Advertisement
วิธีทดสอบเห็ดมีพิษ |
เห็ด ถือว่าเป็นผักที่อร่อยชนิดหนึ่งแต่ก็มีพิษร้ายแรงเหมือนกันซึ่งบางทีหากรับประทานเห็ดที่มีพิษเข้าไปแล้วรักษาไม่ทันอาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ หากท่านใดที่ไม่ทราบว่าเห็ดนั้นคือเห็ดอะไรมีพิษหรือไม่ เรามีวิธีการทดสอบว่าเห็ดมีพิษหรือไม่ โดยเวลาที่เราต้มเห็ดให้นำข้าวเหนียวที่นึ่งเสร็จแล้วใส่ลงไปในหม้อต้มนิดหน่อยแล้วสังเกตว่าข้าวเปลี่ยนเป็นสีดำหรือไม่หากข้าวเปลี่ยนเป็นสีดำแสดงว่าเห็ดมีพิษ หากข้าวมีสีตามปกติแสดงว่าเห็ดไม่มีพิษ
หรือให้นำน้ำสะอาดใส่ในหม้อแล้วนำไปต้มบนไฟให้เดือดจัด หลังจากนั้นให้ใส่เห็ดที่เก็บมาได้หรือเห็ดที่ต้องสงสัยว่าจะมีพิษ ลงไปในหม้อน้ำเดือด จากนั้นใส่เมล็ดข้าวสารลงไปเล็กน้อย ประมาณ 10-20 เมล็ด โดยปล่อยตั้งไฟทิ้งไว้ ประมาณ 10 นาที จึงยกลงจากไฟ ตั้งพักไว้ให้เย็น แล้วให้ตักเมล็ดข้าวสารขึ้นมาบีบดูว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร หากเมล็ดข้าวสารแหลกหรือเปื่อยยุ่ยคามือ แสดงว่าเห็ดชนิดนั้นไม่มีพิษ สามารถนำมารับประทาน แต่ถ้าเมล็ดข้าวสารยังคงแข็งตัวอยู่ในสภาพเดิม ไม่เปลี่ยนแปลงแม้จะบดขยี้อย่างไรก็ตาม แสดงว่าเห็ดชนิดนั้นมีพิษ ห้ามนำมารับประทานโดยเด็ดขาด
เห็ดมีพิษจะมีลักษณะเป็นเห็ดอ่อน ก้อนกลมๆคล้ายไข่ สำหรับการเลือกรับประทานเห็ด ควรสังเกตและ เลือกเห็ดที่สีไม่สด มีร่องรอยการกัดกินของแมลง สัตว์ต่างๆ ทั้งนี้ ควรรับประทานเฉพาะเห็ดที่เป็นที่รู้จักดีในท้องตลาด และสำหรับใครที่พบเห็นผู้ป่วยที่รับประทานเห็ดพิษเข้าไป เบื้องควร พยายามทำให้อาเจียน โดยการนำไข่ขาวตอกใส่ปาก หรือล้วงคอ จากนั้นรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
|
นอกจากจะบริโภคเห็ดเป็นอาหาร (food) ได้แล้ว ยังมีเห็ดบางชนิดที่จัดเป็นอาหารเสริม (dietary supplement)
และมีการผลิตสารสกัดจากเห็ดอีกด้วย ปัจจุบันเรียกผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากสารสกัดว่า nutriceutical เห็ดบางชนิด
มีสรรพ-คุณเป็นยา มีการทำการสกัดสารบริสุทธิ์จากเห็ดใช้เป็นยาเรียกผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ว่า pharmaceutica
ชนิดของเห็ด |
สรรพคุณ |
Auricularia
เห็ดหูหนู |
- รักษาโรคกระเพาะและริดสีดวง
|
Tremella fusiformis Berk
เห็ดหูหนูขาว |
|
Volvariella volvacea
เห็ดฟาง |
- ช่วยลดความดันโลหิตและเร่งการสมานแผล
|
Lentinula edodes
เห็ดหอม |
- ช่วยป้องกันโรคกระดูกอ่อนและลดความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร
- รักษาโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เช่น มะเร็ง เอดส์ ภูมิแพ้บางชนิด
|
Ganoderma lucidum
เห็ดหลินจือ |
- ประเทศจีนใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
- ในประเทศญี่ปุ่นจัดเห็ดหลินจือเป็นสมุนไพรที่ใช้ควบคู่กับการรักษาโรคมะเร็ง
