Advertisement
❝ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ร่วมกับชุมชนบางพลี จัดงาน ประเพณีรับบัว ประจำปี 2552 วันที่ 30 กันยายน - 3 ตุลาคม 2552 ณ บริเวณหน้าที่ว่าการอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เพื่อเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นและกิจกรรมด้านพุทธศาสนาช่วงวันออกพรรษา และส่งเสริมการท่องเที่ยว ประชาสัมพันธ์กิจกรรม และแหล่งท่องเที่ยวของจังหวัดสมุทรปราการให้เป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้น ❞
ภายในงานยังมีกิจกรรมที่น่าสนใจ อาทิ...
สัมผัสวัฒนธรรมอันดีงาม "ลานวัฒนธรรม" และชมการแสดงวิถีชีวิตชาวนา ชาวลาว ชาวมอญ ชาวจีน ชาวมุสลิม การแสดงรำกลองยาว
เลือกชิมขนมพื้นบ้านอาหารพื้นเมือง และเลือกซื้อสินค้าชุมชน "OTOP"
ชมการแข่งขัน เช่น ชกมวยทะเล, หมากรุกคน, แข่งขันเรือมาด
ชมการประกวดหนุ่มสาวรับบัว, ขวัญใจแม่ค้า, ประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง, การนวดมือทอง, การทำขนมพื้นบ้านอาหารพื้นเมือง
ชมขบวนเรือสวยงาม ความคิดสร้างสรรค์ และตลกขบขัน และร่วมถวายดอกบัวบูชาหลวงพ่อโต
เยี่ยมชมและสัมผัสบรรยากาศไทย ๆ ริมฝั่งคลองสำโรง พร้อมชิมอาหารอร่อย ณ "ตลาดโบราณบางพลี"
สำหรับประเพณีรับบัว หรือโยนบัว เป็นประเพณีเก่าแก่ของชาวบางพลี ซึ่งอำเภอบางพลีมีประชากรอาศัยอยู่ 3 พวก คือ ไทย รามัญและลาว แต่ละพวกมีหัวหน้าควบคุมดูแลทำมาหากิน ในอาชีพต่าง ๆ ต่อมากลุ่มคนทั้ง 3 พวก ได้ปรึกษากันว่าสมควร จะขยายพื้นที่ทำกินใหม่ให้มากขึ้น เพราะที่ทำไร่ ทำสวนแต่เดิม เต็มไปด้วยพงอ้อพงแขม และพันธุ์ไม้ต่างๆ มีสัตว์อาศัยอยู่หลายชนิด ทางฝั่งใต้ของคลองเต็มไปด้วยป่าแสมเป็นน้ำเค็ม ฝั่งเหนือเป็นบึงใหญ่ แต่ละบึงจะมีน้ำลึก มีดอกบัวหลวงขึ้นอยู่มากมาย คนทั้ง 3 พวก ได้ช่วยกันหักร้างถางพง จนถึงสามแยกบริเวณคลองสลุด, คลองชวดลากข้าว, คลองลาดกระบัง เมื่อถึงบริเวณนี้ต่างตกลงกันว่าควรแยกย้ายกันไปหากินคนละทาง โดยให้พวกลาวไปทางคลองสลุด, คนไทยไปตามทางคลองชวดลากข้าว, พวกรามัญไปทางคลองลาดกระบัง
ต่อมาคนรามัญที่ไปทางคลองลาดกระบัง ทำ มาหากินอยู่ 2 - 3 ปี ก็ไม่ได้ผลผลิต มีนกหนูรบกวน การทำไร่ ไถนาพืชผลจึงเสียหาย เลยปรึกษาว่าจะกลับถิ่นฐานเดิมคือ ปากลัด และเริ่มอพยพในตอนเช้ามืดของเดือน 11 ขึ้น 14 ค่ำ ก่อนไปได้เก็บดอกบัวในบริเวณนั้นไปด้วย เพื่อนำไปบูชาพระคาถาพันที่ปากลัด ในปีต่อมา บอกให้คนไทยที่ชอบพอกันว่า เมื่อถึงวันขึ้น 4 ค่ำเดือน 11 ให้ช่วยเก็บดอกบัวไปบูชาหลวงพ่อโตในวิหาร และให้นำน้ำมนต์หลวงพ่อโต กลับไปเป็นสิริมงคลด้วย ส่วนดอกบัวที่เหลือชาวรามัญ จะนำกลับไปบูชาพระคาถาพัน จึงเป็นที่มาของประเพณีรับบัวมาจนถึงทุกวันนี้
ในปัจจุบันพอถึงเดือน 11 ขึ้น 13 ค่ำ ก่อนออกพรรษา 2 วัน ในตอนเย็นชาวบางพลีจะเตรียมดอกบัวไว้ โดยเอาดอกบัวหลายดอกเสียบไว้ในใบบัว แล้วเอาใบบัวห่อไว้กันเหี่ยว ตกเย็น ชาวตำบลต่าง ๆ ทั้งใกล้และไกล จะพากันไปยังตำบลบางพลีใหญ่ ต่างช่วยกันพายเรือ และตกแต่งอย่างสวยงาม ตอนกลางคืนมีการจับคู่ร้องเพลงเรือ ลำตัดตามแต่ถนัด ฝ่ายชาวบ้านบางพลีใหญ่ จะตกแต่งบ้านเรือนด้วยธงทิวโคมบัว จะเล่นจนถึงสว่าง บริเวณที่เล่นกันคือคลองสำโรง ในตอนเช้าจะมีการโยนบัวลงไปในขบวนเรือ ขบวนแห่พระพุทธรูป โดยอัญเชิญหลวงพ่อโตจำลองลงไว้ในเรือ เรือจะแล่นไปตามคลองสำโรง ให้ประชาชนได้บูชา ประชาชนจะโยนดอกบัวลงไปในเรือที่แห่หลวงพ่อโต และในเรือที่ชาวบ้านมาร่วมงาน
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
Advertisement
เปิดอ่าน 10,300 ครั้ง เปิดอ่าน 13,017 ครั้ง เปิดอ่าน 17,460 ครั้ง เปิดอ่าน 15,651 ครั้ง เปิดอ่าน 18,532 ครั้ง เปิดอ่าน 12,618 ครั้ง เปิดอ่าน 17,708 ครั้ง เปิดอ่าน 10,243 ครั้ง เปิดอ่าน 34,939 ครั้ง เปิดอ่าน 12,233 ครั้ง เปิดอ่าน 208,059 ครั้ง เปิดอ่าน 15,763 ครั้ง เปิดอ่าน 55,292 ครั้ง เปิดอ่าน 37,159 ครั้ง เปิดอ่าน 8,828 ครั้ง เปิดอ่าน 22,223 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 8,497 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,511 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 9,919 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 557 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 11,461 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 15,700 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 13,138 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 12,153 ครั้ง |
เปิดอ่าน 16,242 ครั้ง |
เปิดอ่าน 7,912 ครั้ง |
เปิดอ่าน 32,520 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,325 ครั้ง |
|
|