ความดีความชอบไม่ใช่เรื่องของโชค
เมื่อทุกคนเข้าข่ายในการพิจารณา ก็ต้องเป็นหน้าที่ของฝ่ายบริหาร ที่จะต้องจัดอันดับความดี ผสมผสานกับระดับความชอบ ซึ่งส่วนใหญ่ ที่โรงเรียนทำกันเป็นประเพณีเลย ก็คือ ใครที่ได้ 1 ขั้นในรอบแรก รอบที่สอง ถ้าไม่เลวร้ายเกินไป ก็คงจะได้ 1 ขั้น ตามวิธีปฏิบัติ หรือบางคนรอบแรกได้ 0.5 ขั้น ถ้ารอบสองผลการปฏิบัติหน้าที่โดดเด่น มีผลงานระดับเขตฯ ระดับชาติ ในรอบนี้ก็อาจจะได้ หนึ่งขั้นครึ่ง ก็เป็นไปได้........
เกณฑ์การพิจารณาในแต่ละสถานที่แต่ละแห่งตั้งกฎ กติกาไว้อย่างเหมาะสมเห็นแล้วจะพบได้ว่าถ้าทำได้จริงอย่างที่ว่า สังคมพี่ ๆ น้อง ๆ คงจะเป็นสุขอย่างเหลือหลาย ดังกับยุคสมัยโบราณที่มีข้าวแกงหม้อแกง นำมาแบ่งกันกินได้ทั้งหมู่บ้าน ....
สมัยนี้หากว่ามีการจัดงานวันเกิดได้ตัดเค้กสักก้อนให้ลูก ๆ ทั้ง 10 คน มีส่วนหนึ่งที่มีลูกเกดสีแดงลูกใหญ่อยู่ตรงกลางหากเจ้าของวันเกิดจำเป็นต้อง เลือกตัดใจให้ใครคนใดคนหนึ่งในสิบส่วนนั้นให้ด้วยความรัก แม้แต่ให้ส่วนเดียว แม้แต่ว่าส่วนอื่น ๆ ทุกคนก็ได้ร่วมกิน...แม้ว่าจะนั่งกินด้วยกัน...ยิ้มแย้มแจ่มใส..ก็ย่อมมีสักเสี้ยวหนึ่งในหัวใจที่มีความคิดว่าคุณพ่อคุณแม่รักมากที่สุดคือคนนั้นเสมอ...คนที่ได้กินลูกเกดลูกเดียวที่มีอยู่บนเค้ก...ปอนด์นั้น ผู้เขียนได้สืบเสาะ สืบค้น เปิดตำรา อ่านเกี่ยวกับระบบการประเมินความดีความชอบมาหลายปี และตลอดจนประสบการณ์ที่เจอกับตนเองรู้สึกว่าสมัยก่อนคนเราอยู่กันได้อย่างไรนะ...เงินเดือนครูไม่ถึงสามร้อยบาทด้วยซ้ำ ....สมัยนี้ช่างรู้สึกอึดอัดเหลือเกินกับเมื่อถึงฤดูกาล....การประเมิน...
การพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาให้พิจารณาโดยยึดหลักและแนวทาง เช่น
1. พิจารณาจากผลการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูง
2. พิจารณาให้กับข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ในท้องถิ่นห่างไกล/ทุรกันดาร หรือการคมนาคมไม่สะดวก หรือมีความยากลำบากในการปฏิบัติงาน
3. พิจารณาให้กับข้าราชการชั้นผู้น้อยในสัดส่วนที่มากกว่าข้าราชการชั้นผู้ใหญ่
4. โรงเรียนที่มีอัตรากำลังน้อยแต่มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานสูง
5. ไม่ให้พิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือน (รวมทั้งปี) 2 ขั้นติดต่อกัน ยกเว้นกรณี ที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่นเป็นพิเศษ
เพิ่มเติม
ร้อยละผู้ได้รับความดีความชอบกรณีพิเศษใช้ฐาน 1.5 ขั้น หมายความว่า ผู้ได้รับพิจารณาความดีความชอบ 1.5 ขั้น และ 2 ขั้น เป็นผู้ได้รับความดีความชอบกรณีพิเศษ
ผู้ได้รับความดีความชอบ 2 ขั้น 1 คน มีค่า = 2
ผู้ได้รับความดีความชอบ 1.5 ขั้น 1 คน มีค่า = 1
ตัวอย่างที่ 1 ข้าราชการครูในโรงเรียน ก. 20 คน ใช้วงเงินเลื่อนขั้นไม่เกิน 6 %
พิจารณาให้ 2 ขั้น 2 คน = 4
พิจารณาให้ 1.5 ขั้น 12 คน = 12
ร้อยละของผู้ได้รับความดีความชอบกรณีพิเศษใช้ฐาน 1.5 ขั้น = (4+12) x 100
20
= 80 %
ตัวอย่างที่ 2 ข้าราชการครูในโรงเรียน ข. 20 คน ใช้วงเงินเลื่อนขั้นไม่เกิน 6 %
พิจารณาให้ 2 ขั้น 1 คน = 2
พิจารณาให้ 1.5 ขั้น 14 คน = 14
ร้อยละของผู้ได้รับความดีความชอบกรณีพิเศษใช้ฐาน 1.5 ขั้น
= (2+14) x 100
20
= 80 %
จะเห็นว่าแม้จะมีหลักเกณฑ์กล่าวอ้างถึงมาตรฐานและความยุติธรรม ความเป็นธรรมที่เที่ยงแท้ ของคนกลุ่มใหญ่ก็ตาม การเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขไม่ได้เป็นไปอย่างที่เห็นหรือเป็นอยู่เลย
* บางปีมีครูบรรจุมาใหม่ ๆ หรือเพิ่งย้ายเข้ามารับราชการ ก็บอกกันว่าหากไม่พ้นทดลองหรือทำงานไม่ครบ 2 ปี จะยังไม่ได้ขั้นพิเศษ จะสามารถได้ขั้นเพียงขั้นเดียวเท่านั้น
* บางปีหากสามีและภรรยาปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่โรงเรียนเดียวกัน กลุ่มประเมินส่งข่าวออกมาว่าหากสามีได้รับขั้นพิเศษแล้วภรรยาจะไม่สามารถได้รับขั้นพิเศษดังกล่าว
* บางปีนับวันลาแต่พอไม่มีวันลาเลยตลอดระยะเวลา 3 ปี กลับไม่มีความดีความชอบเหมือนเดิม แต่คนที่ได้รับความดีความชอบมีวันลากองเท่าโพน (วันลาเกิน 15 วัน) ก็มี
* บางปีอ้างเรื่องผลงานหากไม่มีผลงานระดับเขตพื้นที่ ระดับจังหวัดหรือระดับประเทศจะไม่รับพิจารณา พอมีขึ้นมาบางคนได้รับรางวัล...ดีเด่น ยังไม่ได้ความดีความชอบเลย
* บางปีอ้างเรื่องการแต่งกาย หลายคนเคร่งครัดเรื่องระเบียบการแต่งกาย และตรงเวลาเข้าสอน สม่ำเสมอ กลับไม่ได้รับความดีความชอบ คนที่ได้กลับเป็นคนที่ไปราชการบ่อย ๆ และลาเยอะ ๆ มาสอนหลายครั้งไม่แต่กายถูกระเบียบเลยที่ได้รับรางวัลนั้นไป
