ค้นหาทุกอย่างในเว็บครูบ้านนอก :
ชุมชนครู บุคลากรทางการศึกษา และนักเรียน แหล่งความรู้สำหรับครู นักเรียน ข่าวการศึกษา ห้องสมุดความรู้ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ และความรู้ทั่วไป เผยแพร่ผลงานวิชาการ ที่นี่


ข่าวการศึกษา     ความรู้ทั่วไป     งานราชการ/รัฐวิสาหกิจ/บริการสังคมเรื่องราวจากสมาชิก  ▶ ข่าว/บทความ ▶ หน้าแรก

รู้ได้ไงว่าจำนวนนับชุดนี้มีพจน์ที่หารด้วย 5 ลงตัวกี่พจน์


เรื่องราวจากสมาชิก เปิดอ่าน : 7,174 ครั้ง
Advertisement

รู้ได้ไงว่าจำนวนนับชุดนี้มีพจน์ที่หารด้วย 5 ลงตัวกี่พจน์

Advertisement

❝ การคิด การคำนวณทางคณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่สนุกสนาน และมหัศจรรย์ ท้าทายในหลาย ๆ เรื่อง การตรวจสอบการหารลงตัวด้วย 5 ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญไม่ใช่น้อยเลย สิ่งใกล้ตัวนักเรียนมีหลายเรื่องด้วยกัน เช่น การทอนให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ การแยกตัวประกอบ การหาตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) การหาตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) มีความจำเป็นต้องอาศัยสมบัติการหารลงตัวของจำนวนที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น โดยเฉพาะในเรื่องการศึกษาจำนวนเฉพาะ ได้แก่ จำนวนที่มีตัวประกอบเพียง 2 ตัวคือ 1 และตัวมันเอง ที่นักเรียนได้ฝึกฝนกันมาเป็นอย่างดีนั่นแหละค่ะ เช่น 2 , 3 , 5 , 7 , 11, 13, 17 เป็นต้น แต่อย่าลืมนะว่า 1 ไม่ใช่จำนวนเฉพาะ หลักการหารลงตัว การหาร 1 ลงตัว มีทุกจำนวนสามารถหาร 1 ลงตัว และการหาร 2 ลงตัว มีจำนวนที่เป็นเลขคู่ (ลงท้ายด้วย 0 2 4 6 8 ) เช่น 28 1118 65182483648636 และ การหาร 3 ลงตัว คือ ผลบวกเลขแต่ละหลักหาร 3 ลงตัว เช่น 194784798 1+9+4+7+8+4+7+9+8 ได้ 57 ซึ่งหาร 3 ลงตัว แต่ถ้ายังไม่รู้ว่า 57 หาร 3 ลงตัวหรือๆไม่ก็เอามาบวกกันอีกเป้น 5+7 ได้ 12 ซึ่งหาร 3 ลงตัวแน่นอน และ การหาร 4 ลงตัว คือ เลขสองตัวท้ายหาร 4 ลงตัว เช่น 4695421344 44 หาร 4 ลงตัว ❞

รู้ได้ไงว่าจำนวนนับชุดนี้มีพจน์ที่หารด้วย 5 ลงตัวกี่พจน์

การคิด การคำนวณทางคณิตศาสตร์เป็นสิ่งที่สนุกสนาน และมหัศจรรย์ ท้าทายในหลาย ๆ เรื่อง การตรวจสอบการหารลงตัวด้วย 5 ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่สำคัญไม่ใช่น้อยเลย

