Advertisement
สังเกตมะเร็งชนิดต่างๆ ก่อนชีวิตจะเสี่ยง
รายงานโดย :เรื่อง อนุสรา ทองอุไร / ภาพ คลังภาพโพสต์ทูเดย์: วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551
มะเร็งอาจเกิดกับใครก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นเด็ก คนแก่ ผู้หญิง หรือผู้ชาย จะร่ำรวยหรือยากจน มะเร็งยังคงเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของผู้คน ทั้งในประเทศที่พัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา
แต่อย่ากังวลใจจนเกินไป แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมีวิธีการสังเกตมะเร็งชนิดต่างๆ ในเบื้องต้นมาให้คุณเฝ้าระวัง หากมีแนวโน้มเข้าข่ายอย่ารอช้า การรีบไปพบแพทย์อย่างทันท่วงทีสามารถช่วยรักษาโรคร้ายได้แน่ๆ
* มะเร็งปากมดลูก
อาการมีเลือดออกจากช่องคลอดทั้งๆ ที่ไม่ใช่เวลารอบเดือนปกติ อาการเจ็บปวดและมีเลือดออกหลังจากมีเพศสัมพันธ์ หากพบว่ามีสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นการตรวจโดยขูดเนื้อเยื่อจากบริเวณดังกล่าวไปตรวจด้วยกล้องจุลทรรศน์จะรู้ได้แม่นยำขึ้น
* มะเร็งในมดลูก
อาการมีเลือดออกหลังการมีเพศสัมพันธ์ หรือบางครั้งอาจมีความรู้สึกว่ามีก้อนเนื้อหรือมีอาการบวมในช่องท้อง
* มะเร็งรังไข่
อาการประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ หรือการมีอาการเจ็บปวดหลังการมีเพศสัมพันธ์ มีปัญหาเกี่ยวกับลำไส้อาการท้องอืดอาหารไม่ย่อย น้ำหนักลดและมีอาการปวดหลัง
* มะเร็งในเม็ดเลือด (ลูคีเมีย)
อาการเหนื่อยง่ายและมีอาการซีดเซียวกว่าปกติ มักเกิดอาการฟกช้ำดำเขียว หรือมีเลือดออกทางผิวหนังได้ง่ายโดยไม่ทราบสาเหตุ และมักจะเกิดร่วมกับอาหารปวดตามข้อต่างๆ ทั่วร่างกาย บางครั้งจะท้องอืด และเมื่อคลำดูจะพบว่ามีก้อนบวมที่ด้านซ้ายของช่องท้อง
* มะเร็งปอด
มักมีอาการไอบ่อยๆ มีเลือดออกและมีเสมหะปนมากับน้ำลายน้ำหนักลดอย่างฮวบฮาบ เจ็บ หน้าอก และหายใจลำบาก หรืออาจมีอาการหอบปนอยู่ด้วย ทั้งๆ ที่ไม่เคยเป็นมาก่อน
* มะเร็งตับ
ปวดในช่องท้อง เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ตาและผิวเป็นสีออกเหลือง และเหลืองจัดจนเห็นได้ชัด
* มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ
อาการ- มีเลือดปนออกมากับปัสสาวะ
* มะเร็งสมอง
มักปวดศีรษะนานๆ และมักมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาเจียนหรือการผิดปกติของการมองเห็น ตาพร่า และเห็นแสงเขียวๆ แดงๆ ลอยไปมาเวลาปวดศีรษะ อ่อนเพลียไม่มีแรง หรือการเป็นลมโดยกะทันหัน อวัยวะบางส่วนของร่างกายหยุดทำงาน เช่น มีอาการชาและเป็นอัมพาตชั่วคราว ควรให้ความระวังเป็นพิเศษ หากคุณเคยมีประวัติการปวดหัวที่มีอาการเหล่านี้ประกอบอยู่ด้วย
* มะเร็งในช่องปาก
มีก้อนบวมอยู่ในปาก หรือที่ลิ้นเป็นเวลานาน มีแผลเปื่อยที่ปากที่ไม่ได้รับการรักษา หรือเป็นแผลเรื้อรังที่เหงือก เนื่องจากการกดทับของฟันปลอมที่ใส่ไว้ประจำหรือเป็นเวลานาน
* มะเร็งในลำคอ
มีอาการเสียงแหบพร่าไปทันที มีก้อนบวมในทันทีทำให้รู้สึกว่ากลืนอาหารได้ลำบาก หรือมีการขยายตัวของต่อมในลำคอที่โตขึ้นจนสามารถจับและรู้สึกได้
* มะเร็งในกระเพาะอาหาร
น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว อาเจียนออกมาเป็นเลือด ท้องอืดหรืออาหารไม่ย่อยบ่อย รู้สึกเหมือนมีก้อนเนื้องอกในช่องท้องหรือรู้สึกตื้อ แม้เพิ่งจะรับประทานอาหารไปได้ไม่กี่คำ
* มะเร็งทรวงอก
มีเลือดหรือของเหลวบางอย่างไหลออกมาจากหัวนม หัวนมบวมหรือผิวเนื้อทรวงอกหนาขึ้น มีก้อนบวมจนจับได้เมื่อคลำบริเวณใต้รักแร้ บางครั้งอาจมีตุ่มหรือสิวเกิดขึ้นที่เต้านมเป็นเวลานานควรระวังเพราะผู้หญิง 9 ใน 10 คน จะมีอาการบวมของก้อนเนื้อบริเวณทรวงอกโดยไม่ทราบสาเหตุเมื่อมีอายุมากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ทำให้เกิดเป็นถุงน้ำใต้ผิวหนังที่เรียกว่าซีสต์ ซึ่งควรต้องค้นหาสาเหตุของอาการบวมให้ชัดเจน
