Advertisement
❝ สนับสนุนโดย ชมรมพระจันทร์ยิ้ม โทรติดต่อ 0864113996 ❞
ความสุขจากเวลาที่เสียไป
โดย...คุณชโลม เพ็ชร์น้ำเงิน
เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ
(เนื้อหาและภาพประกอบเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน)
|
ตั้งแต่เราเป็นเด็ก เราเสียเวลาส่วนใหญ่ไปกับการเล่น การกิน การนอน และการเรียนในห้องเรียน เมื่อจบการศึกษาขั้นสูง
เราเสียเวลาที่เหลือในชีวิตสามสิบปี ไปกับการทำงาน และการแก่งแย่งแข่งขันเพื่อจะมีทรัพย์เอาไว้ทำให้เราและคนที่เรารักมีความ
สุข หลายครั้งเร่งร้อน รีบรนเพื่ออดทนไปให้ถึงเป้าหมายที่ได้วาดฝันเอาไว้ซึ่งชีวิตคนในปัจจุบันนี้ไม่อาจรู้ได้เลยว่าวันสุดท้ายในชีวิต
อาจมาก่อนเวลาอันควร เราเคยสงสัยไหมว่าทำไมคนที่ร่ำรวยประสบความสำเร็จในชีวิตทุกด้านทำงานมาทั้งชีวิตพอบั้นปลายบางคน
จึงต้องเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายต้องเสียชีวิตอย่าน่าเสียดาย นั่นเป็นเพราะเขาขาดสมดุลในการดำเนินชีวิตนั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้เขาจะ
มีความสุขที่แท้จริงได้อย่างไร
|
การเร่งร้อนเพื่อมองแต่อนาคตที่ยังมองไม่เห็นจนลืมคิดถึงการเก็บเกี่ยวความสุขในปัจจุบันจึงเป็นเรื่องที่น่าเสียดายเป็น
อย่างยิ่ง เริ่มจากที่ทุกวันนี้เราพบว่าผู้ปกครองมากมายยัดเยียดความเร่งร้อนให้เด็ก ทั้งป้อนความรู้อันอาจไร้ค่าให้พวกเขาจนเกิน
ควร จริงอยู่ความรู้ไม่เคยไร้ค่าแต่ควรได้เรียนรู้จากโลกของความเป็นจริงหาใช่อ่านแต่ในทฤษฎี การปลูกฝังมนุษยสัมพันธ์ทางสังคม
และการเอาตัวรอดอีกทั้งคุณธรรมให้พวกเขาต่างหากคือเข็มทิศที่จะทำให้พวกเขาเติบโตขึ้นมาเป็นคนเข้มแข็งต่อสู้โลกที่แสนวุ่น
วายนี้ไปได้ เด็กที่เอาแต่เรียนส่วนใหญ่มักปรับตัวเข้ากับสังคมยากและยิ่งยากนักถ้าต้องทำงานท่ามกลางภาวะกดดัน นั่นก็เป็นอีก
คำตอบของคำถามที่ว่า “ทำไมตัวเลขคนว่างงานของไทยไม่เคยลดลงเลย ” สำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ร่วมกับ
มูลนิธิเครือข่ายครอบครัว มูลนิธิเพื่อการพัฒนาเด็ก คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการ
สร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ปี ๒๕๔๖ ได้ทำการสำรวจอิทธิพลของสื่อโทรทัศน์ที่มีผลต่อพฤติกรรมเด็ก พบว่า เวลาของเด็กส่วนใหญ่
อยู่กับทีวีมากกว่าการเรียนหนังสือในห้องเรียนตลอดทั้งปีเด็กและเยาวชนอายุ 6 - 24 ปีใช้เวลาถึง 2, 236 ชั่วโมง ซึ่งในขณะที่มี
เวลาในห้องเรียนเพียง 1, 600 ชั่วโมง ใน หนึ่งวันโดยเฉลี่ยเด็กดูทีวีประมาณ 5 ชั่วโมง เด็กถูกหล่อหลอมด้วยความรุนแรง, เซ็กส์,
สิ่งเสพติด และโฆษณา
เมื่อกล่าวถึงการทำงาน ทุกคนจะมองว่าคนที่เป็นผู้บริหารที่ทำแต่งาน 24 ช.ม. คือ คนเก่งที่ประสบความสำเร็จในชีวิตอันน่า