              สิ่งใกล้ตัวนักเรียนมีหลายเรื่องด้วยกัน เช่น การทอนให้เป็นเศษส่วนอย่างต่ำ การแยกตัวประกอบ การหาตัวหารร่วมมาก (ห.ร.ม.) การหาตัวคูณร่วมน้อย (ค.ร.น.) มีความจำเป็นต้องอาศัยสมบัติการหารลงตัวของจำนวนที่เกี่ยวข้องทั้งสิ้น  โดยเฉพาะในเรื่องการศึกษาจำนวนเฉพาะ ได้แก่ จำนวนที่มีตัวประกอบเพียง 2 ตัวคือ 1 และตัวมันเอง ที่นักเรียนได้ฝึกฝนกันมาเป็นอย่างดีนั่นแหละค่ะ เช่น 2 , 3 , 5 , 7 , 11, 13, 17 เป็นต้น แต่อย่าลืมนะว่า 1 ไม่ใช่จำนวนเฉพาะ     หลักการหารลงตัว  
การ
หาร 1 ลงตัว มีทุกจำนวนสามารถหาร 1 ลงตัว   และการหาร 2 ลงตัว  มีจำนวนที่เป็นเลขคู่ (ลงท้ายด้วย 0 2 4 6 8 )  เช่น 28 1118 65182483648636    และ การหาร 3 ลงตัว คือ ผลบวกเลขแต่ละหลักหาร 3 ลงตัว  เช่น 194784798 1+9+4+7+8+4+7+9+8 ได้ 57 ซึ่งหาร 3 ลงตัว   แต่ถ้ายังไม่รู้ว่า 57 หาร 3 ลงตัวหรือๆไม่ก็เอามาบวกกันอีกเป้น 5+7 ได้ 12 ซึ่งหาร 3 ลงตัวแน่นอน  และ การหาร 4 ลงตัว  คือ เลขสองตัวท้ายหาร 4 ลงตัว  เช่น 4695421344 44 หาร 4 ลงตัว 
- ถ้าเลขหลักสิบเป็นเลขคู่ เลขหลักหน่วยลงท้ายด้วย 0 4 8  เช่น 6425724 2 เลขคู่ หลักหน่วยเป็น 8
- ถ้าเลขหลักสิบเป็นเลขคี่ เลขหลักหน่วยลงท้ายด้วย 2 6 เช่น 1427227792 9 เลขคี่ หลักหน่วยเป็น 2 
การ หาร 5 ลงตัว   มีลงท้ายด้วย 0 กับ 5  เช่น 25 888888888880     การหาร 6 ลงตัว คือเป็นเลขคู่และหาร 3 ลงตัว (ดูวิธีการหาร 3 ลงตัว) เช่น 882 เลขคู่ 8+8+2 ได้ 18 หาร 3 ลงตัว   การหาร 7 ลงตัว คือ นำเลขตัวหลังไปคูณ 5 บวกกับเลขตัวหน้าทั้งหมด  เช่น 6986 698+(6x5) = 728 ยังไม่รู้ว่าหาร 7 ลงตัวหรือไม่ 728 -> 72+(8x5) = 112 ยังไม่รู้ว่าหาร 7 ลงตัวหรือไม่
112 -> 11+(2x5) = 21 หาร 7 ลงตัว - นำเลขตัวท้ายไปคูณ 2 แล้วนำเลขที่เหลือลบด้วยจำนวนที่คูณนี้ เช่น 6139 613-(9x2) = 595 ยังไม่รู้ว่าหาร 7 ลงตัวหรือไม่ 595 -> 59-(5x2) = 49 หาร 7 ลงตัว
การ
หาร 8 ลงตัว คือ เลขสามตัวท้ายหาร 8 ลงตัว เช่น 86808 808 หาร 8 ลงตัว  ให้ นำเลขตัวหลังบวกกับเลขที่เหลือคูณ 2
เช่น 3832 (383x2)+2 = 768 ยังไม่รู้ว่าหาร 8 ลงตัวหรือไม่   768 (76x2)+8 = 160 หาร 8 ลงตัว  และ ถ้าเลขหลักร้อยเป็นเลขคู่ ให้ดู 2 ตัวท้ายว่าหาร 8 ลงตัวหรือไม่ เช่น 47896 8 เป็นเลขคู่ 96 หาร 8 ลงตัว   ถ้าเลขหลักร้อยเป็นเลขคี่ ให้นำสองตัวท้ายบวก 4 ดูว่าหาร 8 ลงตัวหรือไม่ เช่น 71352 3 เป็นเลขตี่ 52+4 = 56 หาร 8 ลงตัว 
การ
หาร 9 ลงตัว คือผลบวกเลขแต่ละหลักหาร 9 ลงตัว เช่น 194784798 1+9+4+7+8+4+7+9+5 ได้ 54 ซึ่งหาร 3 ลงตัว
แต่ถ้ายังไม่รู้ว่า 54 หาร 9 ลงตัวหรือๆไม่ก็เอามาบวกกันอีกเป้น 5+4 ได้ 9 ซึ่งหาร 9 ลงตัวแน่นอน
การ
หาร 10 ลงตัว  คือ เลขที่ลงท้ายด้วย 0 จะหาร 10 ลงตัวทั้งหมด เช่น 10 8885020 668876448367470464680042580

