Advertisement
ฉลาดใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ
ฉลาดใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ (สุขภาพดี)
เวลาเราขยับเขยื้อนร่างกาย ไม่ว่าจะนั่ง ยืน เดิน จะต้องใช้กล้ามเนื้อในการเคลื่อนไหวทั้งสิ้น โดยระบบประสาทที่อยู่ในสมองจะสั่งการผ่านมาทางเส้นประสาทให้หลั่งสารสื่อประสาทไปกระตุ้นกล้ามเนื้อให้หดหรือคลายตัว ทำให้กล้ามเนื้อเคลื่อนไหวได้
สำหรับคนเมืองที่ต้องใช้ชีวิตเร่งรีบกับการทำงาน อาจส่งผลให้บ่อยครั้งที่สมองหลั่งสารสื่อประสาทออกมามากเกินไปจนทำให้กล้ามเนื้อถูกกระตุ้นเยอะ และเมื่อกล้ามเนื้อหดตัวอย่างต่อเนื่องนานๆ อาจทำให้เกิดการอักเสบและรู้สึกปวดกล้ามเนื้อได้ รวมถึงคนรักสุขภาพที่ชอบออกกำลังกาย การใช้กล้ามเนื้อหนักๆ ก็อาจทำให้คุณปวดตึง เมื่อยล้า พอเป็นบ่อยๆ ก็เริ่มเบื่อที่จะไปหาหมอ แล้วเลือกที่จะซื้อยามากินเอง ซึ่งการกินยาคลายกล้ามเนื้ออย่างไรให้ปลอดภัย เรามีข้อมูลดีๆ จาก พญ.กานต์ชนก พานิช มาฝากค่ะ
ยากินเพื่อช่วยลดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อมีหลายประเภท
1.ยาที่ออกฤทธิ์ในระบบประสาท โดยยับยั้งการสั่งผ่านความรู้สึกในระบบประสาท ได้แก่ ยา Orphenadrine, Tolperisone
2.ยาลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ มีฤทธิ์ยับยั้งขบวนการอักเสบและการเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ มี 2 กลุ่ม คือ
2.1.ยากลุ่มสเตียรอยด์ (Steroid)
2.2.ยาลดการอักเสบลดปวดที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDS) ได้แก่ Diclofenac, Nappraxen, Piraxicam, Nidol, Aspirin, lndomethacin
3.ยาแก้ปวดพาราเซตามอล เป็นยาที่ใช้ลดอาการไข้โดยการยับยั้งศูนย์ควบคุมอุณหภูมิความร้อน และบรรเทาอาการปวดทั่วๆ ไป
กินยาช่วยลดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้ออย่างไรให้ปลอดภัย
ในคนที่เล่นกีฬาหรือคนทำงานที่มักเคร่งเครียดแล้วมีอาการปวดเมื่อยอยู่บ่อยครั้ง อาจจะใช้ยาผสมผสานหลายๆ กลุ่ม เพื่อลดอาการปวดเมื่อยที่รุมเร้า โดยอาจใช้ยาพาราเซตามอลเพื่อลดอาการปวดดูก่อน หากยังไม่ดีขึ้นจึงค่อยใช้ยาคลายกล้ามเนื้อ เพื่อลดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ แล้วใช้ยาลดการอักเสบ โดยออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์สารก่อการอักเสบ (Prostaglandin) ซึ่งหากกินแล้วอาการทุเลาลง ให้กินต่อจนอาการหายจากปวดเมื่อย แต่ก็ต้องระวังในยากลุ่ม NSAIDS ซึ่งจะมีฤทธิ์กัดกระเพาะ จึงไม่ควรใช้ในระยะเวลานานจนเกินไป เพราะอาจเกิดการระคายเคืองกระเพาะได้
ซึ่งการใช้ยาในขั้นต้นสามารถใช้ยาพาราเซตามอลเองได้ แต่ถ้ากินแล้วอาการปวดไม่ทุเลา อาจจะไปพบแพทย์เพื่อรับยากลุ่มอื่น และถ้ามีอาการปวดอยู่และกินยาไปประมาณ 1-2 สัปดาห์แล้วอาการยังไม่ดีขึ้น หรือมีอาการมากกว่าเดิม เช่น กล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้น มีอาการอักเสบ ปวด บวมแดง ร้อน มีไข้ ควรรีบปรึกษาแพทย์ทันที
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
วันที่ 1 ต.ค. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,199 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 8,025 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,216 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,217 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,377 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 4,391 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,900 ครั้ง |
เปิดอ่าน 8,436 ครั้ง |
เปิดอ่าน 55,588 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,101 ครั้ง |
|
|