ยกย่อง แท้จริงคนที่รู้จักแบ่งเวลา แบ่งงาน และแบ่งสรรค์สิ่งดี ๆ ให้ผู้อื่นไปพร้อม ๆ กันต่างหากที่น่าสรรเสริญ เพราะชีวิตของคนเรา
ไม่ได้มีเพียงแค่งาน หากแต่ยังมีครอบครัว สังคม และการอุทิศตนเพื่อผู้อื่นที่สำคัญยิ่งกว่า เมื่อถึงตรงนี้อยากตั้งคำถามกับผู้สูงอายุ
หลายคนว่า เมื่อท่านมองย้อนกลับไปเมื่อวัยทำงานท่านใช้เวลาที่ผ่านไปในแต่ละวันคุ้มค่าหรือไม่ ? ท่านปล่อยเวลาส่วนใหญ่ไปกับ
การนินทาว่าร้ายและเอาชนะคัดคานกันไม่เข้าใจกันจนเพื่อน ๆ หลายคนของท่านก็ได้ตายจากไปโดยไม่เคยได้ปรับความเข้าใจกัน
เลย เวลางานของบางคนหมดไปกับการทำมาหากินหามรุ่งหามค่ำจนเมื่อวัยชรามาถึงนอกจากร่างกายจะทรุดโทรมโรครุมเร้าไม่
เป็นสุขแล้ว การพักผ่อนหย่อนใจที่ท่านเคยฝันว่าอยากทำก็เป็นความฝันที่ไม่มีวันเป็นจริงได้ วันของผู้สูงอายุหลายท่านหมดไปกับ
การนอน ด้วยคิดว่าเป็นการพักผ่อนที่เหมาะสมแล้วกับคนไร้เรี่ยวแรงอย่างเราซึ่งในความเป็นจริงท่านอาจมีความสามารถทำอะไร
ดี ๆ ได้มากกว่านั้นแค่คิดและตั้งใจทำ การอยู่เฉย ๆ รังแต่จะเกิดโรคร้ายมารุมเร้าซึ่งจากการประเมินปัญหาการเจ็บป่วยของ
ประชาชนไทยในปัจจุบัน พบว่าชาวไทยป่วยเป็นโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต เดินไม่ได้ ถึงปีละ 150,000 ราย หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ
17 ราย ซึ่งเป็นอัตราที่สูงมาก ผู้ป่วยคนหนึ่งๆ จะต้องสูญเสียค่ารักษาโรคนี้เป็นเงินอย่างน้อยคนละ 100,000 บาทต่อปี รวมทั้งหมด
แล้วตกปีละ 15,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ยังไม่รวมกับรายได้ผู้ป่วยที่เคยหาได้ ตลอดจนความทุกข์ทรมานทางด้านจิตใจอีกมหาศาล ซึ่ง
ไม่สามารถคำนวณเป็นตัวเงินได้ ซึ่งถ้าเรารักษาสุขภาพให้ดีตั้งแต่แรก เราก็จะสามารถทำงานเก็บเงินจำนวนนี้ไว้แล้วน้ำไปใช้เที่ยว
พักผ่อนตามสถานที่ต่าง ๆ กับลูกหลาน หรือบริจาคทำบุญกุศลและทำสิ่งที่เป็นประโยชน์ได้อีกมากมาย ถ้าหากเราคิดอย่างไร เราก็
จะได้อย่างนั้น หากเราคิดว่าเราจะต้องคอยดูแลเอาใจใส่ลูกหลานเพื่อให้พวกเขามีกำลังใจในการดำเนินชีวิต ก็คือการทำหน้าที่ร่ม
เงาปกป้องพวกเขา การทำได้เช่นนี้จำให้ผู้สูงอายุหลายคนมีสิ่งดีดีทำ ห่างไกลโรคซึมเศร้าได้ เวลาเป็นสิ่งที่มีค่าหากผู้สูงอายุคิดว่า
จะอยู่ไปวัน ๆเพื่อรอวันสิ้นลมไปเปล่า ๆ คงน่าเสียดาย
|
แม้แต่คนในวัยทำงานก็ควรพยายามใช้เวลาอย่างมีค่า อย่าเร่งร้อนแต่รู้จักละทิ้งสิ่งที่ไม่สำคัญเพื่อทำในสิ่งที่ให้ความหมาย
กับชีวิตของท่านมากที่สุด บางคนตั้งเป้าหมายในอนาคตไว้หลายอย่างเกินไปจนทำให้ทำไม่สำเร็จสักอย่างเดียวก็ยิ่งทำให้เราคว้าน้ำ
