Advertisement
|
วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2492 (ค.ศ.1949) ประธานเหมาเจ๋อตงประกาศสถาปนา สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน ในกรุงปักกิ่ง |
|
|
|
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น |
|
|
|
|
“สาธารณรัฐประชาชนแห่งจีน รัฐบาลของประชาชน ยืนขึ้นแล้ว ณ วันนี้ !” คำประกาศของท่านประธานเหมา เจ๋อตง ในวันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม ปี 1949 (2492) วันที่ผู้นำคอมมิวนิสต์จีนได้ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือ “จีนใหม่” ยืนขึ้น ฝ่าฟันยุคสมัยแห่งความทุกข์ยากต่างๆนานาอยู่หลังม่านไม้ใฝ่ที่ปิดสนิท สู่ยุคเปิดประเทศพาเศรษฐกิจทะยานสู่การเติบโตที่ร้อนฉ่าด้วยตัวเลขสองหลัก จนได้ผงาดขึ้นมาเปิดเมืองต้อนรับนานาชาติในฐานะเจ้าภาพจัดโอลิมปิก ปักกิ่ง 2008 โชว์บ้านเมืองทันสมัยอลังการ มาถึงปีนี้ ซึ่งเป็นวันเกิดประเทศปีที่ 60 พญามังกรฉลองวันแซยิดใหญ่ในฐานะชาติเศรษฐกิจอันดับสามของโลกแล้ว
ในวาระครบรอบ 60 ปี ของการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชาจีน “มุมจีน” ก็ได้เสนอรายงานทบทวนวันคืนแห่งการสร้างชาติตลอด 60 ปีที่ผ่านมา...
ทศวรรษ 1940
ตุลาคม 1949 (พ.ศ. 2492) ณ จัตุรัสเทียนอันเหมิน เหมา เจ๋อ ตง ประกาศสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งขณะนั้นมีประชากรราว 400 ล้านคน (1 ใน 4 ของโลก) พร้อมกับกำหนดผืนธงชาติ ที่มีชื่อเรียกทั่วไปว่า ธงแดงห้าดาว พื้นสีแดง หมายถึง สัญลักษณ์ของการปฏิวัติจีน ดวงดาวสีเหลือง 5 ดวง ซึ่งเรียงกันคล้ายอาณาเขตประเทศจีน หมายถึง ความเป็นหนึ่งเดียวกันของชาวจีนทั้งประเทศ ภายใต้การนำของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งชาติจีน
ทศวรรษ 1950
1956-57 (พ.ศ. 2500) ปัญญาชนนักศึกษา ราว 500,000 คน ถูกส่งไปใช้แรงงานยังค่ายแรงงานในชนบท
1958 (พ.ศ. 2501) นโยบายก้าวกระโดดใหญ่ ของเหมาฯ ในการพัฒนาอุตสาหกรรม ส่งผลหายนะต่อภาคเศรษฐกิจ กอปรด้วยภัยพิบัติธรรมชาติ จนมีผู้คนอดอยาก เจ็บป่วยล้มตาย ราว 30 ล้านคน
มีนาคม 1959 (พ.ศ. 2502) กองทัพจีน บุกยึดทิเบต และทะไล ลามะผู้นำทางจิตวิญญาณ หลบหนีไปอินเดีย
ทศวรรษ 1960
16 ตุลาคม 1964 (พ.ศ. 2507) จีนทดลองระเบิดนิวเคลียร์ครั้งแรกในมณฑลซินเจียง
1964 ถึง 1965 เจียงชิง เหยาเหวินหยวน จางชุนเฉียว หวังหงเหวิน จัดตั้งกลุ่ม “แก๊งสี่คน" ปลุกกระแสประณามหลิน เปียวและขงจื้อ โดยมีนัยยะสำคัญคือโจมตีโจว เอินไหลและนักปฏิวัติรุ่นก่อน ต่อต้านการทำงานในพรรคของเติ้ง เสี่ยวผิง
พฤษภาคม 1966 (พ.ศ. 2509) ความขัดแย้งทางอำนาจระหว่างเหมา และผู้นำคนอื่น ก่อให้เกิดทศวรรษแห่งความวุ่นวายใหญ่จากการปฏิวัติวัฒนธรรม (1966-77) สร้างความทุกข์ลำเค็ญไปทั่วทุกหย่อมหญ้าบนแผ่นดินจีน
ทศวรรษ 1970
23 ตุลาคม 1971 (พ.ศ. 2514) สหประชาชาติหันมายอมรับสาธารณรัฐประชาชาติของผู้นำคอมมิวนิสต์ แทนไต้หวัน
