ชื่องานศึกษา การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
เรื่อง อบายมุข 6 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้ศึกษา นางสาวสำเริง บุญเลิศ
กลุ่มสาระการเรียนรู้ สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ปีที่ศึกษา 2551
คำสำคัญ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน, หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา, อบายมุข 6
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เรื่อง อบายมุข 6 สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เนื้อหาที่ใช้ทดลอง คือ อบายมุข 6 คือ 1) ดื่มสุราและเสพสิ่งเสพติด 2) เที่ยวกลางคืน 3) เที่ยวดูการละเล่น 4) เล่นการพนัน 5) คบคนชั่วเป็นมิตร และ 6) เกียจคร้านการทำงาน
ประชากรแบ่งเป็น 2 กลุ่ม เพื่อให้สอดคล้องวัตถุประสงค์การศึกษาที่กำหนดเป็น 2 ระยะ คือ ระยะพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนและระยะขยายผลการนำไปใช้ในสถานศึกษา ได้แก่
ประชากรกลุ่มที่ 1 สำหรับศึกษาพัฒนาและหาประสิทธิภาพ กำหนดการทดลองแบ่งเป็น 3 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1ตรวจสอบหาข้อบกพร่องของเครื่องมือที่ใช้ศึกษา ประชากรกลุ่มนี้เป็นนักเรียนที่เรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนวัดวังพลับใต้ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ครั้งที่ 2 ศึกษาแนวโน้มประสิทธิภาพของเครื่องมือที่ใช้ศึกษา ประชากรกลุ่มนี้เป็นนักเรียนที่เรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนวัดยาง อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี
ครั้งที่ 3 หาประสิทธิภาพเครื่องมือที่ใช้ศึกษา ประชากรกลุ่มนี้เป็นนักเรียนที่เรียนอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนวัดวังกุ่ม อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี
ประชากรกลุ่มที่ 2 ใช้ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในระยะขยายผลใช้ในโรงเรียนวัดวังพลับเหนือ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี ในกลุ่มนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551
ผลประเมินคุณภาพบทเรียนที่พัฒนาขึ้นพบว่าคุณภาพจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา 4 ท่าน มีค่าเฉลี่ยคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.82) และคุณภาพจากการประเมินของผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการศึกษา 4 ท่านมีค่าเฉลี่ยคุณภาพโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก ( = 4.86) เช่นเดียวกัน
ผลการหาประสิทธิภาพจากการทดลองใช้ 3 ครั้ง ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2550 พบว่า ในกลุ่มตัวอย่าง 3 คน มีความสนใจเนื้อหาและชอบรูปแบบที่นำเสนอในบทเรียน ครั้งที่ 2 และ 3 ในกลุ่มตัวอย่าง 9 คน และ 30 คน ตามลำดับ พบว่า บทเรียนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพโดยรวมที่ระดับร้อยละ 82.96/89.63 และ 81.22/88.00 ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (80/80)
ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ผู้ศึกษาได้ขยายผลใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในสถานศึกษา ในกลุ่มตัวอย่าง 12 คน พบว่ามีประสิทธิภาพโดยรวมเท่ากับ 82.78/86.94 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (80/80) และผู้ศึกษาได้วิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อหาความแตกต่างด้วยสถิติการแจกแจงของทีชนิดที่ไม่เป็นอิสระจากกัน (t-dependent) พบว่าผลสัมฤทธิ์ในระหว่างเรียนและหลังเรียนมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.001 (t = 9.574) แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนี้เชื่อได้ว่าเป็นความรู้ที่ได้พัฒนาเพิ่มขึ้นจริงเชื่อได้ร้อยละ 99 ส่วนการประเมินด้านเจตคติต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่พัฒนาขึ้นพบว่าโดยรวมพบว่ามีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับพอใจมาก ( = 4.43)