เหลว ถ้าท่านต้องการวางแผนชีวิตให้มีความสุขท่านควรต้องดำเนินชีวิตอย่างมีทิศเหนือที่แท้จริง ทิศเหนือที่แท้จริงคืออะไร ทิศ
เหนือที่แท้จริงก็คือการที่เราให้ความสำคัญกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในชีวิตมากที่สุด เช่น รักจะเป็นครูที่ดีโดยอยู่เป็นโสดได้ไม่ต้องแต่งงาน
เพราะต้องการเป็นครูที่ดีให้ได้ คุณก็จะต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตในการพัฒนางานสอนให้มีคุณภาพมากที่สุด ให้เวลาดูแลใส่ใจ
เด็ก ๆ ที่เราสอนให้มาก หรือถ้าความหมายของท่าน คือ ลูก ๆ เวลา เป็นสิ่งเดียวที่พวกเขาต้องการจากพ่อแม่ ทุกครั้งที่ท่านสามารถ
หลีกเลี่ยงธุระสำคัญได้ การพูดคุยกับลูกของท่านเพียงแค่นาทีเดียวย่อมดีกว่าการทำงานทั้งวันเพื่อเขาโดยที่เขาก็ไม่สามารถเข้าใจ
ความรักของท่านได้เลย
|
อนาคต คือ สิ่งที่ต้องวางแผน แต่การตั้งรับช่วงเวลาวิกฤตที่น่ากลัวคือการอยู่กับ “ปัจจุบัน” ให้ได้มากที่สุด อนาคตนั้นถ้าเรา
ได้วางแผนไว้แล้วค่อย ๆ เดินไปแต่ไม่ควรย้ำคิดถึงมันจนกลายเป็นกังวล อนาคตข้างหน้าเมื่อเวลาผ่านไปก็จะกลายเป็นปัจจุบัน และ
มันจะเลือนหายไปเป็นอดีตในไม่ช้า “Present Tense” สำคัญที่สุดสำหรับภาษาอังกฤษ และ “ของขวัญ” (Present) ที่วิเศษสุดของ
มนุษย์ผู้มี 24 ช.ม. ในแต่ละวันได้ครอบครองเท่า ๆ กัน คือ การอยู่กับปัจจุบัน จงทำในสิ่งที่ท่านอยากทำและคิดว่ามันจะทิ้งตำนาน
ที่น่าจดจำไว้ให้คนข้างหลังคิดถึงท่าน ตลอดไป...
เอกสารอ้างอิง
...................................................................................................................................................................................................................................................
แหล่งที่มา :
www.dmh.go.gh
โควีย์, สตีเฟน อาร์. (2546). สำคัญกว่าทำก่อน.กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น
|
วันที่ 27 ก.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,155 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,145 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,141 ครั้ง เปิดอ่าน 7,171 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,135 ครั้ง เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,141 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,466 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,147 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,149 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 20,856 ครั้ง |
เปิดอ่าน 22,568 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,794 ครั้ง |
เปิดอ่าน 11,264 ครั้ง |
เปิดอ่าน 13,025 ครั้ง |
|
|