เทคนิคเพื่อการดูแลสระว่ายน้ำ
จากประสบการณ์การทำงานนานถึง สอง ปีได้มีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงที่ได้เข้าบริการดูแลสระว่ายของแต่ละที่ในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และ ปัจุบันดูแลสิบสี่ลูก การอบรมเสริมทักษะช่างอาทิเช่นอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับสระว่านน้ำชำรุดต้องรู้ปัญหา พร้อมแก้ไขด้วยความรวดเร็วก่อนที่สระว่ายน้ำจะมีปัญหา และการอบรมด้านเคมีที่เกี่ยวกับสระว่ายน้ำ)ให้รู้ว่าสารเคมีใดบ้างชื่อว่าอะไร และทำหน้าที่อะไรใช้
ในปริมานเท่าไรต่อน้ำกี่คิว รวมถึงอันตรายต่อผู้ใช้เองว่าจะต้องป้องกันอย่างไร สระว่ายน้ำเพื่อที่จะให้ได้สระน้ำที่ใสสะอาดและปลอดภัยจากเชื้อโรค หัวใจประการแรกคือคุณสมบัติทางเคมีของน้ำในสระจะต้องสมดุลอย่างเหมาะสม ประการที่สองคือการกรองฝุ่นละอองในน้ำ ประการที่สามคือการหมุนเวียนของน้ำก็คือระบบสระว่ายน้ำนั้นเอง
ประการแรก คือเรื่องของเคมี จุดประสงค์ของการใส่สารเคมีในสระว่ายน้ำก็คือเพื่อฆ่าเชื้อโรค และเพื่อควบคุมคุณภาพของน้ำให้ได้ตรงตามมาตราฐานของน้ำในสระว่ายน้ำที่ดี โดยคือต้องทำการตรวจวัดและควบคุมมีหลักอยู่ดังนี้ คือค่า ph หรือค่าความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ และค่าครอรีน สารเคมีที่ช่ายในการควบคุมเหล่านี้ได้แก่
1.ครอรีน เป็นสารฆ่าเชื้อโรคที่ใช้กับสระว่ายน้ำ และมีอยู่หลายชนิดด้วยกันคือ ครอรีน90% ครอรีน65% ครอรีน10% แต่โดยทั่วไปนิยมใช้ครอรีน90% เนื่องจากมีความเข้มข้นสูงทำให้ใช้ปริมาณที่น้อยและอยู่ได้หลายสถานะสามารถเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมกับความต้องการได้
ค่าครอรีนในสระว่ายน้ำที่เหมาะสมให้อยู่ที่ระหว่าง 1.0-3.0 ppm ทำการตรวจวัดทุกๆวันโดยการใช้ชุดตวจสอบในการวัด
ปริมาณครอรีนที่ต้องเติมลงสู่สระว่ายน้ำสามารถเทียบได้จาก เช่น
- สระขนาด 100 คิว ต้องการเติมครอรีนให้มีค่า 1 ppm
ต้องใส่ครอรีน 111กรัม
ต้องการเติมครอรีนให้มีค่าเพิ่ม 3 ppm ต้องใส่ครอรีน 300 กรัม
*หมายเหตุ * ppm คือ part per million (1 ส่วนใน 1,000,000 ส่วน)