              การตรวจสอบการหารลงตัวด้วย 5 เป็นเรื่องหนึ่งที่ครูหยิบยกขึ้นมากล่าวถึงในขณะนี้ เป็นเรื่องหนึ่งที่มีวิธีการที่สามารถแนะนำให้นักเรียนทำได้สะดวกแม่นยำ ศัพท์ที่ใช้เกี่ยวข้องคือ

การหารลงตัว

               คือจำนวนนับจำนวนใดจำนวนหนึ่ง ที่นำไปหารจำนวนนับอีกจำนวนหนึ่งแล้วไม่เหลือเศษ

พจน์

              คือ คำพูด ถ้อยคำ ดังนั้น "จำนวนนับแต่ละจำนวน" จึงอาจเรียกให้เด่นชัดออกไปว่า "จำนวนนับแต่ละพจน์" เช่น ในชุดของจำนวนนับตั้งแต่ 1 ถึง 10 คือ 1 ,2,3,4,5,6,7,8,9 และ 10   เมื่อ 1 เป็นจำนวนนับลำดับแรกในชุดนี้  เราจึงอาจเรียก 1 ว่า "พจน์ที่หนึ่ง หรือจำนวนที่หนึ่ง" ได้

      จากการสังเกตเพื่อหาข้อสรุปในเรื่องนี้ คือ

1) พิจารณาจำนวนนับที่มีค่าเท่ากับ 10 และจำนวนนับที่เป็นพหุคูณของ 10 เมื่อหารด้วย 5   

             10 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 2 ( 20 = 2 x 10)   

             250  หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 50  (25 x 10)

             1250 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 250 (125 x10)

พบว่า จำนวนนับที่มีค่าเท่ากับ 10 และจำนวนนับที่เป็นพหุคูณของ 10 ทุกจำนวนจะหารด้วย 5 ลงตัว

2) พิจารณาจำนวนที่มีหลักเดียวเมื่อหารด้วย 5 

                9 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 1 เศษ 4                                  4 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 0 เศษ 4    
                8 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 1 เศษ 3                                   3 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 0 เศษ 3      
                7 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 1 เศษ 2                                   2 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 0 เศษ 2 
                6 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 1 เศษ 1                                    1 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 0 เศษ 1     
                 5 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 1  *****                                   0 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 0 ******
 พบว่า จำนวนที่มีหลักเดียวคือ 5 และ 0 เท่านั้นที่หารด้วย  5 ลงตัว

          ดังนั้นจึงพอที่จะสรุปได้ว่า เนื่องจาก 10 และจำนวนที่เป็นพหุคูณของ 10 ทุกจำนวนจะหารด้วย 5 ลงตัว แต่จำนวนที่มีหลักเดียวมีเฉพาะ 5 หรือ 0 เท่านั้นที่หารด้วย 5 ลงตัว    ประกอบกับจำนวนนับตั้งแต่สองหลักขึ้นไปสามารถเขียนในรูปผลบวกของ 10 หรือพหุคูณของ 10 กับจำนวนที่มีหลักเดียว  นั่นคือ จำนวนนับใดจะหารลงตัวด้วย 5 ก็ต่อเมื่อ จำนวนนับนั้นมีหลักหน่วยเป็นจำนวนที่หารด้วย 5 ลงตัว 

