ์ดังกล่าวนี้บางครั้งเรียกว่า “สวัสติหรือสวัสติกะ”
การแบ่งยุคสมัยของศาสนาพราหมณ์ –ฮินดู แบ่งตามวิวัฒนาการตามลำดับเหตุการณ์ ได้ดังนี้คือ
1. สมัยอริยกะ
|
ระยะเวลาประมาณ
|
950 ปีก่อนพุทธกาล
|
2. สมัยพระเวท
|
“
|
957-475 ก่อนพุทธกาล
|
3. สมัยพราหมณ์
|
“
|
257 ปีก่อน พ.ศ.-พ.ศ.43
|
4. สมัยฮินดูเก่า(ฮินดูแท้)และอุปนิษัท
|
“
|
57 ปีก่อน พ.ศ.-ต้นพุทธกาล
|
5. สมัยสูตร
|
“
|
พ.ศ.60-พ.ศ.360
|
6. สมัยอวตาร
|
“
|
พ.ศ. 220-พ.ศ.660
|
7. สมัยเสื่อม
|
“
|
พ.ศ. 861-พ.ศ.1190
|
8. สมัยฟื้นฟู
|
“
|
พ.ศ. 1200-พ.ศ. 1740
|
9. สมัยภักติ
|
“
|
พ.ศ. 1740- พ.ศ. 2300
|