2.โซดาแอซ เป็นสารเคมีที่มีคุณสมบัติเป็นด่าง มีค่า ph ประมาณอยู่ที่ 14 ใช้ในการปรับสภาพน้ำในกรณีที่น้ำเป็นกรดที่มีค่า ph ที่ต่ำ
กว่า 6.8 โซดาแอซมีลักษณะผงสีขาว วิธีใช้คือเทโซดาแอซทีละน้อยลงในถังที่มีน้ำบรรจุอยู่คนให้ละลายจนหมดแล้วจึงเทลงสระปริมาณในการใช้ประมาณ 1.3 กิโลกรัม ต่อสระขนาด 100 ลูกบาศก์เมตร ต่อวัน ใส่ทุกวันจนกว่าค่า ph จะสูงขึ้นจนอยู่ในระดับมาตราฐานคือ 7.2-7.6
3. กรดเกลือแห้ง เป็นสารมีคุณสมบัติเป็นกรดมีค่า ph อยู่ที่ 1.0 ใช้ในการปรับสภาพน้ำในกรณีที่ น้ำเป็นด่างมีค่า ph ที่สูงกว่า 7.8 กรดเกลือแห้งมีลักษณะเป็นผงสีขาว วิธีใช้คือกรดเกลือทีละน้อย ลงในถังที่มีน้ำบรรจุอยู่คนให้ละลายจะหมดแล้วจึงเทลงสระ ปริมาณการใช้ประมาณ1 กิโลกรัม ต่อขนาดสระ 100 ลูกบาศก์เมตร ต่อวันใส่ทุกวันจนกว่าค่า ph จะลดลงอยู่ในระดับมาตราฐานที่ 7.2-7.6
4. ผงกรอง เป็นสารพิเศษช่วยในการกรองน้ำ มีลักษณะเป็นผงละเอียดสีขาว จำเป็นต้องใช้ร่วมกับเครื่องกรองผ้า ผงกรองจะไปเคลือบติดอยู่กับแผ่นกรอง ทำให้ประสิทธิภาพในการกรองละเอียดมากขึ้น เมื่อผ่านการใช้ไประยะหนึ่งผงกรองจะสกปรก เครื่องกรองจะตัน โดยดูจากเกย์วัดความดันของถังกรองจะขึ้นอยู่ที่ 15-20 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ต้องทำการล้างเครื่องกรอง โดยปริมาณของผงกรองที่ใช้นั้นขึ้นอยู่กับรุ่นและขนาดของเครื่องกรอง
5. น้ำยาควบคุมตะไคร่ A-Trine เป็นน้ำยานี้จะมีคุณสมบัติในการควบคุมการเจริญเติบโตของตะไคร่ภายในสระว่ายน้ำ และจะมีคุณสมบัติช่วยทำให้น้ำมีสีฟ้าสดใสด้วย เป็นสารเคมีที่ใช้ในการบำรุงรักษาตามระยะเวลาหรือเมื่อสระมีปัญหาเท่านั้น ไม่จำเป็นต้องใส่ทุกวัน หากมีการดูแลเป็นประจำปริมาณการใช้ ½ แกลลอน ต่อสระ 100 คิว
(1 แกลลอนเท่ากับ 3.5 ลิตร)
ใส่ทุกสัปดาห์ ½ ลิตร ต่อสระ 100 คิว
6. น้ำยาปรับสภาพน้ำใส เป็นน้ำยาที่ช่วยแก้ปัญหาน้ำเขียวที่เกิดจากการขาดการดูแล หรือน้ำขาดสารเคมี จึงทำให้ตะไคร่เกิดการเจริญเติบโตภายในสระมาก เป็นสาเหตุทำให้น้ำเขียว น้ำยาจะทำให้ตะไคร่ตายและตกตะกอนลงสู่ก้นสระ จากนั้นจึงทำการดูดตะกอนทำความสะอาดตามปกติ
ปริมาณการใช้ ½ แกลลอน ต่อสระ 100 คิว
(1 แกลลอนเท่ากับ 3.5 ลิตร)
