Advertisement
การแนะนำให้นักเรียนรู้จักกับโครงสร้าง ของ DNA นั้นเป็นปัญหาสำหรับครูมาโดย ตลอด ครูอาจบอกนักเรียนได้แต่เพียงว่า DNA แต่ละสายนั้นประกอบด้วยหน่วยย่อยอะไร บ้างมาจับเกาะกัน แต่การที่จะต้องบรรยายให้นักเรียนเข้าใจว่าแต่ละหน่วยย่อยเหล่านั้นมา จับเกาะกันในลักษณะใด ทำมุมกันอย่างไร และเมื่อจับเกาะกันจนเป็นสายยาวแล้ว สายนั้น มีลักษณะรวม ๆ อย่างไร นั้นเป็นเรื่องที่ครูหนักใจมาก
การนำเสนอโครงสร้าง DNA ในระยะหลายปีที่ผ่านมา มักเป็นการบรรยายประกอบ ภาพ ซึ่งเป็นแผนภาพระนาบเดียว ไม่สามารถแสดงเป็นภาพ 3 มิติได้ นักเรียนจึงต้องใช้ จินตนาการของตนเองอย่างหนักเข้าช่วย แม้ครูจะพยายามใช้ถ้อยคำเปรียบเทียบเพื่อให้ นักเรียนเกิดภาพพจน์ที่ใกล้เคียงความจริงมากขึ้น เช่นกล่าวว่าแต่ละหน่วยย่อยนั้นจับเกาะ ต่อเนื่องกันเป็นสายคู่ และบิดเป็นเกลียวคล้ายบันไดเวียน แต่นักเรียนเกือบร้อยรวมทั้งครู ยังไม่เคยเห็นบันไดเวียนมาก่อนเลย เคยเห็นแต่บันไดธรรมดา จึงต้องจินตนาการลักษณะ ของบันไดเวียนเสียชั้นหนึ่งก่อน แล้วจึงจินตนาการถึงโครงสร้างของ DNA ขึ้นมาเปรียบเทียบ อีกทีหนึ่ง ซึ่งไม่มีใครทราบว่าสิ่งที่นักเรียนจินตนาการขึ้นนั้นใกล้เคียง หรือห่างไกลจาก โครงสร้างของ DNAที่แท้จริงเพียงใด
ในระยะต่อมา ได้มีผู้พยายามสร้างหุ่นจำลองของ DNA ขึ้นมา เพื่อแสดงให้เห็นการจับ เกาะกันของแต่ละหน่วยย่อยได้โดยไม่ต้องจินตนาการเอง การใช้หุ่นจำลองสำเร็จรูปนี้ได้รับ ความนิยมมากในระดับมหาวิทยาลัย แต่ในระดับโรงเรียนยังไม่ค่อยแพร่หลาย เนื่องจาก ราคาแพง
ภายหลังได้มีผู้คิดดัดแปลงการสร้างหุ่นจำลองของ DNA โดยใช้วัสดุง่าย ๆ เช่น ลูกปัดสี ต่าง ๆ หรือแผ่นโฟมมาตัดเป็นรูป ทาสีต่าง ๆ แทนหน่วยย่อยแต่ละหน่วยของ DNA แล้วให้ นักเรียนช่วยกันประกอบเป็นสาย DNA ขึ้นมา
การใช้วัสดุดังกล่าวแม้จะเป็นสื่อในการสอนได้ดีพอควรในระดับนักเรียน แต่ก็ยังคงมี ข้อเสียอยู่บ้าง เช่น ค่อนข้างจะเป็นโครงสร้างของ DNA ชนิดหยาบ กล่าวคือนักเรียนเห็นแต่ เพียงการจับเกาะกันของหน่วยย่อย แต่ไม่สามารถอธิบายการจับเกาะกันของอะตอมในแต่ ละหน่วยย่อยได้และรายละเอียดในการจับเกาะกันของแต่ละหน่วยย่อยเช่นการทำมุมกัน การบิดเป็นเกลียวมีระยะถี่หรือห่างเพียงใดนั้นจะจัดให้ถูกต้องตามความเป็นจริงได้ยาก นอกจากนั้นราคาของวัสดุดังกล่าวก็ยังคงแพงอยู่
ตอนที่ผู้เขียนไปอบรมที่เรคแซมได้มีโอกาสเห็นหุ่นจำลองของ DNA ที่สร้างขึ้นด้วย กระดาษที่มีผู้นำมาแสดง จึงได้ให้ความสนใจมาก เนื่องจากเห็นว่าเป็นหุ่นจำลองที่ใช้วัสดุ ราคาถูก คือใช้กระดาษคล้าย ๆ กับกระดาษปกของสมุดปกอ่อน นักเรียนสามารถจะขึ้นได้ เอง โดยแทบไม่ต้องลงทุนอะไรเลยโดยใช้ปกสมุดที่ไม่ใช้แล้ว
วิธีทำมีดังต่อไปนี้