* มะเร็งลำไส้
น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว มีอาการปวดท้องอย่างมาก และระบบการย่อยผิดปกติ มีเลือดออกปนมากับอุจจาระ ซึ่งมีวิธีสังเกตของผู้ที่มีอาการเกี่ยวกับริดสีดวงทวารอยู่แล้ว คือ ถ้าใช้กระดาษทิชชูซับแล้วเลือดมีสีแดงสด นั่นคืออาการของริดสีดวงทวาร แต่ถ้าเลือดมีสีดำคล้ำนั่นคืออาการของโรคมะเร็งในลำไส้
* มะเร็งต่อมน้ำเหลือง
อาการมีก้อนบวมเกิดขึ้นที่ใต้รักแร้หรือใต้ขาหนีบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไม่ได้เกิดอาการติดเชื้อในบางส่วนของร่างกาย
* มะเร็งผิวหนัง
อาการ - มีแผลหรือแผลเปื่อยพุพองที่ไม่ได้รับการรักษาอยู่เป็นเวลานาน ตลอดจนไฝหรือหูดที่โตขึ้น และมีการเปลี่ยนสีหรือรูปร่างขนาด นอกจากนี้อาการอันตรายอีกอย่างหนึ่งที่เรียกว่า เมลาโนมา (Melanoma) คือเนื้องอกที่ประกอบด้วยเซลล์ที่มีเมลานินสะสมอยู่ เช่น กระ จุดด่าง หรือไฝ ถ้าคุณมีไฝมากกว่า 50 เม็ดทั่วร่างกาย หรือมีคนในครอบครัวที่มีประวัติว่าเคยเป็นโรคนี้มาก่อนคุณจะมีอัตราเสี่ยงสูงกว่าคนอื่นๆ
แพทย์จากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ มีข้อแนะนำ 10 ประการ เพื่อชีวิตที่ห่างไกลมะเร็ง
1.ลดหรือเลิกบุหรี่
มะเร็งปอดคร่าชีวิตผู้คนไปมากที่สุดในบรรดามะเร็งชนิดต่างๆ หากผู้สูบพยายามลด ละ เลิก เสียแต่วันนี้ จะเป็นการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมครั้งสำคัญที่สุด ที่จะลดความเสี่ยงจากมะเร็งปอดและโรคอื่นๆ ที่มีสาเหตุมาจากบุหรี่ แม้การเลิกจะยาก แต่แพทย์มีวิธีการเลิกแบบต่างๆ ให้คุณปรึกษาได้
2.กินอาหารมีประโยชน์
กิน ผัก ผลไม้สด ผ่านการปรุงให้น้อยที่สุด เช่น บรอกโคลี กะหล่ำดอก กะหล่ำปลี กะหล่ำดาว อุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นในการต่อสู้กับมะเร็ง รวมทั้งเป็นส่วนประกอบสำคัญในตำรับอาหารต้านมะเร็ง นอกจากนี้ผลเบอร์รี่ ถั่วแดง และชาเขียว ก็อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่นเดียวกับไวน์แดง ช็อกโกแลต และถั่วพีแกน ซึ่งสารต้านอนุมูลอิสระเหล่านี้ช่วยร่างกายต่อต้านปฏิกิริยาเคมีที่ส่งผลร้ายต่อเซลล์ปกติ ซึ่งในท้ายที่สุดอาจกลายเป็นเซลล์มะเร็ง และควรเลือกรับประทานแต่พอประมาณ
3.ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายนานครั้งละ 30 นาที 3-5 วันต่อสัปดาห์ ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งหลายชนิด อาทิ มะเร็งปอด มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งลำไส้ การออกกำลังกายในที่นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วงแบบนักกีฬา แต่การเล่นโยคะ เดิน หรือเต้นแอโรบิก ก็ถือเป็นการออกกำลังกายที่ช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งได้ดีที่สุดเช่นกัน นอกจากนี้การออกกำลังกายยังช่วยไม่ให้คุณเป็นโรคอ้วน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการเกิดมะเร็งหลายชนิด
4.ตรวจสุขภาพประจำปี
มีหลักฐานยืนยันว่า การตรวจสุขภาพประจำปีและการตรวจพบมะเร็งแต่เนิ่นๆ ทำให้โอกาสที่จะรักษาจนหายก็มีมากขึ้นเท่านั้น และยังช่วยให้การรักษาฟื้นฟูทำได้เร็วขึ้นโดยมีผลข้างเคียงลดลง ดังนั้น ควรตรวจร่างกายอย่างสม่ำเสมอ และขอคำแนะนำจากแพทย์เรื่องการตรวจคัดกรองมะเร็งที่เหมาะสมกับวัยของคุณ เช่น ผู้หญิงในวัย 40 ปีขึ้นไป ควรทำเมมโมแกรมเพื่อตรวจหามะเร็งเต้านม หรือชายวัย 40 ปีขึ้นไป ควรตรวจหามะเร็งต่อมลูกหมาก โดยที่มะเร็งบางชนิดอาจไม่แสดงอาการในระยะเริ่มแรก
5.ดื่มแต่พอดี