ใส่ทุกสัปดาห์ ½ ลิตร ต่อสระ 100 คิว
7. น้ำยาเร่งการตกตะกอน F-2000 เป็นน้ำยาที่ช่วยแก้ปัญหาสภาพน้ำในสระมีลักษณะขุ่น เนื่องจากมีสารแขวนลอยมาก น้ำยาจะมีคุณสมบัติทำให้สารแขวนลอยมารวมตัวกันเป็นอนุภาคที่ใหญ่ขึ้นจนมีน้ำหนักมากพอที่จะตกตะกอนลงมาสู่ก้นสระ เทคนิคในการใช้น้ำยาเร่งการตกตะกอนคือเมื่อใส่ลงในสระแล้วต้องปิดระบบหมุนเวียนน้ำ เพื่อให้สารแขวนลอยตกตะกอน ทิ้งไว้ 1 คืน และต้องรีบดูดตะกอนออกตั้งแต่ช่วงเช้า เนื่องจากถ้าอุณหภูมิสูงตะกอนจะลอย ทำให้ดูดตะกอนออกได้ไม่หมด
ปริมาณการใช้ 1-½ แกลลอน ต่อสระ 100 คิว (1 แกลลอนเท่ากับ 3.5 ลิตร)
8. น้ำยาทำความสะอาดกระเบื้องขอบสระ Tile Cleanใช้ชุบฟองน้ำหรือผ้าเช็ดตามกระเบื้องขอบสระบริเวณระดับน้ำ เนื่องจากที่บริเวณนี้จะมีคราบสกปรกมาเกาะมาก คราบสกปรกมาจากฝุ่นละอองต่างๆ น้ำมันทาผิว เหงื่อไคล และสิ่งสกปรกที่มักลอยอยู่บนผิวน้ำ น้ำยาจะมีคุณสมบัติไม่มีฟอง และมีค่า pH เป็นกลางจึงไม่มีผลกระทบกับน้ำในสระ
ประการที่สอง คือการกรองที่สำคัญในการต้องการให้น้ำในสระว่ายน้ำใสและสะอาด
สระว่ายน้ำจะมีว่าวหลักอยู่ 4 วาล์ว คือ
1.สะดือ
2.ท่อดูดตะกอน
3. บ่อพักน้ำ
4. วาล์วท่อจ่าย(กรณีเป็นระบบสกิมเมอร์จะมีวาล์วสกิมเมอร์แทนวาล์วบ่อพักน้ำ)
การเปิดวาล์วน้ำเพื่อกรองระบบน้ำล้น
1.ให้เปิดวาล์วบ่อพักน้ำและวาล์วจ่ายน้ำเข้าสระ
2.ให้เปิดวาล์วเพื่อกรองน้ำหมุนเวียนเฉพาะในสระว่ายน้ำ
- ให้เปิดวาล์วสะดือและเปิดวาล์วจ่ายน้ำเข้าสระ
3. การดูดตะกอนสระว่ายน้ำ
-การดูดตะกอนสระว่ายน้ำต้องทำการดูดทุกวันวันละหนึ่งครั้ง กรณีน้ำเสียต้องทำการดูดตะกอนหลายครั้งเพื่อให้สระว่ายน้ำใสเร็วขึ้น วิธีการดูดตะกอนมีดังนี้
-เปิดฝาท่อดูดตะกอนที่ผนังสระถ้ามีหลายอันก็ให้เปิดอันใดอันหนึ่ง เปิดวาล์วดูดตะกอน ปิดหรือวาล์วบ่อพักน้ำหรือวาล์วสะดือ (แล้วแต่แรงดูดของการดูดตะกอน)
-นำหัดดูดตะกอนสวมด้ามดูดตะกอนและนำสายดูดด้านหนึ่งเสียบเข้ากับหัวดูดตะกอนและนำสายอีกด้านหนึ่งไปเสียบกับท่อดูดตะกอนที่เปิดฝาออกแล้วก็ดูดตะกอนตามแนวกระเบื้อง
4.วิธีการล้างเครื่องกรองสระว่ายน้ำ
