ครูดีในดวงใจ..กับความเป็นจริงใจที่ซุกซ่อนอยู่ในสถาบันครู
ครูดีในดวงใจ...คือผู้ที่ถือปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมอันดีงามของสถานศึกษาและถ่ายทอดวิชาความรู้โดยไม่บิดเบือนและปิดอำพราง ไม่นำหรือยอมให้นำผลงานทางวิชาการของตนไปใช้ในทางทุจริตหรือเป็นภัยต่อมนุษย์ชาติ
ครู คือ บุคคลที่มีหน้าที่ หรือมีอาชีพในการสอนนักเรียน เกี่ยวกับวิชาความรู้ หลักการคิดการอ่าน รวมถึงการปฏิบัติและแนวทางในการทำงาน โดยวิธีในการสอนจะแตกต่างกันออกไปโดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคน
คำว่า "ครู" มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤต "คุรุ" และภาษาบาลี "ครุ, คุรุ"
“ครูต้องรักและเมตตาต่อศิษย์ให้ความเอาใจใส่
ช่วยเหลือส่งเสริมให้กำลังใจในการศึกษาเล่าเรียน
โดยเสมอหน้าอาทิการสร้างความรู้สึกที่เป็นมิตร
เป็นที่พึ่งพาและไว้วางใจได้ของศิษย์”
นรีรัตน์ นาครินทร์
โรงเรียนคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์
อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายโสธรเขต 1
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ โทรศัพท์ 0–4579– 1035
ครูประจำชั้น
ครูประจำชั้น หมายถึง ครูผู้ดูแลนักเรียนในห้องเรียนหรือชั้นเรียนหนึ่ง ๆ เป็นเวลาหนึ่งภาคเรียนหรือหนึ่งปีการศึกษา พร้อมทั้งทำหน้าที่ธุรการประจำห้องเรียน
ในอดีตความสัมพันธ์ของครูประจำชั้นจะเปรียบเสมือนผู้ปกครองคนที่สอง ต้องคอยดูแลเอาใจใส่ อบรมสั่งสอน ช่วยแก้ปัญหา และเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับบ้าน อันเป็นผลทำให้ครูและโรงเรียนได้รับความศรัทธาพร้อมทั้งมีบุญคุณต่อนักเรียนและครอบครัว
ระบบการศึกษาส่วนใหญ่ในโรงเรียนทั่วโลกมีการนักเรียนออกเป็นชั้น ๆ เป็นห้อง ๆ เพื่อความสะดวกต่อการเรียนการสอน และการดูแลปกครอง รวมทั้งทำกิจกรรมอื่น ๆ โดยเรียกเรียกว่า "ห้องเรียน" หรือ "ชั้นเรียน" (Classroom) และเรียกเพื่อนร่วมชั้นเรียนเดียวกันว่า "เพื่อนร่วมชั้น" (Classmate)
ครูในระดับอุดมศึกษา
ผู้สอนในวิทยาลัย มหาวิทยาลัย หรือระดับอุดมศึกษา จะมีตำแหน่ง อาจารย์ โดยอาจารย์ที่ได้รับตำแหน่งทางวิชาการ ได้แก่ อาจารย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ ตามลำดับ การได้รับตำแหน่งทางวิชาการเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา
ตำแหน่งครู คือบุคคลที่ทำหน้าช่วยสอน สอนทบทวน สอนภาคปฏิบัติ แตกต่างจากอาจารย์ที่ สอนภาคบรรยายเรื่องต่าง ๆ
ครูผู้ดูแลระบบจัดการโรงเรียน
ครูที่ทำหน้าที่ดูแลระบบทั้งโรงเรียนจะเรียกว่า ครูใหญ่ ซึ่งคล้ายคลึงกับคณบดี หรืออธิการบดี ในระดับอุดมศึกษา โดยหน้าที่ของครูใหญ่มักจะทำหน้าที่ดูแลระบบการจัดการของโรงเรียนมากกว่าการสอนในห้องเรียน ต่อมาเป็นตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา ทำหน้าที่บริหารสถานศึกษา