การดื่มสุรามากเกินไปเป็นผลร้ายต่อตับมากเป็นพิเศษ แม้แพทย์จะแนะนำให้ผู้ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณที่พอเหมาะคือไม่เกิน 2 แก้วต่อวัน
6.กรรมพันธุ์
มะเร็งหลายชนิดมักเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์ หรือพูดง่ายๆ ว่าสามารถสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นได้ หากทราบว่าคนในครอบครัวมีประวัติเจ็บป่วยด้วยมะเร็งถือเป็นก้าวแรกที่สำคัญในการป้องกันมะเร็ง โดยการพยายามหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงและควรแจ้งประวัติการป่วยของคนในครอบครัวที่เป็นมะเร็งให้แพทย์ทราบ เพื่อแพทย์จะให้คำแนะนำและดูแลคุณได้อย่างเหมาะสม
7.หลีกเสี่ยงแสงแดด
รังสีอัลตราไวโอเลตในแสงแดดเป็นสาเหตุหลักของมะเร็งผิวหนัง ซึ่งส่วนมากแล้วสามารถป้องกันได้ 2 วิธี คือใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป เมื่อต้องอยู่กลางแจ้งและพยายามหลีกเลี่ยงการเผชิญแสงแดดโดยตรงในช่วงเวลา 10.00-16.00 น ซึ่งเป็นช่วงที่รังสียูวีมีความเข้มสูงสุด
8.มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย
เพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัยช่วยป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ แต่ยังเป็นกุญแจสำคัญในการลดความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปากมดลูก เชื่อกันว่าร้อยละ 70 ของมะเร็งปากมดลูกมีสาเหตุมาจากเชื้อ HPV ซึ่งเชื้อนี้ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งที่ทวารหนักและอวัยวะเพศอีกด้วย แต่ปัจจุบันมีการพัฒนาวัคซีนชนิดใหม่ ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันเชื้อ HPV ได้ในระดับหนึ่งโดยต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์
9.นอนหลับให้สนิท
จากการศึกษาพบว่าการนอนหลับให้สนิทจะมีผลไม่ทำให้เป็นมะเร็ง เนื่องจากมีผลการศึกษาพบว่า เมลาโทนินซึ่งเป็นฮฮร์โมนที่สมองผลิตในระหว่างการนอนหลับสนิทมีคุณสมบัติในการต่อสู้กับมะเร็ง แต่เมลาโทนินจะช่วยป้องกันมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก็ต่อเมื่อการนอนนั้นเป็นการนอนหลับที่สนิทต่อเนื่องในห้องมืดเท่านั้น
10.เลี่ยงการเผชิญกับสารเคมีอันตราย
สารจำพวกยาฆ่าแมลง น้ำยาทำความสะอาด น้ำมันเบนซิน เต็มไปด้วยสารเคมีอันตรายที่เกี่ยวโยงกับการเกิดมะเร็ง แม้การควบคุมสิ่งแวดล้อมรอบตัวจะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การจำกัดหรือหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในบ้าน หรือที่ทำงานย่อมเป็นการลดโอกาสในการสัมผัสกับสารก่อมะเร็ง นอกจากนี้ควรเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารกันไฟซึ่งมักจะใช้กับผ้า เฟอร์นิเจอร์ และสินค้าอิเล็กโทรนิกส์ต่างๆ ด้วย
ข้อมูลและรูปภาพจาก นสพ.
วันที่ 25 ก.ย. 2552
Advertisement
เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,204 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,139 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง เปิดอ่าน 7,148 ครั้ง เปิดอ่าน 7,183 ครั้ง เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง เปิดอ่าน 7,146 ครั้ง เปิดอ่าน 7,183 ครั้ง
|
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,163 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,136 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,146 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,144 ☕ คลิกอ่านเลย |
เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย |
|
≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡
เปิดอ่าน 16,452 ครั้ง |
เปิดอ่าน 37,933 ครั้ง |
เปิดอ่าน 15,372 ครั้ง |
เปิดอ่าน 37,137 ครั้ง |
เปิดอ่าน 64,266 ครั้ง |
|
|