สระว่ายน้ำจะมีเครื่องกรองทรายกับเครื่องกรองผ้าให้สังเกตแรงดันของเกย์วัดแรงดัน ถ้าขึ้นเกิน 15 -20 PSI ให้ทำการถอดล้างเครื่องกรองโดยปิดระบบการหมุนเวียนก่อนปิดวาล์วทุกตัวให้สนิท ปล่อยน้ำทิ้งจากเครื่องกรองเปิดวาล์วไล่อากาศเมื่อน้ำในถังกรองหมดให้ถอดสายรัดถังกรองออกแล้วยกแผ่นกรองทั้งชุดออกมา ล้างให้สะอาดแล้วใส่กลับไว้ที่เดิม
5.วิธีการเติมผงกรองใหม่
- ให้เติมผงกรองทุกครั้งที่มีการล้างถังกรอง
วิธีการเติมผงกรอง
ล้างถังกรองให้สะอาด เปิดน้ำเติมในถังกรอง 10-20 เติมผงกรองที่เตรียมไว้กวนให้ละลาย แล้วยกแผ่นกรองใส่ปิดฝาถังกรองให้แน่น เปิดวาล์วบ่อพักน้ำเปิดวาล์วท่อจ่าย เปิดปั๊มเพื่อหมุนเวียนระบบ เปิดวาล์วไล่ลมจนน้ำไหลออกแล้วปิด
หมายเหตุ – ทุกๆเดือน ควรทำความสะอาดแท้งค์น้ำฟุตวาล์ว ตรวจดูลูกลอยรั่วหรือแตกหัก
-ถ้าตกหักควรเปลี่ยนหรือซ่อมแซม
อุปกรณ์การทำความสะอาด
1. สายดูดตะกอน 2. ด้ามดูดตะกอน 3. หัวดูดตะกอน 4. แปรงขัดสระ
ประการที่สามคือระบบสระว่ายน้ำที่วางระบบครั้งแรกต้องให้ได้ตามมาตราฐานและการเลือกระบบที่จะต้องการระบบไหนที่ใช้ได้ตามความต้องการ
ระบบสระว่ายน้ำมี 2 ระบบคือ
1. ระบบสกิมเมอร์ (Skimmer Systems)
2. ระบบน้ำล้น (Over Flow Systems)
ระบบสกิมเมอร์ (Skimmer Systems)
ระบบสกิมเมอร์ เป็นระบบหนึ่งของสระว่ายน้ำ ระบบนี้จะมีกล่องสกิมเมอร์ ที่ยึดติดผนังสระด้านใดด้านหนึ่ง แต่ละสระอาจจะมีมากกว่า 1 กล่องก็ได้ การติดตั้งกล่อง สกิมเมอร์ต้องให้สัมพันธ์กับท่อจ่ายน้ำเข้าสระด้วย ส่วนมากท่อจ่ายและเข้าจะยึดติดข้างผนังสระ ท่อจ่ายและท่อน้ำเข้าจะอยู่ตรงข้ามกัน การเติมน้ำในสระระบบนี้ ให้อยู่ในระดับครึ่งปากกล่องสกิมเมอร์ จะเหมาะสมที่สุด แต่ระบบนี้จะมีข้อเสีย คือ ฝุ่นตะกอน อยู่ที่ผิวน้ำมาก และตกตะกอนที่ก้นสระมาก ทำให้การดูแลรักษายุ่งยากและเสียเวลา และส่งผลทำให้สระดูไม่สวยงาม
ระบบน้ำล้น (Over Flow Systems)
ระบบน้ำล้นเป็นระบบที่นิยมมากที่สุดในโลก ในปัจจุบันนี้ เพราะการดูแลรักษาง่าย จึงส่งผลทำให้สระว่ายน้ำที่สวยงาม, น่าลงเล่นน้ำ สระว่ายน้ำระบบนี้จะสังเกตง่ายๆ คือ จะมีเกตติ้ง รอบสระ และมีแท็งก์ของสระว่ายน้ำ ระบบนี้จะมีการหมุนเวียนดังนี้
ปัญหาสระว่ายน้ำที่พบบ่อยและแนวทางแก้ไข