เพราะข้าพเจ้าได้มีการแสดงออกในทางที่ดี
มีสภาวะจิตใจที่ดีงามและมีความเชื่อถือ
ที่ถูกต้องมาโดยตลอด ข้าพเจ้าจะมีความรัก
ความเมตตาต่อศิษย์อยู่เสมอ มีความเอื้ออาทร
ที่ส่งผลดีต่อศิษย์ใน ทุก ๆ ด้าน
ข้าพเจ้าคิดเสมอว่า
“ความรักความเมตตา.. ...จะนำพาสู่ความสำเร็จในวิชาชีพ”
พ่อแม่รักลูกแม้น ดวงตา
ยังส่งลูกรักมา มอบให้
ของเราสิรักษา ดีสุด ใจเฮย
ของที่รับฝากไว้ จะต้องทวีคูณ
(ม.ล.ปิ่น มาลากุล :อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ)
“ครู” คือผู้ใช้ความรู้ความสามารถของตนให้เกิดพัฒนาการขึ้นในตัวศิษย์ให้ได้เต็มตามศักยภาพของแต่ละบุคคล ซึ่งศิษย์ร้อยคนก็ร้อยอย่างแตกต่างกันไป ข้าพเจ้าคิดว่า “ครู” เป็นบุคคลที่พิเศษมาก ข้าพเจ้าจึงต้องมีความมานะบากบั่นเพราะนอกจากจะใช้ความสามารถสั่งสอนศิลปวิทยาให้แก่ศิษย์แล้ว ยังต้องเป็นผู้มีคุณธรรมและใช้คุณธรรมนั้นในการดูแลอบรมบ่มนิสัยให้ศิษย์เป็นคนดีด้วยความเมตตา ประดุจว่าเป็นบุตร ธิดาของตนจนได้เรียก “ศิษย์” ว่า “ลูกศิษย์” อยู่ตลอด และ ลูกศิษย์ก็จะเรียกข้าพเจ้าว่า “แม่ครู” หรือ “แม่นก” เสมอเช่นกัน
ด้วยความคิดที่ว่าถ้าลูกศิษย์มีความพึงพอใจในระหว่างที่เขาศึกษาอยู่กับครู และเมื่อเขาจบการศึกษาออกไปเขาก็จะไม่ลืมครูคนนี้ ผู้ให้การอบรมสั่งสอน เขาจะฝากไว้ซึ่งเยื่อใยแห่งความเคารพรักและศรัทธาต่อครูและนับถือครูเป็นพ่อแม่คนที่สองของเขาไปตลอดอีกด้วย ดังนั้นข้าพเจ้าจะก้าวไปสู่จุดมุ่งหมายสูงสุดนี้ได้หรือไม่คำตอบก็คือตัว ครูเอง สมัยก่อนกล่าวไว้ว่า “เป็นครูเขาให้เอารักเป็นที่ตั้ง” คำสอนนี้ได้เน้นย้ำความสำคัญ “อานุภาพของความรัก” ข้าพเจ้าได้ยึดหลักคำสอนนี้ควบคู่กับหลักธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาปฏิบัตินั่นคือ พรหมวิหารธรรม 4 ประการคือ
1.มีความเมตตาต่อศิษย์ :ปรารถนาให้ศิษย์พ้นทุกข์ พ้นจากอบายมุขทั้งปวง
2. มีความกรุณาต่อศิษย์ : ปรารถนาให้ศิษย์เป็นสุข มีพัฒนาการ มีความพึงพอใจ สบายใจ
3.แสดงมุทิตาต่อศิษย์ : พลอยยินดีเมื่อศิษย์ได้ดี มีพัฒนาการตามศักยภาพของเขาแม้เพียงเล็กน้อย
4.วางอุเบกขาต่อศิษย์ : เมื่อเราได้เพียรพยายามทำหน้าที่ของครูโดยสมบูรณ์แล้วศิษย์ของเรายังไม่มีพัฒนาการ เราก็ควรทำใจให้เป็นปกติ คิดเสียว่าเรากับเขาดี มีวาสนาได้เป็นศิษย์เป็นครูกันเพียงเท่านี้ก็ดีแล้ว ถึงแม้ศิษย์คนนั้นจะไม่มีพัฒนาการทางความรู้ ไม่มีพัฒนาการทางความดี หรือมีพัฒนาการแต่เพียงเล็กน้อย เขาก็จะสามารถสัมผัสได้ถึงไออุ่นของความรัก ความเมตตาที่ครูมีต่อเขาและเขาจะมีความเคารพรักและศรัทธาต่อครูไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าศิษย์คนอื่น ๆ ที่มีพัฒนาการหรืออาจจะเคารพรักมากกว่าด้วยซ้ำไป