          วิธีการคำนวนหาจำนวนพจน์ที่หารด้วย 5 ในชุดของจำนวนนับลงตัว   จากการศึกษาในหลาย ๆ กรณี พบว่า จำนวนพจน์ที่หารลงตัวด้วย 5 ของจำนวนนับชุดใด จะเท่ากับผลลัพธ์ที่ได้จากพจน์สุดท้ายของจำนวนนับชุดนั้นหารด้วย 5 โดยไม่พิจารณาค่าของเศษ   นั่นคือ จำนวนพจน์ที่หารลงตัวด้วย 5 ของจำนวนนับที่เริ่มต้นจาก 1 ชุดใดจะเท่ากับผลลัพธ์ที่ได้จากพจน์สุดท้ายของจำนวนนับชุดนั้นหารด้วย 5 (โดยไม่พิจารณาค่าของเศษ)

ตัวอย่างประเด็นคำถามในห้องเรียน

1.. ชุดของจำนวนนับ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,10,11,12,13,14,15,16,17,18 มีกี่พจน์ที่หารลงตัวด้วย 5

วิธีคิด  พจน์สุดท้ายของจำนวนนับชุดนี้คือ 18 และ  18 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 3 เศษ 3

นั่นคือ   จำนวนนับชุดนี้มีพจน์ที่หารลงตัวด้วย 5 ทั้งสิ้น  3 พจน์

2. ชุดของจำนวนนับตั้งแต่ 1 ถึง 433 มีกี่พจน์ที่หารลงตัวด้วย 5

วิธีคิด   พจน์สุดท้ายของจำนวนนับชุดนี้คือ 433 และ 433 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ  86 เศษ 3  

นั่นคือ  จำนวนนับชุดนี้มีพจน์ที่หารลงตัวด้วย 5 ทั้งสิ้น 86 พจน์

   จะเห็นว่าไม่ยากเลยใช่ไหม   และหากนักเรียนได้เจาะลึกไปอีกจะพบกับคำถามที่ท้าทาย และอยากฝึก อยากสนุกกับตัวเลขมากยิ่งขึ้น  อาทิ

  ถามว่า  จำนวนนับตั้งแต่   4,025  ถึง 6,532   มีกี่พจน์ที่หารลงตัวด้วย 5

วิธีคิด    1. หาจำนวนพจน์ที่หารด้วย 5 ลงัว ในชุดของจำนวนนับตั้งแต่ 1 ถึง 6,532

                   พจน์สุดท้ายของจำนวนนับชุดนี้คือ 6,532 และ  6,532 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 1306 เศษ 2

นั่นคือ   จำนวนนับชุดนี้มีพจน์ที่หารลงตัวด้วย 5 ทั้งสิ้น  1306 พจน์

             2.หาจำนวนพจน์ที่หารด้วย 5 ลงตัว ในชุดของจำนวนนับตั้งแต่ 1 ถึง 4,024

                  พจน์สุดท้ายของจำนวนนับชุดนี้คือ 4,024 และ  4,024 หารด้วย 5 ได้ผลลัพธ์เท่ากับ 804  เศษ 4 

นั่นคือ   จำนวนนับชุดนี้มีพจน์ที่หารลงตัวด้วย 5 ทั้งสิ้น  804 พจน์

ดังนั้น  จำนวนนับตั้งแต่ 4,025 ถึง 6,532 มีพจน์ที่หารด้วย 5 ลงตัว ทั้งสิ้น  1,306 - 804   = 502  พจน์

