Advertisement
จักจั่นถือกำเนิดขึ้นบนโลกใบนี้เมื่อราว 230-295 ล้านปีก่อน ในยุคไทรแอสสิก (Triassic) นักวิทยาศาสตร์ได้จัดให้จักจั่นเป็นแมลงอยู่ในอันดับ (Order) Homoptera ซึ่งเป็น กลุ่มของแมลงที่ดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชเป็นอาหาร เช่นเพลี้ยชนิดต่างๆ ครั่ง แมลงหวี่ขาว ลักษณะที่เด่นชัดของแมลงในอันดับนี้ก็คือ ปีกคู่หน้ามีลักษณะและขนาดความหนาของเนื้อปีกเท่ากันตลอดทั้งแผ่นปีก ชื่ออันดับที่มาจากลักษณะเด่นที่ว่านี้ คือ homo แปลว่า เหมือนกัน, เท่ากัน ส่วน ptera แปลว่า ปีก ซึ่งจะหนาทึบหรือบางใสก็ได้แล้วแต่ชนิดของแมลง ปีกของจักจั่นจะบางใสเหมือนกันทั้งแผ่นปีก
แมลงในกลุ่มนี้จะแยกออกเป็นอีกสองกลุ่มย่อยๆ (Suborder) คือพวกที่เคลื่อนไหวเฉื่อยช้า กับพวกที่เคลื่อนไหวรวดเร็ว แน่นอนที่สุดว่าจักจั่นที่เรากำลังพูดถึงอยู่ในกลุ่มหลัง เพราะสามารถกระโดดหรือบินได้เป็นอย่างดี
จักจั่นเป็นแมลงที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในบรรดาแมลงอันดับนี้ทั้งหมด คือมีขนาดตั้งแต่ 1 เซนติเมตรขึ้นไป จนถึงบางชนิดที่ มีขนาดตัวยาวกว่า 10 เซนติเมตร มีหนวดสั้นๆ (หนวดแบบขน-setaceoux) จนเกือบจะมองไม่เห็นดูคล้ายปุ่มเล็กๆ มากกว่าที่จะเป็นหนวด มีตาเดี่ยวสามตา ส่วนหัว ลำตัว ท้อง จะเชื่อมต่อกลมกลืนเป็นส่วนเดียวกัน ปีกคู่หน้าจะบางใส
ช่วงชีวิตของจักจั่นเป็นดังนี้ |
ไข่ (4 เดือน) |
- วางไข่ใต้เปลือกไม้ |
ตัวอ่อน (4-6ปี) |
- ใช้ชีวิตอยู่ใต้ดิน ดูดกินน้ำเลี้ยงจากรากไม้เป็นอาหาร |
ตัวเต็มวัย (1-2 เดือน) |
- อาศัยอยู่ตามต้นไม้ดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นไม้เป็นอาหาร |
ตัวผู้ทำเสียงได้ดังมาก ประมาณ 200 เดซิเบล |
ตัวเมียไม่สามารถทำเสียงได้ |
จักจั่นทำเสียงเพื่ออะไร เสียงที่ก้องกังวานทั่วทั้งแนวไพรในยามใกล้พลบค่ำ คงไม่มีเสียงใดจะมากลบเสียงบรรเลงของจักจั่นไปได้ ทำไมจักจั่นจึงต้องทำเสียงดังขนาดนั้นทั้งๆ ที่ตัวของมันก็ไม่ได้ใหญ่โตอะไรมาก
ในการศึกษาเรื่องเสียงของจักจั่นพบว่า ส่วนใหญ่การทำเสียงของจักจั่นจะเป็นไปเพื่อการหาคู่ครอง สำหรับจักจั่น "เสียง" ก็ไม่ ต่างไปจาก "รูปร่างหน้าตาและความสามารถ" ของคนเรา คุณภาพของเสียงบ่งบอกถึงงคุณภาพของร่างกาย และดุจเดียวกัน พลังเสียง ท่วงทำนอง ความไพเราะ คือลีลา เฉพาะของจักจั่นตัวผู้แต่ละตัว ที่จะประกาศหรือโชว์ให้ตัวเมียได้เห็น (ได้ยิน) ศักยภาพและพึงพอใจในที่สุด
นอกจากเสียงที่ใช้ในการประกาศหาคู่แล้ว จักจั่นยังสามารถทำเสียงเฉพาะกิจอื่น ๆ ได้อีก เช่น เสียงเพื่อคัดค้าน ประท้วง เสียงแสดงความพึงพอใจ เสียงข่มขู่ ถึงแม้ว่าตัวผู้หลายสิบตัวจะประสานเสียงจนกังวานไปทั่ว ดังขึ้นตรงโน้นบ้าง ตรงนี้บ้าง จนเราสับสนและหาที่มาของเสียงไม่ได้ว่าจักจั่นเกาะอยู่ตรงไหน แต่สำหรับจักจั่นตัวเมียแล้ว มันสามารถแยกแยะแหล่งที่มาของเสียงจากตัวผู้ต่ละตัวได้ไม่ยากและเสียงดังเพียง 30-40 เดซิเบลก็พอแล้วสำหรับการตัดสินใจ ตัวเมียจะเป็นฝ่ายเลือกจากผู้เสนอหลายสิบตัว โดยจะยอมผสมพันธุ์กับตัวผู้ที่มันพอใจมากที่สุดซึ่งก็ต้องเป็นตัวที่มีน้ำเสียงถูกใจมันมากที่สุดนั่นเอง การส่งเสียงของจักจั่นตัวผู้ไม่ต่างไปจากการส่งกลิ่นฟีโรโมนของแมลงชนิดอื่นๆ เพื่อเรียกร้องความสนใจจากเพศตรงข้าม