1. ตัดกระดาษตามแบบในภาพให้ได้มาก ๆ (DNA สายหนึ่งควรใช้ไม่น้อยกว่า 20 ชิ้น)
2. พับกระดาษตามรอยปรุทั้ง 4 ตำแหน่ง ให้มีลักษณะคล้ายชั้นบันได โดยตำแหน่งที่ 1 และตำแหน่งที่ 3 ให้พับลง ส่วนตำแหน่งที่ 2 และตำแหน่งที่ 4 ให้พับขึ้น
3. ตัดหลอดดูดกาแฟให้เป็นท่อนยาวประมาณ ครึ่งนิ้ว 20 ท่อน
4. ร้อยกระดาษกับหลอดกาแฟที่เตรียมไว้แล้วด้วยเชือกป่านยาวประมาณ 3 ฟุต โดยร้อยสลับกันไปเรื่อย ๆ จะใช้กระดาษชิ้นใดก่อนหลังหรือซ้ำ ๆ กันอย่างไรก็ได้ จนได้สาย ยาวประมาณ 2 ฟุตเศษ
5. ใช้กาวติดเชื่อมระหว่างส่วนที่พับขึ้นและพับลงของกระดาษแต่ละชิ้น โดยให้ ตำแหน่งที่ 1ของชิ้นบน เชื่อมกับตำแหน่งที่ 2 ของชิ้นล่าง และให้ตำแหน่งที่ 3 ของชิ้นบน เชื่อมติดกับตำแหน่งที่ 4 ของชิ้นล่าง เป็นดังนี้เรื่อยไปจนกระดาษทุกชิ้นเชื่อมติดกัน เป็นสายยาว
จะได้หุ่นจำลอง DNA ที่ทำด้วยกระดาษ 1 สาย ที่ให้รายละเอียดของแต่ละหน่วยย่อยได้ ดีแสดงให้เห็นถึงการจัดเกาะกันของแต่ละอะตอม ถ้านักเรียนได้ดำเนินการประกอบตาม คำแนะนำ โดยตลอดทุกขั้นตอนแล้ว การทำมุมและระยะห่างของช่วงที่บิดเป็นเกลียวแต่ละ ช่วงจะถูกต้องใกล้เคียงความจริงมาก
ครูอาจดัดแปลงการสร้างหุ่นจำลอง DNA ด้วยกระดาษนี้ให้ดียิ่งขึ้นได้ เช่น ใช้กระดาษสี ต่างกันในคู่ของเบสต่างชนิดกัน หรือให้นักเรียนระบายสีหน่วยย่อยแต่ละหน่วยให้สีแตกต่าง กันหรือสร้างขึ้นโดยไม่ต้องใช้เชือกและหลอดดูดกาแฟเป็นแกนเพื่อที่จะสามารถพับและนำ ไปไหนต่อไหนได้สะดวกขึ้น
โดยพงษ์เทพ บุญศรีโรจน์ ข่าวสารสสวท. ปีที่ 11 ฉบับที่ 3 เม.ย. - มิ.ย. 2526.
ที่มา http://www.school.net.th
Advertisement
เปิดอ่าน 44,410 ครั้ง เปิดอ่าน 21,582 ครั้ง เปิดอ่าน 25,639 ครั้ง เปิดอ่าน 13,474 ครั้ง เปิดอ่าน 29,672 ครั้ง เปิดอ่าน 142,378 ครั้ง เปิดอ่าน 19,310 ครั้ง เปิดอ่าน 23,576 ครั้ง เปิดอ่าน 4,324 ครั้ง เปิดอ่าน 16,311 ครั้ง เปิดอ่าน 46,212 ครั้ง เปิดอ่าน 33,404 ครั้ง เปิดอ่าน 13,836 ครั้ง เปิดอ่าน 18,942 ครั้ง เปิดอ่าน 15,639 ครั้ง เปิดอ่าน 29,340 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 19,108 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 18,705 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 34,521 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 23,184 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 25,328 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 16,311 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 22,116 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 20,466 ครั้ง |
เปิดอ่าน 28,832 ครั้ง |
เปิดอ่าน 46,268 ครั้ง |
เปิดอ่าน 12,777 ครั้ง |
เปิดอ่าน 1,935 ครั้ง |
|
|