* บางปีอ้าง SAR ประเมินตนเอง คนที่ทำประเมินตนเองทุก ๆ ปี เสนอเข้าไป พอเอาเข้าจริง ๆ คนที่ไม่ทำเลยกลับได้ไป
* บางปีให้จัดทำแฟ้มสมุดบันทึกความดี คนทำดีก็ดีไป...ทำ ทำอยู่นั่นแหละ คนที่ได้รับความดีความชอบเสนอเข้าไปกลับไม่เคยได้ทำสมุดบันทึกนั่นเลย
ดิฉันผ่านการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวมาหลายปี งบประมาณ มาแล้ว มีแต่โชคร้ายมาตลอด และคนที่อยู่ใกล้ชิดก็โชคร้ายมาโดยตลอด ก็ไม่มีปัญหาอะไร.....แต่ลึกๆ แล้ว เชื่อแน่แท้เชียวว่า....ก็มีบางส่วนที่คิดว่า ไม่ยุติธรรม...... อยากถามไปเหมือนกันว่า คำว่าอยู่กันเหมือนพี่กับน้อง...เฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขเป็นอย่างไรหรือ? ตรงนี้ผู้บริหารต้องทำใจ.... เพราะผลประโยชน์ตรงนี้...เป็นที่ยึดมั่น และไขว่คว้า ของข้าราชการเกือบทุกคน หลายครั้งต้องกลับมามองว่า......รางวัลที่ให้กันแบบนี้....ทำให้เกิดประโยชน์ต่อวงการของราชการส่วนรวม....และทำให้ประสิทธิผลของงานส่วนรวมดีขึ้นหรือไม่? อย่างไร?.....หรือเป็นการสร้างความร้าวฉาน และเพิ่มช่องว่างให้กับผู้บริหาร และครู และเพื่อนครู....เป็นการสร้างกิเลส ให้พอกพูน มากกว่าที่จะเป็นแรงจูงใจในการปฏิบัติหน้าที่หรือไม่?.........อยากเชิญชวนนักวิชาการหลาย ๆ ท่านมาทำวิจัยในเรื่องนี้กันบ้าง...ทุก ๆ ช่วงปีที่มีการประเมินเมื่อใด บางคนก็ประจบเจ้านาย เก้ง เก่ง ....บางคนก็ประเภทตับเดียว..เป็นงานสอนก็คือสอน...จะพูดจะจากะเจ้ากะนายไม่เป็นหรอกค่ะ...จะ จ้ะ จะ จ๋า ที ยากมาก นี่แหละหนา มนุษย์ ปุถุชน กิเลส ตัณหา หากปลงได้ จงปลงเสียเถอะ
ผู้เขียนจึงอยากจะฝากบอกออกไปว่า ความดีความชอบไม่เป็นเรื่องของโชค...แต่เป็นเรื่องของดวงซะมากกว่า..... ดวงมีผู้ใหญ่อุปถัมภ์ค้ำชู...ดวงโชคดวงลาภไง ..หากดี ๆ หน่อยเขาจะเรียกกันว่าลาภลอย..เพราะเข้าตากรรมการ..คงต้องร้องเพลง ต้องมีสักวัน ต้องมีสักวัน ไม่ไกลเกินฝัน ชีวิตนี้คงจะมีผู้ใหญ่ใจดีมีสายตากว้างไกล วิสัยทัศน์ยิ่งใหญ่เหนืออำนาจผูกขาดใด ๆ มาเห็นเปลวเทียนดวงน้อยที่ส่องสว่างในห้องเรียนที่มืดมิด มาให้กำลังใจ พูดง่าย ๆ ก็คือ คนดีผีคุ้มนั่นแหละน่ะ
แม้จะไม่เคยได้ขั้นพิเศษกับใครเขา...ท่านทั้งหลายก็จงอย่าเสียใจไปเลย....สักวันดวงอุปถัมภ์ค้ำชูราศรีเกิดก็คงจะเดินทางมาถึงเอง....จงปฏิภาณตนเองเถิดว่า...ณ วันนี้ ชั่วโมงนี้ นาทีนี้ วินาทีนี้ จะทำดีที่สุด จงเตือนตนด้วยตนเอง ทุกย่างก้าวอย่างมีสติ คิดเสียเถิดว่าความต้องการของมนุษย์ มี 5 ระดับ และในระดับที่ 5 นั้นไม่มีมนุษย์ตนใด ที่ประสบความสำเร็จถึงขั้นนี้ เพราะมนุษย์ทุกคนยังไม่เพียงพอกับสิ่งที่ตนเองมีอยู่......อนิจจัง.....วัจฎะ ..สังขารา......โอม.....
หากบทความนี้ไปกระทบใจของใครเข้าขอจงได้โปรดให้อภัย ครูผู้น้อย..กระจ้อย กระจิดริดนี้ด้วยเถิด สาธุ สาธุ สาธุ
parrot.