ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

โปรดระวัง....ก่อนจะคีบ ตะเกียบไม้


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,136 ครั้ง
Advertisement

โปรดระวัง....ก่อนจะคีบ ตะเกียบไม้

Advertisement



      อุปกรณ์หนึ่งในการกินก๋วยเตี๋ยวที่จะขาดเสียไม่ได้เลยก็คือ “ตะเกียบ” โดยส่วนใหญ่ที่ผลิตออกมาขาย หรือใช้กันอยู่ทุกวันนี้ทำจากวัสดุหลัก 2 ชนิด ได้แก่

    1. พลาสติก เป็นการนำเอาพลาสติกมาทำให้มีรูปร่างลักษณะเหมือนกับตะเกียบไม้ มีหลายสี ทั้งสีอ่อนคล้ายงาช้าง สีชมพู จนถึงสี
แดง ตะเกียบพลาสติกที่มีสีไม่เหมาะที่จะใช้กับอาหารที่ร้อนมาก ๆ หรืออาหารที่เป็นกรด เพราะทำให้สีและองค์ประกอบของพลาสติกเสื่อมจนละลายออกปะปนกับอาหาร

    2. ไม้ที่นิยมนำมาใช้ทำตะเกียบคือ ไม้ไผ่และไม้โมกข์ เนื่องจากมีสีขาว เนื้อละเอียด ไม่ทำให้อาหารมี สี กลิ่น รส ผิดเพี้ยนไป ส่วนใหญ่ไม่นิยมเคลือบหรือทาสีใด ๆ อย่างไรก็ตาม มีผู้ผลิตบางรายที่เคลือบตะเกียบด้วยสีน้ำมัน เช่น สีแดงสลับดำ จึงไม่เหมาะที่จะใช้คีบอาหารที่ยังร้อนอยู่ อาหารที่มีน้ำมันมาก รวมถึงอาหารที่เป็นกรด เพราะสีที่เคลือบไว้จะละลายลงไปในอาหาร ซึ่งสีที่ใช้เคลือบนี้มีสารโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว เจือปนอยู่ เมื่อใช้ไปนาน ๆ สีจะหลุดร่อนกะเทาะออกมาปนอยู่ในอาหารเข้าสู่ร่างกายของเรา จนเกิดการสะสมในร่างกายปริมาณมาก

     นอกจากนั้นแล้วผู้ประกอบการร้านอาหาร ส่วนใหญ่ยังนิยมใช้ “ตะเกียบอนามัย” ชนิดใช้แล้วทิ้ง ฟังชื่อแล้วทำให้มั่นใจว่าจะได้ตะเกียบที่สะอาด ปลอดภัย แต่แท้จริงแล้วตะเกียบชนิดนี้เป็นที่สะสมของสารเคมีอันตรายหลายชนิด โดยเฉพาะ “สารฟอกขาว” ซึ่งเป็นชนิดเดียวกับที่ใช้แช่ถั่วงอก ที่มีสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นส่วนประกอบ เมื่อสารชนิดนี้ถูกน้ำร้อนหรือของที่มีอุณหภูมิสูงจะเปลี่ยนเป็นสารซัลฟูริก ชนิดเดียวกับที่ใช้ในแบตเตอรี่รถยนต์ เมื่อเราใช้ตะเกียบที่มีสารฟอกขาว ในอาหารที่ร้อนจัด เช่น สุกี้ หม้อไฟ หมูกระทะ เป็นต้น จะทำให้สารดังกล่าวละลายออกมาจากตะเกียบปะปนในอาหาร

     ในรายที่แพ้ง่ายหรือเป็นโรคหอบหืดจะมีอาการแสดงทันทีที่ได้รับสารนี้เข้าไป ส่วนในคนที่ร่างกายแข็งแรงจะยังไม่แสดงอาการ แต่จะค่อย ๆ สะสมในร่างกาย ทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำลง จึงมีโอกาสเกิดโรคต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าปกติ เพราะร่างกายไม่มีภูมิต้านทาน หากได้รับสารสะสมนานเข้าอาจกระตุ้นให้เกิดโรคมะเร็ง 

   ตะเกียบใช้แล้วทิ้งกว่าจะถึงมือผู้บริโภค

      เรารู้หรือไม่ว่า ตะเกียบไม้ใช้แล้วทิ้งที่แสนจะสะดวกสบายนั้น มีกรรมวิธีการผลิตรวมถึงการขนส่ง ที่ค่อนข้างสุ่มเสี่ยงต่อความไม่ปลอดภัย เริ่มตั้งแต่วิธี การผลิตตะเกียบไม้จากท่อนไม้เล็ก ๆ ให้เป็นตะเกียบ แล้วผ่านการฟอกขาวด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์หรือ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เมื่อตากให้แห้งแล้วจึงทำการขนส่งทางเรือข้ามน้ำ ข้ามทะเล (ในกรณีที่ผลิตจากต่างประเทศ) ไปส่งยังผู้ค้า ในระหว่างนี้ตะเกียบที่เก็บ ไว้อาจโดนทั้งหนูและแมลงสาบแทะ เมื่อถึงมือผู้ค้าแล้วจะนำมาห่อใหม่โดยไม่ได้ฆ่าเชื้อ เราจึงมีโอกาสได้รับทั้งเชื้อโรคและสารตกค้างที่ติดอยู่ในรูพรุนของเนื้อไม้ ไปจนถึงเวลาใช้ ทำให้สุ่มเสี่ยงต่อการท้องเสียและหอบหืด