การผลิตเสียง
เสียงที่ดังมากกว่า 100 เดซิเบล ของจักจั่นตัวผู้ ไม่ได้เกิดจากหลอดเสียงในลำคอเช่นสัตว์ทั่วๆ ไป เสียงของจักจั่นดังมาจากส่วนท้องแหล่งที่มาของเสียงเริ่มต้นที่กล้ามเนื้อ (tymbal) ที่อยู่ภายในร่างกายตรงช่องท้อง และมีซี่โครง (Folded membrane) สี่อันเรียงเป็นแนวขวางกับลำตัว ปลายซี่เชื่อมต่อกันกับแผ่นรูปไข่และเชื่อมติดกับกล้ามเนื้ออีกที เมื่อกล้ามเนื้อส่วนนี้หดตัว - คลายตัว ซึ่โครงสี่อันนี้ก็จะขยับตาม ส่งผลให้แผ่นรูปไข่ขยับตามไปด้วย และเกิดเสียงขึ้นมา เสียงจะถูกส่ง ผ่านไปยัง tymbal โดย tymbal แต่ละข้างของช่องท้องสามารถผลิตเสียงได้ในความถี่ข้างละ 120 เฮิรตซ์ จากนั้นเสียงจะผ่านไปยังถุงลม (air sac - ถุงลมนี้จะมีขนาดใหญ่มาก มีความจุราว 1.8 มิลลิลิตร ประมาณร้อยละ 70 ของส่วนท้อง) อีกทีก่อนที่จะส่งผ่านไปยังเยื่อแก้วหู (eardrum) eardrum จะทำหน้าที่ในการควบคุมและขยายเสียง ก่อนที่จะปล่อยออกไปสู่ภายนอก ซึ่งจะผ่านการปิด-เปิดของแผ่น opercula ที่จะปรับแต่งเสียงเป็นครั้งสุดท้าย เพื่อให้ได้เสียงที่มีประสิทธิภาพสูงสุดเท่าที่มันจะพึงทำได้
แค่ลำพังท้องเล็กๆ ที่มีขนาดความจุไม่กี่มิลลิลิตรของจักจั่นก็สามารถผลิตเสียงที่ดังมหาศาลเกินกว่าที่เราจะคาดคิด แต่ไม่ว่าอย่างไร เสียงระเบ็งเซ็งแซ่ของจักจั่นก็ใช่จะสร้างขึ้นเพื่อความบันเทิงทุกสำเนียงย่อมหมายถึงชีวิตและการดำรงอยู่ของเผ่าพันธุ์อันเป็นเป้าหมายสำคัญของสิ่งมีชีวิตทุกชีวิตบนโลกนี้
จากหนังสือสารคดี ปีที่ 14 ฉบับที่ 168 ก.พ. 2542 หน้า 171 - 172
ที่มา http://www.school.net.th
🖼สำหรับคุณครูไว้ใส่เกียรติบัตรสวยและถูก🖼 กรอบป้ายอะคริลิคตั้งโต๊ะ A4 แนวนอน 30x21.5 cm อะคริลิคใส 1 หน้า ทรง L (A4L1P) ในราคา ฿129 คลิกเลย👇👇https://s.shopee.co.th/1qLFIZVf4t?share_channel_code=6
Advertisement
เปิดอ่าน 16,430 ครั้ง เปิดอ่าน 13,858 ครั้ง เปิดอ่าน 9,629 ครั้ง เปิดอ่าน 19,427 ครั้ง เปิดอ่าน 13,493 ครั้ง เปิดอ่าน 14,512 ครั้ง เปิดอ่าน 72,080 ครั้ง เปิดอ่าน 23,086 ครั้ง เปิดอ่าน 17,651 ครั้ง เปิดอ่าน 32,531 ครั้ง เปิดอ่าน 2,537 ครั้ง เปิดอ่าน 136,938 ครั้ง เปิดอ่าน 24,951 ครั้ง เปิดอ่าน 15,728 ครั้ง เปิดอ่าน 15,723 ครั้ง เปิดอ่าน 24,750 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 23,706 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 33,451 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 29,553 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 25,694 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 30,058 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 24,432 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 33,698 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 15,646 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,323 ครั้ง |
เปิดอ่าน 30,803 ครั้ง |
เปิดอ่าน 14,142 ครั้ง |
เปิดอ่าน 21,441 ครั้ง |
|
|