 

เอกสารอ้างอิง

www.Maceducation.com    

 

โพสต์โดยสมาชิกหมายเลข 4514 วันที่ 23 ก.ย. 2552


รู้ได้ไงว่าจำนวนนับชุดนี้มีพจน์ที่หารด้วย 5 ลงตัวกี่พจน์รู้ได้ไงว่าจำนวนนับชุดนี้มีพจน์ที่หารด้วย5ลงตัวกี่พจน์

Advertisement

≡ เรื่องอื่นๆ ที่น่าอ่าน ≡

กินเต้าหู้ลดไขมัน

กินเต้าหู้ลดไขมัน


เปิดอ่าน 7,140 ครั้ง
เคล็ดลับบริหารเสน่ห์

เคล็ดลับบริหารเสน่ห์


เปิดอ่าน 7,138 ครั้ง
คลายเครียด..ฮะฮะ..เอิ๊ก..555

คลายเครียด..ฮะฮะ..เอิ๊ก..555


เปิดอ่าน 7,371 ครั้ง
ยกทรงช่วยชีวิต

ยกทรงช่วยชีวิต


เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง
ณ ลานประหาร

ณ ลานประหาร


เปิดอ่าน 7,147 ครั้ง
"เวลาไม่เคยพอ"

"เวลาไม่เคยพอ"


เปิดอ่าน 7,144 ครั้ง
ภาพสวยๆจากเวียดนาม

ภาพสวยๆจากเวียดนาม


เปิดอ่าน 7,143 ครั้ง
อ่านแล้วจะ....ฮา^^

อ่านแล้วจะ....ฮา^^


เปิดอ่าน 7,142 ครั้ง

:: เรื่องปักหมุด ::

ใบแปะก๊วย... ช่วยแก้ความจำเสื่อม

ใบแปะก๊วย... ช่วยแก้ความจำเสื่อม

เปิดอ่าน 7,145 ☕ คลิกอ่านเลย

Advertisement

≡ เรื่องน่าสนใจในหมวดหมู่นี้ ≡
ทำไมต้องฆ่า(แบบทดสอบทางจิตวิทยา)
ทำไมต้องฆ่า(แบบทดสอบทางจิตวิทยา)
เปิดอ่าน 7,140 ☕ คลิกอ่านเลย

บัตรประชาชน ......บอกนิสัย....ความรักได้นะ
บัตรประชาชน ......บอกนิสัย....ความรักได้นะ
เปิดอ่าน 7,137 ☕ คลิกอ่านเลย

สวยทั้งเรือนร่างด้วยชาดำ
สวยทั้งเรือนร่างด้วยชาดำ
เปิดอ่าน 7,143 ☕ คลิกอ่านเลย

แนะครูเตรียมรับมือประเมินรอบ3 นักวิชาการชี้เหมือนกำลังทำสงครามรอบใหม่
แนะครูเตรียมรับมือประเมินรอบ3 นักวิชาการชี้เหมือนกำลังทำสงครามรอบใหม่
เปิดอ่าน 7,142 ☕ คลิกอ่านเลย

เตือนวัยโจ๋หมกมุ่น โลกออนไลน์ เสี่ยงภัยทางเพศ
เตือนวัยโจ๋หมกมุ่น โลกออนไลน์ เสี่ยงภัยทางเพศ
เปิดอ่าน 7,135 ☕ คลิกอ่านเลย

การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
การจัดการความรู้ (Knowledge Management : KM)
เปิดอ่าน 7,139 ☕ คลิกอ่านเลย

≡ เรื่องน่าอ่าน/สาระน่ารู้ ≡

โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา Partnership School Project
โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา Partnership School Project
เปิดอ่าน 18,390 ครั้ง