21 กุมภาพันธ์ 1972 (พ.ศ. 2515) ประธานาธิบดี ริชาร์ด นิกสัน แห่งสหรัฐอเมริกา เยือนประเทศจีนอย่างเป็นทางการ นับเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่เยือนประเทศจีนในยุคคอมมิวนิสต์
8 มกราคม 1976 (พ.ศ. 2519) โจว เอินไหล นายกรัฐมนตรี สาธารณรัฐประชาชนจีน เสียชีวิต
6 กรกฎาคม 1976 (พ.ศ. 2519) จูเต๋อ ผู้นำกำลังทหารคนสำคัญของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เสียชีวิต
9 กันยายน 1976 (พ.ศ. 2519) เหมา เจ๋อ ตง ประธานพรรคคอมมิวนิสต์จีน เสียชีวิต
4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 หัว กั๋วเฟิง ขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรี แก๊ง 4 คนถูกล้มล้าง พร้อมกับการสิ้นสุดของปฏิวัติวัฒนธรรม
กรกฎาคม 1977 (พ.ศ. 2520) เติ้ง เสี่ยวผิงกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งผู้นำในรัฐบาลอีกครั้ง
สิงหาคม 1977 เติ้ง เสี่ยวผิงได้รับการแต่งตั้งเป็นรองประธานพรรคคอมมิวนิสต์
มีนาคม 1978 (พ.ศ. 2521) เติ้ง เสี่ยวผิง ซึ่งได้รับเลือกจากคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีนให้ เป็นประธานสภาที่ปรึกษาทางการเมือง เสนอให้มีการทบทวนนโยบายที่ผิดพลาดในอดีต และให้พรรคฯหันมามุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก
ธันวาคม 1978 จีนเปิดศักราชใหม่ของประเทศ ทั้งในด้านการปฎิรูประบบเศรษฐกิจและการพัฒนาระบอบสังคมนิยมหรือสังคมนิยมประชาธิปไตยแบบจำเพาะของจีน ภายใต้การนำของคณะกรรมการบริหารพรรคฯรุ่นที่สอง ซึ่งมีเติ้ง เสี่ยวผิงเป็นผู้นำสูงสุด
ทศวรรษ 1980
15 เมษายน 1989 (พ.ศ.2532) การเสียชีวิตของอดีตผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์นักปฏิรูป "หู เย่าปัง" นำไปสู่การจุดชนวน เรียกร้องประชาธิปไตยของนักศึกษาจีนผู้มีอุดมคติสังคมประชาธิปไตย ผู้เข้าร่วมกว่าล้านคน บริเวณจัตุรัสเทียนอันเหมิน และจบลงด้วยการใช้กำลังทหารปราบปรามกลุ่มประท้วงอย่างนองเลือดในวันที่ 3 และ 4 มิถุนายน ทำให้มีผู้เสียชีวิตนับร้อย หรืออาจเป็นหลักพัน จ้าว จื่อหยาง เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีนในขณะนั้น ถูกปลดออกจากตำแหน่งเนื่องจากการแสดงความเห็นใจกลุ่มเรียกร้องประชาธิปไตย
พฤศจิกายน 1989 (พ.ศ. 2532) เติ้ง เสี่ยวผิง ลาออกจากตำแหน่งประธานคณะกรรมการกลางการทหาร และส่งมอบตำแหน่งผู้นำประเทศรุ่นที่ 3 นำโดยเจียง เจ๋อหมิน
ทศวรรษ 1990
21 มีนาคม 1990 (พ.ศ. 2533) เติ้ง เสี่ยวผิง ก้าวลงจากอำนาจ
1992 เติ้ง เสี่ยวผิง ได้สรุปรวบยอดถึงลักษณะของ “ระบบเศรษฐกิจตลาดสังคมนิยมเอกลักษณ์จีน” คือระบบเศรษฐกิจตลาดที่ปรับใช้ได้ทั้งทุนนิยมและสังคมนิยม อันเป็นที่มาของแนวคิดพื้นฐานเรื่อง “แมวสีอะไรก็ได้ ขอให้จับหนู (สร้างประโยชน์สูงสุดให้แก่ประชาชนชาวจีน) ได้ก็พอ”
มีนาคม 1993 (พ.ศ. 2536) เจียง เจ๋อหมิน เป็นประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนคนที่ 5