- ใช้รักษาโรคผู้สูงอายุ เช่นโรคหัวใจ (coronary heart disease)
โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง (chronic bronchitis)
โรคความดันโลหิตสูง โรคมะเร็ง
- ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ
- ใช้เป็นยาระบาย
- ใช้แก้พิษจากเห็ดที่มีพิษ
|
ตารางที่ 1 ตัวอย่างเห็ดที่มีการใช้เป็นยารักษาโรค
ความเจริญก้าวหน้าทาง เทคโนโลยีการวิเคราะห์และทางเทคโนโลยีชีวภาพได้ช่วยให้นัก วิจัยสามารถศึกษา
สารสำคัญที่ ออกฤทธิ์เป็นยาในเห็ดได้มากยิ่ง ขึ้น โดยเฉพาะในช่วง 10-20 ปีที่ ผ่านมา เห็ดจัดอยู่ในกลุ่มของรา
ประเภทหนึ่ง จากการศึกษาใน ห้องปฏิบัติการและในการศึกษา ทางคลินิก พบว่ามีสารบางอย่าง ซึ่งช่วยกระตุ้น
การทำงานของ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายและ บางชนิดยับยั้งการเจริญของก้อน เนื้องอก โดยเฉพาะสารจำพวก
polysaccharide และ protein- bound polysaccharide ดังตัวอย่างในตารางที่ 2
การค้นพบสารสำคัญที่มีคุณสมบัติเป็นยานี่เองที่ทำให้นักวิจัยทำการ ค้นคว้าหาวิธีการผลิตสารนี้ให้ได้ปริมาณ
มากด้วยวิธีที่ง่ายกว่าเดิม สารที่ศึกษานั้นเริ่มต้นจากการ ศึกษาในดอกเห็ดซึ่งเมื่อคิดถึง ระยะเวลาที่ต้องใช้ในการเพาะ
เห็ดจนกระทั่งสกัดสารนั้นมาใช้ ประโยชน์แล้ว กลับพบว่าต้องใช้เวลานานเป็นเดือนและมักได้ดอกเห็ดขนาดเล็กๆ
จำเป็นต้องใช้พื้น ที่ในการเพาะปลูกมาก ดังนั้น นักวิจัยจึงได้หาวิธีให้เห็ดสร้างสาร ได้เร็วขึ้นในพื้นที่ที่จำกัด พร้อม
ทั้งสามารถสกัด สารบริสุทธิ์ได้อีกด้วย วิธีหนึ่ง ที่เริ่มมีการนำมาใช้มากคือ การเลี้ยงเส้นใยเห็ด (mycelium)
ตารางที่ 2 ตัวอย่างสาร polysaccharide ที่พบในเห็ด
Polysaccharide |
ชนิดของเห็ด |
การออกฤทธิ์ |
Lentinan |
Lentinula edodes เห็ดหอม |
ยับยั้งการเจริญของ HIV virus เพิ่มการสร้างภูมิคุ้มกัน
ของร่างกาย |
LEM (protein-bound polysaccharide) |
Lentinula edodes |
ช่วยรักษาโรคตับอักเสบชนิดเรื้อรังในสัตว์ทดลองมี
antitumor activity ในคนและสัตว์ โดยกระตุ้น
การสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย |
PSK / Krestin (protein-bound polysaccharide) |
Trametes versicolor |
ช่วยยืดอายุของผู้ป่วยด้วยโรคมะเร็ง |
Polysaccharide |
Pleurotus ostreatus (Jacq.:Fr.) Qu้l |
ลดระดับคอเลสเตอรอลในสัตว์ทดลอง |
Polysaccharide |
Grifola frondosa |
ยับยั้งการเจริญของก้อนเนื้องอก |
Polysaccharide |
Ganoderma lucidum |
ยับยั้งการเจริญของก้อนเนื้องอก กระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย |
นักวิจัยพบว่า เส้นใยเห็ดก็สามารถสร้างสารสำคัญได้เหมือนกัน (ตารางที่ 3)
ตารางที่ 3 สารสำคัญที่พบในเส้นใยเห็ดบางชนิด
ชนิดของเห็ด |
สารสำคัญ |
การออกฤทธิ์ |
Lentinus edodes |
LEM |
มี antitumor activity โดยกระตุ้นการสร้าง macrophage และ interleukin-1 |