กับความรู้สึกที่ดี ๆ ที่มีกับลูกศิษย์มาตลอดระยะเวลาเป็นสิบ กว่าปี ครูคนนี้มีความสุข และห่วงลูกศิษย์ทุก ๆ คนอย่างสม่ำเสมอ หลาย ๆ คน ที่รักแม่(ครู) ที่หนูเรียกกันติดปากว่าแม่นก ทุก ครั้งที่เจอ หัวใจของแม่นกคนนี้รู้สึกพองโต แทบบอกไม่ถูก ดีใจทุกครั้งที่ลูก ๆ ยกมือไหว้ด้วยความเคารพและ "สวัสดีจ้าแม่จ๋า" รู้สึกว่าชีวิตนี้คงจะต้องทุ่มเทไปกับลูก ๆ แม้ว่าจะสอนมากมาย งานภาระต่าง ๆ มากหลายทวีตัวแต่ก็สู้ไม่ถอยเพราะมีกำลังใจเต็มเปี่ยมอยู่ใกล้ ๆ นี่เอง....หลายครั้งจะต้องจูนคลื่นเข้าหากัน......กว่าจะสอนกันได้...ทั้งให้เขียนอนุทิน วาดรูปผังมโนทัศน์ เขียนความสนใจ ความต้องการของนักเรียน ของผู้ปกครอง โทรศัพท์ ฯลฯ นานหลายวันกว่าจะจำชื่อกันได้...กว่าจะสร้างสัมพันธภาพ มิตรไมตรีที่ต้องการหยิบยื่นเมื่อเข้ามาอยู่ที่รั้ว ค.ช. เดียวกัน (รั้วฟ้า-แดง) สมกับที่เพลงสถาบันงามเด่นเป็นสง่า มีชื่อว่าคำเขื่อนแก้วชนูปถัมภ์ ....การศึกษาการกีฬาเราเลิศล้ำ ...คุณธรรมประจำจิตมิตรไมตรี.........
ณ วันนี้กับความจริง...กว่าจะถึงวันนี้ได้ ครูคนนี้คิดว่ามีความพร้อมเต็มที่จึงได้ลองส่งผลงานที่เราได้ร่วมแรงจิตแรงใจกันกวด(แข่งขัน)รางวัล...จากการศึกษาเรียนรู้มาหลาย ๆ รางวัลไม่ว่าจะเป็นโล่รางวัล เหรียญทอง เหรียญทองแดง เกียรติบัตร ต่าง ๆ ทั้งของนักเรียน ของครู หลากหลาย แต่วันนี้ ชั่วโมงนี้ เวลานี้..ครูสงสัยทวีคูณ (มากขึ้น)กับสถาบัน...จากเรื่องความดีความชอบที่มักจะรู้สึกอึดอัดทุกครั้งที่จะสิ้นปีการศึกษา...วันนี้เมื่อพร้อมและส่งประเมินครูดีในดวงใจ...ทำไมจึงต้องมาอึดอัดเหมือนกันกับระบบงานราชการของทางโรงเรียน/ศูนย์เครือข่ายของโรงเรียนเป็นอย่างมาก.....เตรียมตัวตั้งแต่ 21 สิงหาคม 2552 ที่ได้รับข้อมูลจากเว็ปไซต์ คิดว่าปีที่แล้วเราไม่พร้อมจะไม่ส่งแต่ปีนี้พาลูก ๆ ไปแข่งได้รางวัลทั้งระดับภูมิภาคเป็นตัวแทนไปแข่งระดับประเทศอยากที่จะให้รางวัลกับความสำเร็จของตนเองสักครั้ง..เพราะคิดว่าโอกาสดี ๆ แบบนี้หากเราพร้อมแล้วไม่ลองส่งประกวดดู..จะไม่สมกับที่เราเคยสอนลูก ๆ ว่า จะแข่งอะไรก็ตามต้อง"รู้เขา รู้เรา รบทั้งร้อยอย่างไรเราก็ต้องชนะแน่นอน" ส่งตั้งแต่ 8 กันยายน 2552 แต่พอเข้าจริง ๆ ทางศูนย์เครือข่ายบอกว่าไม่ชื่อในการประเมิน และทำการประเมินเรียบร้อยแล้ว ..ครูใจหายวาบ....แล้วเราจะจัดห้องโชว์หลักฐาน..เตรียมฉายโปรเจคเตอร์ประกวดผลงานดีเด่นของลูก ๆ ให้ใครดูหล่ะ....เลยจำเป็นต้องดิ้นรนโทรไปต่อว่าต่อขานสุดท้ายเขาว่าประเมินเสร็จไปแล้วเมื่อเที่ยงนี้ เวลานี้บ่ายโมงแล้วกรรมการประเมินกลับหมดเกรงใจเขา ครูถามดูว่ามีใครได้...ทางศูนย์(สำนักงานกลั่นกรอง)ก็เฉย... ..แต่มาแก้ปัญหาให้ครูว่าจะส่งไปแทนในช่วงชั้นอื่นเพราะไม่สามารถลงช่วงชั้นที่ครูต้องการได้...ครูรู้สึกเสียใจมากกับระบบของสถานศึกษาของโรงเรียนเรา..ทั้งศูนย์เครือข่ายที่มาใช้โรงเรียนเราเป็นเจ้าภาพ...มาใช้ห้องประชุมกลั่นกรองต่าง ๆ...โรงเรียนใหญ่ขนาดนี้...โรงเรียนในฝัน..วาดฝันสวยหรูแต่ทำไมระบบราชการเรามันจึงแย่มากมายนัก............รู้สึกเครียด อึดอัด มากมาย.....