ปี 1997 (พ.ศ. 2540) ที่ประชุมสมัชชาผู้แทนประชาชนจีนทั่วประเทศ ได้มีมติให้ระบอบสังคมนิยมประชาธิปไตยแบบจีนเป็น ‘ทฤษฎีเติ้ง เสี่ยวผิง’ ที่มีคุณูปการใหญ่ต่อพรรคฯและประเทศชาติ
19 กุมภาพันธ์ 1997 (พ.ศ. 2540) เติ้ง เสี่ยวผิง อสัญกรรม
1 กรกฎาคม 1997 (พ.ศ. 2540) อังกฤษ ส่งมอบอาณานิคม ฮ่องกง คืนให้จีน หลังจากสัญญาเช่าเกาะฮ่องกงของอังกฤษเป็นเวลา 100 ปี หมดอายุลง
ทศวรรษ 2000
17 ธันวาคม 2001 จีนเข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์กรการค้าโลก WTO
15 พฤศจิกายน 2002 หู จิ่นเทา ก้าวขึ้นเป็นเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน
15 มีนาคม 2003 หู จิ่นเทา ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน ต่อจากเจียง เจ๋อหมิน
15 ตุลาคม 2003 หยาง ลี่เหวย เป็นคนจีนคนแรกที่เดินทางไปอวกาศ
14 มีนาคม 2008 หู จิ่นเทา ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสมัยที่ 2 พร้อมกับ เวิน เจียเป่า ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นสมัยที่สอง เช่นกัน
12 พฤษภาคม 2008 แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ที่มณฑล เสฉวน มีผู้สูญหายและเสียชีวิต เกือบ 87,000 คน
8-24 สิงหาคม 2008 จีนเป็นเจ้าภาพจัดมหกรรมแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ที่กรุงปักกิ่ง
|
|
|
|
|
|
|
http://www.manager.co.th/China/ViewNews.aspx?NewsID=9520000115513
http://www.thefilter.com/WebVideo/8406833-
วันที่ 2 ต.ค. 2552
หนาวแล้ว ออกแคมป์กันเถอะ! ⛺ เตาแก๊สปิคนิค พกพาสะดวก ออก Outdoor ได้สบายๆ รุ่น KJ-101 แถมฟรี!!กล่องเก็บเตา ในราคา ฿244https://s.shopee.co.th/7fJQKGPCjr?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,157 ครั้ง เปิดอ่าน 7,191 ครั้ง เปิดอ่าน 7,154 ครั้ง เปิดอ่าน 7,163 ครั้ง เปิดอ่าน 7,232 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,431 ครั้ง เปิดอ่าน 7,168 ครั้ง เปิดอ่าน 7,156 ครั้ง เปิดอ่าน 7,185 ครั้ง เปิดอ่าน 7,166 ครั้ง เปิดอ่าน 7,172 ครั้ง เปิดอ่าน 7,165 ครั้ง เปิดอ่าน 7,177 ครั้ง เปิดอ่าน 7,162 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,159 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,175 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,234 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,166 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,168 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,192 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 66,003 ครั้ง |
เปิดอ่าน 57,568 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,706 ครั้ง |
เปิดอ่าน 10,767 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,265 ครั้ง |
|
|