  

เพื่อความปลอดภัยเมื่อต้องใช้ตะเกียบ

      วิธีการที่ช่วยให้เราเลี่ยงจากพิษภัยของสารเคมีในตะเกียบ เมื่อต้องใช้ตะเกียบกินของร้อน ๆ สามารถป้องกันได้ด้วยการนำตะเกียบไปแช่ในน้ำร้อนก่อนประมาณ 3-4 นาที แล้วเทน้ำทิ้งไป จึงค่อยนำตะเกียบ มาใช้ แต่ในความเป็นจริงการแช่ตะเกียบตามร้านอาหาร หรือร้านก๋วยเตี๋ยวข้างทางค่อนข้างยุ่งยาก และคนขาย ไม่อยากทำให้ ทางที่ดีคือ เราอาจนำตะเกียบส่วนตัวไป ใช้เอง หรือทำความสะอาดตะเกียบให้เรียบร้อยก่อนนำมาใช้ จะได้ไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ



   ข้อมูลน่ารู้

    • นักเรียนในญี่ปุ่นทดลองนำน้ำที่แช่ตะเกียบ 7 วัน และมีกลิ่นเหม็นมาเพาะถั่วเขียว ผลปรากฏว่า ถั่วเขียวโตช้ากว่าปกติ และหยุดโตเมื่อต้นสูงได้ประมาณ 5-6 เซนติเมตร และตายลงในที่สุด

    • จากการทดสอบควันที่ได้จากการเผาตะเกียบพบว่ามีฤทธิ์เป็นกรด

    • เฉพาะในไต้หวัน แต่ละปีมีการใช้ตะเกียบ กว่า 1,000 ล้านคู่ นั่นหมายความว่า ต้นไม้ 29 ล้านต้น ต้องถูกตัดโค่นลง

    • เมื่อรวมปริมาณการใช้ตะเกียบทั่วทั้งโลก ต้นไม้กี่ล้านต้นที่จะถูกตัดโค่นลงเพื่อนำมาทำตะเกียบ ?





ที่มา ... วิชาการดอทคอม

 

 

 

 

 

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 7254 วันที่ 30 ก.ย. 2552


โปรดระวัง....ก่อนจะคีบ ตะเกียบไม้ โปรดระวัง....ก่อนจะคีบตะเกียบไม้

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

เลขทะเบียนรถ.....กับวันเกิด

เลขทะเบียนรถ.....กับวันเกิด


เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
บทที่5 สรุปผล

บทที่5 สรุปผล


เปิดอ่าน 7,133 ครั้ง
ดอกบัวเจ็ดดอก คืออะไร...?

ดอกบัวเจ็ดดอก คืออะไร...?


เปิดอ่าน 7,228 ครั้ง
ตามล่าหาความสุข

ตามล่าหาความสุข


เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

แบบทดสอบ Pre,,,,,,,วิชาEnglish

แบบทดสอบ Pre,,,,,,,วิชาEnglish

เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
8 วิธี.... มีเอวกิ่ว
8 วิธี.... มีเอวกิ่ว
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย

ร่วมรณรงค์....เลิกใช้ภาษาวิบัติ...
ร่วมรณรงค์....เลิกใช้ภาษาวิบัติ...
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย

ลำดับการสวดมนต์
ลำดับการสวดมนต์
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย

ว๊าว..!! ภาพเด็ดโชว์โยคะหวาดเสียว
ว๊าว..!! ภาพเด็ดโชว์โยคะหวาดเสียว
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย

อานิสงส์
อานิสงส์
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย

จริง...หรือไม่จริง....พิสูจน์ได้นะคะ...
จริง...หรือไม่จริง....พิสูจน์ได้นะคะ...
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการให้คุณให้โทษ และสร้างขวัญกำลังใจข้าราชการ
กฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการให้คุณให้โทษ และสร้างขวัญกำลังใจข้าราชการ
เปิดอ่าน 4,946 ครั้ง

เเนะ 7 วิธีมี "เงินเก็บ" เพิ่มมากขึ้นภายใน 1 ปี
เเนะ 7 วิธีมี "เงินเก็บ" เพิ่มมากขึ้นภายใน 1 ปี
เปิดอ่าน 52,037 ครั้ง

กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)
กรอบยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579)
เปิดอ่าน 37,790 ครั้ง

เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายและจิตใจเราเปลี่ยนแปลงอย่างไร
เมื่ออายุมากขึ้น ร่างกายและจิตใจเราเปลี่ยนแปลงอย่างไร
เปิดอ่าน 1,341 ครั้ง

 ฮวงจุ้ยในห้องนอน
ฮวงจุ้ยในห้องนอน
เปิดอ่าน 21,702 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