จากสถิติการจดทะเบียนครอบครัวของสำนักทะเบียนต่างๆ ทั่วประเทศ ในห้วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา ระหว่างปี พ.ศ.2542-2551 มีการเปลี่ยนแปลงในด้านสถิติการจดทะเบียนสมรสและการจดทะเบียนหย่า โดยสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครองได้วิเคราะห์ผลและสาเหตุของการเปลี่ยนแปลง สรุปได้ ดังนี้
การสมรส ในห้วง 10 ปีที่ผ่านมา จำนวนการจดทะเบียนสมรสของคนไทยมีปริมาณลดลง (ยกเว้นในปี 2547) สาเหตุอาจเนื่องมาจาก
1) ผลการรณรงค์วางแผนครอบครัวที่ดำเนินการมากว่า 20 ปีก่อนประสบความสำเร็จ ทำให้ประเทศไทยมีประชากรวัยเจริญพันธุ์มีสัดส่วนน้อยลง
2) แนวคิดใหม่ในการอยู่กินเป็นสามีภรรยาโดยไม่จำเป็นต้องจดทะเบียนสมรส ได้รับการยอมรับมากขึ้น
3) ค่านิยมที่เห็นว่าการมีครอบครัวเป็นภาระ
4) ความเบี่ยงเบนทางเพศที่ทำให้ไม่สามารถจดทะเบียนสมรสได้
5) ประเพณีทางศาสนาที่ให้มีภรรยาได้เกินกว่า 1 คน
การหย่า มีสถิติตรงกันข้ามกับการสมรส กล่าวคือ มีสถิติการหย่าร้างสูงขึ้นทุกปี ไม่ว่าสถานการณ์ด้านสังคมและเศรษฐกิจจะเป็นเช่นไร สาเหตุอาจเนื่องมาจาก
1) แนวคิดการครองคู่เปลี่ยนแปลงเป็นการอยู่ร่วมกันอยู่ที่ความพึงพอใจ ไม่ใช่ความรัก
2) ลักษณะของสังคมที่แยกให้คู่สมรสต้องทำงานหาเลี้ยงชีพอยู่กันคนละพื้นที่
3) ร้อยละ 30 ของคู่หย่า เกิดจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือทั้งสองฝ่ายมีคู่ใหม่
จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าสภาพสังคมของครอบครัวไทยเปลี่ยนแปลงไปแล้วอย่างสิ้นเชิง ภาพความรักความอบอุ่นของความเป็นปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ลูก ทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกันอย่างมีความสุขกำลังหายไป จึงขอให้ทุกคนดึงความรัก ความอบอุ่นและภาพเหล่านั้นกลับคืนมา เพื่อสร้างความยั่งยืนและมั่นคงให้กับสถาบันครอบครัวไทยและประเทศไทยต่อไป
http://www.matichon.co.th/matichon/view_news.php?newsid=01edu20260952§ionid=0107&day=2009-09-26
http://www.charyen.com/jukebox/play.php?id=22384