1. น้ำเขียว
น้ำเขียวมักจะมีสาเหตุมาจากการขาดการดูแลหรือขาดสารเคมี ทำให้สาหร่ายและตะไคร่เจริญเติบโต เป็นผลทำให้น้ำมีสีเขียว ถ้าทิ้งไว้นานก็ยิ่งเขียวมากขึ้น จนกลายเป็นสีดำ
การแก้ไข ทำได้โดยการเติมคลอรีนลงไป และเดินระบบกรองและหมุนเวียนน้ำให้นานกว่าปกติ (หรือตลอดเวลา) ดูดตะกอนที่ตกลงมาก้นสระบ่อย ๆ และล้างเครื่องกรองให้บ่อยขึ้น ถ้า 2 วันแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นหรือไม่ดีเท่าที่ควร ให้ใช้น้ำยาปรับสภาพน้ำใสร่วมด้วย ปัญหาน้ำเขียวน่าจะแก้ไขปัญหาได้ภายใน 3-4 วัน (สำหรับสระ 100 ลูกบาศก์เมตร) ถ้าสระขนาดใหญ่อาจจะต้องใช้เวลานานมากกว่านี้
2. ตะไคร่
ปัญหาตะไคร่มักเกิดจากการดูแลที่สม่ำเสมอหรือน้ำขาดสารเคมีทำให้ตะไคร่เจริญเติบโต ทั้งตะไคร่เขียว เหลืองและดำ ส่วนมากจะมีที่บริเวณผนังสระและตามร่องกระเบื้อง
การแก้ไข ทำได้โดยทำการขัดตะไคร่ และเติมน้ำยาควบคุมตะไคร่ วันรุ่งขึ้นจึงทำการดูดตะกอนที่ตกลงที่พื้นสระทิ้งไป หลังจากนั้นควรทำการเติมน้ำยาควบคุมตะไคร่เป็นประจำ และควรควบคุมค่าคลอรีนในสระไม่ให้ต่ำกว่ามาตรฐาน เพื่อช่วยควบคุมตะไคร่อีกทางหนึ่ง
3. น้ำมีสีที่แปลกออกไป
การที่น้ำมีสีแปลกออกไปจากปกติเช่น สีแดงหรือสีสนิม เป็นต้น สาเหตุมาจากน้ำมีแร่ธาตุต่างๆ ปะปนอยู่ในปริมาณที่สูง เช่น เหล็ก สังกะสี เป็นต้น มักจะเกิดปัญหากับน้ำบาดาลเป็นส่วนใหญ่
การแก้ไข ทำได้โดยทำการเติมน้ำยาตะกอนโลหะลงในสระโดยเทคนิคในการใช้น้ำยาตกตะกอนโลหะคือเมื่อใส่ลงในสระแล้วต้องปิดระบบหมุนเวียนน้ำเพื่อให้โลหะที่ปะปนอยู่ตกตะกอนทิ้งไว้ 1 คืน และต้องรีบดูดตะกอนออกตั้งแต่ช่วงเช้า เนื่องจากถ้าอุณหภูมิสูงตะกอนจะลอย ทำให้ดูดตะกอนออกได้ไม่หมด หากมีการเติมน้ำใหม่เข้าสระก็ควรจะใช้น้ำประปาหรือน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจะดีกว่า
การดูแลสระว่ายน้ำสำคัญคือตัวผู้ดูแลต้องเอาใจใส่ให้มากที่จะต้องคอยตรวจสอบค่าเคมีและศึกษาตัวสารเคมีให้เข้าใจก่อนที่จะใช้ ในการกรองหมุนเวียนน้ำก็ต้องตรวจสอบว่าตัวกรองสกปรกจะต้องล้างหรือไม่และระบบสระว่ายน้ำที่ดีก็จะเป็นระบบน้ำล้นเพราะสระจะไม่คอยจะสกปรกง่ายต่อการดูแลรักษา