ณ วันนี้ กับความรู้สึกดี ๆ ของครูที่มีต่อลูกศิษย์ทุกคนเปี่ยมล้นไปด้วยความเมตตาเสมอ...แต่สถาบันของเราหากต้องถอยหลังเข้าคลอง..อย่างนี้..แล้วครูเราจะเอากำลังใจจากที่ไหนมาทำงาน....โลกใบนี้ยังมีความยุติธรรมจริงหรือ...ความจริงที่ว่าคนดีผีคุ้มจะยังมีอยู่หรือเปล่า...หากระบบอุ้มชูเด็กใครเด็กมันยังคงมีอยู่......
ณ วันนี้ หากระบบราชการของสำนักงานเขต...พื้นที่...เขต....ตัวเสาหลักนำทางดี...เป็นพ่อบ้านที่มีหน้าที่กลั่นกรองขั้นสุดท้ายสามารถตัดสินเองได้ลูก ๆ คงไม่ต้องมีปัญหา...นี่พี่ใหญ่(ศูนย์เครือข่าย)และพี่รอง(สถานศึกษา)...ไม่ทำการบ้านไม่ดูแลบ้านแล้วน้องเล็ก(ครูน้อย ) กับลูก ๆ (นักเรียน ม.ปลาย) หลาน ๆ (นักเรียน ม.ต้น) เหลน (นักเรียนประถมศึกษา) โหลน (นักเรียนปฐมวัย)ฯลฯ จะพึ่งพาใครได้คะ
ครูก็ขอระบายความคิดที่อึดอัดฝากไว้กับบทความนี้บ้างหล่ะกันนะคะ อย่าคิดมากหล่ะ...ยังไงครูก็ยังคงเป็นครู...ที่จะอยู่กับลูก ๆ (นักเรียน) ตลอดไปจนกว่าชีวิตจะจบสิ้นไปอยู่นั่นแหละ เพราะครูเกิดที่นี่...เรียนที่นี่ ....ทำงานที่นี่...และคงจะต้องวายชีพที่นี่แหละค่ะ.....สิ่งเดียวที่ครูมีคือจะบำเพ็ญตนให้สมกับที่ได้ชื่อว่าครูและจะตั้งใจฝึกสอนศิษย์ให้เป็นพลเมืองดีของชาติ และจะรักษาชื่อเสียงของคณะครูและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมตลอดไป..แม้ว่าในใจที่ซุกซ่อนความอึดอัด...ก็จะต้องเก็บกักไว้....ขอเพียงมีลมหายใจกับอุดมคติในชีวิตของครูมีอยู่ก็พอเพียงแล้วกระมัง..........
สุดท้ายนี้ฝากความระลึกถึงครูทุก ๆ ครูของคนไทย...ผู้ที่มีดวงใจ...ดวงเดียวในหัวใจของเด็กหลาย ๆ คน สมกับเพลงพระคุณที่สามที่เราร่วมร้องกันในวันครูทุก ๆ ปีเทอญ..
"มะลิ" แทนวจีถ้อยร้อยมาลัย
"ดอกกล้วยไม้" ใช้แทนครูผู้สร้างสรรค์
"กุหลาบ" หรูชมพูขาวมารวมกัน
แทน "กตัญญุตาครู บูชาจารย์"
parrot.