เพลง "อิ่มอุ่น"
เพลง "อิ่มอุ่น"
เปิดอ่าน 41,575 ครั้ง

จะเลือกแปรงสีฟันแบบไหนดี ?
จะเลือกแปรงสีฟันแบบไหนดี ?
เปิดอ่าน 11,298 ครั้ง

รวม 10 อันดับขับรถสุดเห่ย ขอให้มีสตินะครับ
รวม 10 อันดับขับรถสุดเห่ย ขอให้มีสตินะครับ
เปิดอ่าน 16,393 ครั้ง

Verb Tenses Continuous/Non-continuous Verbs
Verb Tenses Continuous/Non-continuous Verbs
เปิดอ่าน 39,386 ครั้ง

เกมส์ รวมเกมส์สนุกๆ มากมาย
สนามเด็กเล่น

แหล่งรวมเกมส์ เกมส์ให้เล่นมากมาย ศูนย์รวมเกมส์สนุกๆ เกมส์ความรู้ เกมส์ลับสมอง เกมส์ประลองยุทธ แหล่งรวบรวมข้อมูล เกมส์ เกมส์ออนไลน์ เกมส์มันๆ เกมส์ตัดผม ไว้มากมายที่นี่ ให้เด็กๆได้เลือกเล่นมากมาย คลิกเลย

 
หมวดหมู่เนื้อหา
เนื้อหา แยกตามหมวดหมู่ สามารถเลืออ่านได้ตามหมวดหมู่ที่นี่


· Technology
· บทความเทคโนโลยีการศึกษา
· e-Learning
· Graphics & Multimedia
· OpenSource & Freeware
· ซอฟต์แวร์แนะนำ
· การถ่ายภาพ
· Hot Issue
· Research Library
· Questions in ETC
· แวดวงนักเทคโนฯ

· ความรู้ทั่วไป
· คณิตศาสตร์
· วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
· ภาษาต่างประเทศ
· ภาษาไทย
· สุขศึกษาและพลศึกษา
· สังคมศึกษา ศาสนาฯ
· ศิลปศึกษาและดนตรี
· การงานอาชีพ

· ข่าวการศึกษา
· ข่าวตามกระแสสังคม
· งาน/บริการสังคม
· คลิปวิดีโอยอดนิยม
· เกมส์
· เกมส์ฝึกสมอง

· ทฤษฎีทางการศึกษา
· บทความการศึกษา
· การวิจัยทางการศึกษา
· คุณครูควรรู้ไว้
· เตรียมประเมินวิทยฐานะ
· ผลงานวิชาการเล่มเต็ม
· เครื่องมือสำหรับครู

ครูบ้านนอกดอทคอม

เว็บไซต์เพื่อครู ข่าวการศึกษา ความรู้ การศึกษาไทย

      kroobannok.com

© 2000-2020 Kroobannok.com  
All rights reserved.


Design by : kroobannok.com


ครูบ้านนอกดอทคอม
การจัดอันดับของ Truehits Web Directory

วิธีนำแบนเนอร์ของครูบ้านนอก.คอมไปแปะในเว็บท่าน บันทึกภาพแบนเนอร์นี้และลิงค์มาที่เราครับ (มีแบนเนอร์ 2 แบบ)
 

ครูบ้านนอกดอทคอม เว็บไซต์ของครูตัวเล็กๆ คนหนึ่ง ที่หวังเพียง ใช้เป็นช่องทางในการสื่อสาร แลกเปลี่ยน เพิ่มพูนความรู้ และให้ข่าวสาร ที่ทันสมัยต่อเหตุการณ์แก่คุณครู ผู้ปฏิบัติงานในทุกพื้นที่ของประเทศไทย เพื่อความเจริญงอกงามในปัญญา และเจริญก้าวหน้าในวิชาชีพ

เว็บนี้ถือกำเนิดเมื่อ 5 มกราคม 2548

Email : kornkham@hotmail.com
Tel : 096-7158383

สนใจสนับสนุนเรา โดยลงโฆษณา
คลิกดูรายละเอียดที่นี่ครับ