Coriolus sp. |
protein-bound polysaccharide |
มี antitumor activity |
Grifola frondosa |
polysaccharide |
มี antitumor activity และมี immunomodulating activity |
Flammulina velutipes |
polysaccharide |
มีผลยับยั้งการเจริญของก้อนมะเร็ง และมี immunomodulating activity |
Ganoderma lucidum |
polysaccharide |
กระตุ้นการทำงานของ phagocyte มี antitumor activity |
Ganoderma capense (Lloyd) Teng |
alkaloid |
มี anti-inflammatory activity ใช้รักษา collagen-related disease เช่น dermatomyositis และ lupus erythermatosus |
Ganoderma japonicum (Fr.) |
Sawada polysaccharide |
มี antitumor activity |
Ganoderma sinense |
polysaccharide |
เสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในหนูทดลอง |
Ganoderma tsugae |
polysaccharide |
เพิ่มระดับ interferon ในซีรั่ม เพิ่มการทำงานของ natural killer cell ในม้าม (spleen) |
เห็ดที่พบว่ามีการใช้เป็นยามากที่สุดและพบในแทบทุกทวีปทั่วโลกคือ Ganoderma lucidum หรือเห็ดหลินจือ
มีการผลิตในรูปยาเม็ด ยาน้ำจากสารสกัด ยาฉีด ชาชงและในรูปทิงเจอร์ ที่พบมากเป็นยาเม็ด ชาชงและยาน้ำจากสาร
สกัด โดยใช้เป็นยาชูกำลัง ใช้เพิ่มประสิทธิภาพทางเพศ ใช้เป็นanti-aging และเสริมสร้างสุขภาพ เห็ดหลินจือประกอบ
ด้วยสารสำคัญที่มีฤทธิ์ในการรักษาโรคต่างๆ มากมาย ดังได้กล่าวไว้แล้วใน R&D Newsletter ปีที่ 3 ฉบับที่ 2 ปี 2539
นักวิจัยได้ให้ความสนใจกับเห็ดที่สามารถใช้รักษาโรคมะเร็งและโรคเอดส์เป็นพิเศษ เนื่องจากยังไม่มียาใด
ที่สามารถใช้รักษาโรคทั้งสองให้หายขาดได้ ส่วนยาที่ใช้รักษาโรคมะเร็งนั้นก็ไม่ใช่ว่าจะได้ผลกับคนไข้ทุกรายไป ดังนั้น
เมื่อมีการพบสารสำคัญที่ผลิตได้โดยเส้นใยแล้ว จึงมีการวิจัยหาวิธีผลิตให้ได้ปริมาณมากโดยการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ
เข้ามาช่วย ดังจะได้กล่าวต่อไปในฉบับหน้า
เอกสารอ้างอิง
1.Jong,S.C.,J.M. Birmingham and S.H. Pai1991J.Immunol. Immunopharmacol.11: 115-122.
2.Mizuno T. and C. Zhuang 1995 Food Reviews International 11(1) : 135-149.
3. Chang , S.T. 1996 Mushroom Biology and Mushroom Products pp.1-10.
วันที่ 30 ก.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,164 ครั้ง เปิดอ่าน 7,134 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 7,152 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,271 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,136 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,150 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 66,382 ครั้ง |
เปิดอ่าน 74,876 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,111 ครั้ง |
เปิดอ่าน 36,723 ครั้ง |
เปิดอ่าน 1,642 ครั้ง |
|
|