Advertisement
Marie Sklodowska นักวิทยาศาสตร์สตรีที่โลกรู้จักดีที่สุด ถือกำเนิดที่กรุง Warsaw ในประเทศโปแลนด์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ.2410 บิดามารดาของเธอเป็นครูสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนมัธยม เพื่อการมีชีวิตที่มีคุณภาพเธอได้เดินทางออกจากโปแลนด์ ซึ่งขณะนั้นตกอยู่ภายใต้การปกครองของรัสเซียไปศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัย Sorbonne ในประเทศฝรั่งเศส ณ ที่นั่นเธอได้พบนักฟิสิกส์หนุ่มชื่อ Pierre Curie และได้เข้าพิธีสมรสเมื่อ Marie มีอายุได้ 28 ปีต่อมา เมื่อ Pieerre ประสบอุบัติเหตุถูกรถม้าชนจนถึงแก่ชีวิต Marie ได้รับตำแหน่งเป็นศาสตราจารย์สตรีคนแรกของ Sorbonne
ในปี พ.ศ. 2439 H. Becquerel ได้พบปรากฏการณ์กัมมันตภาพรังสีในธาตุบางชนิด Marie และสามีจึงได้ร่วมกันศึกษาและวิจัยผลการค้นพบนี้ และได้พบธาตุ polonium ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2441 และธาตุ radium ในเดือนธันวาคมของปีเดียวกัน ในการศึกษาธาตุกัมมันตรังสีใหม่ๆ นั้นเธอได้ยอมเป็นหนูตะเภาทดลองและได้พบว่าเรเดียมที่หนัก 1 กรัม สามารถให้ความร้อนได้มากถึง 140 แคลอรีในเวลา 1 ชั่วโมง บุคคลทั้งสองได้ปฏิเสธไม่ยอมรับรายได้หรือผลประโยชน์ใดๆ จากผลงานการค้นพบของเขาทั้งสอง
โดยส่วนตัว Marie เป็นคนเงียบ ขรึม สำรวม เด็ดเดี่ยว และเสียสละ เธอรักวิชาเคมีอย่างเป็นชีวิตและวิญญาณ ตำราสำคัญที่เธอแต่งชื่อ Traite de Radioactivite ในปี พ.ศ. 2446 เธอและสามี ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ร่วมกับ Becquerel จากผลงานเรื่องกัมมันตภาพรังสี และอีก 2 ปีต่อมา เธอได้รับรางวัลโนเบลสาขาเคมีจาการค้นพบธาตุกัมมันตรังสีเรเดียม
โลกวิทยาศาสตร์รู้จักกฏคูรี อุณหภูมิคูรี หน่วยวัดกัมมันตรังสีที่วัดเป็นคูรี และธาตุ curium เธอเสียชีวิตลงด้วยโรคมะเร็งในเม็ดเลือด และเมื่อใกล้จะถึงวาระสุดท้ายของชีวิต ตาทั้งสองข้างของเธอบอดสนิท
สังคมฝรั่งเศสในสมัยนั้นไม่ยอมรับสตรีที่มีความทะเยอทะยาน สตรีที่มีความคิดอิสระ การพิชิตรางวัลโนเบลถึงสองรางวัลทำให้เธอเป็นวีรสตรี แต่ถึงกระนั้นก็ตามในการสมัครเข้าเป็นสมาชิกของ French Academy of Sciences อันมีชื่อเสียงของฝรั่งเศสที่ไม่มีผู้หญิงเป็นสมาชิกเลย เธอได้รับการต่อต้านจากบรรดาสมาชิกผู้ชายที่พากันคัดค้านไม่ให้เธอเข้าร่วมสมาคม ด้วยใบสมัครเป็นสมาชิกของเธอถูกปฏิเสธเพราะเธอถูกพบว่า มีความสัมพันธ์ฉันชู้ กับ P. Langevin ผู้เป็นนักฟิสิกส์ที่มีครอบครัวแล้ว จดหมายรักของเธอถูกเผยแพร่ไปทั่วประเทศ เมื่อ Royal Swedish Academy ประกาศมอบรางวัลโนเบลสาขาเคมีให้แก่เธอ สมาชิกของสถาบันโนเบลท่านหนึ่งได้ขอร้องให้เธอสละสิทธิ์การรับรางวัล เพื่อมิให้รางวัลมีมลทินใดๆ แต่มาดาม Curie ไม่สนและไม่สละสิทธิ์ เธอและบุตรสาวได้เดินทางไปรับรางวัลที่ Stockholm โดยอ้างว่าความสามารถทางวิชาการกับวิถีชีวิตส่วนตัวเป็นคนละเรื่องกัน
ดังนั้นถึงแม้เธอจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ระดับอัจฉริยะ แต่ในด้านการดำรงชีวิตเธอก็มีปัญหามาก โลกวิทยาศาสตร์ยุคนั้นมีชีวิตชีวาเพราะเธอเป็นสตรีคนเดียวในที่ประชุมต่างๆ ของนักวิทยาศาสตร์ บุตรสาวที่ชื่อ Irene ของเธอสามารถพิชิตรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ให้แก่ตระกูล Curie เป็นรางวัลที่สามในอีกหลายปีต่อมา
เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมานี้ ประธานาธิบดี Francois Mitterand ของฝรั่งเศสได้ประกาศให้ย้ายศพของนาง และสามีไปฝังที่ Pantheon ซึ่งเป็นสุสานเฉพาะสำหรับชาวฝรั่งเศสผู้ทำชื่อเสียงสูงสุดให้แก่ประเทศ เธอเป็นสตรีคนแรกที่ถูกฝังที่นั่นและเป็นนักวิทยาศาสตร์คนที่สองนับต่อจาก Berthelot นักเคมีระดับโนเบลอีกท่านหนึ่ง
ถึงแม้ว่าในขณะที่มีชีวิตอยู่ เธอถูกปฏิเสธมิให้เป็นสมาชิกของ French Academy of Sciences แต่ขณะนี้เธอเป็นสมาชิกของ Pantheon แล้ว ก็โก้และเก๋กว่ากันมากเลย
ขายดีมากครับคุณครู (พร้อมส่ง) เครื่องเคลือบบัตรA4 รุ่นSL200 เครื่องเคลือบกระดาษA4 A3 A5 ABSป้องกันการ์ด ในราคา ฿368 - ฿999 ที่ Shopeehttps://s.shopee.co.th/4VLvxbi7ho?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 26,416 ครั้ง เปิดอ่าน 19,550 ครั้ง เปิดอ่าน 19,536 ครั้ง เปิดอ่าน 15,367 ครั้ง เปิดอ่าน 40,727 ครั้ง เปิดอ่าน 18,586 ครั้ง เปิดอ่าน 7,137 ครั้ง เปิดอ่าน 15,956 ครั้ง เปิดอ่าน 4,385 ครั้ง เปิดอ่าน 1,485 ครั้ง เปิดอ่าน 21,773 ครั้ง เปิดอ่าน 25,417 ครั้ง เปิดอ่าน 26,860 ครั้ง เปิดอ่าน 13,427 ครั้ง เปิดอ่าน 25,373 ครั้ง เปิดอ่าน 72,156 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 17,098 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 46,635 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 16,497 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 86,919 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 56,106 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 28,304 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 208,604 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 208,604 ครั้ง |
เปิดอ่าน 9,671 ครั้ง |
เปิดอ่าน 102,226 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,755 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,576 ครั้ง |
|
|